เห็นแล้วอึ้ง สินค้าแพงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันจริงหรือ?

ถ้าเห็นภาพราคาสินค้าไทย ในปีที่ผ่านมา จะอึ้งทันทีเมื่อได้เห็นความจริงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

คงเคยเห็นคนบ่นกันเรื่องราคาน้ำมันว่าของไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน เวลาปรับแต่ละครั้งก็จะส่งผลต่อราคาสินค้า ถึงแม้จะปรับอย่างไร สินค้าของไทยก็ไม่ได้แพงขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน


ราคาน้ำมันของไทยก็ไม่ได้แพงสุดเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน


จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันในประเทศที่ถูกกว่าประเทศไทย สินค้าประเทศเหล่านั้น ก็ไม่ได้ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าไทย ในขณะเดียวกัน ปรับตัวขึ้นสูงกว่าด้วย ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก มาตรการทางภาษี มีการจัดเก็บชดเชยรายได้รัฐ เพื่อให้ตามเป้าที่ต้องการ

ไทยอยากให้น้ำมันถูกก็ทำได้ ลดภาษีน้ำมัน แต่ไปขึ้นกับการเก็บภาษีในสินค้าแทนจะดีหรือไม่ ได้แต่ฝากให้คิด

เปิดคำตัดสิน “กองทุนน้ำมัน” เถื่อนจริงหรือไม่?

ในช่วงที่ราคาน้ำมันขึ้น หรือ มีการพูดถึงเรื่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยตามสื่อ Social Media เช่น Facebook มีการหยิบนำเสนอว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็น กองทุนเถื่อน และได้มีการบอกให้ยกเลิกกองทุนน้ำมัน เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ



หากจะหยิบประเด็นหรือการพิพากมานำเสนอ จะเห็นได้ว่า คำกล่าวต่างๆ ที่มีคนโจมตีนั้น ดูไม่มีเหตุผลอย่างมาก เพราะในประเด็นดังกล่าวนี้ศาลปกครองกลางได้เคยมีคำวินิจฉัยไปแล้วตามที่ปรากฏใน คดีหมายเลขดำที่ ส.30/2558 คดีหมายเลขแดงที่ ส.145/2560  โดยศาลได้ให้เหตุผลไว้ชัดเจนซึ่งสามารถสรุปได้เป็นข้อๆดังนี้

1.การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเป็นไปตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามที่พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ได้ให้อำนาจไว้  และได้มีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

2.คำสั่งดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีได้ออกโดยถูกต้องตามรูบแบบและขั้นตอนหรือวิธีการที่เป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดดังกล่าว

ดังนั้นคำสั่งดังกว่าจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและนี่ก็เป็นข้อความบางตอนที่ปรากฎในท้ายคำพิพากษา




จะเห็นได้ว่ากองทุนน้ำมันนั้นถูกตั้งขึ้นมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ได้เป็นกองทุนเถื่อนตามที่มีการนำเสนอ และโจมตีในสื่อ Social Media แต่อย่างใด เพราะศาลได้มีการวินิจฉัยชัดเจนไปแล้ว การแสดงความเห็นของคนที่โจมตี ในประเด็นดังกล่าว มีแต่จะทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และนั่นก็ดูเป็นการกระทำที่ดูไม่มีวุฒิภาวะเลย




รายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง







ข้อมูลอีกด้านการส่งออกน้ำมันในคลิป ทวงพลังงาน สะท้าน ปตท.

เรื่องคลิปที่มีการแชร์กันเยอะแยะในช่วงราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น ในคลิปมีการหยิบเอาการสนทนาเรื่องการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป และได้มีการตีความกันไปต่างๆ นานา จึงนำมาขยายข้อมูลอีกด้าน



1.  ตามหลักการทำธุรกิจไม่ว่าธุรกิจใดๆก็ตาม ถ้ากำลังการผลิตสูงกว่าความต้องการ ผู้ผลิตมีทางเลือกอยู่สองทาง คือ

     1.1 ลดการผลิตให้พอดีกับความต้องการ ซึ่งแน่นอนจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงขึ้น และถ้าผลักภาระให้ผู้บริโภคได้ ก็ผลักภาระไป ผู้บริโภคก็ต้องซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้น
      1.2 ผลิตให้เต็มกำลังการผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยถูกลง ผู้บริโภคก็จะได้ใช้สินค้าในราคาที่ถูกลง ส่วนสินค้าส่วนเกินความต้องการในประเทศ ก็ไปหาตลาดในต่างประเทศ (ซึ่งจะมีทั้งราคาที่สูงและตำ่กว่าราคาในประเทศ) ดังนั้นราคาส่งออกจึงมีทั้งสูงและตำ่กว่าราคาในประเทศ (ไม่ใช่ตำ่กว่าทั้งหมด) ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากขายหรือไม่

2. นี่คือเรื่องธรรมดาของการทำธุรกิจที่ต้องสนองความต้องการของตลาดหลักก่อน แล้วส่วนเกินจึงเลือกว่าจะผลิตหรือไม่ ถ้าต้องการ economy of scale ก็ต้องผลิตเต็มที่ แล้วไปหาตลาดเพิ่ม ซึ่งอาจต้องใช้ราคาเป็นตัวบุกเบิกตลาด

ถ้าจะมากำหนดว่าถ้าไปขายต่างประเทศราคาถูก ก็จะต้องลดราคาในประเทศให้เท่ากัน ผู้ผลิตก็มีทางเลือกที่จะลดการผลิตให้พอดีกับความต้องการ ไม่ต้องเหนื่อยยากไปบุกเบิกตลาดใหม่ๆในต่างประเทศ และผลักภาาะต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับผู้บริโภคไป

3. วิธีการอย่างนี้ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เราผลิตได้มากกว่าความต้องการเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ ข้าว นำ้ตาล ปูนซีเมนต์ ผลผลิตส่วนเกินความต้องการล้วนแต่ต้องส่งออกทั้งสิ้น และบางครั้งก็ต้องส่งออกในราคาตำ่กว่าที่ขายในประเทศ อย่างเช่น ข้าว เป็นต้น

4. ราคาน้ำมันที่โรงกลั่นขายก็มาหลายราคา
      4.1 ราคาตามสัญญา ราคานี้จะเป็นราคาที่อ้างอิงราคาที่สิงคโปร์ ตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ตอนสร้างโรงกลั่น เพื่อให้ผู้ลงทุนมีความมั่นใจ ว่าสร้างแล้วจะมีลูกค้าแน่ๆ
       4.2 ราคานอกเหนือสัญญา ราคานี้จะขึ้นลงตามการแข่งขันในตลาด และอาจตำ่กว่าราคาส่งออกมากด้วยซำ้ไป ราคานี้จะมีส่วนทำให้ตลาดนำ้มันทั้งขายส่งและขายปลีกมีการแข่งขันกันมากขึ้น