วิเคราะห์มั่วๆ 5ปี เนื้อหามั่วๆ ก็ได้แบบมั่วๆ เรื่องพลังงาน

เห็นมีคนแชร์มาจากทาง LINE เต็มไปหมด โดยเนื้อหาคร่าวๆ โทษนั่น โทษนี่ โดยไม่มองบริบท เรื่องพลังงาน หรือ เนื้อหาสาระว่าแท้จริงเป็นอย่างไร ก็คงต้องเอามาแก้กันไปว่ามั่วขนาดไหน ขอตัดตอนมาในส่วนเรื่องพลังงานเท่านั้น

 จากดร.อาทิตย์. อุไรรัตน์

ฟังแล้วอย่าเชื่อร้อยเปอร์เซนต์ เอาไปช่วยกันคิด วิจารณ์ วิจัยวิเคราะห์ เจาะลึก ให้ความจริงประจักษ์
เมื่อประจักษ์แล้ว. อย่าเมินเฉย. ชวยกันแก้วิบัติของชาตื

" 5 ปีแห่งความทุกข์ระทมของประชาชน
5 ปีแห่งความหายนะของชาติบ้านเมือง



บอกได้คำเดียวว่า หนักกว่านักการเมืองอาชีพ ชาตินี้คงจะหาผู้นำที่สร้างความบรรลัยให้ชาติบ้านเมืองมากเท่าลุงคนนี้ไม่มีอีกแล้ว โดยเฉพาะการเอื้อประโยชน์ให้เจ้าสัว/นายทุน น่าเกลียดจริงๆ

"มาลองอ่านกันว่า การตั้งคำถามมีคำตอบคำตอบที่ตอบวนกันมา 5ปี" 

> เดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินสกปรกหลายจังหวัดเอื้อประโยชน์นายทุนเหมืองถ่านหิน ทั้งที่ทั่วโลกทยอยยกเลิก เพราะมันสกปรกมีมลพิษอันตราย

คนที่โพสต์คงไม่ทราบว่า ทั่วทั้งโลกปิดบางส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินหมดอายุ และ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วยซ้ำ คนโพสต์ทราบหรือไม่

> ยัดเยียดการขุดเจาะปิโตรเลียมที่บ้านนามูล ดูนสาด จ.ขอนแก่น เอื้อนายทุนบริษัทน้ำมัน มีชาวบ้านคัดค้าน ก็ส่งฝ่ายปกครองไปข่มขู่ให้ยินยอม

การขุดเจาะปิโตรเลียมที่บ้านนามูล ดูนสาด  ผู้รับสัมปทานจะต้องปฏิบัติงานภายใต้กฎหมายปิโตรเลียมทุกขั้นตอน มีการรับฟังความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งได้รับการอนุมัติ EIA  โดยช่วงก่อนการขุดเจาะ บริษัทได้มีการขนย้ายอุปกรณ์เข้าพื้นที่ ซึ่งได้รับความสะดวกจากฝ่ายปกครอง (กอ.รมน.) เข้าพื้นที่เพื่อดูแลอำนวยความสะดวก ดูแลความปลอดภัย และความเรียบร้อย รวมถึงการสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนและบริษัทผู้รับสัมปทานในการขนย้ายอุปกรณ์เครื่องจักร มิได้เป็นการข่มขู่ประชาชนในพื้นที่ และเอื้อบริษัทตามที่มีบุคคลภายนอกให้ข้อมูลเชิงลบและปลุกปั่นแต่อย่างใด 

> เชฟรอนโกงภาษี 3,000 ล้าน แทนที่จะไล่กลับอเมริกา กลับใจดีต่อสัมปทานให้แหล่งทานตะวันในอ่าวไทยของเชฟรอนไปอีก 10 ปี ที่สุดอุบาทว์คือ คิดค่าลงนามต่ออายุสัมปทานแค่ 15 ล้านบาท และส่วนแบ่งจากการขายเพียง 1% จากมูลค่าปิโตรเลียมของแหล่งนี้ 3-5 แสนล้านบาท(แหล่งนี้ขุดน้ำมันดิบมูลค่า 40 ล้านบาท/วัน ขุดวันเดียวก็ได้เงินมากกว่าที่จ่ายค่าลงนามต่อสัญญากับรัฐกว่าเท่าตัวแล้ว และแหล่งนี้ยังมีก๊าซธรรมชาติอีกมาก)

- กรณีภาษีเชฟรอน เกิดจากปัญหาการตีความข้อกฎหมายกรณีการคืนภาษีภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ของบริษัทเชฟรอน  ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการจ่ายภาษีจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพื่อใช้บริเวณอ่าวไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2555-2559 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยช่วงที่ผ่านมาภายหลังจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ทางบริษัทฯ ได้ให้ความร่วมมือและทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการตรวจสอบยอดภาษีที่ต้องชำระให้ถูกต้องแล้ว
- กรณีการต่ออายุสัมปทานแหล่งทานตะวันและแหล่งใกล้เคียงในแปลงสำรวจหมายเลข B8/32 ซึ่งเป็นแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย เป็นการต่อระยะเวลาตามกฎหมายปิโตรเลียม 
- ส่วนโบนัสลงนามและโบนัสการผลิต เป็นเพียงส่วนเพิ่มเติมที่รัฐจะได้นอกเหนือไปจากรายได้ที่รัฐจะได้รับต่อไปอีก     10ปี นอกจากการจัดเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(หากมีกำไรเกินปกติ) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ซึ่งจากการวิเคราห์ทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า จะมีสัดส่วนรายได้รัฐต่อรายได้สุทธิของผู้รับสัมปทานเป็นอัตราส่วนร้อยละ 71:29
-  การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นการลงทุนที่สูงและมีความเสี่ยงสูง ผู้รับสัมปทานยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการลงทุน และจ่ายค่าภาคหลวง   ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(ถ้ามีกำไรเกิน) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม อีกด้วย



> เชฟรอนเจตนาสำแดงใบขนน้ำมันปลอดภาษีเท็จซ้ำซาก ผิดกฏหมายอาญาแผ่นดิน ก็อุ้ม ไม่เอาผิด และยังให้ร่วมประมูลสัมปทาน

- การเข้าร่วมประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ และบงกช เปิดรับผู้ที่เข้าร่วมประมูลเป็นการทั่วไปอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ   มิได้จำกัดบริษัทรายใดรายหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามในขั้นแรก กระทรวงพลังงาน ได้มีการกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมประมูลไว้แล้ว ทั้งคุณสมบัติด้านการเงินและการเป็นผู้ดำเนินงานการผลิตปิโตรเลียมในทะเล  จากการพิจารณาและตรวจสอบข้อมูล บริษัทเชฟรอน มีคุณสมบัติตามที่กระทรวงพลังงานกำหนดในเอกสารการยื่นขอ  
- ในส่วนการขนน้ำมันปลอดภาษี  เป็นน้ำมันที่กลั่นแล้วมิได้เกี่ยวข้องกับกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งภายหลังเชฟรอนได้จ่ายภาษีที่เกิดจากการตีความกฎหมายตามที่กฤษฎีกาได้ตีความเอาไว้เรียบร้อยแล้ว 


> ส่วนกรณีนี้ยิ่งหนัก 7 บริษัทน้ำมันทำผิดกฏหมาย ลักลอบขุดน้ำมันในที่ส.ป.ก. ศาลปกครองจึงมีคำสั่งให้เลิกขุด แต่นอกจากคสช.จะไม่เอาผิดแล้ว ยังใช้ ม.44 ล้างผิดให้ และแก้กฏหมายส.ป.ก.อนุญาตให้เอกชนขุดน้ำมันในที่ส.ป.ก.ต่อไปได้ ขนาดคำสั่งศาลยังไร้ความหมาย แล้วบ้านนี้เมืองนี้จะอยู่กันอย่างไร

-  กรณีศาลปกครองสูงสุดมีการตัดสินว่าบริษัทผู้รับสัมปทานมีความผิดฐานดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ ส.ป.ก.  ที่ได้รับการอนุมัติแล้วนั้น (ส.ป.ก. ไม่มีอำนาจในการอนุญาตให้ทำกิจกรรมอื่นนอกจากการเกษตร)  จึง เป็นการดำเนินงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  
- ที่ผ่านมาบริษัทผู้ได้รับสัมปทานได้ดำเนินการยื่นขอและดำเนินการตามแนวทางของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งกรณีดังกล่าวภาครัฐ โดยกระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้หารือร่วมกันเพื่อหาทางออกในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใต้ผืนดินของประเทศ และการใช้ที่ ส.ป.ก.  เพื่อประโยชน์จากกิจกรรมอย่างอื่น   จึงมีความเห็นร่วมกันว่าควรนำเสนอ คสช. เพื่อพิจารณาใช้ ม. 44 เพื่อหาทางออกของปัญหาดังกล่าว โดยกระทบต่อการใช้พื้นที่ทางการเกษตรของเกษตรกรให้น้อยที่สุดโดยมีค่าทดแทนให้เกษตรกรและ ส.ป.ก. ที่เหมาะสมและคืนพื้นที่เมื่อดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จ นอกจากนั้นยังเพิ่มแนวทางการให้  ส.ป.ก. ในการพิจารณาแก้ข้อกฎหมายเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อทำกิจกรรมอื่นได้นอกจากเกษตรกรรมในอนาคตซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรของประเทศในลักษณะบูรณาการก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด


> มีก๊าซ มีน้ำมันเต็มแผ่นดิน แทนที่จะขุดเอง เพื่อให้รายได้เข้ารัฐเต็มๆ ไม่ต้องไปแบ่งให้ใคร ก็ไปแจกสัมปทานให้ต่างชาติรวย

- จากข้อมูลสถิติ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 ภายใต้ระบบสัมปทาน พบน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ภายในแอ่งตะกอนที่กระจายตัวอยู่ในแต่ละภูมิภาค โดย จะพบน้ำมันดิบในบริเวณภาคเหนือ (แหล่งฝาง)  ภาคกลางและอ่าวไทย พบก๊าซธรรมชาติ บริเวณภาคอีสานและอ่าวไทย (ตามภาพ) มิได้มีก๊าซ มีน้ำมันเต็มแผ่นดิน 
- ระบบสัมปทาน เป็นการให้สิทธิผู้รับสัมปทานไปสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รัฐมีการออกแบบการจัดเก็บรายได้จากการผลิตปิโตรเลียม ซึ่งระบบสัมปทานถูกออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพแหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทย  เพื่อให้เกิดการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศ และจูงใจให้บริษัทมาเสี่ยงลงทุนเพราะการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นการลงทุนที่สูงและมีความเสี่ยงสูง 
- หากภาครัฐขุดเองต้องมีเงินมากพอที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินของประเทศ  หากขุดเจาะไม่พบปิโตรเลียม 


> แจกสัมปทานปิโตรเลียมโดยเลือกระบบที่รัฐเสียประโยชน์ ระบบจ้างผลิตที่รัฐได้ประโยชน์ 80-90% ไม่เอา แต่เลือกระบบ PSC(จำแลง) ที่ได้ส่วนแบ่งแค่ 30%

- ระบบสัมปทาน นับตั้งแต่มีการให้สัมปทานตั้งแต่ปี 2514 และมีการปรับปรุงกฎหมายปิโตรเลียม (แก้ไข พ.ศ. 2532) เพื่อให้รัฐได้รับรายได้มากขึ้นและให้ผู้รับสัมปทานสามารถพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมขนาดเล็กได้ รวมทั้ง ปรับปรุงให้รัฐมีทางเลือกในการบริหารจัดการระบบการจัดเก็บรายได้รัฐ (เพิ่มระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้างบริการ แก้ไขปี พ.ศ. 2560) ในระบบสัมปทาน รัฐมีรายได้รวมมากกว่าผู้รับสัมปทาน ถึง ร้อยละ 60:40

> แก้ไขพรบ.ปิโตรเลียมให้ไทยตกเป็นทาสบริษัทน้ำมันต่างชาติหนักข้อขึ้นกว่าเดิม

คำว่าตกเป็นทาสบริษัทน้ำมันต่างชาตินี่คิดยังไงหรอครับ ทุกวันนี้คนไทยทำงานเยอะแยะ
- การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เพื่อกําหนดให้การให้สิทธิสํารวจและผลิตปิโตรเลียมมีทางเลือกให้รัฐสามารถพิจารณานําระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตหรือระบบสัญญาจ้างบริการมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมนอกเหนือไปจากการพิจารณาให้สัมปทานปิโตรเลียมภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งแก้ไขบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับประโยชน์หรือสิทธิของผู้รับสัมปทานและบทบัญญัติเกี่ยวกับค่าภาคหลวงให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น มิได้เอื้อต่อบริษัทน้ำมันต่างชาติ
- การประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ และบงกช ที่ผ่านมา บริษัทคนไทย (บริษัท ปตท.สผ. เอ็นเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทย ได้เป็นผู้ชนะทั้งสองแหล่งต้องมีคนทำงานด้วย 80% ในปีแรก อย่างน้อย 90% ในอีกปีที่ 5 ด้วย

> แก้ไขพรบ.ปิโตรเลียม ลดการจัดเก็บภาษีรายได้จากบริษัทน้ำมันผู้สัมปทาน จากเดิมเก็บอยู่ 50% ก็ลดเหลือ 20%

- การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ให้มีระบบการจัดเก็บรายได้เพิ่มเติม ให้มีระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้างบริการ   ระบบกลไกการจัดเก็บจึงแตกต่างกันกับระบบสัมปทาน กล่าวคือ ในระบบสัมปทาน ผู้รับสัมปทานต้องจ่ายค่าภาคหลวงร้อยละ 5-15  ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(ถ้ามีกำไรเกินควร ร้อยละ 0-75) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมร้อยละ 50    ในส่วนของระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต ผู้รับสัญญาจะต้องจ่ายค่าภาคหลวง ร้อยละ 10 ปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไรร้อยละ 50 และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมร้อยละ 20    ความแตกต่างของการจัดเก็บภาษี เกิดจากความแตกต่างของระบบการจัดเก็บรายได้ที่แตกต่างกัน  แต่ไม่ว่าจะจัดเก็บรายได้จากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในระบบใด รัฐจะได้มากกว่ารร้อยละ 50 ทั้งสองระบบ




> ก่อนคสช.เข้ามา เก็บภาษีรายได้จากผู้สัมปทานปิโตรเลียมได้ราว 1 แสนล้านบาท/ปี ปัจจุบันเก็บแค่ไม่ถึง 4 หมื่นล้านบาท/ปี

- แต่งตั้ง คสช. เมื่อ 22 พ.ค. 57
- ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เริ่มปรับตัวลดลง ประมาณเดือน ก.ค. 57 (2014) จาก 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จนถึงระดับต่ำสุดในเดือน ม.ค. 59 ประมาณ 26 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล  ดังนั้นรายได้ที่รัฐจะได้รับขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเป็นหลัก ไม่เกี่ยวกับการแต่งตั้ง คสช.


อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบ ย้อนหลัง 5 ปี  (https://www.indexmundi.com/commodities/?commodity=crude-oil-dubai&months=60)

- การจัดเก็บภาษีปิโตรเลียมรายปีที่ลดลง นอกจากปัจจัยในราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงแล้ว การจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมรายปี ส่วนมาจะจัดเก็บในเดือน พ.ค. ของปีถัดไป  ดังนั้น หากในปี 2559 ราคาน้ำมันดิบยังอยู่ในระดับต่ำ (ช่วง 40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ) จะสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในปี 2560  ลดลงตามไปด้วย ดังกราฟด้านล่าง




> ขูดรีดภาษีน้ำมันปชช. อย่างโหดเหี้ยมอำมหิตกว่าทุกรัฐบาล

-*- ก็ท่องไว้เอาไปพัฒนาประเทศ เอาไปเป็นงบของกระทรวงต่างๆ อย่างกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับงบมากสุด

> ก่อนคสช.เข้ามา เก็บภาษีน้ำมันปชช.อยู่ราว 6 หมื่นล้านบาท/ปี ปัจจุบันเก็บ 2.2 แสนล้านบาท/ปี

น้ำมันคนใช้เยอะก่อนรัฐบาล คสช แน่ เพราะราคาน้ำมันลดลง คนก็ใช้มากขึ้น

> ขึ้นราคาก๊าซ LPG อย่างบ้าคลั่ง ขึ้นมากที่สุดกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านๆมาชนิดทิ้งไม่เห็นฝุ่น

การขึ้นราคา LPG คือการปรับโครงสร้าง เปิดเสรีให้เอกชนรายอื่นเข้ามาดำเนินกิจการ และที่สำคัญ รัฐบาลอื่นๆ มีการอุดหนุนราคา

> ขึ้นลงราคาน้ำมันไม่เป็นธรรมกับปชช. ตลาดโลกขึ้น น้ำมันไทยรีบขึ้นราคาตาม ตลาดโลกลดลง น้ำมันไทยไม่ค่อยจะลงตาม และหลายครั้งขึ้นราคาสวนทางตลาดโลกแบบหน้าด้านๆ และตอนขึ้น 50 สตางค์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนตอนลง 20-40 สตางค์เป็นส่วนใหญ่ ขึ้นลงลักษณะนี้จนปชช.ด่าจนหมดคำด่าไปแล้ว

ราคาน้ำมันเราอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งบางครั้งขึ้นมากกว่าลงด้วยซ้ำ และอย่าลืมว่าตอนขึ้น มันขึ้นแบบเขยิบแบบอั้น สะสมแล้วขึ้นทีเดียวไม่ได้ขึ้นเลยทันที แต่ลง ลงทันที ดังนั้นเวลาขึ้นจึงมากกว่าลง แบบนี้น้ำนมดิบราคาลง ทำไมเราไม่ได้กินนมกล่องที่ราคาถูกลงหล่ะ หรือแม้แต่ข้าวกระเพราที่ราคาถูกลงด้วยเวลาวัตถุดิบราคาลง

> แยกธุรกิจค้าน้ำมันออกจากปตท.ไปยกให้นายทุน

แยกธุรกิจน้ำมันเพื่อความคล่องตัว เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ รัฐห้ามทำธุรกิจแข่งกับเอกชน และที่สำคัญ ปตท. หรือที่เป็นรัฐวิสาหกิจก็ยังถือหุ้นใหญ่สุด

> ขายหุ้นโรงกลั่นบางจากที่ปตท.ถือหุ้นอยู่ให้กลุ่มทุน
> ขายหุ้นโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม(SPRC)ที่ปตท.ถือหุ้นอยู่ให้นายทุน

ด่าเค้าผูกขาดไม่ได้ใช่หรอ ก็ขายหุ้นออกยังไงหล่ะ บางจากก็ขายให้กลุ่มทุนที่ว่าคือ กองทุนรวมวายุภักษ์ กับ สำนักงานประกันสังคม นะครับ นี่กลุ่มทุนหรอครับ ส่วน SRPC ก็ขายให้นักลงทุนรายย่อยทั่วไป

> ปตท.โกงท่อก๊าซ ก็ไม่ยอมทวงคืน

คืนไปเป็นชาติ ตามคำตัดสินของศาล แถมยังจำหน่ายคดีออกจากสารบบไปแล้ว

> แยกท่อก๊าซออกจากปตท.ไปให้นายทุน

ช้าก่อนนะโยม เค้าแยกท่อออกมา แล้วเอาไปเปิดเป็น TPA (Third Party Access) เปิดเสรีกว่าเดิมใครอยากใช้ก็มาขออนุญาตได้ แล้วสรุปตกลงอยากให้ ท่อก๊าซอยู่กับ ปตท อีกใช่หรือไม่

> อุ้มธุรกิจปิโตรเคมีของปตท. ด้วยการยกเลิกเก็บเงินภาคปิโตรเคมีเข้ากองทุนน้ำมัน ทั้งที่เดิมเขาก็จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันน้อยกว่าประชาชนอยู่แล้ว ทำให้ทุกวันนี้ภาคปิโตรเคมีไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันสักบาท ทั้งที่ใช้ก๊าซ LPG มากกว่าใคร ใช้มากกว่าภาคครัวเรือนที่คนไทยใช้หุงต้มกันทั้งประเทศอีก

การจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันของภาคปิโตรเคมี ทุกภาคส่วนที่ต้องใช้ผลิตผลของก๊าซจากอ่าวไทยนั้น ไม่มีการจัดเก็บเพราะเนื่องจากไม่ได้ใช้เป็นเชื้อเพลิง และ ถ้าหากเก็บกองทุนฯ เพิ่มจะให้ต้นทุนแข่งขันกับปิโตรเคมีกับต่างประเทศไม่ได้และจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากปิโตรเคมีแพงขึ้นด้วย เช่น ยารักษาโรค เสื้อผ้าต่างๆ และจะบอกว่าการบริหารจัดการทรัพยากรที่สำคัญคือ การต่อยอดจากวัตถุดิบที่มีอยู่ทำอย่างให้เกิดประโยชน์มากสุดด้วย

บ่อน้ำมันวิเชียรบุรี ถ้าแชร์เรื่องมั่ว!! ก็จะได้ข้อมูลแบบมั่วๆ

ใครที่เคยได้รับทราบ หรือ ได้รับการส่งคลิปจากทางไลน์ หรือ ช่องทางอื่นๆ ประเด็นที่ว่า
ความลวง:
คนไทยรู้หรือยัง ?
ตะลึง..!!


     ขุดน้ำมันดิบที่วิเชียรบุรี ลึกไม่ถึง 1 กม.ได้วันละ 10,000 บาเรนใช้ได้นาน 20 ปี
    เตรียมส่งออกจีน..


เหยี่ยวข่าว 7สี - บ่อน้ำมันวิเชียรบุรี ขุมทรัพย์ใต้ดิน ที่เพชรบูรณ์


ความลับที่รัฐปกปิด เริ่มเปิดเผยออกมาเรื่อยๆ..ที่นี่ ประเทศไทยนะ โดยสันนิษฐานว่ามาจากเนื้อหาของเหยี่ยวข่าว http://s.bugaboo.tv/wmxh และเกิดการเผยแพร่ออกไปให้เกิดการเข้าใจที่ผิด

ซึ่งทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ชี้แจงดังนี้

1. ในอดีตปริมาณการผลิตสูงสุดต่อวันที่เคยผลิตได้ประมาณ 12,500 บาร์เรลต่อวัน แต่อัตราการผลิตลดลงอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ 5,000 บาร์เรลต่อวัน ยิ่งไปกว่านั้น อัตราการผลิตในปัจจุบันลดลงเหลือ 1,200 บาร์เรลต่อวัน (ตั้งแต่เดือน ก.พ.2555) เนื่องจากการผลิตน้้ามันดิบของหลุมในแหล่งส่วนใหญ่ได้มาจากชั้นหินหักเก็บปิโตรเลียมที่เป็นหินภูเขาไฟ ซึ่งโดยธรรมชาติของแหล่งกักเก็บชนิดนี้จะผลิตน้ำมันได้ในปริมาณสูงในช่วงแรกเท่านั้น

เนื่องจากในหินภูเขาไฟมีคุณสมบัติที่สามารถกักเก็บปิโตรเลียมได้น้อย (แหล่งกักเก็บเป็นลักษณะของรอยแตกในหินภูเขาไฟเนื้อแน่น จึงมีปิโตรเลียมในช่องรอยแตกเท่านั้น แตกต่างจากหินกักเก็บที่เป็นหินทราย ซึ่งจะเป็นลักษณะของรูพรุนระหว่างเม็ดทรายเมื่อทำการผลิตปิโตรเลียมจะค่อยๆ ไหลออกมาอย่างต่อเนื่องตามแต่ความสามารถในการซึมได้ของปิโตรเลียม และความดันภายในแหล่ง) การผลิตปิโตรเลียมจากหินกักเก็บลักษณะหินภูเขาไฟจะหมดไปอย่างรวดเร็ว และประสบปัญหาเรื่องปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงจนเป็นเหตุให้ปิดหลุมผลิต

กราฟด้านล่างแสดงอัตราการผลิตรวมที่ระยะหนึ่งมีการผลิตได้มากถึง 12,500 บาร์เรลต่อวัน และลดลงอย่างรวดเร็ว

(ประวัติการผลิตน้้ามันดิบของ บริษัท Eco Orient Resources ซึ่งเดิมชื่อ Pan Orient Resources (Thailand) รวมทุกแหล่ง ได้แก่ วิเชียรบุรี นาสนุ่น
L44 L33 POR และบูรพา)

2. หลุมผลิตในนาสนุ่น มีหลุมเจาะที่เจาะลึกน้อยกว่า 1 กิโลเมตร จริง เนื่องจากชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมอยู่ในชั้นหินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นชั้นหินกักเก็บที่ต่างจากแหล่งกักเก็บอื่นๆ ซึ่งชั้นหินกักเก็บที่อยู่ในชั้นหินทราย

3. จากข่าวรายงานว่าจะแหล่งพื้นที่ผลิตในจังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถผลิตน้ำมันดิบไปได้อีก 20 ปีนั้น หากค้านวณจากปริมาณส้ารองที่พิสูจน์แล้ว (Proved Reserves หรือ P1)
ณ ปี 2555 มีปริมาณส้ารองอยู่ที่ 5.38 ล้านบาร์เรล ซึ่งเมื่อเทียบอัตราการผลิตปัจจุบันที่ 1,270 บาร์เรลต่อวัน แหล่งผลิตปิโตรเลียมในจังหวัดเพชรบูรณ์จะผลิตต่อไปได้ประมาณ
12 ปี เท่านั้น

4. นักข่าวรายงานว่าน้ำมันดิบที่ผลิตได้ในจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ส่งโรงกลั่นน้ำมัน หากไม่สามารถกลั่นในโรงกลั่นในประเทศได้ จะถูกส่งออกไปยังประเทศจีน และอเมริกานั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากการซื้อขายน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งบนบกไม่มีการส่งออกไปขายต่างประเทศ ทั้งนี้ น้ำมันดิบที่ผลิตได้ทั้งหมดจะขนส่งไปยังโรงกลั่นภายในประเทศ (หยุดการส่งออกน้ำมันดิบ ตั้งแต่ ก.ย. 57)




ที่มา เอกสารชี้แจง สัมปทานปิโตรเลียมของไทย รัฐได้หรือเสียประโยชน์กันแน่




หยุดมโนวาทกรรมราคาน้ำมันไทยเท่ามาเลเซีย

คงเคยมีคนโพสต์เรื่องการรณรงค์คัดค้านทางประมูลแหล่งบงกช - เอราวัณ โดยโยงกับราคาพลังงาน และ ใช้ประโยคเชื่อมโยงที่ว่า “ราคาน้ำมันต้องเท่ามาเลเซีย”

หากวิเคราะห์ข้อมูลให้ดีว่าเกี่ยวกับเรื่องนี้กับการเอามาโยงราคาน้ำมันนั้นคนละเรื่องกันทีเดียว เพราะ สาระสำคัญในการประมูลแหล่งบงกช – เอราวัณ สาระสำคัญอยู่ที่การผลิตก๊าซธรรมชาติ เพื่อเอามาผลิตไฟฟ้า

ที่มา สนพ.

ส่วนต่อมาเรื่องการที่บอกว่า ใช้ระบบจ้างผลิตได้ผลประโยชน์ตอบแทนรัฐมากกว่าระบบแบ่งปันผลิตได้ผลประโยชน์มากกว่านั้น กลุ่มคนที่เข้าใจผิด มีการอ้างไปถึงว่า จ้างผลิตได้มากกว่า คงลืมไปว่า หากรวมตัวเลขทุกตัวเข้าด้วยกันของไทยได้มากกว่าด้วยซ้ำ



ส่วนถัดมา มีความเข้าใจผิดว่า มาเลเซียมีหลุม มีบ่อน้ำมันและก๊าซน้อยกว่าเรา เรื่องหลุมน้อยกว่า มากกว่า ไม่ได้เป็นหลักฐานว่า เราร่ำรวยกว่ามาเลเซียหรือประเทศอื่นๆ แต่หากต้องพิจารณา ปริมาณที่พบด้วย 




สุดท้ายมีการเชื่อมโยงประเด็น ราคาน้ำมันไทยต้องเท่ามาเลเซีย การแปรรูป ปตท. ทำให้น้ำมันแพงขึ้น หากเป็นผู้เจริญ ฉลาด และ คิดได้ จะไม่มีตรรกะการเชื่อมโยงแบบนี้เด็ดขาด เพราะ ไม่เกี่ยวกัน ราคาน้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) หมายถึง สินค้าที่ตัวสินค้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ผลิตก็ตาม เช่น เมื่อพูดถึง “ข้าวหอมมะลิ” ผู้ที่บริโภคข้าวทั่วโลกจะเข้าใจทันทีว่าหมายถึงอะไร มีลักษณะอย่างไร ซื้อหรือขายกันที่น้ำหนักเท่าไร เป็นต้น ดังนั้น ข้าวหอมมะลิ จึงจัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ในทางตรงข้าม เมื่อพูดถึง “รถยนต์” จะพบว่าผู้ผลิตแต่ละรายผลิตรถยนต์ที่มีลักษณะ คุณภาพ และมาตรฐานแตกต่างกันมาก รถยนต์จึงไม่จัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์

ด้วยเหตุที่สินค้าโภคภัณฑ์มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทำให้ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก เราจะสังเกตได้อย่างชัดเจนว่า ราคาทองคำที่ซื้อขายกันที่เยาวราชจะขึ้นลงโดยอิงกับราคาตลาดโลก


หากพิจารณาตามภาพสัดส่วนราคาเนื้อน้ำมัน หรือแม้แต่ค่าการตลาดมีแปรผันตลอด มีขึ้นและลง แต่หากในส่วนของ ภาษีกับกองทุนต่างๆ นั้น มีสัดส่วนที่เก็บเพิ่ม และไม่ค่อยลดลงอีกต่างหาก

ถ้าหากตรรกะว่าแปรรูป ปตท ทำให้น้ำมันแพง แบบนี้เท่ากับสินค้าทุกชนิดในโลกนี้ ได้รับการแปรรูปเหมือนกันหมดทุกอย่าง ตามภาพด้านล่าง


https://portal.settrade.com/blog/sombat/2010/10/22/935

https://www.businessinsider.com.au/chart-of-the-day-oil-since-1861-2011-6

แต่หากยังสงสัยอีกว่าทำไมน้ำมันมาเลเซียถูกกว่าไทย นั่นก็คือ มาเลเซียไม่มีการเก็บภาษี






หนังคนละม้วนถ้าได้รู้ความจริงเรื่องราคาน้ำมันไทยกับกัมพูชา

อาจได้มีการเห็น การแชร์เรื่องราคาน้ำมันไทยกับกัมพูชา ไทยส่งออกไปขายน้ำมันกัมพูชา โดยคนกัมพูชาใช้ถูกกว่าคนไทย ถ้าไม่คิดให้ดี หรือ ขวนขวายหาความจริงจะต้องเกิดคำถามในใจว่าทำไม ซึ่งทาง blog แฉ!! ทวงคืนพลังงาน ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วว่าเป็นอย่างไร



ได้มีเพจ น้องปอสาม ได้เฉลยข้อมูลไว้ว่า สาเหตุหลักๆ ที่ราคาต่างกันจากนโยบายทางภาษี ซึ่งจากข้อมูลรายได้ภาษีน้ำมันเป็นรายได้รัฐที่จัดเก็บในแต่ละปีมีมูลค่าสูงมาก หากลดเก็บภาษีน้ำมันลงรายได้รัฐจะหายไป 2.2 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้อันดับ 1 ในบรรดาภาษีสรรพสามิตซึ่งเป็นภาษีที่เก็บกับสินค้าฟุ่มเฟือย (ข้อมูลจากสำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อเดือน ม.ค. 2561)

สัดส่วนโครงสร้างราคาน้ำมันของไทย กับ กัมพูชา ต่างกันอย่างไร
เมื่อช่วงอาทิตยที่ผ่านมา เห็นมีการแชร์ข้อมูลว่าไทยกับกัมพูชา ราคาน้ำมันต่างกัน โดยบางชนิดอย่างดีเซลไทยแพงกว่าดีเซลกัมพูชา อาจมีการสงสัยกันว่า เป็นเพราะอะไร คำตอบคือง่ายมาก โครงสร้างราคาต่างกัน ของกัมพูชาเก็บภาษีค่อนข้างจะต่ำมากกว่าไทย ในทางกลับกัน ถ้าไทยลดเก็บภาษีน้ำมันลง รายได้รัฐจะหายไป 2.2 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้อันดับ 1 ในบรรดาภาษีสรรพสามิตซึ่งเป็นภาษีที่เก็บกับสินค้าฟุ่มเฟือย (ข้อมูลจากสำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อเดือน ม.ค. 2561)
ในส่วนราคา ส่วนอื่นๆ อย่างราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่น จะเห็นได้ว่าไม่ต่างกันมาก ของกัมพูชาราคาสูงกว่าเรานิดหน่อย
และส่วนสุดท้ายที่กังขากันมากคือรายได้ปั๊มของไทยได้เยอะ แต่ไม่เลย รายได้ปั๊ม (ค่าการตลาด) ที่ยังไม่หักค่าดำเนินการใดๆ ออกเลยนั้น กัมพูชาได้สูงกว่าไทยเรามากนัก






ซึ่งหากรายได้ส่วนนี้ลดลง คงหนีไม่พ้นงบของกระทรวงต่างๆ อาจลดลงไปด้วย หรือในทางกลับกัน รัฐอาจต้องหาวิธีจัดเก็บภาษีจากส่วนอื่นมาทดแทนในส่วนที่หายไป




ที่มาข้อมูล



พม่าน้ำมันขุดมือ อันตราย เสี่ยงสารพิษ

เรื่องน้ำมันขุดมือ ของชาวบ้านที่มาขุดน้ำมันในพม่า มีมาแต่ในอดีตหลายสิบปีก่อน เพราะที่ในพื้นที่มีน้ำมันซึมขึ้นมาบนผิวดิน รัฐบาลท้องถิ่นอนุญาตให้ชาวบ้านขุดหาน้ำมันความลึกไม่เกิน 100 เมตร จากนั้นเอาท่อพีวีซีหย่อนลงไปเก็บน้ำมันขึ้นมา เคยผลิตได้สูงสุดถึง 25 บาร์เรลต่อวันต่อหลุม โดยต้องเสียค่าเช่าที่ประมาณ 3,000-50,000 บาท /หลุมขุดเจอก็เจอ ไม่เจอก็เจ๊งไป



หลายครอบครัว ขายไร่ขายนามาเสี่ยงโชค แล้วก็หน้าแห้งกลับไป

ตอนนี้รัฐบาลท้องถิ่น งดให้/ต่อการอนุญาตแล้ว ส่วนที่ยังเห็นขุดกันอยู่ก็คือกลุ่มที่ยังผลิตได้ ซึ่งเหลืออยู่ไม่มาก

ถ้าดูจากภาพ จะเห็นคราบการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยในระดับเละเทะ เพราะขาดมาตรการและการกำกับที่ดี (ซึ่งหมายถึงเงินลงทุน!!) และ ไม่มีที่ไหนในโลก ที่ผลิตลิตรละ 2 บาท ถ้ามีหลักฐานเอามาแสดงอย่าพูดชุ่ย

ยังไม่รวมถึงการทะเลาะเบาะแว้ง การต่อสู้แย่งชิงทำเล อาชญากรรม และปัญหาเด็กกับเยาวชน ที่จะขาดโอกาสทางการศึกษา เพราะพ่อแม่ย้ายถิ่นฐานมาปักหลักในพื้นที่

เมื่อมาตรฐานการผลิตและมาตรการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ผลิตโดยไม่ต้องรับผิดชอบใดๆต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมขนาดนี้ ต้นทุนการผลิตย่อมต่ำไปด้วยเป็นธรรมดา ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลให้ปัจจุบันทางการพม่ากำหนดยุทธศาตร์ใหม่ โดยให้เอกชน รวมไปถึงรัฐ ขุดเจาะสำรวจเองในอนาคต

เหตุการณ์ก็คล้ายๆกับการเฮโลขุดแร่ที่เขาศูนย์ ดอยโง้ม เขาพนมพา บ้านน้ำเค็มที่เมืองไทย ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมมีกลุ่มคน NGO รวมไปถึงนักการเมือง (ที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องธรณีวิทยา) จึงอยากให้ประเทศไทยเป็นอย่างนี้ แต่ขอโทษนะครับ ถึงจะอยากอย่างไรก็แห้วนะครับ เพราะที่เมืองไทยเรา มีที่ที่น้ำมันไหลซึมขึ้นมาใกล้ผิวดินเพีบงแห่งเดียวคือที่ฝาง และก็ไม่ได้มากมายเหมือนที่พม่าเขา หม่องเขาเพียงแต่โชคดีที่มีน้ำมันในระดับตื้นนะครับ เพราะน้ำมันดิบที่เกิดจากแอ่งสะสมตะกอนที่หนากว่า 10 กิโลเมตรนั้น ถูกขับดันไหลซึมขึ้นสู่ผิวดินตามรอยเลื่อนขนาดใหญ่เท่านั้นแหละ ไม่ได้เก่งกว่าคนไทยตรงไหนหรอกครับ

ซึ่งพม่ามีน้ำมันดิบที่ซึมผ่านชั้นหินต่างๆ ขึ้นมาจนอยู่ตื้นมาก สามารถเจาะหลุมได้ด้วยอุปกรณ์แบบเจาะน้ำบาดาล บางครั้งซึมขึ้นมาจนถึงผิวดิน (Oil seep)และมีระบบการขออนุญาตของพม่า / ให้ขุดเฉพาะหลุมตื้น / ไม่ใช้แท่นเจาะขนาดใหญ่ ส่วนไทยมีปรากฏการณ์นี้น้อยมาก ที่พบเมื่อนานมากมาแล้วคือที่ฝาง ปกติแหล่งน้ำมันของไทยอยู่ลึกประมาณ 2.5 - 3 กม. ต้องใช้แท่นเจาะแบบอุตสาหกรรม ส่วน การเจาะแบบในคลิปได้คือถ้าบ่อน้ำมันมันตื้นมากๆ แบบน้ำบาดาล อาจจะได้ แต่ถ้าเจาะแบบ Open hole อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนในชั้นน้ำบาดาล (อยากทำแบบนี้ไม่ต่อต้านกันแล้วหรอ) เห็นในภาพเป็นท่อ PVC บ้านๆ พอนำเอาน้ำมันดิบขึ้นมาแล้ว ไม่มีการสวมอุปกรณ์เครื่องมือป้องกัน ไม่รู้ว่าน้ำมันดิบนั้นจะมีสารปนเปื้อนหรือเปล่า อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายเพราะได้กลิ่นและสัมผัสกับน้ำมันดิบโดยตรง แถมสภาพแวดล้อมแถวนั้นก็ดูเสื่อมโทรม ถ้าเกิดฝนตกแล้วชะล้างเอาน้ำมันดิบลงแม่น้ำล่ะ ไม่อยากจะคิดเลย พวก NGO ประเทศไทยว่ายังไง ปลาจะตาย สัตว์ที่อาศัย คนใช้น้ำในแม่น้ำไม่ได้ แต่การเจาะหลุมปิโตรเลียมในไทย เจาะลึกกว่าระดับน้ำบาดาลมาก (ระดับน้ำบาดาลลึกสุดในไทยประมาณ 600 เมตร)และ ลงท่อกรุ Casing รอบหลุม ไม่ให้สิ่งที่อยู่ในหลุมออกไปปะปนกับชั้นหินอื่น เรียกว่าเป็นระบบปิด น้ำจากการขุดเจาะยังต้องเอาไปบำบัดก่อนอัดกลับลงหลุม แถมเจ้าพนักงานก็ต้องใส่ชุดหมี ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันไอจากน้ำมันดิบอีกต่างหาก

เคยโพสต์ไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว http://bit.ly/2MGrADw
เคยมีกรณีเพื่อนบ้านเราเช่นกัน ช่วงเมษายนที่ผ่านมา ไฟไหม้บ่อน้ำมันเถื่อนในอินโดฯ http://bit.ly/2MXJaCB

#น้ำมันขุดมือ



ที่มา น้ำมันพม่าขุดมือ อันตราย เสื่องสารพิษ http://bit.ly/2D4oQJT