มาดูกันชัดๆ โรงไฟฟ้าถ่านหินเกี่ยวข้องกับทักษิณหรือไม่

ทักษิณซื้อมันทุกอย่างในจักรวาลนี้แหละครับท่านผู้อ่าน



ไม่รู้จะมโนโยงอะไรนักหนา เรื่อง ปตท. ทักษิณ ถ่านหิน แล้วพาลไปโรงไฟฟ้าที่ต้องการความมั่นคงทางพลังงาน รวมไปถึงค่าไฟต้องถูก

เป็นเรื่องปกติที่แสนธรรมดาที่ธุรกิจที่ต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม รวมไปถึง แสวงหาพลังงานของประเทศ ปตท ก็ไปลงทุนซื้อเหมืองถ่านหิน และถ้าจะมโนเอาว่าทักษิณ ก็ไปซื้อเหมืองถ่านหิน แล้วโยงมาเรื่องโรงไฟฟ้านั้น เป็นอะไรที่ไร้สาระมากๆ

1. ต้องไปดูว่าเหมืองถ่านหินที่ ปตท ซื้อ กับ ทักษิณซื้อเป็นแหล่งเดียวกันหรือป่าว ซึ่งลองหาดูแล้ว ไม่รู้ผิดหรือป่าว เสริมกันได้

ที่ ปตท.ซื้อในบริษัท Sakari Resources Limited หรือ SAR ที่ ปตท.เข้าไปถือหุ้นตั้งแต่ในปี 2555 และมีการผลิตถ่านหินใน 2 แหล่งคือ Sebuku และ Jembayan (ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1464348570)



ทักษิณซื้อเป็นแหล่ง ของครอบครัว บาครี ในส่วนที่เกี่ยวกับงานเหมืองถ่านหินจริง โดย เดอะซันเดย์ไทมส์ รายงานเพิ่มเติมอีกว่า  ยูบีเอส เป็นผู้ได้รับการว่าจ้างจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ในการเจรจาครั้งนี้ โดยทาง กลุ่มบริษัทบูมีและครอบครัว บาครี ที่มี นายอาบูริซาล บาครี ประธานพรรคโกลคาร์ของอินโดนีเซีย เป็นผู้ถือหุ้น (ที่มา http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=464275)




2. ต้องไปดูว่าถ่านหินที่ กฟผ ใช้ กับแหล่งในอินโดฯ เกี่ยวอะไรกับทักษิณ หรือป่าว ซึ่ง ทาง กฟผ ก็ชี้แจงเหมือนกันว่า ความร้อนของแหล่งที่ไปซื้อใช้กับโรงไฟฟ้าของไทยไม่ได้ (ที่มา  EGATi ย้ำชัดลงทุนในเหมืองถ่านหิน Adaro Indonesia เสริมศักยภาพจัดหาเชื้อเพลิงให้โรงไฟฟ้าที่บริษัทลงทุนในต่างประเทศ ชี้ค่าความร้อนของถ่านหินที่ผลิตได้ไม่ตรงกับค่าความร้อนทางเทคนิคของโรงไฟฟ้ากระบี่ จึงไม่สามารถร่วมประมูลจัดหาถ่านหินให้โรงไฟฟ้ากระบี่ได้ https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1853:20170219-pre01&catid=31&Itemid=208)



3. ถ้าจะมโนนั่นนี่เยอะแยะไปหมด ว่าทำเพื่อ ปตท. หรืออะไรก็จะสุดแล้วแต่เพื่อเพิ่มความเกลียดชัง ก็ถือว่าประสาทมากๆ

ปตท. นั้นมีการลงทุนในแทบจะทุกธุรกิจ ทั้งปาล์ม พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ เยอะแยะไปหมด ตัวอย่าง จีพีเอสซีจะเข้าไปลงทุนในโครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนโครงการแรกในญี่ปุ่น ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อิชิโนเซกิ โซลาร์ เพาเวอร์  http://www.thairath.co.th/content/602262 และ ปตท.ถือหุ้น40%ร่วมทุนสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กับบริษัททีเอสอี http://www.posttoday.com/economy/stock-gold/207304




สรุปแล้ว อยากจะเอาดราม่าเรื่องอะไรดี?

รู้แล้วอึ้ง!! ผลการศึกษาวิจัยฮาร์วาร์ดเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินในไทย

รู้แล้วอึ้ง ผลการศึกษามหาลัยฮาร์วาร์ด ไม่ได้มาจากมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด แต่มาจากนักศึกษาเท่านั้น


1. กรีนพีซอ้างว่างานวิจัยของฮาวาร์ด แต่จริงๆแล้วเป็นแค่งานของบุคคลไม่เกี่ยวกับฮาวาร์ด กรีนพีซมันจ้างมาให้เขียนแล้วก็ งานเขียน ไม่เคยเก็บข้อมูลในไทยเลยแต่บอกว่าคนไทยจะตาย

2. การประเมินผลกระทบสุขภาพโดยมหิดลพบว่ามีผลกระทบอยู่ในระดับต่ำและยอมรับได้เป็นไปตามองค์กรอนามัยโลก (WHO)

3. ติดตั้งอุปกรณ์ทันสมัยป้องกันมลสารต่างๆให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่ามาตรฐานไทยและสากล ใช้เทคโนโลยี ultra super critical ลดใช้เชื้อเพลิงลดการปล่อยคาร์บอนดียิ่งกว่าเดิมที่กฏหมายกำหนดมาก

4. ทั้งกระบี่-เทพา มีเกณฑ์การควบคุมเข้มงวดมีเครื่องวัดและตรวจวัดทั้งในและรอบโรงไฟฟ้า มีการติดตามผลตลอด 24 ชั่วโมงแบบ real time ไปกรมควบคุมมลพิษ ชาวบ้านรอบพื้นที่สามารถมาดูได้เองอีก ติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ

5. ทั่วโลกยังใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าอยู่ถึง 40% อเมริกา 33% เยอรมนี 44% ออสเตรเลีย 62% ญี่ปุ่น 30% ใช้เทคโนโลยีถ่านหินที่ทันสมัย

6. ทุกประเทศมีการกระจายความเสี่ยงจากเชื้อเพลิงโดยมีการใช้หลายเชื้อเพลิงในอัตราส่วนที่มีความสมดุล

7. จีนใช้ถ่านหิน 72% เลยเพิ่มพลังน้ำและลมเพื่อกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงให้เหลือสัดส่วนแค่ 52% ปี 2040 ซึ่งก็ยังใช้ถ่านหินสูงอยู่ดี

8. จีนไม่ได้เลิกสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแต่ยกเลิกเครื่องเก่าประสิทธิภาพต่ำมาใช้เครื่องใหม่ประสิทธิภาพสูงแทน

9. ไทยใช้ก๊าซผลิตไฟ 70% เกิดพม่า มาเลย์มันพร้อมใจกันหยุดส่งก๊าซไทยอาจได้รับความเสี่ยง ไทยก็เลยเพิ่มถ่านหินเข้าไป 20-25% ภายในปี 2579 แล้วก็เพิ่มพลังงานหมุนเวียน 15-20% ลดการใช้ก๊าซผลิตไฟลงไปจะได้ลดความเสี่ยง

เอกสารหลุด





ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ถลกหนังเอ็นจีโอ กับ การถือครองหุ้น ปตท.

ถลกหนังเอ็นจีโอ



ปัญหาแปรรูป ปตท. ทำท่าจะจบได้สวย แต่ก็ยังไม่จบดี เพราะกลุ่มเอ็นจีโอในนามมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยังคงตามรังควาญไม่เลิก

ยื่นฟ้องศาลฯให้หยุดพักการซื้อขายหุ้น ปตท.จนกว่ากระบวนการโอนทรัพย์สินจะเรียบร้อย

เคลื่อนไหวผลักดันจะให้มีการเอาผิดทั้งทางคดีอาญาและแพ่งในกรณีไม่มีการโอนทรัพย์สินท่อก๊าซและที่ดิน ตอน ปตท. แปลงสภาพเป็น บมจ.ไปแล้ว

และร้องแรกแหกกระเฌอกล่าวหาคนไปทั่วว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการถือครองหุ้นปตท.

แต่น่าแปลกอย่างยิ่ง เบื้องหลังกลุ่มประทุษร้ายบ้านเมืองกลุ่มนี้  กลับมีเบื้องหลังที่ค่อนข้างจะสกปรก น่าสังเวชใจอย่างไม่น่าเชิ่อ


ในขณะที่พวกเขากล่าวให้ร้ายคนอื่น พวกเขากลับเป็นพวกถือครองหุ้น ปตท.อยู่ไม่ใช่น้อย!

เข้าถือหุ้น ปตท.โดยตัวเองก็มี และถือหุ้นโดยเครือญาติที่ใช้นามสกุลเดียวกันก็มี รวมแล้วประมาณ 3 แสนหุ้น

ในบรรดากรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ฟ้องร้อง ปตท.จำนวน 11 คน มีตัวกรรมการและญาติกรรมการที่ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือหุ้นปตท.อยู่ถึง 5 คน

ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  คือ  นส.จิราพร ลิมปานนท์ ได้หุ้นจองไอพีโอ 8,000 หุ้น และญาติที่ใช้นามสกุลเดียวกันอีก 5,000 หุ้น

ญาติกรรมการที่ชื่อ นางสุวรรณา อัศวเรืองชัย ถือครองหุ้นจองอยู่ถึง 1 แสนหุ้น

ญาติกรรมการที่ชื่อ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ได้หุ้นจองไปทั้งสิ้น 26,000 หุ้น

และญาติกรรมการที่ชื่อ นายสุรเกียรติ อาชานานุภาพ ได้หุ้นจองไป 3 พันหุ้น

ทนายความผู้รับมอบอำนาจฟ้องร้อง ปตท. ที่ชื่อ ชัยวัฒน์  แสงอรุณ มีชื่อคนในครอบครัวแสงอรุณถือหุ้นตั้งแต่ตอนจองไอพีโอ และหลังไอพีโอ รวมกันแล้วถึง 111,031 หุ้น

ปตท. เพิ่งจายปันผลระหว่างกาลตอนครึ่งปีไปหุ้นละ 9.25 บาท รวมแล้วตระกูลแสงอรุณรับเงินปันผลหุ้นปตท.ไปแล้วทั้งสิ้น 1.02 ล้านบาท

นี่ปลายปี จะรับปันผลปตท.เพิ่มอีกหุ้นละ 5 บาท ตระกูลนี้ก็จะได้เงินปันผลอีก 555,155 บาท รวมทั้งปีรับเงินปันผลไป 1.5 ล้านบาทแค่นั้นเอง

นี่มันอะไรกันเนี่ย! ไปฟ้องศาลปกครองว่า กระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชน กระทำโดยปิดบังซ่อนเร้น ประชาชนไม่ได้รับรู้ข่าวสารในวงกว้าง

แต่ญาติพี่น้องและตัวกรรมการผู้ร้อง กลับรับรู้ข่าวสารเป็นอันดี แถมยังได้หุ้นจองที่กล่าวหาไปทั่วว่า กระจายหุ้นโดยไม่เป็นธรรมเสียด้วย

จะเรียกคนที่มีพฤติกรรมกลับกลอกพวกนี้ว่า อะไรดีเล่า

เป็นพวกปากว่าตาขยิบ,  พวกเกลียดตัวกินใข่ เกลียดปลาไหลกินแกง หรือ พวกมนุษย์ลวงโลก ก็ดูจะน้อยไป

แต่ที่แน่ๆพวกเขาเป็นพวกชอบประทุษร้ายสังคม

ผมไม่กลัวการฟ้องร้องเลยสักนิด  ฟ้องมาเถอะ จะได้แฉกันให้จะๆกว่านี้ บ้านเมืองจะล่มจมก็เพราะพวกบ้าคลั่งเหล่านี้

วันที่ 18 ธ.ค. 2550

ที่มา ขี่พายุทะลุฟ้า

บรรษัทพลังงานแห่งชาติ: สำเร็จ หรือ ล้มเหลว?

บรรษัทพลังงานแห่งชาติ: สำเร็จ หรือ ล้มเหลว?



ประเด็นปัญหาเรื่องการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติยังคงเป็นประเด็นโต้เถียงกันอยู่ในเวลานี้ ตั้งแต่ในสื่อสังคม

ออนไลน์ไปจนถึงสภาหินอ่อน (สนช.) ถึงความเหมาะสมในการจัดตั้งและประสิทธิภาพในการบริหารงานขององค์กรดังกล่าว

ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็มักจะยกเอากรณีตัวอย่างบริษัทพลังงานแห่งชาติของเวเนซูเอล่า (Petroleos de Venezuela S.A. หรือ PDVSA)ที่มีการบริหารงานอย่างไร้ประสิทธิภาพและมีการคอร์รัปชั่นจนมีหนี้สินมหาศาล และผลิตน้ำมันได้น้อยลงเรื่อยๆ เพราะขาดเงินทุนและเทคโนโลยีในการผลิตและปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดิบชนิดหนักจากแหล่งผลิตในประเทศ จนต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศมาผสมกับน้ำมันดิบในประเทศ ขึ้นมาชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของบริษัทพลังงานแห่งชาติ และนโยบายพลังงานแบบประชานิยมของรัฐบาลสังคมนิยมของอดีตประธานาธิบดี ฮิวโก ชาเวซ ที่ต่อเนื่องมาจนถึงประธานาธิบดีคนปัจจุบัน นิโคลาส มาดูโร ที่สืบทอดนโยบายนี้มาอย่างสุดกู่

โดยทั้งสองรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายบีบบังคับซื้อคืน (ในราคาถูก) หรือยกเลิก (ยึดคืน) สัมปทานการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจากบริษัทน้ำมันข้ามชาติมาให้บริษัทพลังงานแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการแทน เพื่อสนองนโยบายขายน้ำมันในราคาถูกๆให้กับประชาชน (ราคาน้ำมันเบนซินถูกที่สุดในโลก) และขายน้ำมันดิบในราคาถูกกว่าราคาตลาดให้กับประเทศพันธมิตรในค่ายสังคมนิยมด้วยกัน เช่น ประเทศคิวบา เป็นต้น

ด้วยนโยบายสังคมประชานิยม (Socio-Populism) ดังกล่าว ประกอบกับความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารและการแทรกแซงทางการเมือง ตลอดจนสถานการณ์ตลาดน้ำมันที่ราคาลดต่ำลงอย่างถล่มทลายเป็นเวลากว่าสองปี ทำให้ประเทศเวเนซูเอล่าตกอยู่ในสภาพเกือบล้มละลาย และต้องยอมทำสัญญาขายน้ำมันดิบล่วงหน้าให้กับจีนเพื่อแลกกับเงินกู้จำนวน 50,000 ล้านเหรียญ ซึ่งเท่ากับว่าขณะนี้เวเนซูเอล่าได้ใกล้จะสูญเสียอธิปไตยด้านพลังงานไปแล้ว เพราะเวเนซูเอล่าจะไม่เหลือน้ำมันไว้ขายให้ลูกค้ารายอื่นอีกต่อไป เนื่องจากราคาน้ำมันขณะนี้ตกต่ำลงมาก เวเนซูเอล่าจึงต้องชดใช้หนี้ด้วยน้ำมันในปริมาณที่สูงขึ้น

เรื่องนี้ พอฝ่ายคัดค้านบรรษัทฯยกตัวอย่างเวเนซูเอล่าโมเดลขึ้นมาชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของบรรษัทพลังงานแห่งชาติ
ฝ่ายสนับสนุนฯซึ่งเคยพูดถึงเวเนซูเอล่าด้วยความชื่นชมมาก่อน ก็เลี่ยงไปกล่าวว่า ความล้มเหลวดังกล่าวไม่ได้เกิดจากตัวบริษัทพลังงานแห่งชาติ แต่เกิดจากนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลและการแทรกแซงจากภายนอกประเทศ และโต้แย้งว่าทำไมยกตัวอย่างแต่เวเนซูเอล่าที่ล้มเหลว ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอย่างบริษัทเปโตรนาสของมาเลเซีย ทำไมไม่พูดถึงบ้าง เพราะเปโตรนาสส่งเงินเข้ารัฐถึง 40% ของรายได้ของรัฐบาล บริหารกิจการได้อย่างดี มีธรรมาภิบาล จนขยายกิจการไปได้ทั่วโลก และสามารถทำให้ราคาน้ำมันในประเทศมีราคาถูกกว่าประเทศไทยอีกด้วย

ในกรณีของมาเลเซียนั้น ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับบรรษัทฯก็บอกว่า ตามโมเดลของมาเลเซีย บริษัทเปโตรนาสนั้นไม่ใช่บริษัทน้ำมันแห่งชาติธรรมดา แต่ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) และผู้ดำเนินการ (Operator) ไปด้วยในเวลาเดียวกัน

ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศไทย ก็เปรียบเสมือนรวมเอากรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและบริษัทปตท.เข้ามาอยู่ในหน่วยงานเดียวกัน แล้วไปขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเลย

ดังนั้นกำไรของเปโตรนาสจึงสูงกว่า ปตท.มาก เพราะมีรายได้จากค่าภาคหลวงและส่วนแบ่งรายได้ของรัฐจากแหล่งปิโตรเลียมมารวมด้วย (ในขณะที่ของไทยแยกออกเป็นสองหน่วยงาน รายได้ก็แยกกัน) และด้วยรายได้ที่สูงมาก ประกอบกับไม่มีหน่วยงานใดสามารถเข้าไปตรวจสอบบัญชีของเปโตรนาสได้ เพราะขึ้นตรงกับนายกฯ ความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นจึงยังถูกกลบเอาไว้ได้ ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นจากการบริหารงาน เพราะก็มีข่าวการลงทุนที่ผิดพลาดของบริษัทเปโตรนาสเล็ดรอดออกมาเป็นประจำ เช่นการไปลงทุนในโครงการรถยนต์แห่งชาติของมาเลเซีย และโครงการขนาดใหญ่อื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนตามความต้องการทางการเมือง แต่ที่ไม่เป็นข่าวเพราะตรวจสอบไม่ได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีโดยตรง และล่าสุดเปโตรนาสก็เผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำเช่นกัน จนต้องยอมเลิกอุดหนุนราคาน้ำมัน และส่งกำไรให้รัฐลดลงจาก 40% ของรายได้รัฐเหลือเพียง 20% เท่านั้น
ส่วนเรื่องการบริหารงาน ความโปร่งใส และความมีธรรมาภิบาลนั้น เปโตรนาสก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อครหาเสียทีเดียว แต่ก็มีกรณีที่เข้าไปพัวพันกับกองทุน 1-MDB ที่ก่อตั้งโดยนายกฯมาเลเซียที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริต และยังมีกรณีที่เข้าไปพัวพันกับการทุจริตให้สินบนของบริษัท Unaoil รวมทั้งยังมีกรณีที่สมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรของมาเลเซียออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฏหมายปิโตรเลียมปี 1974 ให้อำนาจสตง.เข้าไปตรวจสอบบัญชีของเปโตรนาสได้ เพราะทุกวันนี้มีแต่นายกฯคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธ์เข้าถึงบัญชีและรายงานของผู้ตรวจสอบภายในของเปโตรนาสได้ ซึ่งก็แสดงถึงความไม่โปร่งใส และไม่มีธรรมาภิบาลในการบริหารอยู่แล้ว

สรุปก็คือ เรื่องบรรษัทพลังงานนี้ก็คงต้องเถียงกันไปอีกนานละครับว่าจะตั้งดีหรือไม่ดี ตั้งแล้วจะสำเร็จหรือล้มเหลว และด้วยผลประโยชน์มหาศาล จะกลายเป็นแหล่งแสวงหาประโยชน์จากหลายฝ่ายหรือไม่ ซึ่งก็คงเป็นเรื่องที่ต้องไปคิดกันให้ดี แต่ในความเห็นของผม หน่วยงานใดที่ตั้งขึ้นมาแล้วมีอำนาจมาก ผูกขาดการบริหาร ตรวจสอบไม่ได้หรือตรวจสอบได้ยาก และปล่อยให้ฝ่ายการเมืองแทรกแซงได้
หน่วยงานนั้นก็เสี่ยงต่อการทุจริตทั้งนั้นแหละครับ !!!

ที่มา มนูญ ศิริวรรณ บรรษัทพลังงานแห่งชาติ: สำเร็จ หรือ ล้มเหลว?

หุ้นอุปการคุณ ปตท. 10 บาท เรื่องจริง หรือ มโน? ต้องอ่าน

เห็น ทาง คปพ มีการไปยื่นเรียกร้องให้ทาง ปตท. เปิดเผยรายชื่อผู้ถือหุ้นที่เป็นนักการเมือง หรืออะไรก็แล้วที่ซื้อหุ้นในราคา 10 บาท แล้วบอกว่า นี่คือราคาหุ้นของ ผู้มีอุปการะคุณ ผมว่าน่าจะเข้าใจอะไรผิดมากๆ นะครับ



ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ของ ปตท. มีการระบุไว้ถึงกรณีดังกล่าว ค่อนข้างจะละเอียดทีเดียว ในกรณีของหุ้นผู้มีอุปการะคุณนั้น การทำการซื้อขาย คือต้องผ่านตลาดหลักทรัพย์ หรือ ผู้แทนที่ถูกต้องตามกฎหมาย และ ราคาที่ทำการซื้อขาย คือ 35 บาท ตามที่ได้มีการเปิดขายให้ ประชาชนทั่วไป ไม่ใช่ราคา 10 บาท อย่างที่กล่าวอ้าง

ส่วนกรณี 10 บาท นั้น เป็นส่วนที่ขายให้ พนักงาน ปตท. รวมไปถึง กองทุนเลี้ยงชีพต่างๆ ของ ปตท. เท่านั้น





ดังนั้น ที่มีการยื่นหนังสือมา ผมว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดมหันต์มากๆ
ที่มา ของเอกสารชี้ชวนดังกล่าว http://capital.sec.or.th/…/datafile/69/06532001-10-05t17.doc

ที่มา น้องปอสาม หุ้นอุปการคุณ ปตท. 10 บาท เรื่องจริง หรือ มโน? ต้องอ่าน