คุณจะต้องอึ้ง เมื่อได้เห็นคะแนนความโปร่งใสองค์กรต่างๆ จากเอกสารนี้

เห็นองค์กรอิสระคอยตรวจสอบนั่นนี่องค์กรต่างๆ แต่พอมีการจัดให้คะแนนความโปร่งใสองค์กร กลับอยู่ในอันดับที่ไม่น่าเชื่อ


มีรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา ป.ป.ช. ได้เผยแพร่ผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity &Transparency Assessment หรือ ITA) ประจำปีงบประมาณ 2558 (ป.ป.ช. ประกาศผลเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2559)
       
(สามารถดูอันดับได้ทาง https://www.nacc.go.th/download/article/article_20160912155521.pdf)
       
ทั้งนี้ มีการประเมินหน่วยงานทั้งสิ้น 115 หน่วยงาน แบ่งเป็น สำนักงานศาล (เฉพาะหน่วยธุรการ) 3 หน่วยงาน องค์กรอิสระ 3 หน่วยงาน องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ 2 หน่วยงาน สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 1 หน่วยงาน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 1 หน่วยงาน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 55 หน่วยงาน องค์การมหาชน 50 หน่วยงาน ทั้งนี้ ในการประเมินใช้เกณฑ์คะแนนเต็ม 100 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงานทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1. ความโปร่งใส 2. ความรับผิดชอบ 3. การปลอดทุจริต 4. วัฒนธรรมองค์กร และ 5. คุณธรรมในการมอบหมายงาน

โดย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน อยู่อันดับที่ 46 จาก 115

ซึ่งเมื่อเทียบกับ กฟผ. และ ปตท. นั้น อยู่อันดับ ที่ 16 และ 19 จาก 115 ตามลำดับ


ดังนั้น เราควรแล้วหรือไม่ ในการตั้งคำถาม กับ การทำหน้าที่ขององค์กรอิสระนี้ ในการตรวจสอบเงินของแผ่นดิน หรือ การออกมาเคลื่อนไหวต่างๆ

(สามารถดูอันดับได้ทาง https://www.nacc.go.th/download/article/article_20160912155521.pdf)

ปตท. กับ ปิโตรนาส ต่างกันเพราะ?

อาจเกิดความเข้าใจผิดรวมไปถึงสับสนในการตีความภาพ info graphic นี้ ซึ่งที่จะสื่อให้เห็นว่า ปตท. กับ ปิโตรนาส ต่างกัน

แม้ว่า ปตท. และ ปิโตรนาส จะดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมที่ครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ อย่างธุรกิจสำรวจและผลิตจนถึงธุรกิจปลายน้ำ อย่างธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและก๊าซ เหมือนกันก็จริง แต่สิ่งที่ทำให้ 2 บริษัทมีความแตกต่างกัน ประเด็นหลักๆ คือ



"สิทธิความเป็นเจ้าของแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียม"

- แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยทุกแหล่งรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของ เพื่อให้เกิดความยุติธรรม เสมอภาค และข้อเสนอที่ดีที่สุด -

รัฐจึงเปิดให้เอกชนและบริษัทที่รัฐถือหุ้นอยู่ เข้ามายื่นขอสัมปทาน โดยจะต้องแบ่งส่วนแบ่งให้กับภาครัฐ ตามที่กำหนด และบริษัทในกลุ่ม ปตท. (ปตท.สผ.) ก็ถือเป็นผู้แข่งขันรายหนึ่งที่ต้องยื่นขอสิทธิ์สัมปทานจากภาครัฐเช่นกัน โดยไม่ได้สิทธิพิเศษใดๆ และต้องแข่งขันกับเอกชนรายอื่นๆ

- ซึ่งต่างกับมาเลเซียที่แหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมทุกแหล่ง รัฐได้มอบหมายให้ปิโตรนาสที่ขึ้นตรงกับรัฐบาล -

ให้ดำเนินกิจการขุดเจาะสำรวจ ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ขณะเดียวกันบางแหล่ง ที่อาจมีความเสี่ยง รัฐจะทำการมอบหมายให้ปิโตรนาสเป็นผู้ร่วมในการดำเนินการเป็นคู่สัญญา ร่วมกับบริษัทเอกชนอื่นเข้ามาสำรวจขุดเจาะ โดยบริษัทนั้นต้องแบ่งผลประโยชน์ให้ปิโตรนาสตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน ฉะนั้นแล้วการเปรียบเทียบกำไร การแข่งขันทางธุรกิจ รวมไปถึงศักยภาพทางธรณีวิทยา ย่อมเทียบกันไม่ได้อยู่แล้ว



แน่นอนว่า หากทรัพยากรปิโตรเลียมทั้งหมดในประเทศไทย ปตท. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวเฉกเช่น ปิโตรนาส จะทำให้ ปตท.ได้รับสิทธิ์ผูกขาดจะยิ่งขัดกับสิ่งที่คนบางกลุ่ม

******บอกว่า ปตท. ผูกขาดในการจัดการทรัพยากรแน่นอน******

หรือกลุ่มที่โจมตี ภาพ info graphic นี้ ต้องการให้ ปตท. เหมือนปิโตรนาสในเรื่องการผูกขาดด้านการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม รวมไปถึงการบริหารจัดการทรัพยากรในประเทศแต่เพียงผู้เดียว จะย้อนแย้งทันทีกับการที่บอกว่าไม่ต้องการให้ ปตท. ได้รับสิทธิ์ในการผูกขาดกิจการด้านต่างๆ ทันที

ที่มา น้องปอสาม ปตท. กับ ปิโตรนาส ต่างกันเพราะสาเหตุใดบ้าง

เลิกมโนว่าไม่มีมิเตอร์ดูการไหลของก๊าซจากหลุมปิโตรเลียมแบบรีลไทม์

เมื่อปิโตรเลียมได้รับการผลิตขึ้นมาจากหลุมนั้น ภาครัฐโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติทราบในทุกๆหยด ทุกอณูที่ขึ้นมาว่าผลิตขึ้นมาเท่าไหร่ เอาไปผ่านกระบวนการจุดไหน อย่างไร เท่าไหร่บ้าง


ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท น้ำมันดิบที่ขึ้นมาจากหลุมมันไม่ได้ขึ้นมาแล้วใช้ได้ทั้งหมด มันมีสิ่งเจือปนที่ต้องเอาออก เพราะมันไม่สามารถซื้อขายได้ ดังนั้นปริมาณปิโตรเลียมที่ขึ้นมาจากหลุมทั้งหมด จะไม่ใช่ปริมาณปิโตรเบียมที่ขายทั้งหมด ทุกอย่างมีการแสดงผลและเก็บข้อมูลรายงานกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติตลอดเวลาและในเวลาเย็นของทุกๆ วันจะมีรายงานสรุปอีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นการ double check ในตัวอยู่แล้ว และยังมีข้าราชการกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติผู้รับผิดชอบอยู่หน้างานคอยตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับการรายงานมาที่กรมฯ แบบ Real time ขอย้ำว่า Real time อีกครั้งหนึ่ง

(ที่บอกว่าอยากได้ให้มีมิเตอร์แบบนี้กัน แต่หารู้ไม่ว่าเค้ามีมานานแล้ว)

ดังนั้นอย่างที่บอกนี่คือการ double double check กันทีเดียวเลย ที่บอกว่าเป็นการรายงานภายในของหน่วยงานทำงานอย่างเดียวอันนี้ไม่จริงโดยสิ้นเชิง

หรือแม้แต่การที่ลากเอาไปว่าเนื่องจากการผลิตก๊าซแต่ละแหล่งคนละสัญญานั้น การคำนวณปริมาณก๊าซของหน่วยงานรัฐจะเป็นข้อมูลหลังปัจจุบัน 1 วัน อันนี้จริงครับแต่จริงไม่หมด

การซื้อขายก๊าซธรรมชาตินั้นจะถูกกำหนดไว้ด้วย
- ปริมาณ
- คุณภาพ
- ค่าความร้อน
ปริมาณ หน่วยงานรัฐ ทราบปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ส่งขายเป็นแบบ real time สามารถทราบได้จากระบบมาตรวัดตลอดเวลาและจะมีการสรุปในทุกๆวัน

ส่วนคุณภาพนั้นคือปริมาณ Co2 ปริมาณน้ำในเนื้อก๊าซธรรมชาติที่มีการกำหนดค่าในสัญญาซื้อขาย อันนี้ต้องควบคุมไม่ให้เกินกว่าที่ตกลงกันไว้ โดยการวัดค่าน้ำและ co2 ผ่านอุปกรณ์ที่ถูกปรับเทียบและควบคุมโดยหน่วยงานรัฐ หรือก็คือ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

ส่วนสุดท้ายคือค่าความร้อน อันนี้คือการนำก๊าซธรรมชาติไปผ่านเครื่อง gas chromatography เพื่อหารายละเอียดองค์ประกอบของเนื้อก๊าซว่าประกอบไปด้วย carbon ใดๆเป็นองค์ประกอบบ้าง เพื่อคำนวณหาค่าความร้อนจากเนื้อแก๊สนั้น ซึ่งกระบวนการวัดปริมาณ คุณภาพ ค่าความร้อนนั้น ถูกกำหนดโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติโดยใช้มาตรฐาน AGA (American Gas Association) ล่าสุดในการกำหนดวิธีการ กระบวนการและอุปกรณ์ ผสานกับ พรบ. ปิโตรเลียมที่กำหนดกระบวนการต่างๆ ไว้เช่นกัน

โดยค่าของคุณภาพและค่าความร้อนจะถูกเก็บค่าและคำนวณตามหลักการที่กำหนดไว้ ซึ่งจะใ้ช้เวลาประมาณ 1 วันในการคำนวณ เพื่อนำมาคำนวณกับปริมาณก๊าซที่ส่งขายซึ่งทราบอยู่แล้วแบบ real time ได้ออกมาเป็นมูลค่าของก๊าซในการจัดเก็บค่าภาคหลวงต่อไป ซึ่งมีบางท่านบอกว่ากรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะทราบปริมาณก๊าซธรรมชาติช้าไป 1 วัน อันนี้ไม่จริงด้วยประการทั้งปวง







ที่มา เลิกมโนว่าไม่มีมิเตอร์ดูการไหลของก๊าซจากหลุมปิโตรเลียม เครดิต น้องปอสาม

รู้แล้วจะอึ้ง สาเหตุที่มาเลเซียน้ำมันถูกกว่าไทย

รู้แล้วจะอึ้ง สาเหตุที่น้ำมันมาเลเซีย ถูกกว่าไทย ภาพนี้เป็นโครงสร้างราคาน้ำมัน ในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ระหว่าง เบนซิน 95 ของประเทศไทย กับ เบนซิน (RON) 95 ของประเทศมาเลเซีย ค่าเงิน 1 ริงกิต = 8.58 บาท

ที่มาภาพ น้องปอสาม


นโยบายการยกเลิกอุดหนุนราคาพลังงานที่มาเลเซียพยายามทำมาตั้งแต่ต้นปีตอนนี้น่าจะมีผลแล้วกับราคาน้ำมันในเดือนตุลาคม แต่ยังไงก็ตามยังคงไม่มีการเก็บภาษีในสินค้าประเภทเชื้อเพลิงทำให้ราคาต่างกับประเทศอื่น (ยกเว้น Ron 97 เก็บ 6% แต่ยังถือว่าต่ำสุดในอาเซียน)

ภาพนี้เป็นโครงสร้างราคาน้ำมัน ในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ระหว่าง เบนซิน 95 ของประเทศไทย กับ เบนซิน (RON) 95 ของประเทศมาเลเซีย ค่าเงิน 1 ริงกิต = 8.58 บาท

ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นฯ + ค่าการตลาด ของทั้งสองประเทศใกล้เคียงกันมาก โดยราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น + ค่าการตลาดของ เบนซิน 95 ตกลิตรละ 18.99 บาท (ยูโร4) ส่วนของ RON 95 มาเลเซีย ลิตรละ 17.60 บาท (ยูโร2)

สาเหตุที่เบนซิน 95 มีราคาที่สูงกว่าเนื่องจากคุณภาพน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 และผลของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ราคาหน้าโรงกลั่นฯ ของน้ำมันเบนซิน 95 ในไทย ลิตรละ 16.10 บาท รวมถึงคุณภาพน้ำมันของไทย (ยูโร 4) สูงกว่ามาเลเซีย (ยูโร 2) รวมไปถึงระยะทางการขนส่งน้ำมันจากสิงคโปร์มาไทย กับ สิงคโปร์ไปมาเลเซีย (MOPS is an acronym that stands for the Mean of Platts Singapore, which is the average of a set of Singapore-based oil product price assessments published by Platts สาเหตุที่ใช้ราคาที่สิงคโปร์เนื่องจากเป็นตลาดค้าน้ำมันใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียเราที่ประกาศโดย Platts)

ส่วนราคาขายปลีกนั้น เบนซิน 95 แพงกว่า อยู่ที่ลิตรละ 33.76 บาท เพราะรัฐจัดเก็บภาษีฯและกองทุนฯ เพิ่มเติมอีกลิตรละ 14.77 บาท ขณะที่ RON 95 มาเลเซีย ขายที่ราคาเดียวกับราคาหน้าโรงกลั่นฯ + ค่าการตลาดที่ลิตรละ 17.60 บาท (RM 2.05) เพราะรัฐไม่เก็บภาษีเลย ซึ่งก่อนหน้านั้นรัฐเคยเอางบประมาณไปอุดหนุนหรือช่วยจ่ายค่าน้ำมันบางส่วนให้อีกด้วย แต่ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว

ส่วนเรื่องมาตรฐานน้ำมัน Euro ก็สำคัญเนื่องจาก ไทยใช้ Euro4 เพราะ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเราแย่กว่าประเทศอื่น รวมไปถึงอีกปัจจัยคืออุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ทำให้แปรผันในส่วนการส่งออกรถยนต์ออกนอกประเทศ เนื่องจากหลายประเทศให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน

ทั้งหมดนี้ จึงเป็นสาเหตุที่ราคาน้ำมันขายปลีกทั้งสองประเทศแตกต่างกัน แต่ถ้าพิจารณาที่ตัวเนื้อน้ำมัน จะเห็นได้ว่าราคาไม่ได้แตกต่างกันมาก ที่ราคาขายปลีกต่างกันเพราะอัตราการจัดเก็บภาษีฯและกองทุนฯ
ปล. สาเหตุที่ไม่ได้แยกค่าการตลาดออกมาเพราะไม่มีข้อมูลค่าการตลาดของทางมาเลเซีย

เครดิตข้อมูล:
- สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน (www.eppo.go.th)
- paulton.org
- Petron
- Financial Times
- GST Malaysia
- Malaysia abolishes fuel subsidies
http://www.ft.com/…/240062/malaysia-abolishes-fuel-subsidies
- Ron95, Diesel and LPG to be exempted from GST , Budget 2015 GST Update
http://www.gstmalaysia.co/ron95-diesel-and-lpg-to-be-exe…/…/
- Harga Petrol RON95 RON97 Diesel Terkini Oktober 2015
http://www.hasrulhassan.com/…/harga-petrol-ron95-ron97-terk…
- Harga Minyak Petrol RON95 RON97 Diesel Terkini: Oktober 2015 ราคาเดือนตุลาคม 58 พร้อมเนื้อหาการเก็บภาษี GST ใน RON 97 6%
http://www.malaysiatercinta.com/…/harga-petrol-dan-diesel-t…
- การนำเข้าน้ำมันของมาเลเซียจากสิงคโปร์ และมาตรฐานน้ำมันของมาเลเซีย
http://www.platts.com/…/malaysia-to-import-50-ppm-97-ron-ga…
GST ภาษีระบบใหม่ "มาเลย์" ชดเชยรายได้ น้ำมัน-ส่งออก
http://on.fb.me/1RDXVDn
info Graphic การจัดเก็บภาษี GST ของมาเลเซีย
http://on.fb.me/1PckMHP
ที่มา โครงสร้างตัวอย่างจากคุณสิริวัฒน์ วิฑูรกิจวานิช
http://on.fb.me/1WYSIJs

ศาลอุทธรณ์ ยืนตามศาลชั้นต้น หม่อมกร หมิ่นกระทรวงพลังงาน ให้จำคุก 1 ปี ปรับ 3 หมื่น แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี

ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน ผิดโพสต์เฟซบุ๊กราคาขายน้ำมันดีเซล หมิ่นกระทรวงพลังงาน ปี 56 ให้จำคุก 1 ปี ปรับ 3 หมื่น แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี


ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง 63 วันที่ 15 พ.ย.59 เวลา 09.00 น. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขดำ อ.5418/2556 ที่กระทรวงพลังงาน มอบอำนาจให้ นายเอกศักดิ์ ญาโนทัย เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,332 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14

ตามฟ้องโจทก์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 8 ส.ค.56 ที่จำเลย ได้โพสข้อความในเฟซบุ๊ก " คุยกับหม่อมกร " ระบุถึงราคาขายน้ำมันดีเซล อันเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อประชาชนหรือบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นบุคคลที่สามโดยการโฆษณา หรือด้วยวิธีใดๆโดยการนำเข้าสู้ระบบคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต ซึ่งการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำโดยการหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เหตุเกิดที่ทุกแขวง ทุกเขต กรุงเทพมหานครและทั่วประเทศ

คดีนี้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ไต่สวนมูลฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งรับฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 ส.ค.57 ต่อมาศาลมีคำพิพากษาวันที่ 1 ต.ค.58 ว่า จำเลย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 , พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 3 , 14 (1) ซึ่งเป็นความผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุด ฐานนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ จำคุก 1 ปีและปรับ 30,000 บาท จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรให้รอการลงโทษจำคุกมีกำหนดเวลา 2 ปี และให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาของศาลฉบับเต็ม ในหนังสือพิมพ์รายวันไทยโพสต์ , แนวหน้า , ไทยรัฐ , เดลินิวส์ , มติชน , ข่าวสดและกรุงเทพธุรกิจ เป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาทั้งหมด และให้จำเลยลบภาพกับข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์ในระบบคอมพิวเตอร์ผ่านโปรแกรมเฟซบุ๊ก ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของหน้าเพจ เว็บไซต์ชื่อว่า " คุยกับหม่อมกร " ถ้าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30

ต่อมา ม.ล.กรกสิวัฒน์จำเลย ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง ขณะที่กระทรวงพลังงาน โจทก์ ยื่นอุทธรณ์เช่นกัน ขอให้ศาลลงโทษจำเลยสถานหนัก

โดยนายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ ทนายความฝ่ายกระทรวงพลังงาน โจทก์ เปิดเผยว่า วันนี้ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นไว้

ที่มา http://www.nationtv.tv/main/content/social/378523725/
http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=119760&t=news

ศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุกนายศรัลย์ ธนากรภักดี เจ้าของ Facebook “ทวงคืนพลังงานไทย” ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกนายศรัลย์ ธนากรภักดี เจ้าของ facebook “ทวงคืนพลังงานไทย”และอื่นๆ เป็นเวลา 9 เดือน รอลงอาญา 2 ปี จากที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ฟ้องร้องเมื่อ 17 เมษายน 2557 และเพื่อให้จำเลยหลาบจำ จึงให้ลงโทษปรับจำเลยอีกจำนวน 30,000 บาท




--------------------------------------------------------------------------------------------

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ได้ยื่นฟ้องนายศรัลย์ ธนากรภักดี เจ้าของ facebook ทวงคืนพลังงานไทยและอื่นๆ ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1026/2557 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 (ซึ่งเป็นช่วงที่นายปิยสวัสดิ์ฯ ยังไม่ได้มาดำรงตำแหน่งกรรมการ ปตท.) ว่าจำเลยมีความผิดฐานนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และมีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญาฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

ศาลมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2558 ลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา จึงพิพากษาลดโทษ ลง 1 ใน 4 เหลือลงโทษจำคุก 9 เดือนไม่รอลงอาญา สรุปผลการพิพากษาได้ดังนี้
1.จำเลยมีความผิดฐานนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จตาม มาตรา 14(1) (5) ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
2. จำเลยกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามมาตรา 328 ประมวลกฎหมายอาญา โดยข้อความที่จำเลยโพสต์ทำให้คนอื่นเข้าใจว่าโจทก์ประพฤติชั่วหรือทุจริตในหน้าที่การงาน และมุ่งประสงค์ให้ร้ายทำลายชื่อเสียงของโจทก์ โดยจำเลยซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับสูงและประกอบอาชีพเป็นถึงวิศวกรควรจะพิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหมดเสียก่อน จึงไม่ใช่การแสดงความเห็นหรือข้อความโดยสุจริต จำเลยไม่อาจอ้างเหตุยกเว้นความรับผิดตามมาตรา 329 (3) ประมวลกฎหมายอาญาเพื่อปฏิเสธความผิดได้

จำเลยอุทธรณ์และเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ศาลได้อ่านคำอุทธรณ์คดีปิยสวัสดิ์ฟ้องศรัลย์ โดยมีรายละเอียดส่วนหนึ่ง ดังนี้

“คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของนายศรัลย์ว่าเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ข้อความที่มีการโพสต์และแชร์ในเพจ “ทวงคืนพลังงานไทย” เกี่ยวข้องกับการกระทำและพฤติกรรมของคุณปิยสวัสดิ์ ซึ่งนายศรัลย์โพสต์และแชร์ข้อความที่มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่ล่วงละเมิดสิทธิของคุณปิยสวัสดิ์ ประกอบกับเมื่อพิจารณารวมภาพถ่ายของคุณปิยสวัสดิ์และคุณอานิกมาประกอบกันแล้ว วิญญูชนโดยทั่วไปย่อมเข้าใจความหมายว่าคุณปิยสวัสดิ์และคุณอานิกฯเป็นคนไม่ดี มีพฤติกรรมชั่วร้าย สร้างความเสียหายให้บ้านเมือง ดังนั้นข้อความที่นายศรัลย์ฯ นำเข้าในเฟสบุ๊ครวมภาพถ่ายของคุณปิยสวัสดิ์ดังกล่าวจึงทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ส่วนที่นายศรัลย์ได้อุทธรณ์ว่าเป็นการติชม วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตนั้น ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาว่าการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวต้องไม่กระทบถึงสิทธิส่วนบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของคุณปิยสวัสดิ์และบุคคลในครอบครัวที่จะต้องได้รับความคุ้มครองด้วย มิใช่ว่านายศรัลย์จะแสดงความคิดเห็นอย่างไรก็ได้โดยไม่มีขอบเขต เมื่อการกระทำของจำเลยตามฟ้องทำให้คุณปิยสวัสดิ์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชังก็ย่อมเป็นความผิดตามที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษา”

แต่เมื่อไม่ปรากฎว่านายศรัลย์ฯ ได้รับโทษจำคุกมาก่อน ประกอบกับมูลเหตุของการกระทำผิดเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องนโยบายพลังงานแห่งชาติ และตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่ทำให้คุณปิยสวัสดิ์เสียหายมาก ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษให้แก่นายศรัลย์นั้นหนักเกินไป จึงเห็นสมควรรอการลงโทษให้แก่นายศรัลย์ แต่เพื่อให้นายศรัลย์หลาบจำเห็นสมควรลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับนายศรัลย์ 40,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำนวนหนึ่งในสี่แล้ว คงปรับ 30,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาให้นายศรัลย์ฟัง...”

ที่มา ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกนายศรัลย์ ธนากรภักดี เจ้าของ facebook “ทวงคืนพลังงานไทย”และอื่นๆ เป็นเวลา 9 เดือน รอลงอาญา 2 ปี จากที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ฟ้องร้องเมื่อ 17 เมษายน 2557 และเพื่อให้จำเลยหลาบจำ จึงให้ลงโทษปรับจำเลยอีกจำนวน 30,000 บาท

โรงกลั่น 1 บาท เลิกมโน เพราะเหตุผลต่อไปนี้

มีการอ้างคำกล่าวไปเรื่อยว่า มีการตีมูลค่าโรงกลั่น มีมูลค่า 1 บาท


ในความเป็นจริงนั้น การใส่ตัวเลขว่า โรงกลั่น 1 บาท เป็นการเข้าไป take over ตามคำสั่งรัฐบาล แล้วเรื่องตีค่าโรงกลั่นก็เป็นเรื่องทางบัญชีไม่ได้หมายถึงมูลค่าจริงๆ ของโรงกลั่น

มูลค่าหุ้น กับ มูลค่าสินทรัพย์ .. เป็นมูลค่ากันคนละตัว เอามาเทียบกันไม่ได้

และในปี 2547 เชลล์ ขายหุ้นโรงกลั่นระยองให้ ปตท. ด้วยราคาหุ้นตามมูลค่าบัญชี 1 บาท แต่มีหนี้ที่ติดมาด้วยอีกหลายหมื่นล้านบาท ปตท. ได้มาก็ต้องมาจ่ายหนี้แทน พร้อมปรับโครงสร้างหนี้ และปรับปรุงให้ดีขึ้น แล้วในปี 2549 ปตท. นำโรงกลั่นน้ำมันระยอง เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ความจริงแล้ว ปตท. เข้าไปซื้อหุ้นบริษัท Shell เนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องการให้โรงกลั่นตกอยู่ในมือต่างชาติ โดยซื้อในราคา 5 ล้านเหรียญฯ แต่


ปตท. ต้องแบกรับหนี้สินของ Shell
ไปอีกจำนวนถึง 1,335 ล้านเหรียญฯ หรือ
คิดเป็นมูลค่า
มากกว่า 41,000 ล้านบาท

หลังจากนั้น ปตท. ได้บริหารงานจนสามารถชำระหนี้ได้และผลประกอบการดีขึ้น มีกำไร และได้เป็น Asset ของประเทศ ทำให้มีความมั่นคงทางด้านพลังงานมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น คำว่าโรงกลั่น 1 บาท นั้น เป็นแค่การใส่ตัวเลขทางบัญชี แต่ไม่ได้มีการเอาตัวเลขหนี้สินเข้ามารวมเข้าไปด้วยนั่นเอง

ต้นทุนขุดเจาะน้ำมัน 1 บาท โคตรมั่ว!!

เป็นการมโนที่โคตรโง่เง่าที่สุดของคนทำข้อมูลนี้ ในการบอกว่าต้นทุนขุดเจาะ 1 บาท แล้วแถมมาเทียบกับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่มีทั้งภาษีต่างๆ อีกมากมาย


โดยเฉพาะต้นตอโพสต์ที่ไปจับเอาข้อมูลบางส่วนมาโพสต์
ความเป็นจริงคือ

เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายของ HESS โดยสาระสำคัญที่จับเอามากระเดียดคือ สรุปรายได้และค่าใช้จ่ายในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของบริษัท HESS Corp ในปี 2011

เนื่องจากทาง Hess ไม่ได้จำแนกสัดส่วนต้นทุนและค่าใช้จ่ายแต่ละอย่างเป็นรายทวีป มีแค่ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในกระบวนการหรือ Production (Lifting) Cost เพียงอย่างเดียวที่แจกแจงตามทวีป ดังนั้น ผมจะลองคำนวณคร่าวๆตามสัดส่วนของค่าใช้จ่ายโดยรวมของค่าใช้จ่ายในแต่ละประเภท (ซึ่งถ้าให้ถูกต้องจริงๆ ต้องใช้ค่าใช้จ่ายแยกตามทวีปทั้งหมด) ดังต่อไปนี้ครับ

ตารางแสดงการคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามสัดส่วนของค่าใช้จ่ายรวมและแสดงกำไรสุทธิ ในส่วนของทวีปเอเชีย ของบริษัท Hess Corp. ปี 2011

จะเห็นได้ว่า ค่าใช้จ่ายที่ผมประมาณจากการเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายโดยรวมนั้น ทำให้ทวีปเอเชีย มีค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อหน่วย BOE ที่ผลิตได้คือ $29.45/BOE และ ภาษีเงินได้ที่ต้องหัก จากข้อมูลของ HESS เอง คิดเป็น 33% ของรายได้สุทธิก่อนหักภาษี สรุปแล้ว HESS จะมีกำไรสุทธิจากปิโตรเลียมในทวิปเอเชียอยู่ที่ $13.7/BOE หรือ 2.5 บาทต่อลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ* เท่านั้นเองครับ (ทั้งหมดนี้คือค่าประมาณการจากการสัดส่วนค่าใช้จ่ายจากค่าใช้จ่ายรวม ซึ่งถ้าให้ถูกต้องจริงๆ ต้องใช้ค่าใช้จ่ายแยกตามทวีปทั้งหมด)

*อัตราแลกเปลี่ยน 29 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ และ 1 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ เท่ากับ 159 ลิตร



ต้นทุนการผลิตปิโตรเลียมที่แท้จริง

ผู้ที่จัดทำรูป ได้เข้าใจผิดและนำต้นทุนส่วนกระบวนการผลิต (Production Cost หรือ Lifting Cost) มาเพียงแค่อันเดียว ซึ่งความเป็นจริงแล้วต้นทุนการผลิตทั้งหมดจะต้องรวม ต้นทุนที่เกิดจากการสำรวจและค้นหา ต้นทุนการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม ต้นทุนการบริหารจัดการ รวมถึงต้นทุนของดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกครับ รูปดังต่อไปนี้เป็นการแสดงยอดขายและต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในส่วนของสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของบริษัท Hess Corp ปี 2011

รูปแสดงยอดขายและค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดของบริษัท Hess Corp ในปี 2011



1. Production expenses including related taxes (ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต หรือ Lifting cost)

ต้นทุนค่าใช้จ่ายนี้คือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนกระบวนการผลิตเท่านั้น จากคำนิยามที่ทาง HESS ให้ไว้คือ เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนกระบวนการผลิต การซ่อมบำรุงรักษาหลุมผลิต, อุปกรณ์การผลิต รวมค่าขนส่งและส่วนที่เป็นภาษีเพิ่มเติม (เป็นค่าภาคหลวง ผลตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไร) บางบริษัทจะแยกส่วนที่เป็นค่าภาคหลวงและค่าใช้จ่ายอื่นที่ต้องให้รัฐอีกต่างหาก ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ทาง HESS Corp แยกเป็นส่วนของทวีปเอเชียเท่ากับ $10.62/BOE

2. Exploration expenses, including dry holes and lease impairment (ค่าใช้จ่ายในการสำรวจ)

ต้นทุนค่าใช้จ่ายนี้คือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการสำรวจและขุดเจาะหลุมสำรวจปิโตรเลียมทั้งหมด รวมถึงหลุมที่ไม่พบปิโตรเลียมด้วย ต้นทุนนี้คือต้นทุนส่วนนึงของ Finding Cost

3. General, administrative and other expenses หรือ G&A (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ)

เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนของการบริหารจัดการ การดำเนินงาน ธุรการ ค่าจ้างผลตอบแทนพนักงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

4. Depreciation, Depletion and Amortization หรือ DD&A (ค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้นและค่าตัดการจำหน่าย)

ต้นทุนค่าใช้จ่ายนี้คือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม มันคือส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ในแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้แล้ว เงินลงทุนก่อสร้างแท่นผลิตต่างๆและขุดเจาะหลุมผลิตตอนพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมจะกลายเป็นสินทรัพย์ เช่น หลุมสำรวจ หลุมผลิต แท่นผลิต เครื่องมืออุปกรณ์การผลิต รวมถึงต้นทุนการรื้อถอน ฯลฯ มูลค่าของพวกนี้จะมีค่าเสื่อมราคาโดยคำนวณโดยวิธีสัดส่วนของผลผลิตตลอดอายุของปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว เมื่อหมดอายุสัมปทาน ของเหล่านี้จะกลายเป็นแค่เศษเหล็กที่ต้องรื้อถอนออกไป ดังนั้น ส่วนนี้คือต้นทุนที่จ่ายแล้วจริงตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม (ส่วนนึงของ Finding Cost เช่นเดียวกัน) แต่ใช้วิธีทยอยตัดรายจ่ายในรูปค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายนั่นเอง ส่วนแหล่งที่พบปริมาณที่ไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์สินทรัพย์ทุกอย่างจะถูกตัดการจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายออกไปทั้งหมด

5. Asset Impairment (การด้อยค่าของสินทรัพย์)

ต้นทุนค่าใช้จ่ายนี้จะคล้ายในส่วนของค่าเสื่อมราคา แต่เกิดจากการที่ราคาตลาดของสินทรัพย์ที่เกิดจากการลงทุนพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม (หลุมสำรวจ หลุมผลิต แท่นผลิต ฯลฯ) ที่ผมอธิบายในส่วนของค่าเสื่อมราคาฯ นั้น มีราคาเปลี่ยนแปลงลดลงมากกว่าความเสื่อมราคาเนื่องจากการใช้งาน สินทรัพย์ที่เรามีล้าสมัยแล้ว (ราคาตก) รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจนมีผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์ (กู้เงินมาสร้าง) ถ้าสมมติเราขายสินทรัพย์ (เช่น ขายกิจการ) จะทำให้ขายได้ในราคาต่ำกว่าต้นทุนจริงหลังหักค่าเสื่อมไปแล้ว ดังนั้นต้นทุนนี้คือต้นทุนแฝงในส่วนของ Finding Cost ด้วย

ที่ขาดไม่ได้อีกอันก็คือ

6. Petroleum Income Taxes (ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม)

จะมากน้อยขึ้นอยู่รายได้สุทธิก่อนหักภาษีนั่นเอง และอัตราภาษีก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่ไปลงทุนด้วย

และการเอามาเทียบกับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่นั้นยิ่งคนละส่วน เพราะ ราคาน้ำมันที่ขายแต่ละประเทศโครงสร้างนั้นต่างกัน

โรงแยกก๊าซใหญ่ที่สุดในโลกแล้วไงสร้างเพื่อพัฒนาประเทศไทยเพื่อคนไทยทุกคน

เป็นการมโน ที่รวมเอาหลายข้อมูลมาไว้เป็นโพสต์เดียวกัน


การที่โรงแยกมีกำลังการผลิตที่สูงก็เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ซึ่งกำลังการผลิตของโรง 6 คือ 800 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน ช่วยส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศ และผลิตก๊าซหุงต้ม รองรับความต้องการใช้ภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับก๊าซธรรมชาติ ลดการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมด้วยซ้ำ

ส่วนเรื่องการแหกตานั้น ไม่ได้มีใครแหกตาใครเลย เรื่องของเรื่องคือเท่าที่มีการสำรวจขุดเจาะ ศักยภาพทางธรณีวิทยาของไทย เป็นกระเปาะเล็กๆ มันต้องเจาะหลายหลุม เพื่อให้รักษาระดับการผลิตก๊าซที่ต้องเอาขึ้นมาใช้ทุกวัน และ เรื่องกำลังจะหมดหมายถึง ตราบใดยังไม่มีความชัดเจนทางนโยบาย การขุดขึ้นมาใช้ก็จะหยุดลง เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนต่อ แถมไม่มีก๊าซใช้อย่างต่อเนื่อง และที่ให้สำรวจและผลิตทุกวันนี้ก็หมดไปเรื่อยๆ เพราะมันเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วหมดไป

ประเด็นเชฟรอนผลิตก๊าซนั้น ตอบไปหลายรอบละ เชฟรอนผลิตก๊าซได้เป็นอันดับสองของเชฟรอนทั่วโลก ไม่ใช่ของผู้ประกอบการทั่วโลก (มีกี่บริษัทหล่ะ ไปนับกันเอาเอง) และถ้าขยายความอีกที คือ นอกจากนี้ก็ต้องไม่ลืมว่าเชฟรอนเป็นบริษัทที่ผลิตน้ำมันเป็นหลัก ไม่ได้ผลิตก๊าซเป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ไทยผลิตก๊าซได้เป็นอันดับสองของบริษัท

ก็ด้วยประการฉะนี้แล

ไขความกระจ่าง เลิกดราม่า เจ๊แดงกับอเมซอน เพราะสาเหตุต่อไปนี้

สืบเนื่องจากในสื่อออนไลน์มีการแชร์ต่ออย่างมากมายว่า ร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอนที่เปิดบริการอยู่ในปั๊มน้ำมัน ปตท. นั้น เป็นธุรกิจของ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ หรือ เจ๊แดง น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีการโยงเข้าการเมืองมากมาย หากพิจารณาให้ดี
ร้านกาแฟโดยส่วนใหญ่เป็นในรูปแบบลักษณะ แฟรนไชส์ (Franchise) หมายถึง การที่เจ้าของสิทธิ (Franchisor) ตกลงอนุญาตให้ผู้รับสิทธิ (Franchisee) ดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อการค้า การบริหาร และระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาขึ้น ผู้รับสิทธิจะต้องดำเนินธุรกิจตามรูปแบบและระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ และจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ (ที่มา http://www.franchisefocus.co.th/index.php/what-is-franchise.html)

ดังนั้น การที่ร้านกาแฟไม่ว่ายี่ห้อใดๆ จะมีบุคคลต่างๆ จะขอเข้ามาร่วมธุรกิจก็สามารถเป็นไปได้ โดยไม่จำกัดว่าบุคคลนั้นจะเป็นใคร ขอแค่มีทุน มีทำเลที่ตั้ง ที่เหมาะสม ดังจะเห็นได้จาก ธุรกิจ แฟรนไชส์ต่างๆ ที่ผุดกันทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็น บะหมี่เกี๊ยว ชาไข่มุก ข้าวมันไก่ เป็นต้น


และในขณะเดียวกัน ทาง ปตท. ก็ได้ยืนยันแจง ร้านคาเฟ่อเมซอน ไม่ได้เป็นของ เจ๊แดง เยาวภา แต่อย่างใด


คาเฟ่อเมซอน แจงผ่านหน้าเว็บไซต์ ย้ำชัดเป็นธุรกิจที่ประชาชนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ ไม่ใช่ของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/405363

จากกรณีที่ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวลือในโลกออนไลน์ อ้างว่า ร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอน เป็นธุรกิจค้าปลีกภายใต้การดำเนินงานของ ปตท. แท้จริงแล้วเป็นของ เจ๊แดง หรือ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ภรรยาของอดีตนายกฯ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พร้อมกันนั้น โลกออนไลน์ยังได้มีการแชร์รูปร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอน พร้อมกับข้อความโจมตี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้ออกมาชี้แจงผ่านเว็บไซต์ www.cafe-amazon.com โดยระว่า ร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอนเป็นธุรกิจค้าปลีกภายใต้การดำเนินงานของ ปตท. ที่เปิดดำเนินการในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันมีร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอนกว่า 1,000 สาขาทั่วประเทศ แบ่งการดำเนินธุรกิจออกเป็น 2 ประเภท คือ ร้านกาแฟที่ ปตท. ดำเนินธุรกิจเอง และร้านกาแฟที่เปิดขายแฟรนไชส์ให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจอยากทำธุรกิจร้านกาแฟ ภายใต้แบรนด์ “คาเฟ่อเมซอน” ได้มีโอกาสเป็นเจ้าของธุรกิจ ทั้งในและนอกสถานีบริการน้ำมัน ปตท.

ดังนั้น ปตท. จึงขอเรียนให้ท่านทราบว่า ปตท. เปิดโอกาสให้กับประชาชนโดยทั่วไป มีสิทธิ์เป็นเจ้าของธุรกิจคาเฟ่อเมซอน มิใช่เฉพาะกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทั้งนี้ ร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอน มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งมอบสินค้าและบริการที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคทุกคน
และท้ายสุดท้าย การมโน และ โยง โดยการทำข้อมูลบิดเบือนขึ้นมามีความผิดตาม พรบ. คอมพิวเตอร์ ระวังกันด้วยนะเตง


หมายเหตุ เรื่อง cafe amazon ควรรู้
  • เป็นธุรกิจที่พัฒนาโดย ปตท. 100%
  • เปิดแฟรนไชส์ให้เจ้าของปั๊มหรือเอกชนรายย่อยลงทุน
  • ซื้อเมล็ดกาแฟจากโครงการหลวงและเกษตรกรไทย
  • มีโรงคั่วของตนเอง เปิดเป็นทางการ ปี 2559 มี 1,500 สาขา(2559) สร้างงานและพัฒนา Barista กว่า 7,500 คน
  • สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและผลิตผลเมล็ดกาแฟ ช่วยเกษตกรเพิ่มรายได้
  • ได้รับความนิยมจากชาวไทยและต่างชาติ ขยายตลาดสู่ ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น นำ Brand ไทยสู่ Brand โลก
ที่มา เรื่อง cafe amazon ควรรู้ Amazon ไม่ใช่ของใคร เป็นของ ปตท. ที่สร้างความภาคภูมิใจให้คนไทย


วาทกรรมปิโตรธิปไตย ประชาธิไตยพลังงาน

Energy Guru อ่านบทความอาจารย์ ประสาท มีแต้ม ที่ลงในสื่อผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 24 ก.ค.2559 หลังที่แกไปเป็นวิทยากรบนเวที คปพ.ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23ก.ค หัวข้อจากปิโตรธิปไตยสู่ประชาธิปไตยพลังงาน ก็เห็นว่าอาจารย์แกชอบประดิษฐ์คำ มาเพื่อจูงใจมวลชน แกให้ความหมาย ปิโตรธิปไตย ว่า การครอบงำโลกด้วยปิโตรเลียม พร้อมเขียนความจริงตามความเข้าใจของแก 5ประการ ซึ่งคงจะได้ถกกัน เป็นข้อๆ ดังนี้

ที่มาภาพ https://www.facebook.com/729679307066728/photos/a.731322350235757.1073741828.729679307066728/1221369387897715/?type=3&theater

1.แกบอกว่ายูโนแคลของสหรัฐอเมริกา ไปทำธุรกิจที่อินโดนีเซีย ในปี2504 (ก่อนไทย10ปี ) ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของปิโตรเลียม อุปกรณ์การผลิต การจำหน่ายและปรับเปลี่ยนแผนการผลิต แต่พอยูโนแคลมาลงทุนที่ไทย ไทยกลับใช้ระบบสัมปทานปิโตรเลียม ที่กรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ เป็นของผู้รับสัมปทาน ดังนั้น ที่เขียนในพ.ร.บ.ปิโตรเลียมพ.ศ2514ว่า “ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ” จึงเป็นวาทกรรม แบบเดียวกับเพลง จดหมายผิดซอง เพื่อต้องการจะบอกให้ประชาชนเข้าใจว่า รัฐเป็นเจ้าของแต่ซองจดหมาย แต่จดหมาย(หมายถึงปิโตรเลียม) นั้นเป็นของเอกชนผู้รับสัมปทาน 

เรื่องนี้ ถ้าไปอ่านดูประวัติศาสตร์ปิโตรเลียม ก็ต้องบอกว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องของฝ่ายนโยบายและข้าราชการระดับสูงของไทยสมัยนั้น ที่ให้ร่างกฏหมายเพื่อนำระบบสัมปทานมาใช้ แบบเดียวกับประเทศผู้ล่าอาณานิคมใช้กัน ซึ่งทำให้รัฐได้ประโยชน์ มากกว่าเพราะรัฐไม่ต้องมารับความเสี่ยง รัฐเป็นเจ้าของปิโตรเลียม แต่ให้สิทธิ์ผู้รับสัมปทานมาดำเนินการแทน ในขณะที่ ระบบแบ่งปันผลผลิต ที่อินโดนีเซียใช้เป็นประเทศแรกค่อนข้างมีปัญหาในทางปฏิบัติ มีการจ่ายใต้โต๊ะ มีคอร์รัปชั่น ด้วยระบบที่เอื้อให้ทำเช่นนั้น เนื่องจากกระบวนการทุกอย่างรัฐเป็นผู้อนุมัติ ไม่จูงใจให้เอกชนปรับลดต้นทุนของตน เพราะมีรัฐมาช่วยแบกรับความเสี่ยง 

2.แกบอกว่า แหล่งเอราวัณที่ยูโนแคล(ปัจจุบันเป็นของเชฟรอน)ได้สัมปทานไปนั้น เคยแจ้งกับรัฐว่าจะหมดภายใน17ปี นับแต่วันที่เริ่มเจาะหลุมผลิตเมื่อปี2524 แต่ตอนนี้ผ่านมา35ปี ยังไม่หมด( เพื่อจะบอกว่าปิโตรเลียมไทยนั้นมีเยอะ ที่รัฐบอกว่าจะหมด เหมือนเป็นการขู่ให้กลัว)

ที่จริง ที่มันยังไม่หมด อาจารย์แกน่าจะรู้ดี ว่ามันมีการพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจและผลิต ให้เหมาะกับโครงสร้างทางธรณีวิทยา และเจาะหลุมผลิตใหม่ๆเพิ่มทุกปี ปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดินแบบกระเปาะเล็กๆ กระจัดกระจายที่เดิมคิดว่าจะนำขึ้นมาใช้ไม่ได้ ไม่คุ้มทุน ก็มีความคุ้มทุน ซึ่งต้องยกความดีให้ระบบสัมปทาน ที่จูงใจให้เอกชนต้องพัฒนาเทคโนโลยีและลดต้นทุนของตัวเองให้ต่ำ เพราะ ยิ่งทำให้ต้นทุนต่ำได้เท่าไหร่ ก็มีกำไรเพิ่มขึ้น ในขณะที่ไทย ก็สามารถนำปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ได้ผลตอบแทนเป็นร่าภาคหลวง ภาษีปิโตรเลียมมากขึ้น 

3.อาจารย์แกบอกโดยอ้างข้อมูลกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ว่าบริษัทผู้รับสัมปทานนั้นได้กำไรมากเกินควร คือปี2555 ได้กำไรร้อยละ117 (ราคาน้ำมันอยู่ที่เฉลี่ย98เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล)

ก็ต้องบอกในข้อเท็จจริงที่เป็นสากลทั่วไปไม่เฉพาะประเทศไทยว่า ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม นั้น ความเสี่ยงสูง กำไรสูง ประเด็นก็คือกำไรมาก ก็ต้องแบ่งให้รัฐมาก เพราะ รัฐเก็บภาษีปิโตรเลียมสูงถึงร้อยละ50 (เก็บในสัดส่วนที่สูงกว่าธุรกิจอื่นๆ) ที่จริงปีที่ได้กำไรน้อย หรือขาดทุนก็มี คือปีที่ราคาน้ำมันตกต่ำอย่างปี2558แต่อาจารย์แกเลือกหยิบมาเฉพาะปีที่กำไรดี และเลือกมาเฉพาะบางบริษัท แต่ไม่ได้ยกตัวอย่างบริษัทที่เข้ามาลงทุนแล้วไม่ประสบความสำเร็จ เพราะสำรวจไม่เจอ แล้วต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน 

4.แกบอกว่าราคาก๊าซพม่า ที่ขายให้ไทยลดลง แต่ราคาค่าไฟฟ้าในประเทศไทย ไม่ลดลงเลย

ข้อนี้ เป็นความเข้าใจที่ผิดไปเลย ความจริงคือราคาค่าไฟฟ้าในส่วนของเอฟที มีการปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องในแต่ละงวด แต่จะลดลงช้ากว่าราคาน้ำมันที่ปรับลดลง เพราะสูตรราคาก๊าซนั้นผูกติดกับราคาน้ำมันย้อนหลังไปประมาณ6-12เดือน คือ น้ำมันลดลงวันนี้ อีก6-12เดือน ราคาก๊าซจึงจะลดลงตาม และการปรับลดลงก็ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วยเช่น อัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งลดลงในสัดส่วนที่ไม่เท่ากับราคาน้ำมันที่ลดลง หรือราคาก๊าซจากพม่าที่ลดลง เพราะ การผลิตไฟฟ้าของไทย ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงประมาณเกือบร้อยละ70 และส่วนใหญ่ เป็นก๊าซจากอ่าวไทย ก๊าซจากพม่า คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20เท่านั้น นอกจากนี้ ก๊าซจากพม่า กับก๊าซจากอ่าวไทย ก็มีสูตรราคาที่อ้างอิงราคาน้ำมันที่ต่างกัน การปรับลดลง จึงไม่เท่ากัน

5.แกบอกว่ารัฐขู่ว่าไฟจะดับ ถ้าไม่ต่ออายุสัมปทานเอราวัณและบงกช ที่จริงอาจารย์แกก็รู้ว่า

สัมปทานเอราวัณและบงกช นั้น หมดอายุสัมปทานคราวนี้แล้ว ต่ออายุไม่ได้ แต่ต้องเป็นการทำสัญญาใหม่ เงื่อนไขใหม่ ส่วนจะเป็นระบบแบบใด ใครจะได้มาบริหารจัดการ ก็อยู่ที่ขั้นตอนการประมูลคัดเลือกตามมติกพช. และถ้าการผลิตไม่ต่อเนื่อง รัฐก็ไม่ได้บอกว่า ไฟฟ้าจะดับ แต่บอกว่าไฟฟ้าจะแพง เพราะ ต้องนำเข้าแอลเอ็นจี ที่มีราคาแพงกว่าก๊าซในอ่าวไทย เข้ามาใช้ทดแทน ส่วนข้อเสนออาจารย์ที่ให้ส่งเสริมโซลาร์รูฟท็อป มาแทนไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซนั้น ก็ต้องบอกว่า ถ้าติดตั้งจริง เวลา กลางคืน ไม่มีแสงอาทิตย์ เราจะเอาไฟฟ้าจากไหนมาใช้ เพราะระบบแบตเตอรี่กักเก็บไฟฟ้าแพงมาก จำเป็นที่รัฐจะต้องลงทุนโรงไฟฟ้าที่ใช้ฟอสซิลมาแบ็คอัพให้อยู่ดี ข้อนี้อยากจะบอกว่า โซลาร์รูฟท็อบ ถ้าติดตั้งเพื่อไม่ขายไฟเข้าระบบ นั้นทำได้ หรือถ้าจะขาย ก็ต้องขายในราคาต้นทุนที่ไม่มีการอุดหนุน ซึ่งต้องต่ำกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล เพราะถ้ายังมีการอุดหนุน ยิ่งทำมาก ค่าไฟก็ยิ่งแพง ประชาธิปไตยพลังงานที่อาจารย์แกหมายถึงว่าทุกครัวเรือนมีสิทธิ์ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ขายเข้าระบบ จึงยิ่งเป็นการซ้ำเติมต้นทุนพลังงานของประเทศ 

เขียนถกกับอาจารย์แกเสียยาว หวังว่าคงจะอ่านกันจนถึงบรรทัดสุดท้าย ส่วนจะคิดเห็นกันอย่างไรก็อยู่ที่ดุลยพินิจของแต่ละท่านก็แล้วกัน

วาทกรรมประดิษฐ์ ทำให้เข้าใจผิดเรื่องพลังงาน

ถ้ามีใครได้เห็นหรือว่า วาทกรรมประดิษฐ์ที่กลุ่ม คปพ และ พธม สร้างมา โดยเป็นประเด็นเดิมๆ กลุ่มการเมืองที่หันมาเอาดีเรื่องพลังงาน มาตีเป็นกระแสบังหน้า มาระดมมวลชน สร้างวาทกรรมประดิษฐ์ อ้างรักชาติ ตีรวน หวังจะสร้างราคา ผมขอสรุปเลยดีกว่า

ที่มาภาพ https://www.facebook.com/nongposamm/photos/a.1548159858783765.1073741828.1547935488806202/1766799376919811/?type=3&theater

- ไทยเราผลิตน้ำมันดิบเกรดดีได้ในบางแหล่งก็จริง แต่ความต้องการใช้ในประเทศรวมไปถึงโรงกลั่นออกแบบมาให้กลั่นน้ำมันได้ออกมาตามความต้องการใช้งาน ไทยเราใช้ดีเซลมากกว่าเบนซิน ดังนั้น จะให้เอาน้ำมันดิบมากลั่นได้แต่เบนซิน แล้วนำเข้าดีเซลเยอะๆ ได้อย่างไร สู้ส่งเอาน้ำมันดิบเกรดนั้นซึ่งกลั่นได้สัดส่วนเบนซินเยอะขายออก เอาเงินเข้ารัฐได้มากกว่า น้ำมันที่ส่งออกก็ต้องจ่ายค่าภาหลวงให้กับรัฐ และหากมีกำไรตอนปลายปีก็ต้องนำไปรวมเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมด้วย และนำเข้าน้ำมันดิบที่กลั่นได้สัดส่วนดีเซลเยอะเพื่อมากลั่นให้พอใช้กับความต้องการใช้ดีเซลไม่ดีกว่าหรือ? ซึ่งการส่งออกน้ำมันดิบของไทย นั้นน้อยมาก และการส่งออกน้ำมันดิบนั้นก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ประเทศต่างๆ ก็ส่งออกกัน แบบนี้ประเทศเหล่านั้นคิดผิด? เค้าเสียอธิปไตยทางพลังงาน?

- ราคาน้ำมันประเทศไทยกับเพื่อนบ้าน แต่ละประเทศมีนโยบายที่ต่างกัน โครงสร้างราคา มาตรฐานน้ำมัน พลังงานทดแทนด้วย พม่านำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากไทย แต่ความจริง พม่านำเข้าจากสิงคโปร์เยอะที่สุด ซึ่งราคาน้ำมันสำเร็จรูปในพม่าถูกกว่าสิงคโปร์ แบบนี้สิงคโปร์ผิดหรือไม่ที่ขายน้ำมันในประเทศแพงกว่าพม่า ราคาต่างกันลิตรนึงประมาณ 20 บาท มีคนพยายามเปรียบเทียบราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ไทยกับมาเลเซีย และบอกว่าจะนำเข้าจากมาเลเซียที่ถูกกว่ามาขาย ซึ่งนำเข้าได้ แต่ต้องถูกกฎหมาย นำเข้าก็ต้องเก็บภาษี ตามนโยบาย ต้องปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมของไทย ต้องมีส่วนผสมพลังงานทดแทน สุดท้าย ก็ราคาขายเท่ากันเหมือนเดิม แต่สิ่งที่ได้มา คือเงินตราของประเทศไหลออก และวาทกรรมปลอมๆ หลอกให้เข้าใจผิดว่า มาเลเซียดีกว่าไทย น้ำมันถูกกว่าไทย

- มีการบอกว่า ถ้ามีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ จะได้ตั้งราคาขายน้ำมันได้เองถูกๆ ไม่ต้องมีก็ตั้งได้ครับ ไม่ต้องอิงตลาดไหน กำหนดเอง แต่มาตรฐานอยู่ตรงไหน ความถูกที่สุด หรือราคาเป็นธรรมที่ทุกภาคส่วนได้รับ คนขาย และ คนซื้อ หรืออย่างไร และรายได้รัฐจะลดลงหรือไม่ ขัดกันหรือไม่กับความต้องการให้รัฐมีรายได้มากๆ สุดท้ายเราก็จะได้อีก วาทกรรมราคาเป็นธรรม ไม่ต้องอิงราคาจากไหน

- ทรัพยากรปิโตรเลียมนั้นเป็นของรัฐไทยอยู่แล้ว ซึ่งหมายถึงเป็นของคนไทยทั้งประเทศ แต่รัฐให้สิทธิเอกชนมาดำเนินการ ภายใต้ระบบ สัมปทาน ที่รัฐได้ผลตอบแทนในรูปค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และผลตอบแทนพิเศษอื่นๆ เรามีแหล่งปิโตรเลียมขนาดเล็กกระจัดกระจาย การสำรวจกว่าจะค้นพบและพัฒนาได้มีความเสี่ยงสูง รัฐจึงเลือกไม่รับความเสี่ยง ตรงนี้ข้อมูลทางธรณีวิทยา บอกอยู่แล้ว ไม่ต้องเดา ไม่ต้องมาสร้างวาทกรรมบิดเบือนหลอกผู้คน นี่ไงครับ ได้มาอีก อธิปไตยพลังงาน วาทกรรมประดิษฐ์

- อายุสัมปทานของ แหล่ง บงกช เอราวัณ กำลังจะหมดลง แต่รัฐบอกจะต่อให้รายเดิม มีใครที่ไหนเคยบอกว่าต่อให้รายเดิม เพราะตามกฎหมายระบุชัดเจนว่าต่อไม่ได้ แต่รัฐเสนอแนวทางในการบริการจัดการภายใต้หลักการทางวิชาการ เศรษฐศาสตร์ ความเป็นไปได้ในการชักจูง เชิญชวนให้เกิดการลงทุน ภายใต้เงื่อนไขจำกัดในเรื่องศักยภาพที่ตะต้องมึการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายคือสร้างความต่อเนื่องในการผลิตก๊าซธรรมชาติ แต่เพื่อตอบโจทย์การเรียกร้องของสังคมมติ กพช. จึงออกมาเห็นชอบให้ใช้การประมูลเพื่อบริหารจัดการทั้งสองแหล่ง (เป็นไงบ้าง เชื่อยังว่าโดนคณะเกาะการเมืองนี้หลอก)

- รัฐไม่มีอำนาจในการผลิตปิโตรเลียม ไม่มีการถ่ายโอนเทคโนโลยี ก็ไม่จริงอีกเช่นกัน เพราะรัฐยังสามารถ กำกับดูแลผู้รับสัมปทานได้ตามกฎหมาย ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยี ก็เห็นได้ชัดจาก การให้ทุนพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรรมปิโตรเลียม ที่สำคัญคุณเคยรู้หรือไม่ปัจจุบันในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีคนไทย สัญชาติไทยปฎิบัติงานอยู่เกือบ 100% โดยที่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ก็เห็นได้ชัดจาก การให้ทุนพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมปิโตรเลียม และการที่ ปตท.สผ. สามารถเป็นโอเปอเรเตอร์ได้เอง เราไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดนคณะนี้หลอกซ้ำซ้อนสร้างวาทกรรมรัฐเสียเปรียบอีก นึกถึงหรือไม่?

- มีการบอกว่า รัฐไม่ฟังเสียงที่เสนอร่าง พรบ. ที่ภาคประชาชนเสนอไป รัฐได้ฟังข้อเสนอแล้ว แต่ก็ต้องมองว่าอันทำได้และปฎิบัติได้จริง ดังนั้นก็มีใส่ระบบต่างๆ ลงไปตามที่เสนอ ทั้ง จ้างผลิต แบ่งปันผลผลิต ลงไปด้วยแล้ว เพียงแค่มันไม่ได้ถูกใจกลุ่มคุณใช่หรือไม่ เลยเป็นที่มาว่า รัฐไม่ทำตามเสียงประชาชน

- มีการกล่าวอีกว่าเอกชนผลักค่าเสียหาย สิ่งแวดล้อมให้รัฐ ก็ไม่จริงอีก เพราะการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงปรับสภาพพื้นผิวให้เหมือนเดิมหลังสัมทานหมดอายุ เป็นความรับผิดชอบของผู้รับสัมปทานเอง ได้วาทกรรมมาอีก รัฐเสียเปรียบเอกชน เอกชนเอาเปรียบเรา

- มีการกล่าวไปอีกเอกชนผลักความเสี่ยงให้รัฐในระบบภาษี มีการยกเว้นภาษีและหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่าธุรกิจทั่วไปของประชาชน ก็ไม่จริง ทุกอย่างก็เป็นไปตามข้อกฏหมาย ที่เชิญชวนเขามาลงทุน อันนี้น่าจะปิดประเทศไปเลย ไม่ต้องส่งเสริมธุรกิจร่วมทุน

- มีการกล่าวอีกมีการใช้ดุลพินิจของข้าราชการและนักการเมือง ก็ไม่จริงอีก เพราะการตัดสินใจ มีระบบ หลักเกณฑ์ เป็นรูปแบบคณะกรรมการ มีกฏหมายรองรับ ไม่ใช่ใครอยากจะให้เป็นแบบไหนก็ได้ (45 ปีที่มี พ.ร.บ. 2 ฉบับมาไม่เคยเขียนถึงการให้ต่ออายุสัมปทานหลังจากหมดอายุที่อนุญาตให้ผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาการผลิตได้ครั้งแล้วครั้งเล่า ระยะสำรวจใน Thailand II Concession Scheme สั้นกว่า Scheme อื่นๆ เสียด้วยซ้ำไป) ได้วาทกรรมรักชาติปลอมๆ เอาการเมืองเอาสีมาโหนเล่น ให้เกลียดกัน

- การผลิตไฟฟ้าให้พอดีและทันกับความต้องการของประเทศ ไม่ใช่พิจารณาแค่ไฟฟ้าสำหรับภาคครัวเรือน 2 ล้านหลังคาเรือนเท่านั้น แต่ยังมีภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เป็นตัวขับเคลื่อน และสร้างความมั่นคงของประเทศ
- พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่สะอาด แต่อย่างไรก็ตามการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนนี้ ยังไม่สามารถเป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ได้ ทดแทนแหล่งพลังงานหลักได้ รวมทั้ง ราคายังสูงมาก การพัฒนาเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าไปมาก ต้นทุนลดลงมากเช่นกัน แต่ก็คงยังสูงอยู่เมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล (เป็นไงวาทกรรมเกี่ยวไฟฟ้า)

- ก๊าซไทยแพงกว่าตลาดโลก อันนี้เข้าใจผิดหลายรอบละ ออกรายการก็ออก ถึงขั้นไปตัดเทปรายการทิ้งเลย ผู้รับสัมทานขายก๊าซปากหลุมแพงกว่าตลาดโลก ก็ไม่จริงอีก ราคาก๊าซซื้อขายโดยอิงกับราคาที่ผู้ใช้รายใหญ่ในภูมิภาคซื้อ คือ JKM หรือ Japan/Korea Marker เนื่องจากสองประเทศนึ้เป็นประเทศใหญ่ในการซื้อขาย LNG ราคา Spot ที่ประเทศอื่นจะซื้อจึงอิง JKM เป็นหลัก และราคานี้ก็ใช้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเท่านั้น และก๊าซที่บอกว่าถูกของสหรัฐอเมริกา เมื่อต้องแปรสภาพและขนส่งมา บวกค่าลงทุนสร้างคลังและสถานีรับจ่ายแล้ว ก๊าซที่ผลิตในไทยเฉลี่ยย้อนหลังแล้วยังถูกกว่า (แนวโน้มการซื้อขาย LNG จะเป็นการซื้อขายแบบเป็นคอนแทรค (Contract) มากขึ้นๆ เรื่อยๆ หลลังจากที่โรง LNG ใหญ่ๆ สร้างเสร็จอย่างโรงที่ ปตท.สผ. ไปร่วมทุน แหล่งของ Exxon และของบริษัทออสเตรเลีย ในประเทศปาปัวนิวกินี และแหล่งในทะเลทางตะวันตกเฉียงเหนือที่เชลล์สร้างโรง LNG ลอยย้ำห่างจากฝั่ง 300 กิโลเมตรชื่อ Prelude ซึ่งมีระวางขับน้ำรวม 600,000 ตัน (เท่ากับของเรือบรรทุกเครื่องบินนิมิส 7 ลำ) ก็พอสบายใจได้อุปทาน แต่ยังไงๆ เรื่องราคาก็ยังต้องคงอิงราคาที่นิยมใช้กันเป็นกรณีๆ กันไป) ที่สำคัญคือรัฐได้ค่าภาคหลวง ภาษี เกิดการจ้างงาน เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจดีกว่า ก๊าซนำเข้า อันนี้วาทกรรมก๊าซของไทยแพงกว่าตลาดโลก

- วาทกรรมแปรรูปขายหุ้นหมดเร็ว 77 วินาที อธิบายกันมาหลายรอบ เป็น 10 กว่าปี ขายหมดเร็วเพราะมีการให้ความมั่นใจนักลงทุน แถมก่อนหน้าก็มีการเปิดจองทดลองแล้วคนก็ไม่สนใจ หุ้นต่ำเพราะมีเหตุการณ์ 911 หุ้นมันก็ตกต่ำทั่วโลก แถมหุ้นยังมีต่ำกว่าราคา 35 บาทด้วยซ้ำ แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจดีขึ้น ราคามันก็เพิ่มมาเป็นปกติ เป็นไงบ้าง วาทกรรมขายหุ้นหมดเร็ว ตอนหุ้นตก เหลือ 28 บาท ไปทำอะไรกันอยู่ เรื่องท่อ ถ้าไปอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองว่าให้ ปตท.ส่งมอบที่ดินและสิ่งอื่นๆ ที่ได้มาด้วยอำนาจรัฐ (เช่นเดียวกับการเวนคืน และการใช้พิ้นที่ของเอกชนโดย กฟผ. กฟภ. และกฟน.) ซึ่งหลักๆ ก็หมายถึงที่ดิน ไม่รวมถึงตัวท่อและอุปกรณ์ ไม่งั้นในอนาคตจะเป็นเรื่องประหลาดมากระดับกินเนสที่ กฟผ.ผลิตไฟฟ้าแล้วต้องไปเช่าสายส่งจากกรมธนารักษ์มาส่งไฟฟ้าให้ลูกค้า ศาลตัดสิน คนทำก็ทำตามศาลตัดสิน อันไหนไม่เข้าข่ายให้ทำนอกเหนือคำตัดสินได้อย่างไร สุดท้ายเจ้าหน้าที่ทำตามหน้าที่ จะให้ละเมิดคำตัดสิน?

- การที่บอกว่า ประเทศไทยมีโรงกลั่นมากมายเราจะได้ใช้ราคาน้ำมันที่ถูกนั้น ในอดีตการใช้ไม่ได้มากมายเท่าในปัจจุบัน โปรดตระหนักให้มั่น เราผลิตได้แค่ประมาณ 15% ที่เหลือต้องนำเข้าที่เหลือ และถ้าเราต้องพึ่งพาการนำเข้าอย่างเดียว ความมั่นคงทางพลังงานจะอยู่ที่ไหน

- วาทกรรมประเทศไทยโชติ์ช่วงชัชวาลย์ ตีความหมายคำนี้ว่า พลังงานถูกหรืออย่างไร มันไม่ใช่ ประเทศไทยพลังงานไม่ขาดแคลน มีการจ้างงานและเศรษฐกิจที่ดีหรือ? ฝากให้คิด

ที่มาเนื้อหา น้องปอสาม ตอบวาทกรรมประดิษฐ์จะได้ไม่เข้าใจเรื่องพลังงาน

ม. 178 ฉบับรัฐธรรมนูญ 59 ทำให้ไทยเสียดินแดนจริงหรือ?

มีกลุ่มที่คัดค้านการเมือง รวมไปถึง โยงเอาพลังงานเข้าไปโจมตีเรื่อง ม. 178 ฉบับรัฐธรรมนูญ 59
ว่าทำให้ไทยเสียดินแดนนั้น จะทำให้ไทยเสียดินแดนจริงหรือไม่ เราลองมาอ่านกัน ว่าต่างจากเดิม ปี 50 อย่างไร ทำให้ไทยเสียดินแดนจริงหรือ?



มาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญ 59 เนื้อหาก็คล้ายคลึงกับมาตรา 190 ในรัฐธรรมนูญปี 50 เป็นเรื่อง "การทำสนธิสัญญา" ซึ่งในมาตรา 190 เขียนเอาไว้ไม่รัดกุม รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงเขียนแก้ไขให้ครบถ้วนรัดกุมยิ่งขึ้น

โดย มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ปี 50 วรรคสองเขียนไว้ว่า
"หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่ง ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ อย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว"
คำว่า "งบประมาณของประเทศ" จะหมายถึงสนธิสัญญาอะไร? ถ้าเป็นการลงทุนโครงการใหญ่ๆ ที่ต้องใช้งบประมาณสูง สัญญาจ้างงานถือเป็นสนธิสัญญาด้วยหรือไม่? และไม่บัญญัติไว้ว่า ถ้าพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน จะทำอย่างไรกันต่อ.!! รัฐธรรมนูญใหม่ จึงกำหนดไว้ให้ชัดเจนว่า

"ในการนี้ รัฐสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง หากรัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ"

ในวรรคที่สามของมาตรา 190 เขียนว่า
"ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ ตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้อง ชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอ กรอบการเจรจาต่อรัฐสภา เพื่อขอความเห็นชอบด้วย"
วรรคนี้มีความคลุมเครือ และสุ่มเสี่ยง การกำหนดให้ต้องเปิดเผยข้อมูล และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อสภาฯ โดยมิได้แยกประเภทของสนธิสัญญาให้ชัดเจน อาจหมายรวมถึงสนธิสัญญาทุกประเภท ซึ่งบางสนธิสัญญาอาจเป็นข้อตกลงที่เป็น "ความลับ" ระหว่างประเทศภาคีในสนธิสัญญา หากเปิดเผยออกไปอาจมีผลกระทบต่อผลได้ผลเสียกับประเทศ เช่น ข้อตกลงทางการค้าที่เป็นกรณีพิเศษ ประเทศคู่แข่งก็จะรู้ความเคลื่อนไหวทั้งหมด อีกทั้งการให้ประชาชนต้องมามีส่วนร่วม ก็เป็นการซ้ำซ้อนกับการตรวจสอบของสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนอยู่แล้ว มาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญใหม่จึงตัดส่วนนี้ออกไป

ในวรรคที่สี่ของมาตรา 190 ก็ยังย้อนมาตรวจสอบกันอีก "หลังลงนาม" ในสนธิสัญญาแล้ว
"เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติ ตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม"
ก่อนลงนามก็ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาฯก่อน หลังลงนามก็ต้องมาต้องมาเปิดเผยข้อมูลรายละเอียด ในสนธิสัญญาอีก "ก่อน" ที่จะให้มีผลผูกพัน มันซ้ำซ้อน ยอกย้อน และไม่เห็นประโยชน์อะไรที่ต้องให้มีขั้นตอนมากมายซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ในวรรคที่ห้า เขียนว่า ให้มีกฎหมายว่าด้วยการทำสนธิสัญญา
"ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบ ต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตาม หนังสือสัญญาดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป"
จนป่านนี้ก็ยังไม่มีกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งสาระสำคัญของวรรคที่ห้า คือการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำสนธิสัญญามากกว่า ในรัฐธรรมนูญใหม่ จึงกำหนดให้มีกฎหมาย "กำหนดวิธีการ" ที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและได้รับการเยียวยาที่จำเป็นอันเกิดจากผลกระทบของการทำหนังสือสัญญาตามวรรคสามด้วย ไม่ต้องไปออกกฎหมายว่าด้วยขั้นตอนและวิธีการจัดทำสนธิสัญญา เอาผลกระทบของประชาชนมาว่ากันให้ชัด

ส่วนวรรคท้ายก็เขียนไว้คล้ายกัน แต่เขียนชัดเจนว่า "เมื่อมีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นกรณีตามวรรคสองหรือวรรคสามหรือไม่ คณะรัฐมนตรีจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็ได้ ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ" โดยในมาตรา 190 ไม่ได้กำหนดเงื่อนเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยให้แล้วเสร็จเมื่อใด แค่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ดังนี้
"ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม"
แค่มาตราเดียว ก็อธิบายกันยาวจนเบื่อที่จะอ่าน แต่ปล่อยผ่านไปไม่ได้ พวกจ้องบิดเบือนมันเยอะ เจตนารมณ์ดีๆ เอามาตัดทอนจนไปคนละความหมาย หาว่ากฎหมาย กกต.ปิดปากประชาชน เพื่อฮุบกินสมบัติของชาติ ใครมันจะอยู่ค้ำฟ้า รัฐบาลมันก็เปลี่ยนหน้ากันไป ผลประโยชน์อะไรที่มโนกัน

ถ้าแน่ใจว่าไม่พูดบิดเบือน ก็กล้าๆแสดงความเห็นเยี่ยงปัญญาชนสิครับ จะกลัว มาตรา 61 ไปทำไม ทำอะไรแบบพวก "ปัญญา(วัว)ชน" มันโชว์พลังความโง่ชัดๆ.!!!

ที่มา nobody06 ม. 178 ฉบับรัฐธรรมนูญ 59 ทำให้ไทยเสียดินแดนจริงหรือ?



เชฟรอนผลิตก๊าซได้เป็นอันดับ 2 ของโลกจริงไหม?

ภาพจาก https://www.facebook.com/EnergyThaiILoveYou/photos/a.1115276158503065.1073741828.1114787211885293/1212097418820938/?type=3&theater

เห็นภาพด้านบนแล้วคงต้องร้อง โอ้โห ทำไมมันได้เยอะจัง แต่จริงๆ แล้ว

ภาพในรายงานประจำปีด้านบนที่จริงแล้ว เชฟรอนผลิตก๊าซได้เป็นอันดับ 2 ของเชฟรอนทั่วโลก ไม่ใช่ของ operator ทั่วโลก

และถ้าขยายความอีกที คือ
นอกจากนี้ก็ต้องไม่ลืมว่าเชฟรอนเป็นบริษัทที่ผลิตน้ำมันเป็นหลัก ไม่ได้ผลิตก๊าซเป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ไทยผลิตก๊าซได้เป็นอันดับสองของบริษัท
แต่ถ้าถามว่าไทยผลิตก๊าซเป็นสัดส่วนเท่าไรของโลก เรามีปริมาณสำรองคิดเป็น 0.1% ของปริมาณสำรองก๊าซทั่วโลกเท่านั้น และใช้ได้อีกประมาณ 5.5 ปี ถ้าเราไม่มีการสำรวจและผลิตอย่างต่อเนื่อง และเน้นว่าปัจจุบันไทยจึงเป็นประเทศนำเข้าพลังงานสุทธิ

ข้อมูลจาก bp-statistical-review-of-world-energy-2016-workbook

"อธิปไตยพลังงาน" ....วาทกรรมไร้ความหมาย

ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผ่านมา เราจะได้ยินคำว่า “อธิปไตยพลังงาน” โผล่ขึ้นมามากมายบ่อยครั้งตามสื่อต่างๆ ทั้งสื่อหลักและสื่อ Social Media (ลองพิมพ์คำนี้แล้วเข้าไปหาใน Google ดูสิครับ ท่านหาอ่านได้เป็นสิบๆ หน้าเลยครับ)


ที่มาภาพ: https://thaipublica.org/2016/07/banyong-pongpanich-72/
มีใครเคยฉุกคิดโดยใช้หลัก “กาลามสูตร” ของพระพุทธองค์มาพิจารณากันดูไหมครับ ว่าคำว่า “อธิปไตยพลังงาน” นี่หมายถึงอะไร มีความหมายความสำคัญจริงๆ แค่ไหน หรือเพียงแค่ฟังตามๆ กันมาแล้วก็พูดตามๆ กันไป เพียงเพราะมันเป็นคำที่ฟังดูดี ดูเท่ ดูดุเดือด รักชาติ รักสังคมดี
ผมขอฟันธงก่อนเลยว่า คำ “อธิปไตยพลังงาน” นี้ เป็นคำที่ไร้ความหมาย ไร้สาระ …เป็น “วาทกรรมประดิษฐ์” ที่มีผู้คิดสร้างขึ้น เพื่อชักจูงให้คนเข้าใจไปในทางที่ส่งเสริมแนวคิดทางสังคมนิยมของพวกตน เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง “บรรษัทพลังงานแห่งชาติ” ที่มีพวกตนเข้าไปมีบทบาทบริหารควบคุม ทั้งๆ ที่แนวคิดนี้กำลังเสื่อมความนิยมลงทั่วโลก เพราะเป็นวิธีการที่ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่มีประสิทธิภาพ ล่อแหลมต่อการทุจริต และทำให้รัฐสุ่มเสี่ยงเกินไปโดยที่ไม่จำเป็น ซึ่งเมื่อถกเถียงกันโดยเหตุผลแล้วไม่สำเร็จ คนกลุ่มนี้ก็เลยไปใช้วิธีปลุกกระแสชาตินิยม กระแสรักชาติ รวมทั้งใช้กลยุทธ์ประชานิยม (ทำให้คนเชื่อว่าจะได้ใช้นำ้มันราคาถูก) มาจูงใจสังคม แล้วก็เลยคิดประดิษฐ์คำเท่ๆ อย่าง “อธิปไตยพลังงาน” ขึ้นมาเพื่อใช้นำปลุกระดมผู้คน

ทำไมผมถึงบังอาจสรุปอย่างนี้ …จะขออธิบายนะครับ

ถ้าไปเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ก็จะแปลความหมายคำว่า “อธิปไตย” ว่า “อำนาจสูงสุดของรัฐที่จะใช้บังคับบัญชาภายในอาณาเขตของตน” หรือในภาษาอังกฤษก็จะตรงกับคำว่า “Sovereignty” ซึ่งก็มีความหมายตรงกัน คือหมายถึงว่า รัฐใดที่เป็นอิสระย่อมมีอำนาจอธิปไตยเหนือขอบเขตของประเทศตน จะออกกฎหมาย จะบังคับใช้กฎหมายที่ตนมีอยู่ได้ จะใช้ระบอบใดปกครองก็เป็นสิทธิ

การใช้อำนาจอธิปไตยนั้น ย่อมทำได้ภายใต้กฎหมาย ภายใต้รัฏฐาธิปัตย์ของแต่ละประเทศ แต่ทั้งนี้ก็จะต้องคำนึงถึงพันธสัญญาที่ตนมีอยู่ ทั้งกับประเทศต่างๆ หรือกับเอกชนและประชาชน ทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันในโลกนี้ด้วย

แต่เอาเข้าจริงก็มีการใช้อำนาจโดยละเมิดพันธะที่ว่าโดยประเทศต่างๆ อยู่เสมอๆ ซึ่งก็ยังสามารถทำได้และมีผลภายในเขตประเทศตน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ย่อมต้องยอมรับผลกระทบที่ตามมา (Consequences) ด้วย เช่น ประเทศอาจออกกฎหมายยึดกิจการบางอย่างของต่างชาติที่อยู่ในเขตแดนเป็นของรัฐ หรืออาจเบี้ยวไม่ยอมรับพันธสัญญาที่ทำไว้ก็ได้ แต่สิ่งที่ตามมาก็อาจทำให้ไม่มีใครมาค้าขายลงทุนด้วยอีก หรืออาจถูกปฏิบัติตอบเยี่ยงเดียวกัน (คือยึดของเราบ้าง) หรือถ้าหนักขึ้นก็อาจจะถูกแซงก์ชัน (Sanction) ซึ่งมีตั้งแต่ระดับอ่อนอย่างการตั้งกำแพงภาษีสำหรับสินค้าบางชนิด ไปจนถึงระดับแรง เช่น งดเว้นการค้าขายการลงทุนด้วยเลย หรือถ้าหนักที่สุดก็คือการประกาศสงครามเข้าต่อสู้รุกรานโดยกองทัพกันเลย (มีน้อยครั้งนะครับ และต้องเป็นเรื่องใหญ่จริงๆ)

จะขอยกตัวอย่างใกล้ๆ ตัวนะครับ …อย่างการที่เราถูกกล่าวหาใน TIP Report ว่าไม่เอาจริงกับการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ หรือถูกให้ใบเหลืองจาก IUU เรื่องประมงผิดกฎหมาย อันอาจทำให้ถูกกีดกันการค้า หรืองดนำเข้าอาหารทะเลจากไทย ซึ่งโดย “อำนาจอธิปไตย” เราอาจจะเมินเฉย ด่ากลับ โดยไม่ทำอะไรก็ย่อมได้ แต่ก็ต้องยอมรับผลที่อาจทำให้สินค้าไทยจะขายไม่ออก หรือทำให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลต้องพังพินาศไป ที่เราต้องนั่งมุ่งมั่นแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ไม่ใช่เพราะเราไม่มี “อธิปไตยอาหารทะเล” หรอกนะครับ แต่เพราะเราไม่อยากเผชิญผลกระทบต่างหาก

หรืออีกสักตัวอย่างหนึ่ง การที่ประเทศไทยโดนฟ้องโดยเอกชนในศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศว่าละเมิดสัญญาคุ้มครองการค้าที่ทำกับเยอรมันในกรณีบริษัททางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ แล้วเราแพ้คดี โดนปรับกว่า 30 ล้านยูโร แล้วไม่ยอมจ่าย ทำให้รัฐบาลเยอรมันทำการยึดเครื่องบินพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมฯ ที่เข้าไปในเขตประเทศเขาเมื่อปี 2554 จนต้องยอมเอาหนังสือค้ำประกันธนาคารไปแลกเครื่องบินคืนมา ซึ่งถ้าเราเลือกที่จะดื้อดึงใช้อำนาจอธิปไตยตอบโต้ เช่น ยึดทรัพย์รัฐบาลเยอรมัน หรือของเอกชนที่อยู่ในประเทศเราบ้างก็ย่อมทำได้ แต่ก็คงจะส่งผลลุกลามร้ายแรงไปกว่านี้ ซึ่งที่เรายอมไปก็ไม่ได้แปลว่าเราไม่มี “อธิปไตยทางด่วน” ใดๆ ทั้งสิ้น

ขอกลับมาเรื่อง “อธิปไตยพลังงาน” นะครับ ที่ออกมาตะโกนก้องว่า “เราจะต้องเสียอธิปไตยพลังงาน” ถ้าไม่ทำตามที่พวกท่านเรียกร้อง คือ ถ้าไม่ยึดแหล่งพลังงานมาทำเอง ถ้าไม่ตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้นมาเป็นเจ้าของและบริหารควบคุม (แล้วตั้งพวกท่านเข้าไปบริหารบรรษัทอีกทีหนึ่ง) ถ้าไม่เปลี่ยนระบบจากที่เคยให้สัมปทานเอกชนไปเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต หรือว่าจ้างผลิต ก็จะถือว่ายกทรัพยากรให้เอกชน ให้ต่างชาติ เพราะว่าน้ำมันจะเป็นของเขา รัฐจะนั่งรอให้เขาเอาไปขายแล้วรอแบ่งเงินค่าภาคหลวงค่าภาษี ไม่ได้มีอำนาจที่จะขนเอาน้ำมันมาเข้าคลัง มาจัดการขายเองเอาเงินเอง (ทำอย่างกับว่ารัฐทำเป็น ทำเก่ง)

หรือกระทั่งบางคนถึงกับกล่าวหาว่า ที่เราใช้ระบบสัมปทานให้เอกชนขุดหาแหล่งพลังงาน โดยรัฐเก็บค่าภาคหลวงและภาษีต่างๆ เป็นตัวเงินในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมานั้น เป็นการที่เราไม่มีอธิปไตยทางพลังงานตลอดมา พอสัมปทานจะครบอายุจึงเป็นเวลาที่จะต้องเอา “อธิปไตยพลังงาน” ที่สูญเสียไปนานกลับคืนมาเสียที โดยการจัดตั้งบรรษัทที่ว่าและเปลี่ยนระบบมาเป็นแบบที่เขาเรียกร้อง

ผมขอบอกเลยว่า ไม่ว่าจะมีบรรษัทที่รัฐเป็นเจ้าของ 100% ลงทุนเอง เสี่ยงเอง บริหารเอง หรือมีรัฐวิสาหกิจที่รัฐถือหุ้นแค่ครึ่งเดียว หรือจะให้เอกชนแข่งขันกันทำทั้ง 100% (เหมือนพวกประเทศพัฒนาแล้วเกือบทุกแห่ง) ไม่ว่าจะใช้ระบบสัมปทาน (Concession) ไม่ว่าจะใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต (Product Sharing) หรือจะว่าจ้างผลิต จะเป็นแบบไหนระบบใด ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ “อธิปไตย” หรือ “อำนาจอธิปไตย” ใดๆ ทั้งสิ้น

ประเทศไทย รัฐบาลไทย ศาลไทย รัฐสภาไทย จะยังคงมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนไทยตลอดไป เรายังสามารถออกกฎหมายบังคับใช้กับทุกๆ คนที่ประกอบกิจการในเขตดินแดนไทยได้ทุกอย่าง จะออกกฎหมายยึดคืนในรูปแบบต่างๆ ก็ยังได้เลย (เหมือนอย่างเวเนซุเอลา ประเทศที่เคยเป็นแม่แบบของเหล่านักทวงคืนเคยทำไงครับ แต่เดี๋ยวนี้เวเนฯ เละตุ้มเป๊ะไปแล้ว พวกท่านก็เลยแกล้งลืมไม่พูดถึงอีก) แต่อย่างที่ว่าแหละครับ …ทำไปก็ต้องรับผลกระทบที่ตามมาด้วย

เรื่องของทรัพยากรธรรมชาตินั้น ทั้งตามกฎหมายไทย กฎหมายสากล ส่วนใหญ่นั้นก็เหมือนๆ กัน คือ เป็นสมบัติของรัฐของส่วนรวม แม้อยู่ใต้ที่ดินเรายังไม่ใช่ของเราเลย แต่การที่จัดสรรแบ่งให้เอกชนทำ จะเป็นชาวไทยหรือต่างชาตินั้นก็เพราะเพื่อให้มีประสิทธิภาพ มีเทคโนโลยี รวมทั้งประหยัดทรัพยากรภาครัฐไปทำอย่างอื่นที่จำเป็นกว่า และที่สำคัญ รัฐไม่ต้องรับความเสี่ยงในกิจกรรมที่รู้ชัดๆ ว่ามีความเสี่ยงสูง จะใช้ระบบใดก็ยังถือว่าทรัพยากรนั้นเป็นของรัฐ …อย่างนำ้มันนั้น ถ้ามีเหตุจำเป็น เช่น ยามขาดแคลนจัด หรือยามสงคราม รัฐสามารถบังคับให้เอกชนต้องตั้งสำรองเพิ่มหรือแม้จะให้ส่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดให้รัฐเลยก็ยังทำได้ (ถ้ามีการชดเชยตามสมควรก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติยอมรับได้ด้วยซ้ำ) ทำอะไรอย่างไรก็ไม่เสียอธิปไตยใดๆ ทั้งสิ้น

จะว่าไป …การที่ศาลปกครองสูงสุดออกมาพิพากษาให้ ปตท. ต้องคืนท่อก๊าซบนที่ดินที่ได้มาจากการใช้อำนาจรัฐเวนคืนเมื่อปี 2549 นั้น ก็ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของศาลที่ให้ยึดสมบัติที่ทั้งรัฐบาลผู้ขายหุ้นและนักลงทุนหลายแสนคนผู้ซื้อหุ้นต่างเข้าใจมาตลอดว่ามันเป็นสมบัติของ ปตท. ที่ได้แบ่งขายให้ผู้ถือหุ้นทุกคนร่วมเป็นเจ้าของไปแล้ว การที่ศาลอ้างว่าเป็นไปตามมาตรา 24 ของ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 ผมอ่าน ม.24 หลายสิบรอบก็ยังไม่สามารถเห็นด้วยกับศาลเลย …แต่เอาเถอะครับ จะถูกจะผิดอย่างไร ถึงจะไม่เห็นด้วย แต่เนื่องจากศาลท่านเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องนี้ เราก็ต้องเคารพและทำตาม และก็พยายามลดผลกระทบโดยการทำให้นักลงทุนเข้าใจ (การที่ผู้บริหาร ปตท. ออกมาประกาศว่าจะเคารพการตัดสินทุกอย่างของศาลก็เป็นเรื่องถูกต้องและสมควรแล้ว เป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่แล้ว ไม่เห็นน่าตื่นเต้นใดๆ เลย ไม่งั้นท่านก็ต้องย้ายกิจการทั้งหมดไปอยู่ประเทศอื่น …แต่น่าสังเกตว่ากลุ่มผู้ฟ้องกลับไม่ยักเคารพคำตัดสินของศาลแฮะ ได้คืบจะเอาศอกเอาวา ไม่ยอมเลิก จะเอาให้ประเทศพังจนสะใจให้ได้)

ถึงตอนนี้ …ผมก็ขอเรียกร้องว่า จะถกเถียงว่าจะทำอะไร อย่างไร ให้ใครทำ จะตั้งบรรษัทหรือไม่ จะใช้ระบบใด ก็ขอให้ถกกันโดยเหตุโดยผล ยกข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบแต่ละระบบมาถกกัน ยกประสบการณ์ของนานาประเทศมาพิจารณา เลิกใช้วาทกรรมประดิษฐ์ไร้ความหมายอย่างคำว่า “อธิปไตยพลังงาน” มาปลุกระดมผู้คนเสียทีเถิดครับ …อย่าดูถูกประชาชนนักเลยครับ

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก Banyong Pongpanich วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 "อธิปไตยพลังงาน" ....วาทกรรมไร้ความหมาย (19 กรกฎาคม 2559)


คนไทยทราบหรือไม่เราส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปมูลค่ามากกว่าข้าว

เห็นพาดหัวแล้วน่าจะตกใจว่า เห้ย!! เราส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปมากกว่าข้าวอีก




แล้วไง?

ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทย เป็นประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานสุทธิ...

เราไม่ได้เป็นประเทศที่ร่ำรวยพลังงาน
เราต้องนำเข้าทั้ง น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ไฟฟ้า
เรามีทางเลือกไม่มากนัก
พลังงานสีเขียว อาจเป็นพลังงานทางเลือกที่ต้องส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง
และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่สามารถพัฒนาเป็นพลังงานหลักได้

ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ดุลการค้า โดยมูลค่าการส่งออกสินค้ามากกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้า อยู่ประมาณ 3.2 แสนล้านบาท แต่เราขาดดุลพลังงาน ต้องจ่ายเงินออกไปสุทธิกว่า 7.5 แสนล้านบาท ยังดีที่อยู่ในช่วงราคาน้ำมันดิบตกต่ำ (ปีที่ผ่านมาขาดดุล 1.18 ล้านล้านบาท) หมายความว่า เงินทองที่หามาได้ต้องใช้จ่ายไปเพื่อนำพลังงานกลับเข้ามาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคการขนส่ง (ใช้พลังงานรวมกันประมาณร้อยละ 70)

ที่มา รู้ให้จริง..ไม่บิดเบือน

ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานปีละกว่า 2 ล้านล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 15 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ แม้พลังงานส่วนหนึ่งที่เราสามารถผลิตได้เอง(ปิโตรเลียม) จะช่วยลดการนำเข้าไปแล้วกว่า 4 แสนล้านบาท แต่เรายังต้องสูญเสียเงินออกไปเพื่อนำพลังงานกลับเข้ามาขับเคลื่อนประเทศ 

ประเทศไทยจึงไม่ได้เป็นประเทศที่ร่ำรวยพลังงาน เราผลิตได้ไม่พอใช้ ต้องนำเข้า และ ต้องนำเข้ามากขึ้นๆ ในอนาคต

การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมภายในประเทศ และ การส่งเสริม สนับสนุน พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก และ การอนุรักษ์พลังงาน จึงมีความสำคัญมากต่อความอยู่รอดของประเทศในอนาคต

โดยหากเราพิจารณาจากข้อความที่มีการบอกว่า ส่งออกข้าวมูลค่าน้อยกว่าน้ำมันสำเร็จรูป เราต้องมองไปถึงว่า


  • ข้าวเป็นผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกภายในประเทศ ซึ่งต่างจากน้ำมันดิบ (เราต้องนำเข้าน้ำมันเพื่อให้ประเทศพอใช้ ถึง 85%)
  • เรานำเข้าน้ำมันดิบเข้ามากลั่นเพื่อให้เพียงพอใช้กับในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดีเซล และน้ำมันดิบไม่ได้กลั่นออกมาได้แต่ดีเซล ยังได้เบนซิน และ อย่างอื่นอีก 
  • ดังนั้นเราจึงมีการส่งออกน้ำมันที่เหลือใช้ และนำเข้ามากลั่นเพิ่ม เป็นการสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจ
  • เหนือสิ่งอื่นใด รายได้รัฐ ก็ได้เพิ่มตามมูลค่าของสินค้า ได้ภาษี และ ผลประโยชน์ต่างๆ จากปิโตรเลียมด้วย
สุดท้ายทิ้งไว้ให้คิด ถ้าเราส่งออกเยอะและมีการติดอันดับโลกนั่นนี่ตามที่มีการบอกกล่าวกันในโลกโซเชียล ทำไม OPEC (Organization of the Petroleum Exporting Countries) ไม่ชวนเราเข้ากลุ่มเสียหล่ะ

หายนะของเวเนฯจากการทวงคืนพลังงาน

หายนะของVenezuela.......(9 กรกฎาคม 2559)
มันเริ่มมาจาก....."ทวงคืนพลังงาน"นี่แหละครับ




จากประเทศที่มีปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้ว(Proven Reserve)มากที่สุดในโลก โดยมีถึง 297,740 ล้านบาร์เรล (ซาอุเป็นอันดับสอง มี 268,350 ล้าน) ซึ่งถ้าคิดตามกำลังผลิตปัจจุบัน(วันละ 2.2 ล้านบาร์เรล) เท่ากับว่ามีProven Reserve ใช้ได้ไปถึง 330 ปีเลยทีเดียว (นี่ขนาดยังไม่นับpossible & probable reserveอีกนะครับ) ...ถามว่าเค้าจะเก็บเอาไว้ให้ลูกหลานโดยไม่ยอมเชื่อตามคนอื่น ว่าโลกจะเลิกใช้น้ำมันเป็นแหล่งพลังงานหลักภายในไม่กี่สิบปีนี้ยังงั้นหรือ ...เปล่าหรอกครับ ที่เค้าไม่ผลิตมากๆก็เพราะไม่มีศักยภาพ ไม่มีเทคโนโลยี่ ไม่มีการลงทุน และไม่มีประสิทธิภาพ(ทำให้ต้นทุนจะแซงราคาน้ำมันอยู่แล้ว)

...รับรองว่าในร้อยปีข้างหน้าลูกหลานต้องมาก่นด่าว่า"มึงเก็บไอ้โคลนเหลวๆไร้ค่าพวกนี้ไว้ให้กูทำไม"
ย้อนหลังไปเมื่อเพียงแค่ไม่กี่สิบปีก่อน ...เมื่อนำ้มันกลายเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดแซงถ่านหิน เวเนซูเอล่าได้เป็นตัวตั้งตัวตีร่วมกับอีกสี่ประเทศอาหรับจัดตั้งOPECขึ้นมาในปี 1960 และร่วมมือสร้างOil Embargo ทำให้เกิดวิกฤติราคานำ้มัน(Oil Shocks)ขึ้นสองช่วง(1973-74 และ1979-80) ราคานำ้มันตลาดโลกขึ้นจาก $3/bbl เป็นเกือบ $40/bbl ปั่นป่วนไปทั่วโลก แต่ประเทศผู้ผลิตนำ้มันส่งออกกลายเป็นประเทศร่ำรวยกันเป็นแถว

สำหรับเวเนซูเอล่า ...ในช่วงต้นทศวรรษ 1970s เคยผลิตปิโตรเลียมได้ถึงวันละ 3.8 ล้านบาร์เรลเท่าๆกับซาอุดิอาราเบีย และจากการที่ราคานำ้มันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รายได้ประชาชาติต่อคนเพิ่มพรวดเกือบห้าเท่าตัวจาก $920 ในปี1970 มาเป็น $4,375 ในปี1980 กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และร่ำรวยที่สุดในอเมริกาใต้เลยทีเดียว (ปี1980 ไทยมี GDP $682/คน บราซิลมี $1,923)

พอร่ำรวยก็เริ่มเหิมเกริม เกิดกระบวนการ"ทวงคืนพลังงาน" โดยในปี1976 ประธานาธิบดี Carlos Andre Perez ก็ได้จัดตั้ง "บรรษัทพลังงานแห่งชาติเวเนซูเอลา" Petróleos de Venezuela, S.A. (PDVSA) ขึ้นแล้วเริ่มยึดคืนกิจการน้ำมันจากทุนพลังงาน โดยเฉพาะจากต่างชาติ ให้รัฐเข้าเป็นเจ้าของและก็เป็นผู้บริหารเองทั้งหมด ซึ่งในระยะแรกๆก็ยังใช้ระบบและผู้บริหารชาวเวเนฯที่เดิมเคยทำงานให้กับบริษัทน้ำมันข้ามชาติทั้งหลายบริหารต่อไป ทำให้ประสิทธิภาพต่างๆ ก็ยังพอไปได้ดีอยู่

แต่พอนานๆเข้าก็เหมือน"รัฐวิสาหกิจ"ทั้งหลายในแทบทุกแห่ง ที่ประสิทธิภาพไม่ใช่เป้าหมายสำคัญ มีการเพิ่มคนที่เป็นพรรคพวกเข้าไปเยอะแยะ(มีข่าวว่ายุคชาเวซมีการเอาพวกNGOsเข้าไปทำงานในPDVSAเพื่อกินเงินเดือนเยอะเลย) การลงทุนมีน้อยและไม่ได้ผล ต้นทุนการผลิตเลยสูงขึ้นๆ ในขณะที่ผลผลิตลดลง ...มีรายงานการศึกษาว่าจากเดิมช่วง1976-1992 PDVSAเคยมีต้นทุนแค่ 21% นำเงินส่งรัฐสูงถึง79%ของรายได้ แต่พอมาช่วง1993-2000 ต้นทุนกลับพุ่งสูงถึง64% เหลือเงินให้รัฐแค่36% ทั้งๆที่ราคานำมันเฉลี่ยสูงขึ้นตั้งเยอะ ...นี่แหละครับ"บรรษัทพลังงานแห่งชาติ"PDVSAที่เคยเป็นต้นแบบของนักทวงคืนชาวไทย

พอนักสังคมนิยมเต็มตัว Hugo Chavez ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในช่วง 1999-2013 เวเนซูเอล่าก็กลายเป็นสังคมนิยมเต็มตัวตามแบบอย่างลูกพี่ใหญ่ ฟิเดล คาสโตรแห่งคิวบา รัฐยึดกิจการอื่นๆมาทำเองมากมาย และใช้รายได้จากนำ้มันทำโครงการประชานิยมต่างๆ รวมทั้งอุดหนุนราคาน้ำมันให้ประชาชนใช้ลิตรละไม่ถึง 5 บาท จนชาเวซได้รับความนิยมสูงสุดได้รับเลือกตั้งใหม่ด้วยคะแนนร่วม60% อีกสามครั้ง จนตายคาตำแหน่งด้วยวัยเพียง58ปี

ในช่วง2002 พนักงานPDVSAที่ทนการแทรกแซงไม่ไหว ประท้วงหยุดงานร่วมสองเดือน แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ชนะ และChavez ก็เลยไล่พนักงานออก 19,000คน แล้วแทนที่โดยพวกสมุนที่จงรักภักดีที่มีNGOsปนอยู่ไม่น้อย และนั่นก็เลยทำให้ประสิทธิภาพยิ่งเสื่อมลงๆ

มาถึงวันนี้ จากการที่บริหารอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ขาดเทคโนโลยี่ ไม่มีการลงทุนที่เหมาะสม การผลิตน้ำมันที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญที่สุดของประเทศตกตำ่ลงมากและต้นทุนสูงมาก เวเนซูเอล่าผลิตนำ้มันได้เพียงวันละ2.2ล้านบาร์เรล(จากแผนที่เคยประกาศว่าจะผลิต 5 ล้าน/วัน) ทั้งๆที่มีปริมาณสำรองล้นเหลือ และเคยผลิตได้ถึง 3.5 ล้านต่อวันเมื่อ1970 (ซาอุที่เคยผลิตเท่ากันเมื่อสี่สิบปีก่อน วันนี้ผลิตวันละ 10.0ล้าน ...นี่แบบยั้งๆเกรงใจตลาดแล้วนะครับ)

สำหรับเศรษฐกิจทั้งระบบยิ่งไม่ต้องพูดถึง ทุกอย่างหยุดชะงัก เงินสำรองต่างประเทศเกลี้ยงคลัง ไม่สามารถจ่ายค่าสินค้านำเข้า ค่าเงินลดฮวบฮาบ จากที่เคยเป็นแค่ 6.3VEF ต่อ1USD เมื่อ5ปีก่อน ตอนนี้ซื้อขายกันในตลาดมืดถึง1,000VEFต่อ1USD เงินเฟ้อปีละหลายร้อยเปอร์เซนต์ เศรษฐกิจติดลบไปร่วม10%ในสองปี ...ที่แย่กว่าก็คือ สินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งยารักษาโรค ขาดแคลนสุดๆ ประชาชนต้องอดอยากลำบากแสนสาหัส เกิดจลาจลแย่งอาหารกันไปทั่ว

นี่แหละครับ เริ่มต้นจาก. ...ทวงคืนพลังงาน ...บรรษัทพลังงานแห่งชาติ. ...เอาคนไม่เป็นมาบริหาร 

...สังคมนิยม. ...ประชานิยม สุดท้ายมันก็พัง กลายเป็น"ประเทศที่ล้มเหลว" Failed Nation สมบูรณ์แบบ
แต่คงไม่เป็นไรกระมังครับ ถ้าเค้าเรียกร้องทวงคืนพลังงาน ตั้ง"บรรษัทพลังงานแห่งชาติ"สำเร็จ ในระยะสั้นคงยังไม่มีปัญหา อย่างน้อยเค้าก็ต้องพยายามลดราคานำ้มันเอาใจกองเชียร์ ทำให้เราได้ใช้ของถูกไปด้วย อย่างเวเนซูเอล่า กว่าจะพังพาบก็ยื้อไปได้ตั้งสี่สิบปี(แต่อย่าลืมว่าเค้ามีสำรองสามร้อยปี ของเรามีแค่เจ็ดปีนาครับ) ถ้าไทยยื้อได้สี่สิบปี ตอนนั้นผมก็อายุร้อยสอง คงไม่เดือดร้อนมากถ้าจะต้องอดตายหรือขาดยารักษาในตอนนั้น ก็ขอให้ลูกหลานโชคดีก็แล้วกันนะครับ



ที่มา Banyong Pongpanich หายนะของเวเนฯจากการทวงคืนพลังงาน

รสนาเงิบอีกศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้องอดีตซีอีโอ ปตท. คดีไม่มีมูล

ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้องอดีตซีอีโอ ปตท. คดีไม่มีมูล จากกรณี นางสาวรสนา โตสิตระกูล เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กับพวกรวม 4 คน ว่าให้สัมภาษณ์ใน นสพ.ไทยโพสต์  ฉบับแทบลอยด์ ประจำวันที่ 20-26 ก.ค.2557 และผ่านทางเว็บไซต์ www.thaipost.net หัวข้อข่าว “อย่าปลุกชาตินิยมพลังงาน” 



โดยมีเจตนาใส่ความตนให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง และฟ้องว่าเป็นความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท ทั้งนี้ ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า "คดีไม่มีมูล" จึงพิพากษายกฟ้อง แต่นางสาวรสนาได้อุทธรณ์ ซึ่งในที่สุดศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2559 ว่า คำฟ้องโจทก์ไม่มีมูล เนื่องจากฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ต่อ นสพ.ไทยโพสต์ หมายความถึงโจทก์ ทั้งเนื้อหาการให้สัมภาษณ์ก็มิได้เป็นการใส่ความให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง การกระทำของจำเลยทั้ง 4 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทตามที่โจทก์ยื่นฟ้อง

เรื่องเดิม ศาลยกฟ้องเพราะ ไม่ได้เข้าข่าย ผิด พรบ. คอมพิวเตอร์
อ่านคำพิพากษาฉบับเต็มได้ที่ ภาพด้านคำพิพากษาด้านล่าง