มั่วดราม่าไม่เลิก พม่าน้ำมันถูกกว่าไทย เพราะ..

เมื่อดราม่าไม่เลิก ก็จะออกมั่วๆ หน่อย สร้างความเกลียดชัง แถมยังดูถูกประเทศไทยและพม่า



พม่าน้ำมันถูกกว่าไทยเพราะ โครงสร้างราคาน้ำมันล้วนๆ ส่วนเหตุผลทีละข้อที่ส่งต่อกันๆก็ไม่ได้มองเหตุการณ์หรือข้อมูลอะไรเลย

........1.พม่าไม่มีกระทรวงพลังงาบแบบไทย.....

ตอบ : มั่วละครับ นี่คือเวปไซต์อย่างเป็นทางการของกระทรวงพลังงานประเทศพม่า http://www.energy.gov.mm/

........2.พม่าไม่มีสถาบันปิโตรเลี่ยมแบบไทย

ตอบ : พม่าหรือประเทศไหนอยู่ที่นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ สถาบันปิโตรเลียมของไทยจัดตั้งเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ในด้านปิโตรเลียม นำมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของไทย ในกรณีของพม่า คาดว่าน่าจะเป็น Myanma Petrochemical Enterprise(MPE)

........3.พม่าไม่มีบริษัทค้าน้ำมันปิโตรเลี่ยมเป็นของรัฐแบบ ปตทวย. ....

ตอบ : พม่าขายน้ำมันโดยรัฐ โดยหน่วยงาน Myanma Petroleum Products Enterprise (MPPE) ส่วนอัตราการเก็บภาษี กองทุน อยู่ที่ นโยบายของแต่ละประเทศ

........4..พม่าไม่มี กบง.คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแบบไทย....
........5..พม่าไม่มี..กพช...คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแบบไทย....

ตอบ : คนเขียนมั่วจุง ไม่มีความรู้อะไรเลย พม่า มี Energy Planning Department(EPD)ทำหน้าที่ ประสาน จัดการ และ วางกฎระเบียบ ซึ่งชื่อมันอาจต่างกับประเทศไทย แต่มาเหมาเอาว่าประเทศพม่าไม่มี ถือว่าอคติมาก

........6..พม่าไม่มีสถาบันวิจัยพลังงานแบบมหาลัยดังในไทย...
........7.พม่าไม่มีวิศวกรรมปิโตรเลียมแบบมหาลัยดังของไทย...

ตอบ : พม่า มีมหาลัยที่คล้าย ม. เกษตรศาสตร์ ย่างกุ้ง มหาลัยเค้าสร้างก่อนจุฬาแต่ ไม่สอนเลี้ยงสัตว์ สอนแต่ปลูกป่า ในทางตรงกันข้าม ของไทย มีวิศวกรปิโตรเลียมที่ทำผลงาน มีนวัตกรรมมากมาย

ถัดมา พม่า เริ่มเจอน้ำมันครั้งแรก เมื่อปี คศ. 1853 แต่มีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ต่างๆ จนกระทั่งถึงปี คศ. 2011 ถึงจะเริ่มมีกฎเป็นรูปเป็นร่างมี Petrochemical Complex ที่ Thanbayakan ที่ผลิตได้แค่ 25,000 B/D

หมายเหตุ ทุกวันนี้ ทรัพยากรบุคคลในอุตสาหกรรมประเภทนี้ เป็นที่ต้องการมาก เพราะเริ่มเปิด AEC จีน เริ่มเข้าไปลงทุนที่ประเทศพม่าแล้ว มีการต่อท่อส่งน้ำมัน และ ร่วมทุนกับพม่ามากมาย (แสดงให้เห็นว่า พม่ามีทรัพยากรธรรมชาติที่เยอะกว่าประเทศไทยมากมายหลายเท่า)

.........8.พม่าไม่มีโรงกลั่นแม้สักโรงเดียว...ต้องซื้อน้ำมันจากไทยเท่านั้น

ตอบ : พม่ามีโรงกลั่นเล็กๆ ที่ Thanlyin และ Chauk กำลังการผลิต 20,000 และ 6,000 B/D ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากสิงคโปร์มากที่สุด

.........9.พม่าไม่มีด้อกเตอร์ พลังงาน ด้อกเต้อ ปิโตรเลียม..ด้อกเต้อ เศรษฐศาสตร์..บอร์ด(ตาบอด)พลังงาน ...บอร์ด(ตาบอด)ปิโตรเลียม มากมายหลายองค์กร แบบไทย...

ตอบ : อย่าดูถูก ประเทศตัวเอง และ ประเทศเพื่อนบ้าน พม่า หรือ ประเทศไหนก็มีเฉกเช่นเดียวกันหมด และอาชีพเหล่านี้เป็นที่ต้องการของตลาดด้วยซ้ำ

.........เขาเลยคิดราคาพลังงานลึกซึ้งแยบคายแบบไทยไม่เป็น

กล่าวโดยสรุป ควรมองเรื่องความมั่นทางพลังงานในภาพรวมบ้าง ประเทศพม่า บางพื้นที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ด้วยซ้ำ พม่าไม่มีกลไกราคาน้ำมัน ช่วยเหลือประชาชน ยามที่พลังงานมีราคาผันผวน พม่าแก๊สหุงต้มแพงกว่าประเทศไทย พม่าไม่มีพลังงานทางเลือกให้เลือกใช้มากนัก และ พม่า ยังมีการปล่อยมลพิษในเชื้อเพลิงมากกว่าประเทศไทยอีก (มาตรฐานน้ำมันต่ำกว่าไทย)


บทความที่คล้ายกัน

น้ำมันดิบ WTI จะต่ำลงขนาดไหน ก็ไม่ได้เกี่ยวกับ ราคาน้ำมันขายปลีกของไทยเรา

หากท่านดูข่าว ไม่ว่าจะเห็นราคาน้ำมันดิบ WTI ที่กี่เหรียญ อันนี้น่าจะตกใจกันมากในเมื่อคืนที่ผ่านมาเพราะราคาน้ำมันดิบของ WTI แทบจะแจกฟรี แต่เหตุผลหลักคือถังน้ำมันดิบของ WTI ใน Texas เป็นเรื่องของสัญญา futures เดือนพฤษภาคมที่จะหมดอายุลง ผู้ที่ถือสัญญาอยู่จะต้องส่งมอบน้ำมันที่สหรัฐอเมริกา แต่เนื่องจากสถานที่จัดเก็บเต็มในประเทศ จึงต้องขายสัญญาออกไป แม้ต้องขายติดลบก็ตาม



🛢🛢 เหตุการณ์นี้ยังไม่กระทบกับราคาน้ำมันส่งมอบในส่วนอื่นของโลก (เช่น Brent Dubai) เนื่องจาก storage ที่อื่นยังไม่เต็ม และ WTI มีข้อจำกัดในการส่งออก ทำให้ WTI ไม่สะท้อนราคาน้ำมันตลาดโลก

คราวนี้มาดูประเด็นที่เกี่ยวข้องกับไทยเราบ้าง

🛢🛢 ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ไม่ว่าจะลงไปเท่าไหร่ ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันในประเทศเราเลย หรือแม้แต่กระทั่งเกี่ยวข้องกับผลประกอบการของบริษัทน้ำมันในบ้านเราเลย เพราะฉะนั้นไม่ต้องตกใจหรือคิดว่าตลาดน้ำมันในบ้านเราจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะบ้านเราใช้ราคาอ้างอิงน้ำมันสำเร็จรูป ณ ตลาดสิงคโปร์ (มีอธิบายในด้านล่าง) เป็นหลัก ซึ่งตลาดนี้สะท้อนความต้องการในภูมิภาค

ในขณะที่ตลาดส่งมอบน้ำมันทั่วโลกอื่นๆ ที่ผ่านมา Dubai ปรับลดลงเล็กน้อยเท่านั้นไม่ถึง 1 เหรียญต่อบาร์เรล

⛽⛽ สำหรับผู้ใช้น้ำมันเติมรถกันนั้น ไม่ต้องดีใจว่าจะได้เข้าไปเติมน้ำมันแบบราคาลดลงแบบเยอะแยะขนาดนั้น เพราะกว่าน้ำมันดิบจะมาเป็นน้ำมันรถยังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนแถมยังมีนโยบายของภาครัฐ อย่างภาษี กับ กองทุนต่างๆ บวกเข้าไปอีก

อันนี้เคยนำเสนอไปแล้วลองอ่านที่เพจอื่นนำเสนอดูบ้าง เรื่องทำไมต้องอ้างอิงน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ และ ราคาที่ตลาดนี้เหมาะสมหรือไม่ ที่มา Oil Trading - ทันตลาดน้ำมันและเศรษฐกิจโลกกับ KP https://bit.ly/3anaPUT



ที่มาภาพ http://energythaiinfo.blogspot.com/2012/08/blog-post.html

สาเหตุหลักคือ ตลาดซื้อขายกลางในสิงคโปร์ เป็นจุดที่เรือน้ำมันจากทุกประเทศในภูมิภาคในเอเชียวิ่งเข้ามาบรรจบกันเพื่อทำการแลกเปลี่ยนซื้อขายน้ำมันในแต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบหรือน้ำมันสำเร็จรูปอย่างเบนซินและดีเซล หากใครมีน้ำมันเกินก็นำมาขายได้ที่สิงคโปร์นี้ ใครขาดน้ำมันอะไรก็มารับซื้อจากตลาดสิงคโปร์นี้ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นตลาดราคากลางของเอเชียที่มีความน่าเชื่อถือสูงเพราะมีผู้เล่นจากทั่วทุกมุมของเอเชียนำของเข้ามาซื้อขายกันตลอดเวลา

ถ้าเราจะไม่ทำการกลั่นน้ำมันดิบกันในประเทศเอง - หากเราสมมุติว่าเราไม่มีโรงกลั่น และต้องนำเข้าน้ำมันเบนซินและดีเซลจากต่างชาติมาเติมใส่ปั๊มในประเทศเราให้ได้ใช้กัน ตลาดสิงค์โปร์ก็คือต้นทุนราคาที่เราต้องนำเข้ามาอยู่ดีและนั้นก็จะเป็นต้นทุนของปั๊มเรา ทำให้ราคาก็จะไม่ต่างอะไรมากกับราคาที่โรงกลั่นเราขายอยู่ดี จริงๆแล้วราคาของโรงกลั่นเรายังถูกกว่าด้วยซ้ำเพราะการนำเข้าน้ำมันดิบนั้นถูกกว่าน้ำมันสำเร็จรูปหลายเท่า เพราะสามารถขนถ่ายได้ในปริมาณมากและไม่ต้องไปเสียค่าจ้างจากการกลั่นให้ประเทศอื่นๆ เพราะฉะนั้นราคาขายในประเทศที่อิงกับตลาดสิงค์โปร์นี้จึงเป็นราคากลางที่เหมาะสม

สิงคโปร์ก็เป็นเมืองท่าประตูทางผ่านจากจะวันออกกลางสู่เอเชียที่เป็นหลักที่สุด จุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญนี้ ทำให้เขาสามารถตั้งตัวขึ้นมาเป็นจุดซื้อขายน้ำมันหลักๆได้ - เพราะอย่างที่เรียนว่าไม่ใช่แค่เพียงประเทศไทย แต่หลายๆประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ไม่สามารถผลิตน้ำมันดิบได้เองนั้นก็กำลังต่างก็ต้องพึ่งพาน้ำมันดิบจากตะวันออกกลาง และทุกๆเส้นทางของแต่ละประเทศนั้นต้องมีสิงคโปร์อยู่ระหว่างกลาง

ราคา ณ ตลาดสิงคโปร์ ไม่ได้กำหนดโดยรัฐบาลสิงคโปร์ แต่กำหนดโดย ทาง Platts นั้นจึงต้องหาวิธีใหม่ที่จะทำอย่างไรให้ผู้ซื้อผู้ขายทั้งหมดในเอเชียมากำหนดราคาซื้อขายรายวันกันได้โดยให้มีสภาพคล่องสูงที่สุด โดย Platts ใช้วิธีการว่าหากใครก็ตามที่ต้องการเข้ามา เสนอซื้อ (Bid) หรือ เสนอขาย (Offer) ในช่วง Singapore Window นั้น จะต้องรับส่งมอบน้ำมันตามเกรดนั้นจริงๆตามที่ Platts กำหนด จะไม่มีใครสามารถเข้ามาซื้อขายราคาต่างๆเพียงเล่นๆได้ ต้องประสงค์ที่จะรับน้ำมันไปในระดับราคานั้นจริงๆ การทำแบบนี้นั้นทำให้ยากที่ราคาจะโดนปั่นได้ เพราะบริษัทน้ำมันต่างๆ ที่เข้ามาร่วมซื้อขายนั้นต้องพร้อมที่จะรับน้ำมันไปในราคาที่เสนอจริงๆ

ที่มา น้ำมันดิบ WTI จะต่ำลงขนาดไหน ก็ไม่ได้เกี่ยวกับ ราคาน้ำมันขายปลีกของไทยเรา