เงินเดือนซีอีโอ ปตท. ไม่เป็นความจริง แชร์ไปอาจมีความผิดใน พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550


++++++ข้อความส่งต่อเรื่องเงินเดือนซีอีโอ ปตท. ไม่เป็นความจริง++++++

👉 ค่าตอบแทนผู้บริหารเป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ปตท. กำหนด ซึ่งเชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานของ ปตท. ตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (Performance Agreement : PA) ที่กำหนดโดยกระทรวงการคลัง

👉 คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้พิจารณาค่าตอบแทนให้สะท้อนถึงผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ตลอดจนเป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรฐานของกลุ่มธุรกิจชั้นนำประเภทเดียวกัน

👉 โดยส่วนใหญ่บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์มีข้อกำหนดชัดเจน ไม่มีบัตรเครดิตฟรี บ้านฟรี หรือใช้จ่ายฟรีอย่างที่พูดกันไป เพราะค่าใช้จ่ายต่างๆ ต้อง มีหลักฐานเหตุผลการเบิก ซึ่งระบุลงในรายงานประจำปี โบนัสก็มีในรายงานประจำปีด้วยเช่นกัน

👋 หยุดแชร์ข่าวยุแยงบิดเบือนแบบนี้ซะที


*****คำเตือน*****

ความผิดใน พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ที่เราไม่คาดคิด!! อาจเสี่ยงติดคุก

1. การนำรูปผู้อื่นไปแชร์: ไม่ว่าจะแชร์รูปใคร ทั้งเพื่อน คนรู้จัก ดารา นักการเมือง หรือใครก็แล้วแต่ หากเรานำไปแชร์ หรือดัดแปลง ทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือได้รับความอับอาย มีความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 16 พรบ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550)

2. โพสข้อความด่า: การโพสข้อความด่าหรือจงใจกล่าวหา ใส่ร้ายผู้อื่น ซึ่งข้อความที่ไม่เป็นความจริง อันน่าจะทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย มีความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 14 พรบ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550)

พรบ ปิโตรเลียม ฉบับใหม่ ไม่ฟังเสียงประชาชนจริงหรือ?

พรบ ปิโตรเลียม ฉบับใหม่ ไม่ฟังเสียงประชาชนจริงหรือ?


พรบ ปิโตรเลียม ฉบับใหม่ ไม่ฟังเสียงประชาชนจริงหรือ? (ยาว แต่อ่านเถอะ จะได้รู้ว่าเป็นยังไง)

หากย้อนความหลังไปถึงการคัดค้านของกลุ่มต่างๆ ที่อ้างว่าเป็นภาคประชาชน ออกมาขับเคลื่อนในการคัดค้านเกี่ยวกับการดำเนินการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมที่รัฐดำเนินการภายใต้กฎหมายที่กำหนดขึ้น ได้มีข้อเรียกร้องต่างๆ นานา โดยสาระสำคัญคือให้หยุด ชะลอ สัมปทานรอบที่ 21 ไปก่อน หากยังไม่มีการแก้ไข พรบ.ปิโตรเลียม

โดยหากเรียงลำดับเหตุการณ์ที่ภาคประชาชนเสนอ โดยมีฝ่ายกลางทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โดยให้ทั้งสองนำเสนอข้อมูลนั้น จะเห็นว่า เวทีสัมมนาปฎิรูปพลังงานที่จัดขึ้น ณ สโมสรกองทัพบก และ การจัดอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปที่วัดอ้อน้อย โดยมีฝั่งเป็นกลางอย่าง หลวงปู่พุทธอิสระหาข้อสรุปให้ภาครัฐ และ ภาคประชาชน มีการเพิ่มข้อเสนอลงใน เงื่อนไขในการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และ กระทรวงพลังงานได้มีการเพิ่มเงื่อนไขตามข้อเสนอจากงานดังกล่าวจากระบบ Thailand III เป็น Thailand III+

จากนั้น ยังคงมีความต้องการและเรียกร้องให้ชะลอ รวมไปถึงหยุดสัมปทานไปก่อน โดยอ้างว่าต้องมีการแก้ไข พรบ. ปิโตรเลียม ภาครัฐ โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และกับ รัฐบาล จึงหาทางออกร่วมกัน โดยมีการจัดงานเสวนาอีกครั้ง โดยครั้งนี้ได้มีการจัดงานเวทีเดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 มี มล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายก เป็นประธาน และมีตัวแทนภาครัฐประกอบด้วย นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นแกนนำ ,นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน, นายบรรยง พงษ์พานิช คณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ และนายศิริพงษ์ ศุภกิจจานุสรณ์ นักวิชาการอิสระด้านกฎหมาย

สำหรับตัวแทนภาคประชาชนประกอบด้วย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ,หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนโยบายพลังงานและทรัพยากร มหาวิทยาลัยรังสิต, น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านพลังงาน และนายนพ สัตยาศัย กลุ่มวิศวจุฬาฯร่วมปฏิรูปประเทศไทย

โดยข้อเสนอจากเวทีดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไป เช่น เรื่องรายได้รัฐ ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และได้มีการชี้แจงให้ข้อมูลกันไปแล้ว และในข้อเสนอที่ความต้องการให้นำระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) เข้ามาใช้กำกับดูแลกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยนั้น ทางภาครัฐ ได้รับฟัง และรับไว้พิจารณา โดยได้เลื่อนและภายหลังได้ยกเลิกการเปิดสัมปทานรอบ 21 ออกไปก่อน และแก้ไขกฎหมาย เพิ่มระบบแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC) เพื่อให้รัฐได้มีทางเลือกเพิ่มขึ้นสำหรับการบริหารจัดการกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอนาคต เป็นไปตามที่ภาคประชาชนต้องการเรียบร้อยแล้ว

หากอ่านจนจบแล้ว คงได้แต่ฝากให้พิจารณา และ คิดตาม ว่า พรบ.ปิโตรเลียมฉบับใหม่ นั้น ได้มีการทำตามข้อเสนอของภาคประชาชนที่เรียกร้องกันหรือไม่

ที่มา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เวปไซต์ผู้จัดการ และ พลังงาน 24 ชั่วโมง
http://bit.ly/1HgI2LY
http://bit.ly/1Li94Je
http://bit.ly/1MeoXkI
http://bit.ly/1HWqdYV
http://bit.ly/1Piwa49

ลือสะพัด ไทยเสียเขตแดนและผลประโยชน์ทางทะเลให้เขมร

ลือสะพัด ไทยเสียเขตแดนและผลประโยชน์ทางทะเล ให้เขมร แต่คุณจะอึ้ง ถ้าได้รู้ข้อมูลอีกด้าน



เรื่อง เขตแดน พื้นที่ทับซ้อน กับ ผลประโยชน์ทางทะเล ระหว่างไทยกับกัมพูชา เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่มีคนให้ความสนใจกันมาก เลยมีบางท่านนำมาเป็นประเด็น อ้างเป็นเหตุผลใน การคัดค้านการออกสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 สิ่งที่นำเสนอ มันก็ถูกในบางส่วน แต่ถูกไม่ทั้งหมด ถ้าตัดความเห็นของส่วนตัวออกไปก็น่าจะดี การลากเส้นผ่านเกาะกูด ตามหลักสากล ซึ่งประเด็นนี้รัฐเขาก็รู้อยู่แล้ว หน่วยงานที่รับผิดชอบก็ไม่ยอมอยู่แล้ว มันจึงเป็นที่มาของการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนระหว่างเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือ ตามภาพ และ มีความชัดเจนอยู่แล้ว ว่าจะต้องปลดพื้นที่ในส่วนเหนือ กลับมาเป็นของไทยให้ได้ก่อนที่จะมีการเจรจาพื้นที่ส่วนล่างซึ่งจะพัฒนาร่วมกัน หรือ จะออกมาอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ต้องเจรจากัน แต่ย้ำว่า ต้องปลดพื้นที่ส่วนบนให้ได้ก่อน ส่วนประเด็นที่หยิบยกขึ้นมา พูดมาหลายครั้งแล้วว่า การออกสัมปทานรอบใหม่นี้ การตีพื้นที่แปลง G1/57 เป็นการยอมรับเส้นไหล่ทวีปที่กัมพูชาอ้างสิทธิโดยปริยาย ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างแรง และก็ไม่เคยรับฟังหน่วยงานรัฐที่ออกมาชี้แจงให้ข้อมูลว่า มันไม่เกี่ยวกัน เหตุที่แปลงมันแหว่งไป เว้นไปนั้น เพราะมันไปติดกับพื้นที่ที่ได้เคยออกสัมปทานไปแล้วในรอบแรก ปัจจุบันมีผู้รับสัมปทานอยู่ (แต่ยังไม่สามารถดำเนินงานได้) ไม่ได้เป็นเพราะเรายอมรับ ไม่เกี่ยวอะไรกับเกาะกูด มันเป็นคนละเรื่องกัน





ส่วนเรื่องการแบ่งพื้นที่ทางทะเลกับบนบกนั้นยิ่งคนละส่วนกัน พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ ยืนยันด้วยเสียงหนักแน่น ก่อนอธิบายว่า การแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น เขตแดนทางบกกับเขตแดนทางทะเล เรามีลักษณะพิเศษคือ ข้อตกลงทางบกฉบับหนึ่งและมีข้อตกลงทางทะเลอีกฉบับหนึ่ง ดังนั้นไม่ว่าเขตแดนทางบกจะถูกปรับปรุงก็ไม่เกี่ยวข้องกับเขตแดนทางทะเล พลางอธิบายเรื่องเขตแดนทางทะเลของไทยว่า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา เขตแดนทางทะเลถือหลักสองประการคือ หนึ่งทฤษฎีเปิด หรือกฎเสรีภาพทางทะเล ผู้คิดเป็นนักกฎหมายสหรัฐฯเนื้อหาบอกว่า ทะเลน่าจะเป็นสมบัติร่วมของมนุษยชาติ แม้จะมีคนเห็นด้วย แต่ประเทศที่เป็นเกาะอย่างอังกฤษเดือดร้อน เพราะเห็นว่าตัวเองมีความปลอดภัยต่ำ จึงให้นักกฎหมายของตนเขียนทฤษฎีทะเลปิดขึ้นใหม่ เนื้อหาบอกว่า รัฐควรสามารถที่จะเป็นเจ้าของสิทธิทะเลในส่วนที่ตัวเองดูแล จึงเกิดเป็น 2 ทฤษฎีที่ใช้กันอยู่ ซึ่งแนวคิดของ พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ชัดเจนแล้วว่า เส้นแบ่งเขตแดนทางบกกับทางทะเลแยกจากกัน