แฉ!! ความมั่วของคลิป แหล่งน้ำมันกงไกรลาศ คนไม่รู้ก็เที่ยวโม้ไปทั่ว

แฉ คลิปมั่ว แหล่งน้ำมันกงไกรลาศ รถขนน้ำมันดิบ 30,000 ลิตร กงไกรลาศ สุโขทัย คนไม่รู้ก็เที่ยวโม้ไปทั่ว แชร์ให้ทราบโดยทั่วกันจะได้ไม่โดนหลอก การผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งบูรพาของบริษัท สยามโมเอโกะ




แชร์ให้ทราบโดยทั่วกันจะได้ไม่โดนหลอก การผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งบูรพาของบริษัท สยามโมเอโกะ รถที่เห็น ชาวโลกเค้าเรียกว่ารถขนส่งน้ำมันดิบมีความจุประมาณ 200 บาร์เรล (น้ำมันดิบ ไม่ใช้หน่วยเป็นลิตรนะครับ) รถทุกคันนะครับจะส่งไปกลั่นที่โรงกลั่นบางจากนะครับ ประมาณ 3 คันต่อวัน หมายความว่าแหล่งนี้ผลิตได้ประมาณ 600 บาร์เรลต่อวัน (ประเทศไทยใช้น้ำมันดิบประมาณวันละ 1,000,000 บาร์เรล) ก่อนที่น้ำมันดิบจะส่งออกไปจากฐานผลิตปิโตรเลียมที่เห็นนั้นจะถูกวัดปริมาณลง seal ทุกครั้งทุกคัน แล้วไปวัดปริมาณที่ถูกต้อง แม่นยำ ชัดเจนอีกครั้งที่โรงกลั่นบางจาก ถ่ายอยู่ที่แหล่งบูรพา แต่บอกรถขนน้ำมันจากแหล่งลานกระบือ ซึ่งทั้งสองแหล่งนี้ อยู่ห่างกัน และดำเนินงานกันคนละบริษัท ผู้รับสัมปทานคือ บริษัทสยามโมเอโกะนะครับ มีอัตราการผลิตวันละประมาณ 600 บาร์เรลนะครับ น้ำมันดิบที่ผลิตได้ถูกขายให้โรงกลั่นบางจากและใช้ในประเทศทั้งหมดครับ

ส่วนที่บอกว่าการผลิตแสนง่ายต่อท่อแล้วดูดเหมือนน้ำบาดาล เปิดก๊อกใส่รถ คืออย่างนี้ครับการที่ไม่เห็นหัวโยก Beam Pump หรือปั๊มหัวโยกนั้น เนื่องจาก ไม่สามารถใช้ Beam Pump ได้ แต่ความจริงคือหลุมนี้มีการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยในการผลิตอยู่ที่ก้นหลุมที่ไม่สามารถมองจากข้างบนได้ ซึ่งมันมีชื่อว่า Jet Pump ค่าใช้จ่ายต่อวันไม่เท่าไหร่หรอกครับ 107,250 บาทต่อหลุมต่อวันเท่านั้นเอง ซึ่งแหล่งนี้มีการติดตั้ง Jet Pump อยู่ 2 หลุม ส่วนหลุมที่ไม่ได้ติดตั้ง Jet Pump นั้นมีทั้งหมด 3 หลุม ค่าใช้จ่ายต่อวันก็ไม่สูงมากครับ แค่ 46,200 บาทต่อหลุมเอง **(ฺBeam pump and Jet pump ปกติทั่วไป หากแหล่งกักเก็บมี drive มีแรงดันขับเคลื่อนมากพอที่จะดันเอาน้ำมันดิบขึ้นมาได้ หลุมนั้น ไม่ต้องติดปั้ม แต่ผลิตไป บางแหล่ง ความดันลดไม่ไหล ก็ต้องติดปั้ม แต่อยู่ๆ จะเปิดก๊อกไหลใส่รถไปเลย ไม่ได้ ต้องมี process คือ ต้องเอาน้ำมันดิบนั้นเข้า แยกน้ำเพื่อให้มีน้ำปนในน้ำมันดิบน้อยที่สุด ตามผู้ซืีอกำหนด โดยเก็บน้ำมันไว้ใจแทงค์ หรือฉีดสารบางตัวเพื่อให้น้ำมันดิบแยกน้ำกับน้ำมันดิบได้ไวขึ้น ก่อนโหลดลงรถ)

สรุปนะครับจาก 5 หลุมมีค่าใช้จ่ายต่อวันแค่ประมาณ 350,000 บาทต่อหลุมทั้งหมดเองครับ ชัดเจนนะครับที่บอกว่าต่อท่อ เปิดก๊อก ใส่รถ ไม่ยุ่งยาก ไม่ลำบาก เอากันง่ายๆ ดูดกันสบาย มันง่ายตรงไหนครับ (แค่แหล่งเดียวนะครับ อย่าเหมารวมทุกที่เข้าไปว่า Cost มันจะเท่ากันทุกที่)

ส่วนที่บอกว่าราคาน้ำมันสุกขายเป็นราคานำเข้าบวกค่าขนส่งนั้น คืออย่างนี้ครับขอความกรุณาอย่าเอาหัวไว้กั้นหูนะครับ คือการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ(น้ำมันดิบ) มีการจัดเก็บค่าภาคหลวงให้ท้องที่กระทรวงการคลัง เก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมส่งกระทรวงการคลัง เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษส่งกระทรวงการคลัง ไม่มีส่วนไหนเลยที่ไปเกี่ยวข้องการราคาน้ำมันสุก ซึ่งราคาที่ขายนั้นเป็นราคาเนื้อน้ำมันรวมกับเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมัน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ค่าการตลาด ไม่มีส่วนเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันดิบในประเทศเลยครับ ซึ่งราคาน้ำมันสุกที่ขายนั้นกำหนดโดยรัฐบาลครับ โดยการที่มาอ้างเรื่องราคาน้ำมันสุกนั้นกำหนดโดย พรบ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ที่บอกว่าแก้ไขมา 5 ครั้งแต่ไม่แก้ไขข้อนี้ ใช่ครับไม่แก้ไขข้อนี้ เพราะว่ามันไม่มีข้อนี้ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมเลย

ต่อมาคือสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย ความเป็นธรรมคืออะไร การไม่บิดเบือดข้อมูลต่างหากครับ ความถูกต้อง คือการไม่โกหกกัน เป็นธรรมกับทุกฝ่าย เลิกมโน ที่ป้าในคลิปบอกว่าเรามีน้ำมันดิบเป็นของตัวเองและใช้ราคาน้ำมันตลาดโลก ง่ายๆ ครับ คือที่เรามีมันไม่พอกับที่เราใช้ ดังนั้นไม่แปลกที่จะใช้ราคาตลาดโลกครับ (ผลิตได้ประมาณ 150,000 บาร์เรลต่อวัน ใช้วันละ 1,000,000 บาร์เรล)

และที่บอกว่าผู้บริหารกระทรวงพลังงานบอกว่าลงทุนสูง เจาะยากอันนี้ก็ว่ากันด้วยข้อเท็จจริงดังนี้

ค่าใช้จ่ายในการผลิตของทั้ง 5 หลุมตกวันละ 350,000 บาท เงินลงทุนสิ่งปลูกสร้าง กระบวนการผลิตทั้งหมด เป็นเงินประมาณ 57,090,000 บาท เงินลงทุนส่วนนี้คงเป็นค่าใช้จ่ายที่ต่ำนะครับ น้ำมันดิบที่ขึ้นมานั้นไม่ใช่ว่าเอาไปใส่ถัง เปิดก๊อก ใส่รถและขายได้เลยนะครับ มันต้องมีกระบวนการที่มันสมองและสองตาของคนบรรยายมองไม่ออกหรอกว่า จะต้องไปผ่านกระบวนการนำน้ำและก๊าซธรรมชาติออกจากเนื้อน้ำมันดิบด้วยครับ

สุดท้ายที่ทิ้งคำถามว่าอยากให้ข้าราชการกระทรวงพลังงานปล่อยให้ประเทศไทยอยู่ในสภาพแบบนี้ ตอบไปหมดแล้ว เกี่ยวกับข้อจริง แต่ที่คนที่ทำงานรู้สึกแย่คือ ปล่อยให้ประเทศไทย มีกลุ่มคนบางกลุ่มมาคอยบิดเบือนข้อมูล สร้างความสับสนให้ประชาชนทุกวัน

รักนะ ♥♥ จาก กลุ่มบุคลากรที่ทำงานและเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- ความสำเร็จในการขุดเจาะปิโตรเลียมในประเทศไทย http://on.fb.me/1nwS7kC
- ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (๑) http://on.fb.me/1oloao5
- ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (๒) http://on.fb.me/1y9sVS9
- ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (๓) http://on.fb.me/1rmDT0X

รายละเอียดชี้แจงอย่างเป็นทางการ จากหน่วยงานภาครัฐ http://bit.ly/1zV5YHO

ที่มาของคลิปดังกล่าว http://bit.ly/1IvuIaS

คุณจะกลายเป็นคนโง่ทันที เมื่อคิดว่า ปตท. คือกล่องดวงใจทักษิณ

ข้อความสุดแสนมโน ไม่ต้องคิดจะปองดองได้เด็ดขาด ถ้าคิดแชร์เลย โดยไม่หาข้อมูลเพิ่มเติม



ปตท.เคยเป็นทรัพย์สินของรัฐ ใช่หรือไม่?


ทุกวันนี้ก็ยังเป็น แถมตรวจสอบง่าย โดยอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แถมยังเป็นรัฐวิสาหกิจอีกต่างหาก



ปตท.ถูกแปรรูปสมัยทักษิณ เป็นนายกใช่หรือไม่?

ไม่ใช่แน่นอน



การแปรรูป ปตท. เริ่มจาก เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2544 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ รับทราบผลการประชุมการระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดทุน ซึ่งเห็นชอบแผนเตรียมความพร้อมในการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยในจำนวนนี้มี การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบที่จะนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างช้าภายในเดือนพฤศจิกายน 2544

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันหารือถึงการกำหนดโครงสร้างและขั้นตอนในการแปรสภาพ ปตท. เป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการนำ ปตท. เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ภายในปี 2544



หุ้นถูกจัดสรรหมดภายใน77 วินาที ใช่หรือไม่?

เรื่องการขายหุ้น ปตท. นี้ เป็นที่กังขาด่าทอของหลายฝ่าย โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า ขายหมดในเวลา 1 นาที 17 วินาที กับมีผู้จองซื้อที่มีความสัมพันธ์กับนักการเมืองที่มีอำนาจ

ผมขอยืนยันว่า การขายหุ้น IPO ของ ปตท.ในปี 2544 กระทำอย่างโปร่งใส อย่างมืออาชีพ ไม่ได้มีเรื่องสกปรกตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด ซึ่งผมและทีมงานได้เคยไปอธิบายในที่ต่างๆ มามากมาย รวมทั้งกรรมาธิการของสภา เพียงแต่ยังไม่เคยเขียนอธิบายด้วยตัวเอง (จะเขียนอธิบายในบทความครั้งหน้าภายในสุดสัปดาห์นี้ครับ…เพราะเมื่อก่อนยังไม่รู้ว่าตัวเองเขียนหนังสือเป็นมาก่อน)

IPO ของ ปตท. โดยขายหุ้นทั้งหมด 920 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 35 บาท รวมมูลค่า 32,200 ล้านบาทในครั้งนั้น มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจไทย ในประเด็นดังต่อไปนี้

– ปตท. ได้รับเงินไปเสริมฐานะ สามารถปรับโครงสร้างหนี้บริษัทลูกต่างๆ ได้ แถมมีเงินพอที่จะเข้าซื้อกิจการเอกชนอื่นๆ ที่มีปัญหา เช่น โรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี ทำให้ขยายตัวเป็นกิจการที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นกิจการระดับโลก มีขนาดใหญ่กว่าปูนซีเมนต์ไทย (SCG) ที่เคยใหญ่ที่สุดในไทยถึง 3 เท่าตัว

– การเข้าตลาดหลักทรัพย์ทำให้ ปตท. มีการปรับปรุงระบบบริหาร เข้าสู่มาตรฐานสากล มีนักลงทุนทั่วโลกคอยติดตามตรวจสอบ รวมทั้งเป็นแรงกดดันให้พัฒนาก้าวหน้าตลอดเวลา

– การขยายตัวของกลุ่ม ปตท. ทำให้ไทยมีความมั่นคงและเสถียรภาพด้านพลังงาน ต่อเลยไปจนถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมปลายนำ้ (Downstream) ด้านปิโตรเคมี ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมหลัก


– ทำให้ตลาดทุนไทยพลิกฟื้นกลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกใหม่ ในฐานะที่ทำงานอยู่ในตลาดทุนไทยมากว่า 36 ปี ผมกล้าพูดเลยว่า ถ้าไม่มีการเข้าตลาดฯ ของ ปตท. ตลาดหุ้นไทยจะไม่มีวันนี้ จะไม่ได้กลับมาเป็นกลไกหลัก เป็นแกนในการรวบรวมจัดสรรทรัพยากรให้ระบบเศรษฐกิจเช่นทุกวันนี้ หลังวิกฤติตลาดหุ้นไทยซบเซาอย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่อธนาคาร 4 แห่งเพิ่มทุนได้แล้ว นักลงทุนผิดหวังขาดทุนทั่วหน้า ตลาดไทยแทบนับได้ว่าตายจากไปจากวงจรตลาดทุนโลก ในปี 2544 ก่อนขายหุ้น SET Index ตกต่ำที่ 280 Market Cap มีแค่ 1.5 ล้านล้าน ปริมาณซื้อขายเฉลี่ยแค่วันละ 6,300 ล้านบาท เพราะ ปตท. เข้าตลาด จึงปลุกตลาดหุ้นขึ้นมาใหม่ จนปัจจุบัน SET Index 1,350 Merket Cap 12 ล้านล้าน ซื้อขายกันวันละกว่า 30,000 ล้านบาท

ที่มา https://thaipublica.org/2014/03/privatization-5/


ในที่สุดทักษิณตกได้หุ้น35 % จริงหรือไม่?

ไม่จริง ถ้าบอกแบบนั้น กระทรวงการคลังถือ เยอะสุด ที่เหลือ เป็นนักลงทุนรายย่อยทั้งนั้น

รวบรวมจาก Settrade 


ปตท.แจงผลกำไรปีละแสนล้าน! !

ไม่ผิด แต่ต้องดูงบลงทุน ปี 54 ปตท ต้องดูรายได้รวม 2,475,454.57 แล้วจึงเทียบกำไร ถึงจะถูก



ดังนั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นว่า การโยง ปตท กับ ทักษิณ เป็นเรื่องโง่ และเพ้อเจ้อสุดๆ 

ขี้เกียจอ่าน กดฟังคลิปเอาก็ได้


ระบบสัมปทาน ทำให้สูญเสียกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียม จริงหรือ?

ประเด็นเรื่อง กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียม ที่มีผู้นำไปกล่าวถึงในที่ต่างๆ ว่า ในระบบแบ่งปันผลผลิตของเพื่อนบ้านนั้น ปิโตรเลียมที่ขุดพบจะตกเป็นของรัฐ แต่ในขณะที่ระบบสัมปทานไทย ปิโตรเลียมตกเป็นของเอกชนหมดแล้วหลังจากยกสัมปทานให้เขาไป...ฟังแล้วก็เคลิ้มและอาจดูเหมือนว่าเจ้าของทรัพยากรตัวจริงเสียท่า ไม่มีสิทธิในมูลค่าที่ได้จากการขาย และไม่มีสิทธิในการใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมที่ขุดได้จากประเทศตัวเอง...เอกชนหรือบริษัทผู้ขุดเจาะจะทำอย่างไรกับปิโตรเลียมที่ขุดพบนั้นก็ได้ จะขายในราคาไหนก็ได้ จะส่งออกไปก็ได้ ตามใจชอบ....มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ...

สิทธิของผู้รับสัมปทาน ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม มาตรา 23 54 56 สรุปความได้ว่า ผู้รับสัมปทาน มีสิทธิในการสำรวจ และเมื่อพบในเชิงพาณิชย์ มีสิทธิที่จะทำการผลิต เก็บรักษา ขนส่ง และ ขาย ปิโตรเลียมที่อยู่ในแปลงสัมปทานนั้นได้

สิทธิดังกล่าวนี้ ถ้าจะตีความให้เกิดความเข้าใจผิดว่า กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมตกเป็นของผู้รับสัมปทานหมดแล้ว ซึ่งความเป็นจริงคงไม่ได้เป็นเช่นนั้น กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมนี้ หมายถึงอะไร.. มันส่งผลอย่างไรต่อประเทศที่เป็นเจ้าของทรัพยากร

จากข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ปิโตรเลียมที่ขุดได้ในประเทศไทยภายใต้ระบบสัมปทาน แยกเป็น

ก๊าซธรรมชาติ (ผลิตได้ประมาณร้อยละ 62 ของความต้องการใช้) ที่ขุดพบทั้งหมด ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์ภายในประเทศ และซื้อ-ขาย กันในราคาที่ควบคุมโดยคณะกรรมการปิโตรเลียม ตาม มาตรา 58 แห่ง พรบ.ปิโตรเลียม เป็นผลให้ก๊าซที่ผลิตได้ภายในประเทศมีราคาถูกกว่าก๊าซที่ต้องนำเข้าอยู่มาก

ก๊าซธรรมชาติเหลว และ น้ำมันดิบ (ผลิตได้ร้อยละ 15 ของความต้องการใช้) ส่วนใหญ่ถูกใช้ป้อนโรงกลั่นและปิโตรเคมีภายในประเทศ มีเพียงส่วนน้อยที่ต้องส่งออก เนื่องจากไม่สามารถหาตลาดภายในประเทศได้ โดยการซื้อขายน้ำมันจะมีราคาอ้างอิงตลาดโลกตามคุณภาพของน้ำมันดิบ เนื่องจากรัฐเปิดโอกาสให้มีการซื้อขายเสรี แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ประเทศมีความต้องการใช้ รัฐสั่งห้ามผู้รับสัมปทานส่งออกปิโตรเลียมได้ ตาม ม.60 61

ดังนั้นที่เขาบอกว่า สัมปทานไทยกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมตกเป็นของเอกชน หรือ ระบบแบ่งปันผลผลิตกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมเป็นของรัฐ นั้น ในทางปฏิบัติไม่ได้มีความแตกต่างกัน เพราะการดำเนินงานภายใต้สองระบบนี้เมื่อเอกชนสำรวจพบ มีสิทธิ เก็บรักษา ขนส่ง ขาย เหมือนกัน และมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายได้ หักต้นทุนแล้ว เหลือเป็นกำไรจะแบ่งกันระหว่างรัฐและเอกชนตามกลไกของแต่ละระบบ และในกรณีที่รัฐมีความต้องการใช้ปิโตรเลียมเพื่อประโยชน์ภายในประเทศก็สามารถทำได้ตามกฎหมายที่กำหนดไว้ ผู้ที่นำประเด็นนี้ไปเล่นคำ เพียงเพื่อสร้างอารมณ์ร่วมในความเป็นเจ้าของทรัพยากร เรียกร้องความสนใจ เป็นการสร้างความเข้าใจผิดและเกิดกระแสต่อต้าน เกลียดชัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระบบสัมปทานไทยและระบบแบ่งปันผลผลิต อาจมีความแตกต่างกันบ้างในหลักการและรายละเอียดของการปฏิบัติ แต่สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับศักยภาพปิโตรเลียมที่มีอยู่และนโยบายของแต่ละประเทศได้ทั้งสองระบบ แต่เหตุผลสำคัญที่ประเทศไทยไม่เปลี่ยนไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต เนื่องจากศักยภาพปิโตรเลียมของเราแตกต่างกับเพื่อนบ้าน เราเป็นประเทศนำเข้า ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศ พม่า มาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นประเทศส่งออก การเริ่มต้นด้วยการเลือกใช้ระบบสัมปทานเพราะเหตุผลตามที่ได้กล่าวแล้ว คือขาดความพร้อม แม้ในเวลาต่อมาเราจะมีความรู้เพิ่มขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้น แต่ในการออกสัมปทานในรอบต่อๆ มาเรากลับค้นพบปิโตรเลียมน้อยลง จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบ แม้ขณะนี้กลุ่มทวงคืนจะมีความเห็นว่า รายได้รัฐภายใต้ระบบสัมปทานไทยยังไม่เหมาะสมและคิดว่ารัฐได้ส่วนแบ่งน้อยไป ซึ่งในประเด็นนี้ถ้ามีการศึกษาข้อเท็จจริงในหลายๆ มิติแล้วเป็นเช่นนั้นจริง ก็สามารถแก้ไขเก็บเพิ่มได้ตามวิธีดังที่ได้กล่าวแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตให้ยุ่งยาก

โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการออกสัมปทาน มีมากน้อย แค่ไหน ดูได้จากอะไร?
ถ้าวัดความสำเร็จจากจำนวนแปลงที่ประสบความสำเร็จ จากทั้งหมดที่ได้ออกสัมปทานไปแล้ว 20 รอบ จำนวน 155 แปลง ผู้รับสัมปทานได้ทำการสำรวจแต่ไม่พบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ และได้คืนแปลงกลับคืนมาให้รัฐแล้วจำนวน 88 แปลง แปลงที่เหลืออยู่ในช่วงระยะเวลาสำรวจ 35 แปลง และมีแปลงที่ประสบความสำเร็จ สำรวจพบและพัฒนาจนผลิตปิโตรเลียมได้แล้ว 32 แปลง คิดเป็นร้อยละ 21 รายละเอียดของการออกสัมปทานในแต่ละรอบแสดงดังรูปนี้  
สถิติ การออกสัมปทาน

สัมปทานปิโตรเลียม มี 2 ช่วง คือ ช่วงระยะเวลาสำรวจ(กรอบสีน้ำเงิน) และช่วงระยะเวลาผลิต(กรอบสีแดง) ผู้รับสัมปทานจะต้องประสบความสำเร็จในช่วงสำรวจเสียก่อน ถึงเข้าสู่ช่วงระยะผลิตได้ แต่จากสถิติจำนวนแปลงเกือบร้อยละ 80 ไม่สามารถเข้าสู่ช่วงผลิตได้ ต้องสูญเสียเงินลงทุนสำรวจไปเปล่ารวมกันกว่า 7.2 หมื่นล้านบาท

รู้แล้วอึ้ง.. คะแนนการจัดอันดับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศที่กลุ่มทวงพลังงานชอบอ้างถึง

เวลาคนที่มีความรู้ด้านพลังงานเลือกประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการกำกับดูแลการบริหารจัดการปิโตรเลียม เขาจะเลือกประเทศเช่น Norway ที่กระทรวงพลังงาน นำโดย พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน และคณะ พร้อมสื่อมวลชน ได้เดินทางไปยังประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์ เพื่อศึกษาต้นแบบการพัฒนาพลังงานชุมชน แหล่งสำรวจก๊าซธรรมชาติ และแผนการบริหารจัดการด้านพลังงาน เมื่อวันที่ 16-21 พ.ค.ที่ผ่านมา



แต่เวลาให้คนไม่มีความรู้ด้านพลังงานเลือก เขาจะเลือกประเทศที่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดี เช่นเวเนหรือแม้กระทั่งมาเลเซีย

เชื่อคนผิด เสียใจจนตายครับ


http://resourcegovernanceindex.org/country-profiles
http://in.mobile.reuters.com/article/idINL8N1JP3V1
https://resourcegovernance.org


สถาบันกำกับดูแลการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ได้จัดทำ ranking ของการกำกับดูแลการบริหารจัดการปิโตรเลียมของแปดสิบกว่าประเทศที่ปิโตรเลียมเป็นรายได้สำคัญของประเทศ

เขามี kpi สำคัญๆหลายตัวเพื่อประเมินผล

นอร์เวย์ได้ที่หนึ่งเพราะบริหารจัดการได้ดีสุด



แต่ที่อยากเอ่ยถึงคือมาเลเซียเพราะอยากให้สมาชิก สนช. ผู้ทรงเกียรติทั้งหลายได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมาเลเซียเสียที

มาเลเซียได้อันดับที่ 27 เพราะความไม่โปร่งใสในระบบ PSC และการกระจายรายได้จากปิโตรเลียมที่ควรทำได้ดีกว่าที่เป็นอยู่อีกเยอะ

ช่วยกรุณาอ่านตามลินค์ที่แปะไว้นะครับและเลิกฟังเลิกเชื่อคนที่ไม่มีความรู้ด้านพลังงานเสียทีเถิด การปฏิรูปพลังงานไทยจะได้เดินต่อในทางที่ถูกที่ควรครับ

http://resourcegovernanceindex.org/country-profiles/MYS/oil-gas

จบเรื่องท่อ ปตท. อีกครั้ง


สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาทั้งหมด

- 2551 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งว่าดำเนินการครบถ้วนแล้ว
- 2552 สตง. ระบุในหนังสือว่า คำสั่งศาลฯ ถือเป็นที่ยุติ ซึ่งศาลฯ ได้ยืนยันตอบ สตง. แล้วว่าคืนท่อครบ - 2553 ครม. รับทราบการดำเนินการตามมติที่ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลฯ
- 2552 – 2559 ศาลฯ ยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และผู้ร้องอื่นๆ พร้อมทั้งจำหน่ายคดีออกจากระบบ
- 2552 – 2559 สตง. เป็นผู้สอบบัญชี ได้รับรองงบการเงินของ ปตท. ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ โดยไม่มีเงื่อนไขหรือหมายเหตุเรื่องคืนท่อไม่ครบ
- 2560 ศาลฯ ระบุว่า ความเห็น คตง. ไม่ผูกพันศาลฯ
- 2560 นายศรีราชา แล น.ส. รสนา ถูกตัดสินลงโทษตักเตือน กรณีละเมิดอำนาจศาลฯ ในการวิจารณ์คำสั่งเรื่องคืนท่อ ซึ่งศาลฯ ระบุคำสั่งศาลว่าในปี 2551 ได้พิจารณาภาพรวมทั้งหมดในการปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว
การที่มีการหยิบยก มาตรา 157 มาเพื่อจะบังคับให้รัฐบาลและปตท.ทำตามมติคตง. แทนคำพิพากษา และคำวินิจฉัย จึงเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้
ที่มา PTT INSIGHT จบเรื่องท่อ ปตท.

อ่านบทความ เปิดทุกคำพิพากษา! ปตท. ส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติครบหรือไม่
เนื้อหาสรุปสาระสำคัญจากภาพ จบเรื่องท่อ ปตท.

รู้แล้วอึ้ง... เหตุผลที่ ปตท. เปิดเผยรายชื่อ ผู้ถือหุ้นอุปการคุณไม่ได้

เรื่องการให้เปิดเผยรายชื่อหุ้นผู้มีอุปการคุณ ปตท. ที่มีกลุ่มคนบางกลุ่ม หยิบมาเป็นประเด็นนั้น



การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (มาตรา 24 หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือ ของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยดังต่อไปนี้....... http://phatthalung.police.go.th/download/information/21-25.html




หุ้นอุปการคุณถือเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปของการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ราคา 35 บาท ไม่ใช่ราคา 10 บาทไม่ได้มีราคาถูกกว่าราคาหุ้นที่เปิดให้จองในตลาดหลักทรัพย์อย่างที่เข้าใจ และมีขั้นต่ำในการซื้อด้วย

อย่าลืมการลงทุนมีความเสี่ยง ในตอนที่หุ้น ปตท. เข้าตลาด มีการขึ้น-ลงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับราคาจองเกือบปี หรือบางช่วงอยู่ในระดับต่ำกว่าราคาจองด้วยซ้ำกว่า 6 เดือน (29 บาท) นักลงทุนตอนนั้นทั้งติดบนดอย ทั้งเฉือนเนื้อกันขายทิ้งกันก็มี ทนถือเก็บไว้จนราคาเงยหัวขึ้นก็มี หากคนกลุ่มก้อนนั้นจะมาตีโพยตีพายกันตอนนี้ว่าทำให้เสียประโยชน์ไม่ได้หุ้นอุปการคุณในตอนนั้น ตอนที่เปิดตลาดใหม่ๆ ราคาหุ้นลงมาต่ำกว่าราคาจองก็น่าจะรีบมาช้อนซื้อกันไป ไม่ใช่มาโวยวายตอนหุ้นเพิ่มไป 300-400 บาท เรียกว่าอยากได้กำไรง่ายๆ ว่างั้น


หรืออยากได้รายชื่อจนตัวสั่น จนต้องไปละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น จนให้หน่วยงานรัฐถูกฟ้อง

ที่มาภาพ PTT INSIGHT https://goo.gl/GA4EQk
ที่มาข้อมูล เรื่องการเปิดเผยชื่อหุ้นผู้มีอุปการคุณ ปตท. เป็นเรื่องละเมิดสิทธิ์ผู้ถือหุ้น

รู้แล้วจะอึ้ง ว่า NGO ใครบ้างถือหุ้น ปตท.


รู้แล้วจะอึ้ง ว่า NGO ใครบ้างถือหุ้น ปตท. อยากรู้ไปมา อ่าว!! พวกเดียวกันนี่หว่า

ถลกหนังเอ็นจีโอ กับ การถือครองหุ้น ปตท.



ปัญหาแปรรูป ปตท. ทำท่าจะจบได้สวย แต่ก็ยังไม่จบดี เพราะกลุ่มเอ็นจีโอในนามมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยังคงตามรังควาญไม่เลิก

ยื่นฟ้องศาลฯให้หยุดพักการซื้อขายหุ้น ปตท.จนกว่ากระบวนการโอนทรัพย์สินจะเรียบร้อย

เคลื่อนไหวผลักดันจะให้มีการเอาผิดทั้งทางคดีอาญาและแพ่งในกรณีไม่มีการโอนทรัพย์สินท่อก๊าซและที่ดิน ตอน ปตท. แปลงสภาพเป็น บมจ.ไปแล้ว

และร้องแรกแหกกระเฌอกล่าวหาคนไปทั่วว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการถือครองหุ้นปตท.

แต่น่าแปลกอย่างยิ่ง เบื้องหลังกลุ่มประทุษร้ายบ้านเมืองกลุ่มนี้  กลับมีเบื้องหลังที่ค่อนข้างจะสกปรก น่าสังเวชใจอย่างไม่น่าเชิ่อ

ในขณะที่พวกเขากล่าวให้ร้ายคนอื่น พวกเขากลับเป็นพวกถือครองหุ้น ปตท.อยู่ไม่ใช่น้อย!

เข้าถือหุ้น ปตท.โดยตัวเองก็มี และถือหุ้นโดยเครือญาติที่ใช้นามสกุลเดียวกันก็มี รวมแล้วประมาณ 3 แสนหุ้น

ในบรรดากรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ฟ้องร้อง ปตท.จำนวน  11  คน มีตัวกรรมการและญาติกรรมการที่ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือหุ้น ปตท.อยู่ถึง 5 คน

ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  คือ  นส.จิราพร ลิมปานนท์ ได้หุ้นจองไอพีโอ 8,000 หุ้น และญาติที่ใช้นามสกุลเดียวกันอีก 5,000 หุ้น

ญาติกรรมการที่ชื่อ นางสุวรรณา อัศวเรืองชัย ถือครองหุ้นจองอยู่ถึง 1 แสนหุ้น

ญาติกรรมการที่ชื่อ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ได้หุ้นจองไปทั้งสิ้น 26,000 หุ้น

และญาติกรรมการที่ชื่อ นายสุรเกียรติ อาชานานุภาพ ได้หุ้นจองไป 3 พันหุ้น

ทนายความผู้รับมอบอำนาจฟ้องร้อง ปตท. ที่ชื่อ ชัยวัฒน์  แสงอรุณ มีชื่อคนในครอบครัวแสงอรุณถือหุ้นตั้งแต่ตอนจองไอพีโอ และหลังไอพีโอ รวมกันแล้วถึง 111,031 หุ้น

ปตท. เพิ่งจายปันผลระหว่างกาลตอนครึ่งปีไปหุ้นละ 9.25 บาท รวมแล้วตระกูลแสงอรุณรับเงินปันผลหุ้นปตท.ไปแล้วทั้งสิ้น 1.02 ล้านบาท

นี่ปลายปี จะรับปันผลปตท.เพิ่มอีกหุ้นละ 5 บาท ตระกูลนี้ก็จะได้เงินปันผลอีก 555,155 บาท รวมทั้งปีรับเงินปันผลไป 1.5 ล้านบาทแค่นั้นเอง

นี่มันอะไรกันเนี่ย! ไปฟ้องศาลปกครองว่า กระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชน กระทำโดยปิดบังซ่อนเร้น ประชาชนไม่ได้รับรู้ข่าวสารในวงกว้าง

แต่ญาติพี่น้องและตัวกรรมการผู้ร้อง กลับรับรู้ข่าวสารเป็นอันดี   แถมยังได้หุ้นจองที่กล่าวหาไปทั่วว่า กระจายหุ้นโดยไม่เป็นธรรมเสียด้วย

จะเรียกคนที่มีพฤติกรรมกลับกลอกพวกนี้ว่า อะไรดีเล่า

เป็นพวกปากว่าตาขยิบ,  พวกเกลียดตัวกินใข่ เกลียดปลาไหลกินแกง หรือ พวกมนุษย์ลวงโลก ก็ดูจะน้อยไป

แต่ที่แน่ๆพวกเขาเป็นพวกชอบประทุษร้ายสังคม

ผมไม่กลัวการฟ้องร้องเลยสักนิด ฟ้องมาเถอะ จะได้แฉกันให้จะๆกว่านี้ บ้านเมืองจะล่มจมก็เพราะพวกบ้าคลั่งเหล่านี้

วันที่ 18 ธ.ค. 2550

ที่มา ขี่พายุทะลุฟ้า
ที่มา ถลกหนังเอ็นจีโอ กับ การถือครองหุ้น ปตท.

เรื่องท่อก๊าซฯ จะฟ้องกี่ครั้งผลก็เหมือนเดิม



เรื่องท่อก๊าซฯ จะฟ้องกี่ครั้งผลก็เหมือนเดิม ศาลระบุชัด “หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว” ไม่อาจนำมาฟ้องคดีได้อีก



ข้อความด้านบนเป็นส่วนหนึ่งในคำสั่งล่าสุดของศาลปกครอง ในคดีหมายเลขดำเลขที่ ๖๐๓/๒๕๖๐ คดีหมายเลขแดงที่ ๗๖๘/๒๕๖๐ สืบเนื่องจากกรณีล่าสุด ที่มีผู้ฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลปกครองอีกครั้ง

โดยในคำฟ้องมีการระบุให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งรวม ๗ ข้อ ซึ่งคดีนี้มีสองประเด็นสำคัญที่ศาลจะต้องพิจารณาคือ คำฟ้องของผู้ฟ้องคดีเป็นคำฟ้องที่ศาลสามารถรับไว้พิจารณาได้หรือไม่

โดยศาลได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า แม้เนื้อหาของคดีจะอยู่ในขอบเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียหรือประโยชน์โดยตรง อีกทั้งไม่สามารถแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมได้ว่า การโอนคืนท่อก๊าซธรรมชาติของ บริษัท ปตท.ให้แก่กระทรวงการคลัง ซึ่งผู้ฟ้องเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องนั้น ก่อให้ความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะก่อความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีโดยตรงและเป็นการเฉพาะตัวอย่างไร

นอกจากนั้นที่สำคัญยังระบุว่า


“การที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กระทำการโอนคืนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน(ท่อก๊าซฯ)จากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้แก่กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ ฟ. ๔๗/๒๕๔๙ คดีหมายแดงที่ ฟ. ๓๕/๒๕๕๐ ยังมีลักษณะเป็นการร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคดีตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าวซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้มีการสั่งคำร้องในส่วนของการบังคับคดีไว้แล้วว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีนั้นได้ ศาลจึงไม่อาจรับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาได้”


จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ 


อย่างไรก็ดีจะเห็นได้ว่าคดีนี้เป็นคดีล่าสุดในประเด็นเรื่องเรื่องท่อก๊าซธรรมชาติที่มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง แต่อาจไม่ใช่คดีสุดท้าย เพราะจากข่าวที่ปรากฏ จะเห็นว่ายังคงมีความพยามอย่างต่อเนื่องในการทวงคืนท่อก๊าซฯจากบุคคลบางกลุ่ม แต่ไม่ว่าจะเป็นคดีใด ถ้าคำขอในคดีมีเนื้อหาเป็นการขอให้บังคับในตัวท่อก๊าซธรรมชาติ ศาลปกครองจะไม่สามารถรับไว้พิจารณาได้ ดังที่เคยมีคำสั่งหรือคำพิพากษาไปหลายครั้งแล้วในก่อนหน้านี้  เนื่องจากการพิจาณาในเรื่องประเด็นอย่างเดียวกันกับประเด็นที่เคยมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น มันเป็นกรณีต้องห้ามตามกฎหมายไม่สามารถนำมาฟ้องร้องกันได้อีก ซึ่งประเด็นเรื่องท่อก๊าซธรรมชาติ ศาลปกครองสูงสุดได้เคยมีการสั่งคำร้องในส่วนของการบังคับคดีไว้ชัดเจนแล้วว่า

“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”






นายทหารบุกยึดบ่อน้ำมันจากนายทุนต่างชาติ เงิบ!! เพราะเหตุผลต่อไปนี้

เป็นข่าวใหญ่ข่าวโต เมื่อปี 2557 ปรากฎคลิปนายทหารบุกยึดบ่อน้ำมันจากนายทุนต่างชาติ จากนั้นก็แห่แชร์แพร่สะพัดไปทั่วเน็ต



ต่อมา มีคนแฉว่าคลิปนี้มันมั่วจากเนื้อหาหลายประการ

ข้อเท็จจริงกรณีรัฐเขต เพื่อโปรดเผยแพร่
บริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด
สัมปทานปิโตรเลียม เลขที่ 3/2546/60 แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L44/43
เลขที่ 5/2546/62 แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L33/43
วันออกสัมปทาน 17 กรกฎาคม 2546 (มติ ครม. 26 พฤษภาคม 2546)
วันสิ้นสุดระยะเวลาสำรวจ 16 กรกฎาคม 2555
วันสิ้นสุดระยะเวลาผลิต 16 กรกฎาคม 2575
ผู้รับสัมปทานเริ่มแรก บริษัท แปซิฟิค ไทเก้อร์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด 100%
ผู้รับสัมปทานปัจจุบัน บริษัท อีโค่โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด 100%
(เดิมชื่อบริษัท แปซิฟิค ไทเกอร์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ต่อมาขายหุ้นให้กับ
บริษัท แพน โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด)

ประวัติการผลิตน้ำมันดิบของบริษัทฯ ผลิตในอัตราสูงสุด 12,500 บาร์เรลต่อวัน ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2551
และอัตราการผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการผลิตน้ำมันดิบของหลุมในแหล่งส่วนใหญ่ได้มาจากชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมที่เป็นหินภูเขาไฟ ซึ่งธรรมชาติของแหล่งกักเก็บชนิดนี้จะผลิตน้ำมันดิบได้ในปริมาณสูงในช่วงแรกเท่านั้น เนื่องจากในหินภูเขาไฟมีคุณสมบัติที่สามารถกักเก็บน้ำมันดิบได้น้อย จึงผลิตหมดไปอย่างรวดเร็วและประสบปัญหาในการผลิตน้ำในอัตราสูงจนเป็นเหตุให้ต้องปิดหลุมผลิตบางส่วน

ปัจจุบันบริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L44/43,L33/43
พื้นที่ผลิตนาสนุ่นตะวันออก, บ่อรังเหนือ, วิเชียรบุรีส่วนขยาย, L33
จำนวนฐานผลิตทั้งหมด 45 ฐาน
จำนวนหลุมผลิต 24 หลุม จากจำนวนหลุมทั้งหมด 110 หลุม
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 4,790 บาร์เรลต่อวัน
ปริมาณน้ำเฉลี่ย 3,583 บาร์เรลต่อวัน
ปริมาณก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 1.113 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
(ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2557)

การใช้ประโยชน์ในที่ดินของ ส.ป.ก.

วันที่ 16 ธันวาคม 2552 ได้รับอนุมัติพื้นที่ผลิตบ่อรังเหนือเป็นพื้นที่ 39.39 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตที่ดินของ ส.ป.ก. ท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื้อที่ประมาณ 43 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา ครอบคลุมพื้นที่ผลิต 6 ฐาน ได้แก่
1. พื้นที่ฐาน Borang จำนวน 4 หลุม
2. พื้นที่ฐาน L44-W จำนวน 4 หลุม
3. พื้นที่ฐาน L44W-A15. จำนวน 2 หลุม
4. พื้นที่ฐาน L44W-A14. จำนวน 1 หลุม
5. พื้นที่ฐาน 2009-A. จำนวน 1 หลุม
6. พื้นที่ฐาน L44-V จำนวน 4 หลุม
ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2555 บริษัทฯ หยุดทำการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว หลังจากได้รับหนังสือแจ้งจาก ส.ป.ก.

ภายหลังการตรวจสอบทาง ส.ป.ก. ได้ส่งหนังสือที่ พช 0011/1017 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2555 แต่พื้นที่ L44-V ไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน บริษัทฯ จึงเริ่มทำการผลิตปิโตรเลียมเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2555 ซึ้งในปัจจุบันพื้นที่ฐาน L44-V มีอัตราการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยประมาณ 142 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2557) ซึ่งน้ำมันดิบที่ผลิตได้มีการตรวจสอบปริมาณการผลิต การซื้อ-ขายโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

ด้วยพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้มาทำการสืบสวนสอบสวนคดีที่ พันโท รัฐเขต แจ้งจำรัส กรรมาธิการพลังงานวุฒิสภาร้องทุกข์กล่าวโทษว่าบริษัทอีโค่ โอเรียน รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ลักลอบขุดเจาะน้ำมันดิบ

โดยในวันที่ 10 มิถุนายน 2557 พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พนักงานเจ้าหน้าที่จากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร, กรมที่ดิน, กรมป่าไม้ จะเข้ามาตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ และบันทึกปากคำพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามที่รับแจ้ง ว่ามีการดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่
ดังนั้นกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลและตรวจสอบการทำงานในด้านการสำรวจ ผลิต ขนส่งและซื้อขายปิโตรเลียม ของผู้รับสัมปทานในประเทศไทย จึงส่งตัวแทนเข้าร่วมตรวจสอบการสืบสวนสอบสวนและชี้แจงข้อเท็จจริง
ในครั้งนี้

เหตุการณ์ของวันที่ 10 มิถุนายน 2557
พนักงานสอบสวน ผู้ร้อง(พันโทรัฐเขตและพวก) ผู้ให้ข้อมูล ได้ตรวจสอบ
1. พื้นที่ฐาน Borang จำนวน 4 หลุม
2. พื้นที่ฐาน L44-W จำนวน 4 หลุม
3. พื้นที่ฐาน L44W-A15. จำนวน 2 หลุม
4. พื้นที่ฐาน L44W-A14. จำนวน 1 หลุม
5. พื้นที่ฐาน 2009-A. จำนวน 1 หลุม
6. พื้นที่ฐาน L44-V จำนวน 4 หลุม
ร่วมกันโดยลำดับ1-5ได้หยุดผลิตและลำดับ6ได้มีการผลิตจริง อีกทั้งตัวแทนจากกรมป่าไม้ สปก และที่ดินร่วมกันรังวัดพิกัดทั้ง6พื้นที่ฐานเพื่อประกอบเป็นหลักฐานให้พนักงานสอบสวน
พร้อมกับเจ้าหน้าที่ สปก ได้ยืนยันว่าพื้นที่ฐาน1-5อยู่ในพื้นที่ สปก แต่พื้นที่ฐานที่6ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ สปก
โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ยืนยันว่าพื้นที่ทั้ง6ฐานอยู่ภายใต้พื้นที่สัมปทาน ในช่วงที่มีการผลิตก็มีการเสียค่าภาคหลวงให้รัฐตามปริมาณที่ถูกต้องแต่เมื่อหยุดผลิตก็ไม่มีค่าภาคหลวงเกิดขึ้น อีกทั้งพื้นที่ฐาน L44-V ที่มีการผลิตอยู่เนื่องจากไม่อยู่ในพื้นที่ สปก แต่อยู่ในพื้นที่สัมปทาน ดังนั้นจึงดำเนินการผลิตและมีการเก็บค่าภาคหลวงตามปกติหลังจากได้รับการแจ้งว่าไม่ได้แยู่ในพื้นที่ สปก จาก สปกจังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อวันที่25 ธันวาคม 2556

ซึ่งข้อมูลทั้งหมดอยู่ในกระบวนการสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการร้องทุกข์คราวนี้ จึงไม่สามารถสรุปว่าสิ่งใดผิดหรือถูกได้ในปัจจุบัน

นอกเหนือจากนั้นพันโทรัฐเขตยังได้พาคณะเข้าตรวจสอบพื้นที่ฐานเพิ่มอีก1จุด โดยอ้างว่ามีการแอบผลิตและอยู่ในพื้นที่ สปกแต่เมื่อมีการวัดพิหัดร่วมกัน เจ้าหน้าที่ที่ดินได้ยืนยันว่าเป็นที่มีโฉนดและถือครองโดยบริษัทฯพร้อมกับบริษัทฯก็มีโฉนดยืนยันถูกต้อง

ประเด็นที่ถูกบิดเบือนภายหลังจากการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุและบันทึกปากคำพร้อมรับเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการโดยพนักงานสอบสวนในวันที่10 มิถุนายน 2557

ภายหลังจากการได้หารือและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งวิเชียรบุรีของบริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายปรศักดิ์ งามสมภาค พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. ปิโตรเลียม/ตัวแทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติต่อพันโทรัฐเขต แจ้งจำรัส ผลการชี้แจงคือพันโทรัฐเขตเข้าใจในทุกประเด็นและไม่มีข้อสงสัย

ต่อมาสื่อต่างๆได้นำเสนอการให้สัมภาษณ์ของพันโทรัญเขตและพวกที่มีการบิดเบือนข้อมูล ยุยง ปลุกปั่นให้ประชาชนเกิดการเข้าใจผิดดังนี้
1. มีการแจ้งข่าว ป่าวประกาศทางสังคมออนไลน์ว่าหลุมผลิตของแหล่งวิเชียรบุรีมีทั้งหมด 95หลุม ซึ่งในความเป็นจริงมีหลุมผลิตเพียง 24 หลุม
2. มีการกล่าวอ้างว่าเป็นคำสั่งของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ในการมาตรวจสอบครั้งนี้ แต่ไม่สามารถแสดงหนังสือคำสั่งหรือรายละเอียดคำสั่งที่ชัดเจนได้
3. มีการกล่าวอ้างในประเด็นเด็ด7สีว่ามีการลักลอบขุดเจาะน้ำมันในพื้นที่สปกและหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าภาคหลวงมา5ปี รัฐเสียหายกว่าหมื่นล้านบาท โดยคุณอรรถพล ดวงจินดา ได้กล่าวว่ามีคำสั่งให้หยุดแต่ยังมีการลักลอบขุดผลิตได้ไม่ต่ำกว่า1200บาร์เรลต่อบ่อ
โดยในความเป็นจริงคือไม่มีการผลิตในพื้นที่ที่มีคำสั่งให้หยุดผลิตโดยสปก จนกระทั่งปัจจุบันยกเว้นพื้นที่ฐาน L44-V ที่ สปก แจ้งว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่สปกและมีอัตราการผลตเพียงวันละประมาณ 142บาร์เรลต่อวัน
4. พันโทรัฐเขตได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่าความผิดสำเร็จเรียบร้อย โดยในความเป็นจริงยังอยู่ในกระบวนการสอบสวน ยังไม่สามารถสรุปข้อเท็จจริงได้
5. คุณวิวัฒน์ชัย กุลมาตย์ ที่ปรึกษาเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นแห่งชาติได้กล่าวโทษ สปกและกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ยอมให้มีการลักลอบผลิตน้ำมันดิบและไม่เสียค่าภาคหลวงทำให้รัฐเสียประโยชน์ แต่ในความเป็นจริงสปกและกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไม่ได้มีการให้บริษัทฯผลิตน้ำมันดิบในพื้นที่สปกแต่อย่างใดและการผลิตและการจัดเก็บค่าภาคหลวงถูกดำเนินการอย่างถูกต้องและครบถ้วน

อ้างถึง: คลิปข่าวประเด็นเด็ด7สี
http://m.bugaboo.tv/watch/126657
คลิปการสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและพันโทรัฐเขตและพวก1,2
http://www.youtube.com/watch?v=Ed0DcRVSKvA&feature=youtu.be
http://www.youtube.com/watch?v=cVB8us0m8EM&feature=youtu.be

ที่มา ข้อเท็จจริงนายทหาร เพื่อโปรดเผยแพร่


หรือแม้แต่กระทั่ง เพจเรียกไลค์ เรียกแชร์ ก็บ้าจี้เอามาลง


จนมีเพจมาแฉ
คำว่าน้ำมัน และ แก๊ส จะหมดภายในอีก 6-7 ปี หมายถึง หลัก R/P คือคำนวณ ณ สิ้นปี พ.ศ. 2556 จากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว 8.41 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หารด้วยปริมาณการผลิตทั้งปีจากอัตราการผลิตเฉลี่ยประมาณ 4,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก็จะเหลือประมาณ 6 ปี (หรือ 6.8 ปีจากรายงานของ BP) ตัวเลข 6-7 ปีนี้ เป็นตัวเลขรวมปริมาณสำรองและการผลิตก๊าซธรรมชาติจากทุกแหล่งในประเทศหากแยกย่อยในแต่ละแหล่งก็ขึ้นอยู่กับปริมาณสำรองหรืออัตราการผลิตของแต่ละแหล่ง บางแหล่งที่อัตราการผลิตสูงอาจจะเหลือ 3-4 ปี ต้องเร่งสำรวจหาเพิ่มในกระเปาะอื่นๆ บางแหล่งอาจจะยาวถึง 30 ปี เนื่องจากอัตราการผลิตต่ำตัวอย่างกรณีสำรองน้ำมันดิบ (R/P) ของทั้งโลกมีอยู่ 53 ปีขณะที่เวเนซุเอลามีสำรองน้ำมันดิบถึง 310 ปี ขึ้นอยู่กับปริมาณสำรองและอัตราการผลิตของประเทศนั้นๆ ดังนั้น หากหยุดการสำรวจหาแหล่งใหม่ๆ มาเติมจนปริมาณสำรองใกล้จะหมด ก็จะไม่สามารถรักษากำลังการผลิตในประเทศที่ระดับเดิมได้ อัตราการผลิตก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
** เหมือนเรามีเงิน อยู่ 100 บาท ซึ่งคิดว่าจะใช้ได้อีก 7 วัน แต่เราใช้ไปเรื่อยๆ เงินที่เรามีอยู่มันก็ลดไปเรื่อยๆ ถ้าเราไม่หาเพิ่มมันก็จะหมด ** #บ่นว่าจนแต่ไม่ขยันจะมีไม๊
-------------------------------------------
ส่วนต่อมาที่บอกว่า ราคาน้ำมันที่ตกต่ำเหลือลิตรละ 8 บาท เราก็สามารถนำเข้ามาขายเองได้สัญญาระยะยาว ในความเป็นจริงทำไม่ได้ เพราะซาอุฯไม่ยอมทำด้วยแน่นอน เพราะคนที่เสียประโยชน์สุดคือคนที่เราทำสัญญากับเค้า หรือไม่ก็เค้าทำอย่างมากคือ 1 ปี และเป็นแค่การตกลงในปริมาณ ไม่ได้เกี่ยวกับราคา และราคาจะใช้ตามประกาศ ซึ่งจะประกาศเป็นรายเดือน ซึ่งไม่แคร์ใครอยู่แล้ว
** แต่ราคา 8 บาท/ลิตร นี่ลองเอาไปคำนวนเล่นๆ แล้ว จะเป็นไปได้ถ้าราคาตลาดโลกอยู่ที่ 40 เหรียญ/บาร์เรล และเป็นราคาที่ปากหลุม ไม่รวมค่าขนส่ง ซึ่งถ้าบอกว่าใครไม่ยอมตามคอนดิชั่นนี่ก็ไม่ต้องเอา เพราะเค้าไม่ขายเรา ก็มีคนซื้ออีกเยอะแยะ ** #อย่ามโน #ทำได้ก็ไปทำมา
-------------------------------------------
ส่วนต่อมา ยอมรับแล้วนะครับ ว่าเราอ้างอิงตลาดหน้าสิงคโปร์ เข้าใจถูกแค่นิดเดียวครับ (ราคาหน้าโรงกลั่นประมาณ 11-12 บาท หน่ะเมื่อประมาณมกราคม 58 ซึ่งไม่ต่างกับราคาบ้านมากนัก อย่าลืมเรื่องมาตรฐานน้ำมันยูโร4 ด้วย)ที่เหลือ โง่เง่าบัดซบมากๆ ก็อย่างที่คุณบอกหน่ะครับ ตามมาตรา 7 ข้างต้น ที่ผู้ค้าน้ำมันต้องทำตาม ซึ่งราคานี้้ก็ออกมาจากประกาศของ Eppo และถ้ากดไปดูโครงสร้างราคาน้ำมันจะเห็นได้ว่า ณ โรงกลั่นหน่ะ ราคาตามที่คุณพูดเลยครับ ที่เหลืออยู่ในส่วนของ ภาษีประมาณ 12 บาท, กองทุนต่างๆ ประมาณ 9 บาท, ค่าการตลาดประมาณ 2 บาท และมีปัจจัยอื่นเช่น ราคาเอทานอล ราคาไบโอดีเซล ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นอะไรที่มั่วฉิบหายเลยสำหรับคนพูด ว่าเพราะมีบริษัทขายราคาเกินควร และที่บอกว่าให้ปิดโรงกลั่นไปเลยทุกโรง คิดตามเรื่องเศรษฐกิจป่ะ เราต้องสั่งซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากเมืองนอก ให้มันแพงเข้าไปอีก รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ทุกสิ่งอย่างที่ออกจากโรงกลั่นก็ไม่มีด้วย ก๊าซหุงต้มเอย อะไรเอย ยังไม่รวมเรื่องความเชื่อมั่นของประเทศ ความมั่นคงทางพลังงานก็สั่นคลอนด้วย
** อย่างที่บอกคุณบอกเองแหละครับ บริษัทผู้ค้าต้องทำตามกฎหมายมาตรา 7 ไม่งั้นถือว่ามีความผิด และ ที่สำคัญคือ ถ้าคุณทำได้ที่จะขายน้ำมันให้ราคาถูกกว่านี้ ผมรออยู่นะ อย่าปากดี เที่ยวประท้วงไปเดิน ให้ข้อมูลผิดๆ ตามที่ต่างๆ **
--------------------------------------------
ต่อมาที่บอกว่า กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลเท็จกับนายกคนปัจจุบัน กระทรวงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลไม่ผิดครับ แต่ถ้าจะตีความโง่ๆ ว่า มีบ่อ 6,000 กว่าบ่อ แล้วมีการขุดเจอ แค่ ประมาณ 3,000 หลุม มีสัดส่วนที่เจอปริมาณน้ำมันถึง 50% ถึงเป็นอะไรที่โง่เง่าบัดซบ หลอกชาวบ้าน ชาวประชา Social Media อย่างแท้จริง คุณไม่พูดเรื่องปริมาณน้ำมันเอย ก๊าซเอย ปิโตรเลียมเอย ที่ขุดเจอหล่ะครับ ว่ามันมีมากขนาดไหน
** หรือถ้าเปรียบเทียบ คนที่พูดในคลิปโง่ๆ นี่กำลังจะบอกว่า ถ้าไปบริเวณทะเล หรือ แม่น้ำ แห่งหนึ่ง แล้วเจอปลา 100 ตัว และตัวใหญ่ทุกตัว ไปทุกที่ จะต้องเจอปลาที่ตัวใหญ่ ทุกตัว และ เจอปริมาณ 100 ตัว ทุกที่ใช่หรือไม่ คิดเอา ** #แม่น้ำทุกที่อาจไม่มีปลาเหมือนกันก็ได้
** หรือถ้าคุณเก็บเงินหยอดกระปุก วันละเหรียญด้วย เหรียญบาท กับ เหรียญสิบ ในกระปุกขนาดเท่ากันทุกวัน สิ้นเดือนทุบกระปุกออกมา คุณจะบอกว่าคนที่หยอดเงินด้วยเหรียญบาทจะมีเงินกว่าใช่หรือไม่**
---------------------------------------------
เรื่องสุดท้าย ขอให้แยกกันให้ออกระหว่าง ที่ดิน สปก กับ ปิโตรเลียมที่อยู่ข้างใต้ ว่ากันไปด้วยเรื่องของกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่ข่าวนี้เกี่ยวข้องแน่ ยังไงก็ขอให้โดนจับเข้าตารางเร็วๆ นะครับ เที่ยวให้ข้อมูลเท็จไปทั่วหน่ะ
** "กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) เข้าสอบสวนพยานเพิ่มเติม กรณี พันโทรัฐเขต แจ้งจำรัส กล่าวโทษร้องทุกข์บริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ลักลอบดำเนินกิจการปิโตรเลียมโดยผิดกฎหมาย หลีกเลี่ยงค่าภาคหลวงหรือผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้กับภาครัฐก่อให้เกิดความเสียหายและความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง" http://on.fb.me/17JSql3
** พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก) กับ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เรื่องการยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน นำไปสู่แนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานราชการ เพื่อการพัฒนาประเทศ และประโยชน์ส่วนรวม http://on.fb.me/1wIPqeT

ที่มา ถ้าเจอเรื่องทหารบุกยึดบ่อน้ำมัน ว่ามันมั่วขนาดไหน

สุดท้าย เงิบ เพราะ



อีโค่ฯ โต้ข้อกล่าวหาลอบขุดน้ำมัน ยื่น คสช.สอบได้ พร้อมจ่อฟ้อง พ.ท.รัฐเขต

บริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส โชว์หลักฐานโต้ลักลอบขุดเจาะ ผลิตน้ำมัน ยันทำถูกต้องตามกฎหมาย 5 ปีที่ผ่านมาจ่ายผลตอบแทนให้รัฐเพียบ ทำหนังสือให้ “คสช.” ตั้งคณะทำงานเข้าตรวจสอบเพื่อแสดงความโปร่งใส พร้อมเตรียมฟ้องร้องคดีอาญาเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง “พ.ท.รัฐเขต แจ้งจำรัส” ผู้กล่าวเท็จแต่ยังไม่คิดฟ้องสื่อ
     
นางสาวมนสิชา การุณยฐิติ ผู้จัดการฝ่ายบริหารและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า จากกรณีที่ พ.ท.รัฐเขต แจ้งจำรัส ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ได้กล่าวหาบริษัทลักลอบดำเนินกิจการขุดเจาะ สำรวจ ผลิตน้ำมันดิบโดยผิดกฎหมายระหว่างปี 2551-2555 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นข้อมูลที่เป็นเท็จโดยสิ้นเชิง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อสาธารณชนและเสียหายต่อภาพลักษณ์บริษัทฯ ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมไปที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็ว อีกทั้งเตรียมจะส่งเรื่องให้สำนักงานทนายความดำเนินการฟ้องร้องคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งแก่ พ.ท.รัฐเขต แจ้งจำรัส ภายในสัปดาห์หน้า
     
“บริษัทฯ มีความจริงใจ จึงขอให้ คสช.ตั้งคณะทำงานเข้ามาตรวจสอบได้เลยเพราะคิดว่าน่าจะโปร่งใสที่สุด และจะยื่นฟ้องผู้ที่ดำเนินการกล่าวเท็จเป็นหลัก ส่วนกรณีโทรทัศน์ช่อง7 รวมถึง TNN เป็นเพราะได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียวเราเองก็จะได้ชี้แจง ซึ่งเราเองยังไม่คิดที่จะฟ้องสื่อดังกล่าว” น.ส.มนสิชากล่าว
     
ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอชี้แจงข้อกล่าวหาทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ 1. บริษัทฯ ลักลอบการขุดเจาะ สำรวจ และผลิตน้ำมันดิบ ซึ่งขอปฏิเสธข้อกล่าวหายืนยันว่าได้ทำตามขั้นตอนกฎหมายทั้งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ตามที่ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 3/2546/60 แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L44/43 และสัมปทานเลขที่ 5/2546/62 แปลงสำรวจปิโตรเลียมบนบกหมายเลข L33/43 จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ตั้งแต่ปี 2546 โดยมีพื้นที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และได้รับการอนุญาตกำหนดให้เป็นพื้นที่ผลิต จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในปี 2552
     
“น้ำมันดิบที่ผลิตขึ้นมาได้ บริษัทฯ จะต้องทำการตกลงซื้อขายกับคู่ค้า ซึ่งในที่นี้คือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ ปตท.ได้กำหนดให้นำไปส่งที่โรงกลั่นน้ำมันบางจากซึ่งบริษัทฯ ไม่สามารถจะไปขายกับโรงกลั่นอื่นได้เลยเพราะโรงกลั่นทุกโรงจะถูกควบคุมปริมาณการกลั่น โดยกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน และกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง” น.ส.มนสิชากล่าว
     
ส่วนของการผลิตน้ำมันดิบในพื้นที่ ส.ป.ก.นั้น นางสาวมนสิชากล่าวว่า ในอดีตเคยมีการผลิตจริง แต่เป็นการผลิตโดยเปิดเผย ไม่ได้ลักลอบผลิต เนื่องจากบริษัทฯ ได้รับสัมปทานผลิตปิโตรเลียม และขออนุญาตทั้งการขุดเจาะสำรวจ และขออนุญาตผลิตปิโตรเลียม จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน พร้อมทั้งได้ทำหนังสือขอความยินยอมให้เข้าใช้ที่ดินเพื่อการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ จากสำนักงานปฏิรูปที่ดิน จังหวัดเพชรบูรณ์ แล้ว เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2553 และหนังสือคำขอในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553
     
อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 ทางสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์ได้มีคำสั่งให้บริษัทฯ หยุดผลิตปิโตรเลียมบนที่ดินดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ด้วยเหตุที่การให้ความยินยอมที่ผ่านมานั้นให้เฉพาะแก่การสำรวจปิโตรเลียมเท่านั้น ซึ่งบริษัทฯ ก็ได้หยุดการผลิตน้ำมันตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นมา ถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะเข้าใจดีว่า ส.ป.ก.ไม่ใช่หน่วยงานที่มีอำนาจ อนุญาตให้ผลิตน้ำมัน หรือสั่งให้หยุดการผลิตน้ำมันได้ แต่เป็นอำนาจของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ยื่นขอทุเลาคำสั่ง และยื่นคำขอรับความยินยอมในการใช้พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการนำทรัพยากรปิโตรเลียมในที่ดินเข้าสู่กระบวนการผลิตปิโตรเลียมสำหรับ 5 พื้นที่ฐานเสร็จสมบูรณ์ โดยขั้นตอนอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณา สำหรับอีก 1 พื้นที่ฐานบนแปลง L44-V นั้น บริษัทฯ ยังคงดำเนินการผลิตปิโตรเลียมต่อไป เนื่องจากไม่ได้อยู่เขต ส.ป.ก.
     
สำหรับข้อกล่าวหาที่ว่าบริษัทฯ หลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าภาคหลวงมานาน 5 ปี จนทำให้รัฐสูญเสียรายได้มหาศาลนั้น บริษัทฯ ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบันบริษัทฯ ได้เสียค่าภาคหลวงให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไปแล้วกว่า 1,400 ล้านบาท โดยชำระในอัตราแบบขั้นบันไดตามระดับการผลิตในอัตราร้อยละ 5-15 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขาย ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังได้จ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้แก่รัฐอีกกว่า 2,500 ล้านบาท ซึ่งคำนวณจากอัตราจัดเก็บ 0-75% ของกำไรปิโตรเลียมรายปี ซึ่งบริษัทฯ เคยจ่ายในอัตราที่สูงถึง 42% นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังต้องนำเสียภาษีปิโตรเลียม ในอัตราร้อยละ 50 จากกำไรสุทธิ ให้แก่กรมสรรพากร โดยบริษัทฯ ได้จ่ายไปแล้วกว่า 3,400 ล้านบาทเช่นกัน ซึ่งหากรวมผลตอบแทนทั้งหมดที่บริษัทฯ ได้จ่ายให้แก่รัฐ มีจำนวนสูงถึง 7,300 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ไม่มีการปิดบังข้อมูลใดๆ ในการผลิตปิโตรเลียมและขายปิโตรเลียม และสามารถร้องขอข้อมูลการชำระค่าภาคหลวง และคำอธิบายทั้งหมดจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ได้ตามขั้นตอน ดังนั้นข้อกล่าวหาที่ว่าบริษัทฯ ไม่จ่ายภาษี และค่าภาคหลวงมากว่า 5 ปี นั้นเป็นความเท็จโดยสิ้นเชิง

ที่มา อีโค่ฯ โต้ข้อกล่าวหาลอบขุดน้ำมัน ยื่น คสช.สอบได้ พร้อมจ่อฟ้อง พ.ท.รัฐเขต

ตักเตือนสถานเบา! รสนาและพวก เหตุละเมิดอำนาจศาล ระบุชัดไม่ใช่การวิจารณ์โดยสุจริต

ตักเตือนสถานเบา! รสนาและพวก เหตุละเมิดอำนาจศาล ระบุชัดไม่ใช่การวิจารณ์โดยสุจริต



อย่างที่ทราบกัน กรณีท่อก๊าซธรรมชาติของ ปตท. คนที่ตามข่าวจะรู้ว่ามีความพยายามในการทวงคืน จากคนบางกลุ่มทั้งจาก NGO และจากฝั่งองค์กรอิสระบางแห่ง โดยมีการแสดงความเห็นที่ไม่ได้เป็นไปในแนวทางเดียวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลก่อนหน้านี้ ซึ่งเนื้อหาบางช่วงบางตอนก็มีการวิจารณ์ที่เข้าข่ายเป็นการละเมิดอำนาจศาล ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีข่าวที่ศาลปกครองสูงสุดมีหมายเรียก น.ส. รสนา โตสิตระกูล และนายศรีราชา วงศารยางกูร เพื่อไต่สวนกรณีการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับคดีท่อก๊าซด้วย

ล่าสุด น.ส.รสนา โตสิตระกูล และนายศรีราชา วงศารยางกูร ก็ได้รับหนังสือคำสั่งกรณีละเมิดอำนาจศาลจากศาลปกครองสูงสุด โดยเนื้อหาได้ระบุถึงรายละเอียดของการกระทำของบุคคลดังกล่าวที่เข้าข่ายเป็นการละเมิดอำนาจศาลมีใจความสำคัญ ดังนี้

กรณีของ นายศรีราชา ที่ไปให้สัมภาษณ์ในรายการ face time มีการแสดงความเห็นช่วงหนึ่งในรายการกล่าวหาศาลในทำนองว่าศาลปกครองสูงสุดเร่งรีบสั่งคดีและรู้เห็นเป็นใจกับ ปตท. ศาลเห็นว่านายศรีราชา ซึ่งจบการศึกษาถึงปริญญาตรีและปริญญาโททางด้านนิติศาสตร์ กลับกล่าวถึงการทำงานของศาลว่าเร่งรีบโดยไม่ได้พูดถึงคำสั่งคำวินิจฉัยของศาลเลย จึงมิใช่เป็นการวิจารณ์การพิจารณาหรือการพิพากษาคดีของศาลปกครองโดยสุจริตด้วยวิธีการทางวิชาการ กรณีจึงเข้าข่ายเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 
และกรณีของ น.ส.รสนา ที่แสดงความคิดเห็นผ่านทางเฟสบุ๊คของตัวเอง ทำนองว่า ถ้าการแปรรูปไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายจริงๆ ศาลก็ต้องสั่งยกคำร้องของผู้ฟ้องคดี  การที่ศาลไม่สั่งเพิกถอนการแปรรูปทั้งที่การแปรรูปผิดกฎหมายต่างหากที่เป็นการใช้หลักรัฐศาสตร์มากกว่าหลักนิติศาสตร์มาตัดสินคดีนั้น อาจทำให้ผู้อ่านความเห็นดังกล่าวเชื่อว่าศาลมิได้พิพากษาให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย เป็นการกล่าวหาว่าในการพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวศาลใช้หลักการอื่นที่สำคัญยิ่งกว่าหลักกฎหมายในการตัดสินคดี นอกจากนั้นการที่น.ส.รสนา ได้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์พาดพิงการวินิจฉัยสั่งคำร้องของศาลว่า ศาลปกครองสูงสุดได้รับข้อมูลอันเป็นเท็จ และให้การรับรองการแบ่งแยกทรัพย์สินว่าครบถ้วนแล้ว เป็นเรื่องที่ทำให้รัฐเสียหายและเสียประโยชน์ โดย น.ส.รสนาได้นำมติของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 มาอ้างอิง ซึ่งมติดังกล่าวมีขึ้นภายหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งคำร้องเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 เป็นเวลานานมากแล้ว อีกทั้งมติของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินดังกล่าวก็มิได้ผูกพันศาลปกครองแต่อย่างใด ข้อความของ น.ส.รสนาในบทความดังกล่าวทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่าศาลวินิจฉัยสั่งคดีไปโดยไม่ถูกต้อง การแสดงความเห็นดังกล่าวมิได้มีลักษณะเป็นการวิจารณ์การพิจารณาหรือการพิพากษาคดีของศาลปกครองโดยสุจริตด้วยวิธีการทางวิชาการ แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาหรือการพิพากษาที่เข้าข่ายเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 
อย่างไรก็ดีแม้การกระทำของบุคคลดังกล่าวเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลแต่ศาลปกครองเห็นควรลงโทษแค่สถานเบา โดยมีคำสั่งตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น










ที่มา อ่านเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/2nRRYL3

เลิกมโน เรื่องคำเตือนตอนเติมน้ำมันเนื่องจากอุณหภูมิสูงตาม Social Media

เรื่องคำเตือนจากบริษัทน้ำมัน เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในภายภาคหน้า ที่มาการส่งต่อทาง Social Media ไม่จริง...



หลังมีการแชร์ข้อมูล อ้างอิง คำเตือนจากบริษัทน้ำมัน เนื่องจากอุณภูมิที่สูงขึ้นในภายภาคหน้า..กรุณาอย่าเติมน้ำมันระดับสูงสุดเพราะจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดระเบิดในถังน้ำมันได้ จส.100 สอบถามไปยังนายสายชล แตงแก้ว ผู้จัดการส่วนมาตรฐานสถานีบริการน้ำมัน ปตท เกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้รับคำยืนยันว่า ถังน้ำมัน สามารถรับแรงดัน และทนต่ออุณหภูมิสูงได้ อย่างปลอดภัย ไม่มีการระเบิด แน่นอน ถังน้ำมันถูกออกแบบมารับแรงดันภายในอย่างสบาย ผู้ผลิตรถตระหนักเรื่องนี้อยู่แล้ว ไม่อย่างนั้นรถก็ระเบิดทุกวัน ความร้อนเพิ่มขึ้น ความดันเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ถังน้ำโป่งแต่อย่างใด

การผลิตรถยนต์ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ ตัวถังน้ำมันซึ่งต้องรองรับอุณหภูมิสูงๆ ได้ เช่นประเทศซาอุ อุณหภูมิสูงถึง 40องศา ส่วนอุณหภูมิบ้านเรามีความร้อน จริง น้ำมันขยายตัวจริง แต่ไม่มีผลต่อถัง ความร้อนเพิ่ม ความดันเพิ่ม ไม่มีผลต่อถัง ส่วนการเติมน้ำมัน เติมเต็มถังแค่ถึงคอทางลงน้ำมันเท่านั้น และตัดโดยอัตโนมัติ ช่องว่างที่เหลืออยู่คอถังน้ำมัน กับตัวถังน้ำมัน จะมีท่อยางเล็กๆให้ตัวน้ำมันกลับไป เพราะคนที่ผลิตรถได้ ทำแบบระบบปิด ไม่มีการรั่วไหล ฟิวส์แน่น ไม่มีการเล็ดลอดออกมาได้ ยกเว้นรถที่เกิดอุบัติเหตุ

ส่วนรถที่ใช้แก๊สกับน้ำมัน ขอให้ผู้ใช้รถสบายใจได้ ระบบแยกเป็น 2 ระบบแยกกันชัดเจน ใครหมดก่อนก็ใช้อันนั้นไป โดยคนใช้รถต้องมีวินัยในการใช้รถอย่างถูกต้อง ต้องตรวจสอบประจำปี สำหรับการรั่วไหลของNGV จะระเหยขึ้นสู่อากาศ ไม่มีเวลาติดประกายไฟ ส่วน LPG การระเหยจะไม่เท่ากัน NGV จะปลอดภัยกว่า




มาดูกันชัดๆ โรงไฟฟ้าถ่านหินเกี่ยวข้องกับทักษิณหรือไม่

ทักษิณซื้อมันทุกอย่างในจักรวาลนี้แหละครับท่านผู้อ่าน



ไม่รู้จะมโนโยงอะไรนักหนา เรื่อง ปตท. ทักษิณ ถ่านหิน แล้วพาลไปโรงไฟฟ้าที่ต้องการความมั่นคงทางพลังงาน รวมไปถึงค่าไฟต้องถูก

เป็นเรื่องปกติที่แสนธรรมดาที่ธุรกิจที่ต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม รวมไปถึง แสวงหาพลังงานของประเทศ ปตท ก็ไปลงทุนซื้อเหมืองถ่านหิน และถ้าจะมโนเอาว่าทักษิณ ก็ไปซื้อเหมืองถ่านหิน แล้วโยงมาเรื่องโรงไฟฟ้านั้น เป็นอะไรที่ไร้สาระมากๆ

1. ต้องไปดูว่าเหมืองถ่านหินที่ ปตท ซื้อ กับ ทักษิณซื้อเป็นแหล่งเดียวกันหรือป่าว ซึ่งลองหาดูแล้ว ไม่รู้ผิดหรือป่าว เสริมกันได้

ที่ ปตท.ซื้อในบริษัท Sakari Resources Limited หรือ SAR ที่ ปตท.เข้าไปถือหุ้นตั้งแต่ในปี 2555 และมีการผลิตถ่านหินใน 2 แหล่งคือ Sebuku และ Jembayan (ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1464348570)



ทักษิณซื้อเป็นแหล่ง ของครอบครัว บาครี ในส่วนที่เกี่ยวกับงานเหมืองถ่านหินจริง โดย เดอะซันเดย์ไทมส์ รายงานเพิ่มเติมอีกว่า  ยูบีเอส เป็นผู้ได้รับการว่าจ้างจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ในการเจรจาครั้งนี้ โดยทาง กลุ่มบริษัทบูมีและครอบครัว บาครี ที่มี นายอาบูริซาล บาครี ประธานพรรคโกลคาร์ของอินโดนีเซีย เป็นผู้ถือหุ้น (ที่มา http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=464275)




2. ต้องไปดูว่าถ่านหินที่ กฟผ ใช้ กับแหล่งในอินโดฯ เกี่ยวอะไรกับทักษิณ หรือป่าว ซึ่ง ทาง กฟผ ก็ชี้แจงเหมือนกันว่า ความร้อนของแหล่งที่ไปซื้อใช้กับโรงไฟฟ้าของไทยไม่ได้ (ที่มา  EGATi ย้ำชัดลงทุนในเหมืองถ่านหิน Adaro Indonesia เสริมศักยภาพจัดหาเชื้อเพลิงให้โรงไฟฟ้าที่บริษัทลงทุนในต่างประเทศ ชี้ค่าความร้อนของถ่านหินที่ผลิตได้ไม่ตรงกับค่าความร้อนทางเทคนิคของโรงไฟฟ้ากระบี่ จึงไม่สามารถร่วมประมูลจัดหาถ่านหินให้โรงไฟฟ้ากระบี่ได้ https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1853:20170219-pre01&catid=31&Itemid=208)



3. ถ้าจะมโนนั่นนี่เยอะแยะไปหมด ว่าทำเพื่อ ปตท. หรืออะไรก็จะสุดแล้วแต่เพื่อเพิ่มความเกลียดชัง ก็ถือว่าประสาทมากๆ

ปตท. นั้นมีการลงทุนในแทบจะทุกธุรกิจ ทั้งปาล์ม พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ เยอะแยะไปหมด ตัวอย่าง จีพีเอสซีจะเข้าไปลงทุนในโครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนโครงการแรกในญี่ปุ่น ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อิชิโนเซกิ โซลาร์ เพาเวอร์  http://www.thairath.co.th/content/602262 และ ปตท.ถือหุ้น40%ร่วมทุนสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กับบริษัททีเอสอี http://www.posttoday.com/economy/stock-gold/207304




สรุปแล้ว อยากจะเอาดราม่าเรื่องอะไรดี?

รู้แล้วอึ้ง!! ผลการศึกษาวิจัยฮาร์วาร์ดเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินในไทย

รู้แล้วอึ้ง ผลการศึกษามหาลัยฮาร์วาร์ด ไม่ได้มาจากมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด แต่มาจากนักศึกษาเท่านั้น


1. กรีนพีซอ้างว่างานวิจัยของฮาวาร์ด แต่จริงๆแล้วเป็นแค่งานของบุคคลไม่เกี่ยวกับฮาวาร์ด กรีนพีซมันจ้างมาให้เขียนแล้วก็ งานเขียน ไม่เคยเก็บข้อมูลในไทยเลยแต่บอกว่าคนไทยจะตาย

2. การประเมินผลกระทบสุขภาพโดยมหิดลพบว่ามีผลกระทบอยู่ในระดับต่ำและยอมรับได้เป็นไปตามองค์กรอนามัยโลก (WHO)

3. ติดตั้งอุปกรณ์ทันสมัยป้องกันมลสารต่างๆให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่ามาตรฐานไทยและสากล ใช้เทคโนโลยี ultra super critical ลดใช้เชื้อเพลิงลดการปล่อยคาร์บอนดียิ่งกว่าเดิมที่กฏหมายกำหนดมาก

4. ทั้งกระบี่-เทพา มีเกณฑ์การควบคุมเข้มงวดมีเครื่องวัดและตรวจวัดทั้งในและรอบโรงไฟฟ้า มีการติดตามผลตลอด 24 ชั่วโมงแบบ real time ไปกรมควบคุมมลพิษ ชาวบ้านรอบพื้นที่สามารถมาดูได้เองอีก ติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ

5. ทั่วโลกยังใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าอยู่ถึง 40% อเมริกา 33% เยอรมนี 44% ออสเตรเลีย 62% ญี่ปุ่น 30% ใช้เทคโนโลยีถ่านหินที่ทันสมัย

6. ทุกประเทศมีการกระจายความเสี่ยงจากเชื้อเพลิงโดยมีการใช้หลายเชื้อเพลิงในอัตราส่วนที่มีความสมดุล

7. จีนใช้ถ่านหิน 72% เลยเพิ่มพลังน้ำและลมเพื่อกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงให้เหลือสัดส่วนแค่ 52% ปี 2040 ซึ่งก็ยังใช้ถ่านหินสูงอยู่ดี

8. จีนไม่ได้เลิกสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแต่ยกเลิกเครื่องเก่าประสิทธิภาพต่ำมาใช้เครื่องใหม่ประสิทธิภาพสูงแทน

9. ไทยใช้ก๊าซผลิตไฟ 70% เกิดพม่า มาเลย์มันพร้อมใจกันหยุดส่งก๊าซไทยอาจได้รับความเสี่ยง ไทยก็เลยเพิ่มถ่านหินเข้าไป 20-25% ภายในปี 2579 แล้วก็เพิ่มพลังงานหมุนเวียน 15-20% ลดการใช้ก๊าซผลิตไฟลงไปจะได้ลดความเสี่ยง

เอกสารหลุด





ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ถลกหนังเอ็นจีโอ กับ การถือครองหุ้น ปตท.

ถลกหนังเอ็นจีโอ



ปัญหาแปรรูป ปตท. ทำท่าจะจบได้สวย แต่ก็ยังไม่จบดี เพราะกลุ่มเอ็นจีโอในนามมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยังคงตามรังควาญไม่เลิก

ยื่นฟ้องศาลฯให้หยุดพักการซื้อขายหุ้น ปตท.จนกว่ากระบวนการโอนทรัพย์สินจะเรียบร้อย

เคลื่อนไหวผลักดันจะให้มีการเอาผิดทั้งทางคดีอาญาและแพ่งในกรณีไม่มีการโอนทรัพย์สินท่อก๊าซและที่ดิน ตอน ปตท. แปลงสภาพเป็น บมจ.ไปแล้ว

และร้องแรกแหกกระเฌอกล่าวหาคนไปทั่วว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการถือครองหุ้นปตท.

แต่น่าแปลกอย่างยิ่ง เบื้องหลังกลุ่มประทุษร้ายบ้านเมืองกลุ่มนี้  กลับมีเบื้องหลังที่ค่อนข้างจะสกปรก น่าสังเวชใจอย่างไม่น่าเชิ่อ


ในขณะที่พวกเขากล่าวให้ร้ายคนอื่น พวกเขากลับเป็นพวกถือครองหุ้น ปตท.อยู่ไม่ใช่น้อย!

เข้าถือหุ้น ปตท.โดยตัวเองก็มี และถือหุ้นโดยเครือญาติที่ใช้นามสกุลเดียวกันก็มี รวมแล้วประมาณ 3 แสนหุ้น

ในบรรดากรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ฟ้องร้อง ปตท.จำนวน 11 คน มีตัวกรรมการและญาติกรรมการที่ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือหุ้นปตท.อยู่ถึง 5 คน

ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  คือ  นส.จิราพร ลิมปานนท์ ได้หุ้นจองไอพีโอ 8,000 หุ้น และญาติที่ใช้นามสกุลเดียวกันอีก 5,000 หุ้น

ญาติกรรมการที่ชื่อ นางสุวรรณา อัศวเรืองชัย ถือครองหุ้นจองอยู่ถึง 1 แสนหุ้น

ญาติกรรมการที่ชื่อ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ได้หุ้นจองไปทั้งสิ้น 26,000 หุ้น

และญาติกรรมการที่ชื่อ นายสุรเกียรติ อาชานานุภาพ ได้หุ้นจองไป 3 พันหุ้น

ทนายความผู้รับมอบอำนาจฟ้องร้อง ปตท. ที่ชื่อ ชัยวัฒน์  แสงอรุณ มีชื่อคนในครอบครัวแสงอรุณถือหุ้นตั้งแต่ตอนจองไอพีโอ และหลังไอพีโอ รวมกันแล้วถึง 111,031 หุ้น

ปตท. เพิ่งจายปันผลระหว่างกาลตอนครึ่งปีไปหุ้นละ 9.25 บาท รวมแล้วตระกูลแสงอรุณรับเงินปันผลหุ้นปตท.ไปแล้วทั้งสิ้น 1.02 ล้านบาท

นี่ปลายปี จะรับปันผลปตท.เพิ่มอีกหุ้นละ 5 บาท ตระกูลนี้ก็จะได้เงินปันผลอีก 555,155 บาท รวมทั้งปีรับเงินปันผลไป 1.5 ล้านบาทแค่นั้นเอง

นี่มันอะไรกันเนี่ย! ไปฟ้องศาลปกครองว่า กระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชน กระทำโดยปิดบังซ่อนเร้น ประชาชนไม่ได้รับรู้ข่าวสารในวงกว้าง

แต่ญาติพี่น้องและตัวกรรมการผู้ร้อง กลับรับรู้ข่าวสารเป็นอันดี แถมยังได้หุ้นจองที่กล่าวหาไปทั่วว่า กระจายหุ้นโดยไม่เป็นธรรมเสียด้วย

จะเรียกคนที่มีพฤติกรรมกลับกลอกพวกนี้ว่า อะไรดีเล่า

เป็นพวกปากว่าตาขยิบ,  พวกเกลียดตัวกินใข่ เกลียดปลาไหลกินแกง หรือ พวกมนุษย์ลวงโลก ก็ดูจะน้อยไป

แต่ที่แน่ๆพวกเขาเป็นพวกชอบประทุษร้ายสังคม

ผมไม่กลัวการฟ้องร้องเลยสักนิด  ฟ้องมาเถอะ จะได้แฉกันให้จะๆกว่านี้ บ้านเมืองจะล่มจมก็เพราะพวกบ้าคลั่งเหล่านี้

วันที่ 18 ธ.ค. 2550

ที่มา ขี่พายุทะลุฟ้า