ทำไม "ปิโตรนาส" กำไรมากกว่า "ปตท."


อาจเกิดความเข้าใจผิดรวมไปถึงสับสนในการตีความภาพ info graphic นี้ ซึ่งที่จะสื่อให้เห็นว่า ปตท. กับ ปิโตรนาส ต่างกัน

แม้ว่า "ปตท." และ "ปิโตรนาส" จะดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมที่ครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ อย่างธุรกิจสำรวจและผลิตจนถึงธุรกิจปลายน้ำ อย่างธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและก๊าซ เหมือนกันก็จริง แต่สิ่งที่ทำให้ 2 บริษัทมีความแตกต่างกัน ประเด็นหลักๆ คือ

"สิทธิความเป็นเจ้าของแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียม"

- แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยทุกแหล่งรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของ
เพื่อให้เกิดความยุติธรรม เสมอภาค และข้อเสนอที่ดีที่สุด -

รัฐจึงเปิดให้เอกชนและบริษัทที่รัฐถือหุ้นอยู่ เข้ามายื่นขอสัมปทาน โดยจะต้องแบ่งส่วนแบ่งให้กับภาครัฐ ตามที่กำหนด และบริษัทในกลุ่ม ปตท. (ปตท.สผ.) ก็ถือเป็นผู้แข่งขันรายหนึ่งที่ต้องยื่นขอสิทธิ์สัมปทานจากภาครัฐเช่นกัน โดยไม่ได้สิทธิพิเศษใดๆ และต้องแข่งขันกับเอกชนรายอื่นๆ

- ซึ่งต่างกับมาเลเซียที่แหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมทุกแหล่ง
รัฐได้มอบหมายให้ปิโตรนาสที่ขึ้นตรงกับรัฐบาล -

ให้ดำเนินกิจการขุดเจาะสำรวจ ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ขณะเดียวกันบางแหล่ง ที่อาจมีความเสี่ยง รัฐจะทำการมอบหมายให้ปิโตรนาสเป็นผู้ร่วมในการดำเนินการเป็นคู่สัญญา ร่วมกับบริษัทเอกชนอื่นเข้ามาสำรวจขุดเจาะ โดยบริษัทนั้นต้องแบ่งผลประโยชน์ให้ปิโตรนาสตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน ฉะนั้นแล้วการเปรียบเทียบกำไร การแข่งขันทางธุรกิจ รวมไปถึงศักยภาพทางธรณีวิทยา ย่อมเทียบกันไม่ได้อยู่แล้ว
แน่นอนว่า หากทรัพยากรปิโตรเลียมทั้งหมดในประเทศไทย ปตท. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวเฉกเช่น ปิโตรนาส จะทำให้ ปตท.ได้รับสิทธิ์ผูกขาดจะยิ่งขัดกับสิ่งที่คนบางกลุ่ม

******บอกว่า ปตท. ผูกขาดในการจัดการทรัพยากรแน่นอน******

หรือกลุ่มที่โจมตี ภาพ info graphic นี้ ต้องการให้ ปตท. เหมือนปิโตรนาสในเรื่องการผูกขาดด้านการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม รวมไปถึงการบริหารจัดการทรัพยากรในประเทศแต่เพียงผู้เดียว จะย้อนแย้งทันทีกับการที่บอกว่าไม่ต้องการให้ ปตท. ได้รับสิทธิ์ในการผูกขาดกิจการด้านต่างๆ ทันที

ศาลปกครองสูงสุดไม่รับฟ้องคดีแบ่งแยกท่อก๊าซ ปตท. กลับเป็นของรัฐ เพราะ คดีไร้สาระ ซ้ำซาก

"ศาลปกครองสูงสุด"ไม่รับฟ้องคดีแบ่งแยกท่อก๊าซ ปตท. กลับเป็นของรัฐ เหตุฟ้องซ้ำ



"ศาลปกครองสูงสุด"ไม่รับฟ้องคดีแบ่งแยกท่อก๊าซ ปตท. กลับเป็นของรัฐ เหตุฟ้องซ้ำ

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2558  "ศาลปกครองสูงสุด" มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ในคดีการแบ่งแยกระบบท่อก๊าซธรรมชาติของ บมจ. ปตท ให้กลับมาเป็นของรัฐ ตามคำร้องที่ 1034/2555 คำสั่ง 800/2557 ซึ่งมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 1 กับพวกรวม 1,455 คน (ผู้ฟ้องคดี) ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี ที่ 1, นายกรัฐมนตรี ที่ 2, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ 3, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ 4, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ 5  (ผู้ถูกฟ้องคดี)

ทั้งนี้ "ศาลปกครองสูงสุด" ยืนยกฟ้องคดีแยกระบบท่อก๊าซ ปตท. กลับเป็นของรัฐ เหตุฟ้องซ้ำ หลัง “มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค” ฟ้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้อง ดำเนินการ ติดตามท่อก๊าซบนบกและในทะเลที่มีก่อน 1 ตุลาคม 2544 ทั้งหมด + ท่อก๊าซเส้นที่ 3 ส่วนที่อยู่ในทะเล (เริ่มดำเนินการปี 2550 แต่วางท่อในทะเลก่อนการแปรสภาพ) เพราะมีหนังสือโต้ตอบระหว่างกระทรวงการคลัง กับ สตง.กล่าวถึงมูลค่าประมาณ 47,664 ล้านบาท

สำหรับคดีนี้ ผู้ฟ้องได้ระบุว่า บมจ.ปตท.ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4  แบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อคืนให้แก่รัฐหรือกระทรวงการคลังไม่ครบถ้วนตามที่ศาลปกครองสูงสุดเคยมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ฟ.47/2549 คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้มีหนังสือที่ ตผ 0023/68   ลงวันที่ 20  ก.พ. 2552  รายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง แต่ปรากฏว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ภายใต้การกำกับดูแลของคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดกลับเพิกเฉย มิได้ดำเนินการแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องจึงได้ยื่นขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันดำเนินการแบ่งแยกระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้กลับมาเป็นของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ

และเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2555 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา/คำสั่ง ไม่รับคำฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจากพิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ฟ้องคดีทั้ง 1,455  คนประสงค์จะให้ศาลมีคำพิพากษาต่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าให้มีการปฏิบัติให้ถูกต้องและครบถ้วนในการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิในการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อให้กับกระทรวงการคลัง ซึ่งกรณีพิพาทตามฟ้องนี้ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 4 ดำเนินการดังกล่าวแล้ว จึงเห็นได้ว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 226  ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550  กับพวกรวม 1,455 คน  ต้องการร้องขอเพื่อให้มีการดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดให้ถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรา 72 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ. 2542 ประกอบมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งไม่จำต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง กรณีจึงถือว่าคดียังไม่มีเหตุแห่งการฟ้องคดีที่ศาลจะต้องพิจารณาพิพากษาแต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีจึงได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นต่อ "ศาลปกครองสูงสุด"

ต่อมา "ศาลปกครองสูงสุด" วินิจฉัยแล้วว่าคดีนี้ เป็นการขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือประเด็นข้อใดแห่งคดีที่ศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ. 35/2550 ได้วินิจฉัยแล้ว จึงเป็นกรณีที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว

ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 1,455 คนได้อ้างในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งว่า รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 นั้น ศาลเห็นว่ายังเป็นรายงานสรุปการดำเนินการส่งมอบทรัพย์สินคืนให้กระทรวงการคลังที่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะยังไม่ได้รับการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สตง.  จึงยังเป็นรายงานสรุปการดำเนินการส่งมอบทรัพย์สินคืนให้กระทรวงการคลังที่ยังไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด  ศาลเห็นว่ากรณีดังกล่าวที่ผู้ฟ้องได้อ้างว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาไมได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันภายในหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคณะรัฐมนตรี มิใช่เป็นเหตุที่จะกล่าวอ้างว่าเป็นการดำเนินการที่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะเป็นกระบวนการที่กำหนดขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น

การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น "ศาลปกครองสูงสุด" เห็นพ้องด้วยในผล  คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ฟ้องทั้ง 1,455 คน ไม่มีเหตุผลที่จะรับฟังได้ 


เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง

ลำดับการคืนท่อก๊าซของ ปตท.ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด