เห็นแล้วอึ้ง สินค้าแพงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันจริงหรือ?

ถ้าเห็นภาพราคาสินค้าไทย ในปีที่ผ่านมา จะอึ้งทันทีเมื่อได้เห็นความจริงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

คงเคยเห็นคนบ่นกันเรื่องราคาน้ำมันว่าของไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน เวลาปรับแต่ละครั้งก็จะส่งผลต่อราคาสินค้า ถึงแม้จะปรับอย่างไร สินค้าของไทยก็ไม่ได้แพงขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน


ราคาน้ำมันของไทยก็ไม่ได้แพงสุดเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน


จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันในประเทศที่ถูกกว่าประเทศไทย สินค้าประเทศเหล่านั้น ก็ไม่ได้ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าไทย ในขณะเดียวกัน ปรับตัวขึ้นสูงกว่าด้วย ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก มาตรการทางภาษี มีการจัดเก็บชดเชยรายได้รัฐ เพื่อให้ตามเป้าที่ต้องการ

ไทยอยากให้น้ำมันถูกก็ทำได้ ลดภาษีน้ำมัน แต่ไปขึ้นกับการเก็บภาษีในสินค้าแทนจะดีหรือไม่ ได้แต่ฝากให้คิด

เปิดคำตัดสิน “กองทุนน้ำมัน” เถื่อนจริงหรือไม่?

ในช่วงที่ราคาน้ำมันขึ้น หรือ มีการพูดถึงเรื่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยตามสื่อ Social Media เช่น Facebook มีการหยิบนำเสนอว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็น กองทุนเถื่อน และได้มีการบอกให้ยกเลิกกองทุนน้ำมัน เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ



หากจะหยิบประเด็นหรือการพิพากมานำเสนอ จะเห็นได้ว่า คำกล่าวต่างๆ ที่มีคนโจมตีนั้น ดูไม่มีเหตุผลอย่างมาก เพราะในประเด็นดังกล่าวนี้ศาลปกครองกลางได้เคยมีคำวินิจฉัยไปแล้วตามที่ปรากฏใน คดีหมายเลขดำที่ ส.30/2558 คดีหมายเลขแดงที่ ส.145/2560  โดยศาลได้ให้เหตุผลไว้ชัดเจนซึ่งสามารถสรุปได้เป็นข้อๆดังนี้

1.การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเป็นไปตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามที่พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ได้ให้อำนาจไว้  และได้มีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

2.คำสั่งดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีได้ออกโดยถูกต้องตามรูบแบบและขั้นตอนหรือวิธีการที่เป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดดังกล่าว

ดังนั้นคำสั่งดังกว่าจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและนี่ก็เป็นข้อความบางตอนที่ปรากฎในท้ายคำพิพากษา




จะเห็นได้ว่ากองทุนน้ำมันนั้นถูกตั้งขึ้นมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ได้เป็นกองทุนเถื่อนตามที่มีการนำเสนอ และโจมตีในสื่อ Social Media แต่อย่างใด เพราะศาลได้มีการวินิจฉัยชัดเจนไปแล้ว การแสดงความเห็นของคนที่โจมตี ในประเด็นดังกล่าว มีแต่จะทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และนั่นก็ดูเป็นการกระทำที่ดูไม่มีวุฒิภาวะเลย




รายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง







ข้อมูลอีกด้านการส่งออกน้ำมันในคลิป ทวงพลังงาน สะท้าน ปตท.

เรื่องคลิปที่มีการแชร์กันเยอะแยะในช่วงราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น ในคลิปมีการหยิบเอาการสนทนาเรื่องการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป และได้มีการตีความกันไปต่างๆ นานา จึงนำมาขยายข้อมูลอีกด้าน



1.  ตามหลักการทำธุรกิจไม่ว่าธุรกิจใดๆก็ตาม ถ้ากำลังการผลิตสูงกว่าความต้องการ ผู้ผลิตมีทางเลือกอยู่สองทาง คือ

     1.1 ลดการผลิตให้พอดีกับความต้องการ ซึ่งแน่นอนจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงขึ้น และถ้าผลักภาระให้ผู้บริโภคได้ ก็ผลักภาระไป ผู้บริโภคก็ต้องซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้น
      1.2 ผลิตให้เต็มกำลังการผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยถูกลง ผู้บริโภคก็จะได้ใช้สินค้าในราคาที่ถูกลง ส่วนสินค้าส่วนเกินความต้องการในประเทศ ก็ไปหาตลาดในต่างประเทศ (ซึ่งจะมีทั้งราคาที่สูงและตำ่กว่าราคาในประเทศ) ดังนั้นราคาส่งออกจึงมีทั้งสูงและตำ่กว่าราคาในประเทศ (ไม่ใช่ตำ่กว่าทั้งหมด) ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากขายหรือไม่

2. นี่คือเรื่องธรรมดาของการทำธุรกิจที่ต้องสนองความต้องการของตลาดหลักก่อน แล้วส่วนเกินจึงเลือกว่าจะผลิตหรือไม่ ถ้าต้องการ economy of scale ก็ต้องผลิตเต็มที่ แล้วไปหาตลาดเพิ่ม ซึ่งอาจต้องใช้ราคาเป็นตัวบุกเบิกตลาด

ถ้าจะมากำหนดว่าถ้าไปขายต่างประเทศราคาถูก ก็จะต้องลดราคาในประเทศให้เท่ากัน ผู้ผลิตก็มีทางเลือกที่จะลดการผลิตให้พอดีกับความต้องการ ไม่ต้องเหนื่อยยากไปบุกเบิกตลาดใหม่ๆในต่างประเทศ และผลักภาาะต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับผู้บริโภคไป

3. วิธีการอย่างนี้ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เราผลิตได้มากกว่าความต้องการเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ ข้าว นำ้ตาล ปูนซีเมนต์ ผลผลิตส่วนเกินความต้องการล้วนแต่ต้องส่งออกทั้งสิ้น และบางครั้งก็ต้องส่งออกในราคาตำ่กว่าที่ขายในประเทศ อย่างเช่น ข้าว เป็นต้น

4. ราคาน้ำมันที่โรงกลั่นขายก็มาหลายราคา
      4.1 ราคาตามสัญญา ราคานี้จะเป็นราคาที่อ้างอิงราคาที่สิงคโปร์ ตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ตอนสร้างโรงกลั่น เพื่อให้ผู้ลงทุนมีความมั่นใจ ว่าสร้างแล้วจะมีลูกค้าแน่ๆ
       4.2 ราคานอกเหนือสัญญา ราคานี้จะขึ้นลงตามการแข่งขันในตลาด และอาจตำ่กว่าราคาส่งออกมากด้วยซำ้ไป ราคานี้จะมีส่วนทำให้ตลาดนำ้มันทั้งขายส่งและขายปลีกมีการแข่งขันกันมากขึ้น

เห็นแล้วอึ้ง ราคาน้ำมันไทย อยู่ตรงไหนของโลก

ถ้ากดดูภาพแล้วจะเห็นได้ว่าน้ำมันของไทยเรา ไม่ได้แพงสุดในโลก อยู่ในระดับกลางของทั้งโลกด้วย


ซึ่งน้ำมันเป็นสินค้า Commodity หรือ สินค้าโภคภัณฑ์ ไม่เกี่ยวกับเรื่องค่าครองชีพ เพราะมีมาตรฐานในตัวสินค้าเหมือนกันทั้งโลก เฉกเช่นเดียวกับทอง

ที่มาราคา https://www.globalpetrolprices.com/gasoline_prices/

ไม่ต้องทุบโต๊ะ ไม่ต้องทุ่มโพเดี้ยม ถ้าเจอเรื่อง บัญชีลับ แปรรูป ปตท.

ได้รับบทความเรื่องบัญชีลับ แปรรูป ปตท. กรุณาส่งกลับไปให้อ่าน




1. ไม่มีบัญชีลับอะไรใด เพราะ บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ต้องแสดงทรัพย์สิน รวมถึงรายรับรายจ่าย มีกรรมการ มีผู้ตรวจสอบจากภายนอกด้วย แถมยังมี สตง รับรองบัญชีอีก

2. ปัจจุบัน คุณไพรินทร์ หมดวาระเป็นประธาน ปตท. ไปแล้ว

3. เกาะเคย์แมนไม่ได้เป็นเกาะฟอกเงินอย่างในหนัง เป็นการเปิดเพื่อกระจายความเสี่ยง ปัจจุบันมีกฎหมายรองรับ มีการตรวจสอบ มีการรายงานลงในบัญชี สามารถตรวจสอบได้ใน 56-1

4. การลงโฆษณาในสื่อ เป็นหลักของการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าสินค้าใดๆ ก็มีการประชาสัมพันธ์

5. การแปรรูป ปตท. เริ่มสมัยคุณชวน เมื่อประมาณ ปี 42 โดยหุ้น ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ซื้อขายวันแรก 6 ธ.ค. 2544 ด้วยมูลค่าตลาดประมาณ 90,000 ล้านบาท หุ้นใหญ่ขนาดนี้ต้องใช้เวลาเตรียมตัวพร้อมทำไฟริ่งไม่น้อยกว่า 1 ปี แน่นอน ขณะที่นายกทักษิน เป็นนายกรัฐมนตรีวันที่ 9 ก.พ. 2544 แสดงว่านโยบายการแปรรูป ปตท.ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้นานพอสมควรแต่มาแล้วเสร็จในยุคทักษิณพอดี

6. หุ้นที่บอกว่า ไม่ได้ชื่อกระทรวงการคลัง จริงๆ แล้ว อย่างสำนักงานประกันสังคม ก็ถือเป็นการลงทุนของรัฐ

7. บริษัท นอมินี เหล่านี้ ก็เป็นอีกช่องทางการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติหลายๆคน การลงทุนผ่านทางบริษัทนอมินีของสถาบันการเงินเหล่านี้คล้ายๆ กับบริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ของบ้านเรานั่นเองที่ช่วยกระตุ้นการลงทุนระดมทุนของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งผู้ถือหุ้นผ่านนอมินีเหล่านี้จะไม่มีสิทธิ์ออกเสียงหรือกำหนดนโยบายใดๆ ในบริษัทได้เลย

ปตท.ขายหุ้นให้กับบุคคลทั่วไป ผ่าน Thai VDNR จำนวน 5.1% ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บุคคลทั่วไปต้องไปซื้อจาก บริษัทดังกล่าว ไม่ใช่ไปซื้อตรงจาก ปตท. ทุกวันนี้ก็เปิดซื้อขายอยู่ เรื่องที่ว่ามีการจองหุ้นกัน ก็จองผ่านบริษัทนี้ครับ และที่อ้างว่าหุ้นหมดซื้อไม่ทัน มันก็ไม่เกี่ยวกับ ปตท.เลย ด้วยเหตุผลข้างต้นครับ

8. เงินปันผล ปตท เข้าพรรคเพื่อไทย ด้วยความที่ กระทรวงการคลังถือหุ้น ปตท.ใหญ่ เงินก็ต้องเข้ากระทรวงการคลังดิ คนคิดว่าเข้าพรรคเพื่อไทย มโนอะไรก็ให้มีขอบเขตกันหน่อย

9. มาเลเซียน้ำมันลิตรละ เท่าไหร่ก็แล้วแต่ แต่ทราบหรือไม่ เค้ามีการไม่เก็บเงินภาษีสินค้าและบริการ GST ทำให้ราคาน้ำมันเค้าถูก แต่เค้าต้องแลกกับการติดงบทางการศึกษา

10. เรื่องการยกเลิกเบนซิน 91 95 ก็บ้าบอ เค้ายกเลิกแต่เบนซิน 91 เพราะสนับสนุนพลังงานทดแทน ที่เป็นพระราชดำริของในหลวง เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบ เพื่อลดมลพิษทางอากาศ

11. ปตท.สผ. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในแปลงสัมปทานของแหล่งน้ำมัน “นงเยาว์” ไม่เคยมีการถือหุ้นในแหล่งน้ำมัน “นงเยาว์” และ ที่สำคัญได้ถอนตัวออกเมื่อ ปี 2543

12. LPG ที่มีการปรับราคา เพื่อสะท้อนต้นทุนการใช้ในประเทศ เป็นไปตามนโยบายปฎิรูปพลังงานสะท้อนราคาที่แท้จริง

13. ก๊าซจากอ่าวไทย ทุกวันนี้ใช้ผลิตไฟฟ้ามากที่สุด และไม่มีการส่งออก แถมยังต้องนำเข้า LNG เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ

14. การปลดบอร์ด ปตท. ต้องอาศัยมติที่ประชุมบอร์ด ไม่ใช่อยากปลดก็ปลด ไม่งั้นสะเทือนเศรษฐกิจตลาดหุ้นไทยแน่นอน

อันนี้หน่ะแชร์เถอะ เพื่ออนาคตของลูกหลาน เพื่อความจริงเรื่อง ปตท. จะได้ไม่ให้ใครมาหลอกเรา


เพ้อเจ้อ!! เรื่องใครอยู่เบื้องหลังทำให้คนไทยเป็นทาสน้ำมัน

บทความดังกล่าวเพ้อเจ้อ แถมเป็นการหยิบเอาข้อมูลที่บิดเบือนมานำเสนอด้วย


ไม่ได้มีไอ่โม่งที่ไหน หรือใครทำให้ไทยเป็นทาสน้ำมัน

จากที่เห็นคือมีการนำข้อมูลว่าไทยน้ำมันแพงกว่าเพื่อนบ้าน ซึ่ง ราคาน้ำมันของไทยแตกต่างกันกับเพื่อนบ้าน ก็มาจากนโยบายทางภาษี

และในขณะเดียวกัน หลายๆ ประเทศก็มีราคาน้ำมันแพงกว่าไทยอีกด้วย

หรือจะไปมโนโยงใยว่า เรามีน้ำมันเยอะ หาเจอได้ทุกแหล่ง ก็ไม่ใช่อีก เพราะเราไม่ได้เจอปิโตรเลียมทุกตารางนิ้ว

ส่วนที่บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนก็ต้องปฎิบัติตามกฎหมายไทยทุกอย่าง สุดท้ายอยู่ที่การตีความของทางรัฐ

หรือแม้แต่กระทั่งมีคนแชร์ต่อว่า ราคาก๊าซจากอ่าวไทยแสนเจ็บปวด มั่ว
ราคาก๊าซธรรมชาติไม่ได้มีตลาดอ้างอิงอยู่ที่สหรัฐ และ ถ้ารวมค่าขนส่งค่าแปรสภาพ จะแพงกว่าไทยอีกด้วยซ้ำ และ ราคาก๊าซดังกล่าวประชาชนสหรัฐไม่ได้จ่ายราคาที่ Henry Hub




ชำแหละรสนา ทวงภาษีเชฟรอน

ชำแหละ "รสนา" ประเด็นภาษีเชฟรอน หนึ่งในข่าวที่ดังสนั่นวงการพลังงานมากที่สุดในปีที่ผ่านมาคงไม่พ้นเรื่อง “รสนาทวงภาษีเชฟรอน” โดยจี้ไม่หยุดหย่อนให้รัฐบาลเอาผิดเชฟรอนผ่านสื่อมาตลอด กะว่านี่จะเป็นอีกหนึ่งผลงานโบว์แดงให้นายชื่นใจ วันนี้ฤกษ์งามยามดี แอดจะชี้แจงทุกประเด็นไม่มีกั๊กค่า อยากให้ทุกคนเก็บโพสต์ชี้แจงเรื่องนี้เป็น #โพย ช่วยกันแชร์ตอบทุกครั้งที่มีคนถามเรื่องนี้ เพราะมั่นใจว่าป้าคงใช้เรื่องนี้หากินจวบชั่วฟ้าดินสลาย เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า...


#แหกอกป้า หนึ่งในข่าวที่ดังสนั่นวงการพลังงานมากที่สุดในปีที่ผ่านมาคงไม่พ้นเรื่อง “รสนาทวงภาษีเชฟรอน” โดยจี้ไม่หยุดหย่อนให้รัฐบาลเอาผิดเชฟรอนผ่านสื่อมาตลอด กะว่านี่จะเป็นอีกหนึ่งผลงานโบว์แดงให้นายชื่นใจ วันนี้ฤกษ์งามยามดี แอดจะชี้แจงทุกประเด็นไม่มีกั๊กค่า อยากให้ทุกคนเก็บโพสต์ชี้แจงเรื่องนี้เป็น #โพย ช่วยกันแชร์ตอบทุกครั้งที่มีคนถามเรื่องนี้ เพราะมั่นใจว่าป้าคงใช้เรื่องนี้หากินจวบชั่วฟ้าดินสลาย เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า...

#1 ตั้งแต่ปี 2554-2557 บริษัท เชฟรอนไทย สำแดงใบขนด้วยรหัส ZZ ซึ่งหมายถึงการส่งน้ำมันไปขายยังเขตต่อเนื่อง แต่ไม่ได้ส่งไปยังเขตต่อเนื่องจริง กลับนำน้ำมันดีเซลที่ปลอดภาษี ขายให้กับบริษัท เชฟรอนสำรวจและผลิต (สผ.) จำกัด เพื่อนำไปใช้ยังแท่นขุดเจาะที่เอราวัณ ใช่หรือไม่ 

--> ไม่ใช่เลยป้า ที่บริษัทเขาสำแดงใบขนแบบนั้น ก็ทำตามที่กรมศุลฯเขาสั่งให้ทำแบบนั้น เขาไม่เคยปกปิดว่าจะเอาน้ำมันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะ น้ำมันตั้งหลายล้านลิตรต่อเดือน ใครจะไปปกปิดได้ 

#2 การที่บริษัท เชฟรอนไทย สำแดงใบขนว่าส่งน้ำมันไปยังเขตต่อเนื่อง แต่ไม่ได้ส่งไปขายที่เขตต่อเนื่องจริง กลับนำไปขายให้กับบริษัทในเครือเดียวกัน เพื่อนำไปใช้ที่แท่นขุดเจาะ จึงถือเป็นการสำแดงใบขนอันเป็นเท็จ ใช่หรือไม่ 

--> ไม่ใช่อีกแล้วเหอะป้า เขาทำตามที่กรมศุลฯเขาสั่งมา ไม่ได้โกหก ถ้าไม่ทำตามซิถึงจะผิด 

#3 บริษัท เชฟรอน สผ. เมื่อซื้อน้ำมันมาใช้ที่แท่นขุดเจาะ ที่แหล่งเอราวัณ และได้นำน้ำมันมาใช้กับเรือบริการ(supply boat)ที่วิ่งในน่านน้ำอ่าวไทยเพื่อรับส่งอุปกรณ์ระหว่างแท่นขุดเจาะกับแผ่นดินใหญ่ด้วย และถูกด่านสงขลาจับได้เมื่อต้นปี 2557 เพราะน้ำมันส่งออกได้เติมมาร์คเกอร์สีเขียว เพื่อแยกแยะว่าเป็นน้ำมันที่ปลอดภาษี การที่เชฟรอน สผ. นำน้ำมันส่งออกมาวิ่งบริการในอ่าวไทย จึงเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ถือว่าเอาน้ำมันเถื่อนมาใช้ในประเทศ ด่านสงขลาจับเรือซัพพลายของเชฟรอน สผ. ได้ 8 ลำ มีน้ำมันเขียวจำนวน 1.6 ล้านลิตร จึงยึดไว้ และเชฟรอนยอมทำเรื่องระงับคดีกับด่านสงขลา โดยยอมให้ยึดน้ำมันเถื่อนทั้งหมด ด่านสงขลาไม่มีที่เก็บน้ำมัน จึงขายน้ำมันได้เงินมา 48 ล้านบาท 

--> นี่ก็เข้าใจผิดอีกนะป้า เรื่องมันมาจาก นายด่านที่สัตหีบ กับที่สงขลาตีความกฏหมายไม่เหมือนกัน แถมไม่เหมือนกับที่อธิบดีกรมตัวเองสั่งไว้ ยึดเรือของบริษัทฯเขาไว้ บริษัทฯเขาก็ต้องจำใจยอมความยอมเสียค่าปรับ เพื่อจะได้เอาเรือออกมาทำงานได้ก่อน ไม่งั้นตอนนี้เรือก็อาจยังในท่ารอข้าราชการตีความ ป่านนี้คงเป็นกลายเศษเหล็กไปแล้วมั้ง 

#4 ด่านสงขลามีอำนาจอนุมัติในการระงับคดีได้ในวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาท กรณีการระงับคดีกับเชฟรอน จึงเกินอำนาจที่ด่านสงขลาจะอนุมัติได้เอง จึงต้องส่งเรื่องการระงับคดีมาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบระงับคดีที่ส่วนกลาง แต่จนบัดนี้จะครบ 3 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์นี้แล้ว คณะกรรมการเปรียบเทียบระงับคดี ยังไม่อนุมัติการระงับคดีของเชฟรอน เพื่อจะได้ส่งเงิน 48 ล้านบาท เข้าเป็นรายได้แผ่นดินเสียที ขอถามว่า เพราะเหตุใดจึงมีความล่าช้ามากขนาดนี้ ? 

--> ก็ถ้าเรื่องมันเป็นอย่างที่ป้าว่า เขาก็คงริบเงินเข้าคลังไปเรียบร้อยแล้วจริงมั้ย เพราะเรื่องมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นนะซิ ข้าราชการเขาถึงได้กลืนไม่เข้าคายไม่ออกอยู่อย่างนี้ 

#5 หลังจากบริษัท เชฟรอน สผ. ถูกจับน้ำมันได้ที่ด่านสงขลา ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงว่า เชฟรอนไม่ได้ส่งออกน้ำมันจริงตามใบสำแดงการส่งออก หลังจากเหตุการณ์นี้ ทางศุลกากรจึงให้เชฟรอนกลับไปซื้อน้ำมันในรูปแบบการค้าชายฝั่งไปก่อนในระหว่างปี 2557 – 2558 เชฟรอนกลับมาหารือเรื่องการส่งน้ำมันไปแท่นขุดเจาะ ว่าเป็นการส่งออกหรือไม่อีกครั้ง ในต้นปี 58 และทางสำนักกฎหมายก็ตอบหนังสือหารือของเชฟรอนในเดือนเม.ย.58 ว่าการส่งน้ำมันไปยังแท่นขุดเจาะที่อยู่นอกอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล เป็นการส่งออกไม่ใช่การค้าชายฝั่ง บริษัท เชฟรอนไทย จึงกลับมาใช้ใบสำแดงการขนเป็นส่งออก ตั้งแต่ปี 58 บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ได้เปลี่ยนการสำแดงใบขนเป็นรหัส YY ซึ่งเป็นรหัสว่าส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้ระบุเมืองท่าของประเทศใด แต่ก็ยังคงนำน้ำมันไปขายต่อให้บริษัท เชฟรอน สผ. เพื่อไปใช้ที่แท่นขุดเจาะที่เอราวัณ เหมือนเดิม เมื่อกฤษฎีกาคณะพิเศษยืนยันว่า แท่นขุดเจาะอยู่ในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ. ปิโตรเลียม 2514 การสำแดงใบขนไปนอกราชอาณาจักร แต่นำไปขายให้ใช้ที่แท่นขุดเจาะ จึงเป็นการสำแดงเอกสารอันเป็นเท็จ ใช่หรือไม่ 

--> ไม่ใช่อีกนั่นแหละ หรือป้าทำแกล้งไม่รู้ เราๆประชาชนคนธรรมดา บางทีก็เดาใจราชการไม่ถูกว่าท่านจะเอาไงแน่ วันนึงสั่งแบบนึง อีกวันนึงสั่งอีกแบบ ถ้าเรากรอกเอกสารตามแบบที่ราชการคนแรกสั่ง แล้ว 3 ปีต่อมา ข้าราชการคนหลังมาบอกว่าที่เรากรอกแบบนั้นมันไม่ถูก ต้องกรอกอีกแบบนึง แล้วมีป้าที่ไหนก็ไม่รู้มาชี้หน้าด่าเราว่าเป็นเราโกหก แบบนี้มันแฟร์หรือเปล่า เอาสติป้าๆคิดดูดีๆก็ได้นะ 

#6 สำหรับบริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด หากการสำแดงเอกสารใบขนทั้งรหัส ZZ คือ นำน้ำมันไปขายที่เขตต่อเนื่อง แต่ไม่ได้ส่งไปเขตต่อเนื่องจริง และการสำแดงใบขนรหัส YY คือ ส่งไปออกน้ำมันไปนอกราชอาณาจักร แต่ไม่ได้ส่งออกนอกราชอาณาจักรจริง น้ำมันทั้งหมดยังคงนำไปใช้ยังแท่นขุดเจาะที่เอราวัณ ที่อยู่ในราชอาณาจักรเช่นเดิม พฤติกรรมของบริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ดังกล่าว จะสามารถวินิจฉัยได้หรือไม่ว่า เป็นการส่อว่ามีเจตนาอำพราง เพื่อเป็นการฉ้อภาษีของรัฐ ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร 2469 มาตรา 99 ว่าด้วยการสำแดงเอกสารใบขนอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นการกระทำที่ผู้กระทำมีความผิด ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังมีความผิดตาม มาตรา 27 ว่าด้วยการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรโดยเจตนาจะฉ้อภาษีของรัฐบาล สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของ ซึ่งได้รวมอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ 

--> ยิ่งคิดก็ยิ่งผิด คุณป้าเนี่ย หลักฐานมันก็บอกอยู่แล้วว่าบริษัทฯเขาทำตามที่ข้าราชการสั่งให้ทำ มันจะมีเจตนาอำพรางไปได้ยังไง อคติแท้ๆ

#7 บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด อาจจะอ้างว่าทำตามการตอบข้อหารือจากกรมศุลกากร แต่จากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบ พ.ร.บ. ศุลกากร ฉบับที่ 9 ประกาศใช้ปี 2482 มาตรา 16 ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่า การกระทำที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 27 และมาตรา 99 นั้น ให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนา หรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ดังนั้น เชฟรอนจึงไม่สามารถแก้ตัวว่าไม่มีเจตนากระทำความผิด ทั้งไม่สามารถอ้างได้ว่าเพราะทำตามคำตอบข้อหารือของฝ่ายกฎหมายในกรมศุลกากร อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังมีโทษต่อเนื่องตามมาด้วย มาตรา 17 ที่ระบุว่า ของใดๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 ประกอบมาตรา16 ท่านให้ริบเสียสิ้นโดยมิพักต้องคำนึงว่า บุคคลผู้ใดจะต้องรับโทษหรือไม่ 

--> เอาล่ะ ที่ป้าบอกว่า จะอ้างว่าไมรู้กฏหมายไม่ได้ อันนี้ป้าเขียนก็ถูก (นานๆมีถูกทีนึง) แต่บริษัทเขาก็ดีนะ ทันทีที่กฤษฎีกาฯเขาตีความเสร็จ เขาก็ว่าง้าย ง่าย ก็รีบเอาเงินภาษีไปจ่ายให้ทันทีเลย ไม่ได้อิดออดอิดเอื้อน หนังสือพิมพ์ก็ลงปาวๆ ว่าเขามาจ่ายแล้วนะ ใครๆ ก็รู้ มีแต่ป้าละมั้งที่แกล้งทำเป็นไม่รู้

#8 นอกจากนี้ บริษัท เชฟรอนสำรวจและผลิต จำกัด ที่ซื้อน้ำมันต่อจากบริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ก็จะมีความผิดตาม มาตรา 27ทวิ ที่บัญญัติว่าผู้ซื้อหรือรับของที่ตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียภาษี มีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีความผิดตามมาตรา 31 ที่ระบุว่า ของที่ต้องเสียภาษีผู้ใดนำลง หรือนำออกจากเรือลำใดในทะเล (ลงที่แท่นขุดเจาะ) ซึ่งอาจเป็นทางแก่การฉ้อประโยชน์รายได้ของแผ่นดิน ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 27 เพราะเป็นการฉ้อค่าภาษีของรัฐ ซึ่งโทษสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือให้จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ 

--> ป้าก็เกินไป คนที่ทำผิดแบบที่ไม่ได้ตั้งใจ แต่ทำตามที่ราชการเขาสั่งให้ทำ กลับคิดจะปรับคิดจะเล่นงานเขาแบบเต็มเหนี่ยว ทำผิดเท่าสลึงจะเอากันให้ตาย ขอให้ผู้อ่านและเราๆท่านๆโชคดี อย่าตกอยู่ใต้อำนาจของป้าเขาเชียวนะ 

#9 คดีความที่ต้องจัดการของบริษัท เชฟรอน ทั้ง 2 บริษัท จึงไม่ใช่เพียงการเรียกคืนภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม และกองทุนน้ำมันในมูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่ยังมีเงินระงับคดีที่เชฟรอน นำน้ำมันเถื่อนมาใช้อีก 48 ล้านบาท ที่ต้องปิดคดีส่งเป็นรายได้แผ่นดินโดยเร็ว นอกจากนี้ ยังอาจกล่าวได้หรือไม่ว่า เชฟรอน น่าจะมีความผิดอีกหลายมาตรา ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร 2469 ประกอบการเพิ่มเติมแก้ไขฉบับที่ 9 พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นความผิดที่สำเร็จเสร็จสิ้นไปหมดแล้ว อยู่ที่ผู้ตรวจสอบจะดำเนินการเอาผิดอย่างจริงจังโดยไม่ลูบหน้าปะจมูกหรือไม่ หรือจะช่วยเหลือกันดังที่มีข่าวแว่วมาว่า ผู้บริหารในกรมศุลกากร และกระทรวงการคลัง เปรยดังๆ ว่า คดีนี้คงไม่ต้องเอาผิดย้อนหลัง ใช่หรือไม่ ? แต่ถ้าจะมีการช่วยกันดังว่า รัฐบาลก็ต้องตอบคำถามสังคม และผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องระวังมาตรา 157 ให้ดี 

--> สงสารข้าราชการเขานะ จะทำเรื่องที่ถูก ก็กลัวอิทธิฤทธิ์ของป้า จะทำตามใจป้า ก็รู้แก่ใจว่ามันไม่ถูกต้อง นี่เป็นเพราะป้า หรือเป็นเพราะพวกเราเองกันแน่นะ ที่ให้ความสำคัญกับคำพูดป้าๆของแกแบบนี้ อนิจจา

จบแล้วมหากาพย์ชำแหละโพสต์รสนา ยาวแต่ครบถ้วนกระบวนความน้า หวังว่าเราจะเข้าใจตรงกันแล้วนะค๊าาาา

เห็นแล้วอึ้ง NOC บรรษัทพลังงานแห่งชาติที่ NGO ต้องการ ทุจริตกระจุยกระจาย


เราคงได้เห็นเห็นวาทกรรมความต้องการ NOC หรือ บรรษัทพลังงานแห่งชาติ ที่รัฐถือหุ้น 100% ตามที่พวก NGO ได้มีการโหมประโคมข่าว ว่าดี โปร่งใส ไม่มีการโกง ไม่มีการทุจริต ออกมาเดินขบวนเรียกร้องกันมาแล้วใน 1-2 ปี ที่ผ่านมา

แต่หากเราหาข่าวหรือติดตามข่าว จะทราบได้ว่า NOC ที่รัฐถือหุ้น 100% นั้น เสี่ยงต่อการทุจริตมาก ดังตัวอย่างที่ปรากฎเมื่อปี 2560

ที่มา https://www.thairath.co.th/content/1085259

ศาลลงดาบสั่งประหารบอสใหญ่ 'ปิโตรเวียดนาม'-คุกเศรษฐีเบอร์ 1 ตลอดชีวิต

นายเหวียน ซวนเซิน ประธานรัฐวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซแห่งชาติ ปิโตรเวียดนาม ถูกศาลในกรุงฮานอยตัดสินลงโทษประหารชีวิต เมื่อ 29 ก.ย. ในข้อหา ใช้อำนาจในทางมิชอบ ยักยอกทรัพย์ และบริหารด้านเศรษฐกิจผิดพลาด

ขณะที่นายฮา วัน ทั้ม มหาเศรษฐีที่เคยติดอันดับรวยที่สุดในประเทศ ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในข้อหาเดียวกัน หลังร่วมกันฉ้อโกงเงินกู้ยืมที่ผิดกฎหมายหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงนายแบงก์และนักธุรกิจอีก 51 ราย ตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน.

หรือแม้กระทั่งที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้

ที่มา https://news1live.com/detail.aspx?NewsID=9610000006835


เวียดนามสั่งคุกตลอดชีวิตอดีตผู้บริหารกิจการรัฐฐานฉ้อโกง-ละเมิดกฎระเบียบ

รอยเตอร์ - ศาลเวียดนามพิพากษาตัดสินจำคุกตลอดชีวิตอดีตเจ้าหน้าที่บริษัทปิโตรเวียดนาม กิจการด้านน้ำมันและก๊าซของประเทศ ขณะที่อดีตเจ้าหน้าที่อีกรายหนึ่งต้องโทษจำคุก 13 ปี จากการฉ้อโกงและละเมิดกฎระเบียบรัฐท่ามกลางการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวาง ตามที่สื่อของทางการเวียดนามรายงาน

นายจิง ซวน แท็ง อดีตประธานบริษัทปิโตรเวียดนามคอนสตรัคชั่น ที่ทางการเยอรมนีกล่าวว่าถูกลักพาตัวไปจากสวนสาธารณะในกรุงเบอร์ลิน ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิตจากการฉ้อโกงและละเมิดกฎระเบียบรัฐ ขณะที่นายดีง ลา ทัง อดีตเจ้าหน้าที่โปลิตบูโรและนักการเมืองที่อาวุโสที่สุดของประเทศที่ถูกพิจารณาคดีในรอบหลายสิบปี ศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 13 ปี จากการละเมิดกฎระเบียบรัฐ ตามการรายงานของสื่อเวียดนาม       

คำตัดสินของทั้งคู่เป็นบทสรุปของการพิจารณาคดีผู้ต้องหา 22 คน โดยทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับบริษัทปิโตรเวียดนาม และคาดว่าจะมีการพิจารณาคดีอีกมากในปีนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปราบปรามที่รัฐบาลระบุว่ามุ่งเป้าไปที่การฉ้อโกงและการบริหารจัดการผิดพลาด
       
อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์ระบุว่าการปราบปรามที่เกิดขึ้นมีแรงจูงใจทางการเมืองและมุ่งเป้าไปที่บุคคลใกล้ชิดของอดีตนายกรัฐมนตรีเหวียน เติ๋น ยวุ๋ง
       
ทางการเวียดนามมุ่งให้ความสำคัญส่วนใหญ่ไปที่ภาคธนาคารและพลังงาน แต่การปราบปรามได้แพร่กระจายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกด้วย ทั้งอสังหาริมทรัพย์ และสำนักงานพรรคคอมมิวนิสต์ประจำจังหวัด
       
บริษัทปิโตรเวียดนามมีทั้งหน่วยงานตรง บริษัทย่อย และบริษัทในเครืออยู่หลายสิบบริษัท ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์มาจากกิจการต่างๆ ของบริษัท ตั้งแต่ธนาคารไปจนบริษัทก่อสร้าง และโรงไฟฟ้าไปจนถึงโรงงานทอผ้า
       
นายจิง ซวน แท็ง และนายดีง ลา ทัง ต่างกล่าวขออภัยต่อพรรคคอมมิวนิสต์ในถ้อยแถลงสุดท้ายที่ศาลกรุงฮานอยเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยสื่อต่างชาติไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีดังกล่าว

เห็นสองข่าวนี้แล้ว ไทยเรายังจะเชื่อและทำตาม NGO เพื่อตั้ง NOC หรือ บรรษัทพลังงานแห่งชาติ ขึ้นมาเพื่อทุจริต และ ซ้ำซ้อน หน่วยงานต่างๆ ที่ทำหน้าที่ในปัจจุบันอีกหรือ?