คุณจะต้องอึ้ง เมื่อได้เห็นคะแนนความโปร่งใสองค์กรต่างๆ จากเอกสารนี้

เห็นองค์กรอิสระคอยตรวจสอบนั่นนี่องค์กรต่างๆ แต่พอมีการจัดให้คะแนนความโปร่งใสองค์กร กลับอยู่ในอันดับที่ไม่น่าเชื่อ


มีรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา ป.ป.ช. ได้เผยแพร่ผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity &Transparency Assessment หรือ ITA) ประจำปีงบประมาณ 2558 (ป.ป.ช. ประกาศผลเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2559)
       
(สามารถดูอันดับได้ทาง https://www.nacc.go.th/download/article/article_20160912155521.pdf)
       
ทั้งนี้ มีการประเมินหน่วยงานทั้งสิ้น 115 หน่วยงาน แบ่งเป็น สำนักงานศาล (เฉพาะหน่วยธุรการ) 3 หน่วยงาน องค์กรอิสระ 3 หน่วยงาน องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ 2 หน่วยงาน สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 1 หน่วยงาน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 1 หน่วยงาน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 55 หน่วยงาน องค์การมหาชน 50 หน่วยงาน ทั้งนี้ ในการประเมินใช้เกณฑ์คะแนนเต็ม 100 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงานทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1. ความโปร่งใส 2. ความรับผิดชอบ 3. การปลอดทุจริต 4. วัฒนธรรมองค์กร และ 5. คุณธรรมในการมอบหมายงาน

โดย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน อยู่อันดับที่ 46 จาก 115

ซึ่งเมื่อเทียบกับ กฟผ. และ ปตท. นั้น อยู่อันดับ ที่ 16 และ 19 จาก 115 ตามลำดับ


ดังนั้น เราควรแล้วหรือไม่ ในการตั้งคำถาม กับ การทำหน้าที่ขององค์กรอิสระนี้ ในการตรวจสอบเงินของแผ่นดิน หรือ การออกมาเคลื่อนไหวต่างๆ

(สามารถดูอันดับได้ทาง https://www.nacc.go.th/download/article/article_20160912155521.pdf)

ปตท. กับ ปิโตรนาส ต่างกันเพราะ?

อาจเกิดความเข้าใจผิดรวมไปถึงสับสนในการตีความภาพ info graphic นี้ ซึ่งที่จะสื่อให้เห็นว่า ปตท. กับ ปิโตรนาส ต่างกัน

แม้ว่า ปตท. และ ปิโตรนาส จะดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมที่ครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ อย่างธุรกิจสำรวจและผลิตจนถึงธุรกิจปลายน้ำ อย่างธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและก๊าซ เหมือนกันก็จริง แต่สิ่งที่ทำให้ 2 บริษัทมีความแตกต่างกัน ประเด็นหลักๆ คือ



"สิทธิความเป็นเจ้าของแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียม"

- แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยทุกแหล่งรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของ เพื่อให้เกิดความยุติธรรม เสมอภาค และข้อเสนอที่ดีที่สุด -

รัฐจึงเปิดให้เอกชนและบริษัทที่รัฐถือหุ้นอยู่ เข้ามายื่นขอสัมปทาน โดยจะต้องแบ่งส่วนแบ่งให้กับภาครัฐ ตามที่กำหนด และบริษัทในกลุ่ม ปตท. (ปตท.สผ.) ก็ถือเป็นผู้แข่งขันรายหนึ่งที่ต้องยื่นขอสิทธิ์สัมปทานจากภาครัฐเช่นกัน โดยไม่ได้สิทธิพิเศษใดๆ และต้องแข่งขันกับเอกชนรายอื่นๆ

- ซึ่งต่างกับมาเลเซียที่แหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมทุกแหล่ง รัฐได้มอบหมายให้ปิโตรนาสที่ขึ้นตรงกับรัฐบาล -

ให้ดำเนินกิจการขุดเจาะสำรวจ ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ขณะเดียวกันบางแหล่ง ที่อาจมีความเสี่ยง รัฐจะทำการมอบหมายให้ปิโตรนาสเป็นผู้ร่วมในการดำเนินการเป็นคู่สัญญา ร่วมกับบริษัทเอกชนอื่นเข้ามาสำรวจขุดเจาะ โดยบริษัทนั้นต้องแบ่งผลประโยชน์ให้ปิโตรนาสตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน ฉะนั้นแล้วการเปรียบเทียบกำไร การแข่งขันทางธุรกิจ รวมไปถึงศักยภาพทางธรณีวิทยา ย่อมเทียบกันไม่ได้อยู่แล้ว



แน่นอนว่า หากทรัพยากรปิโตรเลียมทั้งหมดในประเทศไทย ปตท. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวเฉกเช่น ปิโตรนาส จะทำให้ ปตท.ได้รับสิทธิ์ผูกขาดจะยิ่งขัดกับสิ่งที่คนบางกลุ่ม

******บอกว่า ปตท. ผูกขาดในการจัดการทรัพยากรแน่นอน******

หรือกลุ่มที่โจมตี ภาพ info graphic นี้ ต้องการให้ ปตท. เหมือนปิโตรนาสในเรื่องการผูกขาดด้านการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม รวมไปถึงการบริหารจัดการทรัพยากรในประเทศแต่เพียงผู้เดียว จะย้อนแย้งทันทีกับการที่บอกว่าไม่ต้องการให้ ปตท. ได้รับสิทธิ์ในการผูกขาดกิจการด้านต่างๆ ทันที

ที่มา น้องปอสาม ปตท. กับ ปิโตรนาส ต่างกันเพราะสาเหตุใดบ้าง

เลิกมโนว่าไม่มีมิเตอร์ดูการไหลของก๊าซจากหลุมปิโตรเลียมแบบรีลไทม์

เมื่อปิโตรเลียมได้รับการผลิตขึ้นมาจากหลุมนั้น ภาครัฐโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติทราบในทุกๆหยด ทุกอณูที่ขึ้นมาว่าผลิตขึ้นมาเท่าไหร่ เอาไปผ่านกระบวนการจุดไหน อย่างไร เท่าไหร่บ้าง


ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท น้ำมันดิบที่ขึ้นมาจากหลุมมันไม่ได้ขึ้นมาแล้วใช้ได้ทั้งหมด มันมีสิ่งเจือปนที่ต้องเอาออก เพราะมันไม่สามารถซื้อขายได้ ดังนั้นปริมาณปิโตรเลียมที่ขึ้นมาจากหลุมทั้งหมด จะไม่ใช่ปริมาณปิโตรเบียมที่ขายทั้งหมด ทุกอย่างมีการแสดงผลและเก็บข้อมูลรายงานกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติตลอดเวลาและในเวลาเย็นของทุกๆ วันจะมีรายงานสรุปอีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นการ double check ในตัวอยู่แล้ว และยังมีข้าราชการกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติผู้รับผิดชอบอยู่หน้างานคอยตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับการรายงานมาที่กรมฯ แบบ Real time ขอย้ำว่า Real time อีกครั้งหนึ่ง

(ที่บอกว่าอยากได้ให้มีมิเตอร์แบบนี้กัน แต่หารู้ไม่ว่าเค้ามีมานานแล้ว)

ดังนั้นอย่างที่บอกนี่คือการ double double check กันทีเดียวเลย ที่บอกว่าเป็นการรายงานภายในของหน่วยงานทำงานอย่างเดียวอันนี้ไม่จริงโดยสิ้นเชิง

หรือแม้แต่การที่ลากเอาไปว่าเนื่องจากการผลิตก๊าซแต่ละแหล่งคนละสัญญานั้น การคำนวณปริมาณก๊าซของหน่วยงานรัฐจะเป็นข้อมูลหลังปัจจุบัน 1 วัน อันนี้จริงครับแต่จริงไม่หมด

การซื้อขายก๊าซธรรมชาตินั้นจะถูกกำหนดไว้ด้วย
- ปริมาณ
- คุณภาพ
- ค่าความร้อน
ปริมาณ หน่วยงานรัฐ ทราบปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ส่งขายเป็นแบบ real time สามารถทราบได้จากระบบมาตรวัดตลอดเวลาและจะมีการสรุปในทุกๆวัน

ส่วนคุณภาพนั้นคือปริมาณ Co2 ปริมาณน้ำในเนื้อก๊าซธรรมชาติที่มีการกำหนดค่าในสัญญาซื้อขาย อันนี้ต้องควบคุมไม่ให้เกินกว่าที่ตกลงกันไว้ โดยการวัดค่าน้ำและ co2 ผ่านอุปกรณ์ที่ถูกปรับเทียบและควบคุมโดยหน่วยงานรัฐ หรือก็คือ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

ส่วนสุดท้ายคือค่าความร้อน อันนี้คือการนำก๊าซธรรมชาติไปผ่านเครื่อง gas chromatography เพื่อหารายละเอียดองค์ประกอบของเนื้อก๊าซว่าประกอบไปด้วย carbon ใดๆเป็นองค์ประกอบบ้าง เพื่อคำนวณหาค่าความร้อนจากเนื้อแก๊สนั้น ซึ่งกระบวนการวัดปริมาณ คุณภาพ ค่าความร้อนนั้น ถูกกำหนดโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติโดยใช้มาตรฐาน AGA (American Gas Association) ล่าสุดในการกำหนดวิธีการ กระบวนการและอุปกรณ์ ผสานกับ พรบ. ปิโตรเลียมที่กำหนดกระบวนการต่างๆ ไว้เช่นกัน

โดยค่าของคุณภาพและค่าความร้อนจะถูกเก็บค่าและคำนวณตามหลักการที่กำหนดไว้ ซึ่งจะใ้ช้เวลาประมาณ 1 วันในการคำนวณ เพื่อนำมาคำนวณกับปริมาณก๊าซที่ส่งขายซึ่งทราบอยู่แล้วแบบ real time ได้ออกมาเป็นมูลค่าของก๊าซในการจัดเก็บค่าภาคหลวงต่อไป ซึ่งมีบางท่านบอกว่ากรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะทราบปริมาณก๊าซธรรมชาติช้าไป 1 วัน อันนี้ไม่จริงด้วยประการทั้งปวง







ที่มา เลิกมโนว่าไม่มีมิเตอร์ดูการไหลของก๊าซจากหลุมปิโตรเลียม เครดิต น้องปอสาม

รู้แล้วจะอึ้ง สาเหตุที่มาเลเซียน้ำมันถูกกว่าไทย

รู้แล้วจะอึ้ง สาเหตุที่น้ำมันมาเลเซีย ถูกกว่าไทย ภาพนี้เป็นโครงสร้างราคาน้ำมัน ในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ระหว่าง เบนซิน 95 ของประเทศไทย กับ เบนซิน (RON) 95 ของประเทศมาเลเซีย ค่าเงิน 1 ริงกิต = 8.58 บาท

ที่มาภาพ น้องปอสาม


นโยบายการยกเลิกอุดหนุนราคาพลังงานที่มาเลเซียพยายามทำมาตั้งแต่ต้นปีตอนนี้น่าจะมีผลแล้วกับราคาน้ำมันในเดือนตุลาคม แต่ยังไงก็ตามยังคงไม่มีการเก็บภาษีในสินค้าประเภทเชื้อเพลิงทำให้ราคาต่างกับประเทศอื่น (ยกเว้น Ron 97 เก็บ 6% แต่ยังถือว่าต่ำสุดในอาเซียน)

ภาพนี้เป็นโครงสร้างราคาน้ำมัน ในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ระหว่าง เบนซิน 95 ของประเทศไทย กับ เบนซิน (RON) 95 ของประเทศมาเลเซีย ค่าเงิน 1 ริงกิต = 8.58 บาท

ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นฯ + ค่าการตลาด ของทั้งสองประเทศใกล้เคียงกันมาก โดยราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น + ค่าการตลาดของ เบนซิน 95 ตกลิตรละ 18.99 บาท (ยูโร4) ส่วนของ RON 95 มาเลเซีย ลิตรละ 17.60 บาท (ยูโร2)

สาเหตุที่เบนซิน 95 มีราคาที่สูงกว่าเนื่องจากคุณภาพน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 และผลของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ราคาหน้าโรงกลั่นฯ ของน้ำมันเบนซิน 95 ในไทย ลิตรละ 16.10 บาท รวมถึงคุณภาพน้ำมันของไทย (ยูโร 4) สูงกว่ามาเลเซีย (ยูโร 2) รวมไปถึงระยะทางการขนส่งน้ำมันจากสิงคโปร์มาไทย กับ สิงคโปร์ไปมาเลเซีย (MOPS is an acronym that stands for the Mean of Platts Singapore, which is the average of a set of Singapore-based oil product price assessments published by Platts สาเหตุที่ใช้ราคาที่สิงคโปร์เนื่องจากเป็นตลาดค้าน้ำมันใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียเราที่ประกาศโดย Platts)

ส่วนราคาขายปลีกนั้น เบนซิน 95 แพงกว่า อยู่ที่ลิตรละ 33.76 บาท เพราะรัฐจัดเก็บภาษีฯและกองทุนฯ เพิ่มเติมอีกลิตรละ 14.77 บาท ขณะที่ RON 95 มาเลเซีย ขายที่ราคาเดียวกับราคาหน้าโรงกลั่นฯ + ค่าการตลาดที่ลิตรละ 17.60 บาท (RM 2.05) เพราะรัฐไม่เก็บภาษีเลย ซึ่งก่อนหน้านั้นรัฐเคยเอางบประมาณไปอุดหนุนหรือช่วยจ่ายค่าน้ำมันบางส่วนให้อีกด้วย แต่ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว

ส่วนเรื่องมาตรฐานน้ำมัน Euro ก็สำคัญเนื่องจาก ไทยใช้ Euro4 เพราะ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเราแย่กว่าประเทศอื่น รวมไปถึงอีกปัจจัยคืออุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ทำให้แปรผันในส่วนการส่งออกรถยนต์ออกนอกประเทศ เนื่องจากหลายประเทศให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน

ทั้งหมดนี้ จึงเป็นสาเหตุที่ราคาน้ำมันขายปลีกทั้งสองประเทศแตกต่างกัน แต่ถ้าพิจารณาที่ตัวเนื้อน้ำมัน จะเห็นได้ว่าราคาไม่ได้แตกต่างกันมาก ที่ราคาขายปลีกต่างกันเพราะอัตราการจัดเก็บภาษีฯและกองทุนฯ
ปล. สาเหตุที่ไม่ได้แยกค่าการตลาดออกมาเพราะไม่มีข้อมูลค่าการตลาดของทางมาเลเซีย

เครดิตข้อมูล:
- สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน (www.eppo.go.th)
- paulton.org
- Petron
- Financial Times
- GST Malaysia
- Malaysia abolishes fuel subsidies
http://www.ft.com/…/240062/malaysia-abolishes-fuel-subsidies
- Ron95, Diesel and LPG to be exempted from GST , Budget 2015 GST Update
http://www.gstmalaysia.co/ron95-diesel-and-lpg-to-be-exe…/…/
- Harga Petrol RON95 RON97 Diesel Terkini Oktober 2015
http://www.hasrulhassan.com/…/harga-petrol-ron95-ron97-terk…
- Harga Minyak Petrol RON95 RON97 Diesel Terkini: Oktober 2015 ราคาเดือนตุลาคม 58 พร้อมเนื้อหาการเก็บภาษี GST ใน RON 97 6%
http://www.malaysiatercinta.com/…/harga-petrol-dan-diesel-t…
- การนำเข้าน้ำมันของมาเลเซียจากสิงคโปร์ และมาตรฐานน้ำมันของมาเลเซีย
http://www.platts.com/…/malaysia-to-import-50-ppm-97-ron-ga…
GST ภาษีระบบใหม่ "มาเลย์" ชดเชยรายได้ น้ำมัน-ส่งออก
http://on.fb.me/1RDXVDn
info Graphic การจัดเก็บภาษี GST ของมาเลเซีย
http://on.fb.me/1PckMHP
ที่มา โครงสร้างตัวอย่างจากคุณสิริวัฒน์ วิฑูรกิจวานิช
http://on.fb.me/1WYSIJs

ศาลอุทธรณ์ ยืนตามศาลชั้นต้น หม่อมกร หมิ่นกระทรวงพลังงาน ให้จำคุก 1 ปี ปรับ 3 หมื่น แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี

ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน ผิดโพสต์เฟซบุ๊กราคาขายน้ำมันดีเซล หมิ่นกระทรวงพลังงาน ปี 56 ให้จำคุก 1 ปี ปรับ 3 หมื่น แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี


ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง 63 วันที่ 15 พ.ย.59 เวลา 09.00 น. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขดำ อ.5418/2556 ที่กระทรวงพลังงาน มอบอำนาจให้ นายเอกศักดิ์ ญาโนทัย เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,332 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14

ตามฟ้องโจทก์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 8 ส.ค.56 ที่จำเลย ได้โพสข้อความในเฟซบุ๊ก " คุยกับหม่อมกร " ระบุถึงราคาขายน้ำมันดีเซล อันเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ต่อประชาชนหรือบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นบุคคลที่สามโดยการโฆษณา หรือด้วยวิธีใดๆโดยการนำเข้าสู้ระบบคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต ซึ่งการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำโดยการหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เหตุเกิดที่ทุกแขวง ทุกเขต กรุงเทพมหานครและทั่วประเทศ

คดีนี้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ไต่สวนมูลฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งรับฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 ส.ค.57 ต่อมาศาลมีคำพิพากษาวันที่ 1 ต.ค.58 ว่า จำเลย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 , พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 3 , 14 (1) ซึ่งเป็นความผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักสุด ฐานนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ จำคุก 1 ปีและปรับ 30,000 บาท จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรให้รอการลงโทษจำคุกมีกำหนดเวลา 2 ปี และให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาของศาลฉบับเต็ม ในหนังสือพิมพ์รายวันไทยโพสต์ , แนวหน้า , ไทยรัฐ , เดลินิวส์ , มติชน , ข่าวสดและกรุงเทพธุรกิจ เป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาทั้งหมด และให้จำเลยลบภาพกับข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์ในระบบคอมพิวเตอร์ผ่านโปรแกรมเฟซบุ๊ก ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของหน้าเพจ เว็บไซต์ชื่อว่า " คุยกับหม่อมกร " ถ้าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30

ต่อมา ม.ล.กรกสิวัฒน์จำเลย ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง ขณะที่กระทรวงพลังงาน โจทก์ ยื่นอุทธรณ์เช่นกัน ขอให้ศาลลงโทษจำเลยสถานหนัก

โดยนายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ ทนายความฝ่ายกระทรวงพลังงาน โจทก์ เปิดเผยว่า วันนี้ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นไว้

ที่มา http://www.nationtv.tv/main/content/social/378523725/
http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=119760&t=news

ศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุกนายศรัลย์ ธนากรภักดี เจ้าของ Facebook “ทวงคืนพลังงานไทย” ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกนายศรัลย์ ธนากรภักดี เจ้าของ facebook “ทวงคืนพลังงานไทย”และอื่นๆ เป็นเวลา 9 เดือน รอลงอาญา 2 ปี จากที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ฟ้องร้องเมื่อ 17 เมษายน 2557 และเพื่อให้จำเลยหลาบจำ จึงให้ลงโทษปรับจำเลยอีกจำนวน 30,000 บาท




--------------------------------------------------------------------------------------------

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ได้ยื่นฟ้องนายศรัลย์ ธนากรภักดี เจ้าของ facebook ทวงคืนพลังงานไทยและอื่นๆ ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1026/2557 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 (ซึ่งเป็นช่วงที่นายปิยสวัสดิ์ฯ ยังไม่ได้มาดำรงตำแหน่งกรรมการ ปตท.) ว่าจำเลยมีความผิดฐานนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และมีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญาฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

ศาลมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2558 ลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา จึงพิพากษาลดโทษ ลง 1 ใน 4 เหลือลงโทษจำคุก 9 เดือนไม่รอลงอาญา สรุปผลการพิพากษาได้ดังนี้
1.จำเลยมีความผิดฐานนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จตาม มาตรา 14(1) (5) ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
2. จำเลยกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามมาตรา 328 ประมวลกฎหมายอาญา โดยข้อความที่จำเลยโพสต์ทำให้คนอื่นเข้าใจว่าโจทก์ประพฤติชั่วหรือทุจริตในหน้าที่การงาน และมุ่งประสงค์ให้ร้ายทำลายชื่อเสียงของโจทก์ โดยจำเลยซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับสูงและประกอบอาชีพเป็นถึงวิศวกรควรจะพิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหมดเสียก่อน จึงไม่ใช่การแสดงความเห็นหรือข้อความโดยสุจริต จำเลยไม่อาจอ้างเหตุยกเว้นความรับผิดตามมาตรา 329 (3) ประมวลกฎหมายอาญาเพื่อปฏิเสธความผิดได้

จำเลยอุทธรณ์และเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ศาลได้อ่านคำอุทธรณ์คดีปิยสวัสดิ์ฟ้องศรัลย์ โดยมีรายละเอียดส่วนหนึ่ง ดังนี้

“คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของนายศรัลย์ว่าเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ข้อความที่มีการโพสต์และแชร์ในเพจ “ทวงคืนพลังงานไทย” เกี่ยวข้องกับการกระทำและพฤติกรรมของคุณปิยสวัสดิ์ ซึ่งนายศรัลย์โพสต์และแชร์ข้อความที่มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่ล่วงละเมิดสิทธิของคุณปิยสวัสดิ์ ประกอบกับเมื่อพิจารณารวมภาพถ่ายของคุณปิยสวัสดิ์และคุณอานิกมาประกอบกันแล้ว วิญญูชนโดยทั่วไปย่อมเข้าใจความหมายว่าคุณปิยสวัสดิ์และคุณอานิกฯเป็นคนไม่ดี มีพฤติกรรมชั่วร้าย สร้างความเสียหายให้บ้านเมือง ดังนั้นข้อความที่นายศรัลย์ฯ นำเข้าในเฟสบุ๊ครวมภาพถ่ายของคุณปิยสวัสดิ์ดังกล่าวจึงทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ส่วนที่นายศรัลย์ได้อุทธรณ์ว่าเป็นการติชม วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตนั้น ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาว่าการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวต้องไม่กระทบถึงสิทธิส่วนบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของคุณปิยสวัสดิ์และบุคคลในครอบครัวที่จะต้องได้รับความคุ้มครองด้วย มิใช่ว่านายศรัลย์จะแสดงความคิดเห็นอย่างไรก็ได้โดยไม่มีขอบเขต เมื่อการกระทำของจำเลยตามฟ้องทำให้คุณปิยสวัสดิ์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชังก็ย่อมเป็นความผิดตามที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษา”

แต่เมื่อไม่ปรากฎว่านายศรัลย์ฯ ได้รับโทษจำคุกมาก่อน ประกอบกับมูลเหตุของการกระทำผิดเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องนโยบายพลังงานแห่งชาติ และตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่ทำให้คุณปิยสวัสดิ์เสียหายมาก ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษให้แก่นายศรัลย์นั้นหนักเกินไป จึงเห็นสมควรรอการลงโทษให้แก่นายศรัลย์ แต่เพื่อให้นายศรัลย์หลาบจำเห็นสมควรลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับนายศรัลย์ 40,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำนวนหนึ่งในสี่แล้ว คงปรับ 30,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาให้นายศรัลย์ฟัง...”

ที่มา ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกนายศรัลย์ ธนากรภักดี เจ้าของ facebook “ทวงคืนพลังงานไทย”และอื่นๆ เป็นเวลา 9 เดือน รอลงอาญา 2 ปี จากที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ฟ้องร้องเมื่อ 17 เมษายน 2557 และเพื่อให้จำเลยหลาบจำ จึงให้ลงโทษปรับจำเลยอีกจำนวน 30,000 บาท