14 คำถาม ที่คนอวย คปพ. ต้องอ่าน

14 คำถาม (อ่านแล้วลองถามใจตัวเองดู) ที่คนอวย คปพ. ต้องอ่าน



1. สมาชิกคปพ.แต่ละคนมีวุฒิการศึกษาอะไรบ้าง? มีใครเรียนจบด้านปิโตรเลียมหรือไม่? เคยทำงานในเอกชน/ภาครัฐ/ภาคการศึกษา ด้านปิโตรเลียมโดยตรง? ประสบการณ์กี่ปี? เคยทำการสำรวจ ประเมินปริมาณสำรอง สร้างแท่น เจาะหลุม ควบคุมการผลิต ที่แหล่งใดบ้าง?

2. สมาชิกคปพ.เคยบอกว่าไทยมีแหล่งขนาดใหญ่กว่าซาอุฯ คือแหล่งไหน? มีปริมาณสำรองเท่าไหร่? ทำไมบริษัทน้ำมันและกระทรวงไม่รู้ข้อมูลนี้เลย? ทำไมคนที่รู้ไม่ผลิตขึ้นมาขาย?

3. ที่เคยเสนอให้ไทยยึดสัมปทานคืนมาทำเองจะได้ใช้น้ำมันถูกๆแบบเวเนซูเอล่า วันนี้ยังยืนยันหรือไม่? เขาประสบความสำเร็จอย่างไร? ตอนนี้เจริญรุ่งเรืองขนาดไหน?

4. ทรัพย์สินที่แท้จริงของแปลงสัมปทานคืออะไร? แท่นและหลุมที่มีอยู่ หรือปริมาณสำรองใต้ดิน? เมื่อก๊าซใต้ดินหมด เอาหลุมกับแท่นไปทำอะไรได้บ้าง? ขายได้ราคาหรือไม่?

5. คปพ.บอกว่าไทยมีปิโตรเลียมมาก รัฐเรียกเก็บส่วนแบ่งน้อย บริษัทน้ำมันกำไรเยอะ ทำไมบริษัทใหญ่ๆถอนตัวจากการสำรวจและผลิตในประเทศไทย? BP Shell BG ถอนไปแล้วและ Chevron ก็กำลังประกาศขายการลงทุน ทำไมเขาไม่อยู่ตักตวงผลประโยชน์จากประเทศไทย?

6. ที่เสนอระบบจ้างผลิต มีประเทศใดเคยทำแล้วบ้าง? ขอบเขตการจ้างคืออะไร? กับพื้นที่ใด? จ่ายค่าจ้างอย่างไร? มีเงื่อนไขการลงทุนเพิ่มอย่างไร? ใครเป็นผู้รับจ้าง? ปัจจุบันยังดำเนินการอยู่หรือไม่?

7. ราคาก๊าซที่อเมริกาถูกกว่าไทยมาก จะนำมาใช้ได้อย่างไร? มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? ทำสัญญาระยะยาวได้หรือไม่? ทำไมไม่มีใครนำเข้ามา?

8. ราคาก๊าซ LNG ตอนนี้ถูกกว่าก๊าซในอ่าวไทย เงินที่จ่ายเพื่อนำเข้ามีส่วนกลับมาไทยหรือไม่? ค่าซื้อก๊าซในอ่าวไทยคืนกลับมาเป็นค่าภาคหลวงและภาษีเท่าไหร่? เป็นการสร้างเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมสนับสนุนเท่าไหร่? เป็นการจ้างงานคนไทยเท่าไหร่? ตกลงนำเข้าหรือซื้อจากผู้ผลิตในประเทศดีกว่ากัน? ถ้าหยุดผลิตมีคนตกงานมากมาย จะให้เขามาขอเยียวยาจากคปพ.ดีไหม?

9. หากสัมปทานหมดอายุไม่มีความต่อเนื่องในการผลิต ก๊าซที่จะหายไปเป็นปีไหนบ้าง? ราคานำเข้า LNG มาทดแทนจะเป็นเท่าไหร่? ราคานำเข้า LNG สูงขึ้นจะทำอย่างไร? ค่าภาคหลวงและภาษีที่หายไปเกือบ 1 แสนล้านต่อปี จะหารายได้ที่ไหนมาแทน?

10. ตามแนวทางที่คปพ.เสนอ ถ้าไม่มีบริษัทรับจ้างผลิต เราจะทำอย่างไร? ถ้าไม่ลงทุนสร้างแท่นและเจาะหลุมเพิ่ม ทำยังไงจะผลิตต่อได้? เรามีอุปกรณ์ที่จะรับ LNG มากขนาดนั้นแล้วหรือยัง? ถ้าสร้างเพิ่ม ต้องลงทุนเท่าไหร่? ใช้เวลาเท่าไหร่? ถ้าสร้างคลังรับ LNG ไม่ทัน จะเอาก๊าซจากไหนมาแทน?

11. คปพ.ยกร่างพรบ.ปิโตรเลียม ตั้งตัวเองและพรรคพวกเข้าไปเป็นกรรมการกำกับกิจการปิโตรเลียมและกรรมการบรรษัทพลังงานแห่งชาติ มีอำนาจควบคุมและใช้จ่ายเงินรายได้จากทรัพยากรของชาติแบบเบ็ดเสร็จ เป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ชงเองกินเองหรือไม่? มีความรู้และประสบการณ์จากไหน? ได้รับเลือกตั้งหรือใครแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนภาคประชาชน?

12. คปพ.ขู่ไม่รับ รธน.หาก สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม มันเกี่ยวกันตรงไหน? เป็นการจับเอาร่างรัฐธรรมนูญเป็นตัวประกันใช่ไหม? เข้าข่ายผิดกม.ประชามติหรือไม่?

13. สมาชิกคปพ.ประกอบอาชีพอะไรบ้าง? มีรายได้เลี้ยงชีพอย่างไร? เคยแสดงทรัพย์สินต่อปปช.หรือสาธารณะหรือไม่? เคยสร้างผลงานและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอย่างไร? เคยถูกปลดหรืออกจากงานหรือไม่? ได้เงินทุนมาดำเนินการรณรงค์เรื่องต่างๆจากที่ใด?

14. สมาชิกคปพ.ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีใดบ้าง? เรื่องกำลังอยู่ในศาลกี่คดี? มีใครถูกตัดสินความผิดแล้วบ้าง? และถูกลงโทษอย่างไร?

ราคาก๊าซพม่า,มาเลเซีย 66 สต. เพ้อเจ้อ

สุดเพ้อเจ้อเรื่องราคาก๊าซธรรมชาติที่ขายให้มาเลเซีย 66 สต.



ก๊าซฯจากแหล่ง JDA (Joint Development Area) เป็นพื้นที่ทับซ้อน ที่ไทยกับมาเลเซียได้ตกลงร่วมกันพัฒนา โดยตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมาเป็นผู้พัฒนาหาประโยชน์จากแหล่งก๊าซฯในพื้นที่นั้น กำไร ผลผลิต หรือสิทธิประโยชน์ก็แบ่งเท่าๆ กันระหว่างไทยกับมาเลเซีย ทั้งไทยและมาเลเซียมีสิทธิที่จะซื้อก๊าซจากแหล่งนั้นตามที่ได้ตกลงกัน โดยมีโครงการวางท่อก๊าซมาขึ้นบกที่สงขลา ที่อำเภอจะนะ

ก๊าซธรรมชาติที่ว่าขายให้มาเลเซีย จึงเป็นก๊าซฯจากแหล่ง JDA นี้ ซึ่งไม่ใช่ของไทยซึ่งเป็นกรรมสิทธิร่วมกันจะเอาไปเปรียบเทียบกับก๊าซฯที่ประเทศไทยซื้อจากพม่า จากแหล่งเยนาดา เยตากุนไม่ได้ เพราะก๊าซฯ นั้นแม้ ปตท.สผ. จะได้ร่วมสำรวจและผลิต แต่ราคาก็ต้องเป็นราคาที่ตกลงกับรัฐบาลพม่า ดังนั้น คนที่มาพูดว่าไทยเราซื้อก๊าซจากแหล่งนี้มาแพง ถึงว่าเป็นการกล่าวหาที่เป็นเท็จ


เรื่องราคาที่มีการเข้าใจผิดว่า 66 สต. นั้น ยิ่งเป็นความมั่วโดยหาที่เปรียบไม่ได้ เพราะ ราคาก๊าซที่เราทำสัญญากับมาเลเซียในพื้นที่พัฒนาร่วมนี้ อยู่ที่***ราคาประมาณ 7.8 ดอลลาร์สหรัฐ/ล้านบีทียู (องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียได้เสนอร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย -มาเลเซีย ที่คณะกรรมการองค์กรร่วมไทย -มาเลเซียได้เห็นชอบแล้วในการประชุมองค์กรร่วมครั้งที่ 103 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2555 และได้มีการลงนามกำกับย่อ (Initial) โดยคู่สัญญาทุกรายเป็นที่เรียบร้อยแล้วเพื่อขอรับความเห็นชอบจากรัฐบาลไทย (พร้อมทั้งนำเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาลมาเลเซียด้วยเช่นกัน) อายุสัญญาจะเริ่มนับจากวันที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญาและจะสิ้นสุดเมื่อครบระยะเวลา 5 ปี 6 เดือน) ฉะนั้นแล้ว 66 สต. เป็นตัวเลขที่เอามาจากไหน?

***ส่วนก๊าซจากพม่าที่บอกว่ากิโลละ 12 บาท (คาดว่าสับสนหน่วย) น่าจะเป็นเข้าใจผิดเรื่องตัวเลขอีกเช่นเคย ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 11.54 ดอลล่าร์/ล้านบีทียู และเป็นราคาที่ทำสัญญาเจรจาซื้อขาย ระหว่าง 4 บริษัทในพื้นที่ของพม่า โดย ปตท.สผ. เป็นแค่หนึ่งในบริษัทร่วมลงทุนเท่านั้น

อนาคตก๊าซจากพม่าอาจลดน้อยลงเพราะพม่าหันไปทำสัญญาระยะยาวกับประเทศจีนอาจทำให้ไทย ตกอยู่ในสถานการณ์ขาดแคลนก๊าซ ทำให้ต้องนำเข้า LNG จากที่อื่นๆ เพิ่ม 16.42 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู (ประมาณ 542 บาทต่อล้านบีทียู) หรือเท่ากับ 26.2 บาท/กิโลกรัม ซึ่งจากแหล่งก๊าซในไทยอยู่ที่ประมาณ 8 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู (ประมาณ 264 บาทต่อล้านบีทียู) หรือเท่ากับ 12.77 บาท/กิโลกรัม ฉะนั้นตอนนี้เราก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำสัญญากับพม่า เพื่อให้ได้ก๊าซในราคาที่ถูกกว่านำเข้า LNG ที่ต้องขนส่งทางเรือทำให้มีต้นทุนสูงกว่า

และ ถ้ามีการเปรียบเทียบกับอเมริกา ยิ่งเพ้อเจ้อใหญ่ ก๊าซ Henry Hub 3 บาท ไม่ใช่ว่า จะได้ใช้ถูกๆ เพราะ

- ข้อมูลข้างต้นเป็นการนำราคาก๊าซธรรมชาติที่ไม่ใช่ราคาขายปลีกและยังไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายดำเนินการใดๆ มาเปรียบเทียบกับราคาขายปลีก NGV จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ การเปรียบเทียบควรเปรียบเทียบราคาขายปลีก NGV ด้วยกัน

- ราคาก๊าซ NGV ของสหรัฐฯ อเมริกาอยู่ที่ $2-2.5 ต่อ GGE (Gasoline-gallon equivalent เทียบเท่าแกลลอนของเบนซิน) ซึ่งเทียบเท่ากับราคา NGV ที่ประมาณ 27-34 บาท/กก. ราคาก๊าซ NGV ของเยอรมันปัจจุบันอยู่ที่ 0.9-1.1 ยูโร/กก. ซึ่งเท่ากับราคา NGV ที่ประมาณ 36-44 บาท/กก.



#JDA #THAI #MALAYSIA #LNG #NG #MYANMAR #ENERGY
------- JDA หรือ (Thailand – Malaysia Join Development Area, JDA) -------

พื้นที่พัฒนาร่วมไทย – มาเลเซีย (Thailand – Malaysia Join Development Area, JDA) มีพื้นที่ประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ในอ่าวไทยตอนใต้ ใกล้กับทะเลจีนใต้ เกิดขึ้นจากการประกาศพื้นที่เขตแดนของทั้งประเทศไทย และประเทศมาเลเซียที่มีพื้นที่ทับซ้อนกัน เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการใช้พื้นที่และทรัพยากร ในปี ค.ศ. 1991 รัฐบาลทั้งสองประเทศจึงประกาศให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมโดยตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาดูแล ได้แก่ Malaysia – Thailand Join Authority ( MTJA ) มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรในพื้นที่โดยให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับทั้งสองประเทศโดยเท่าเทียมกัน ในพื้นที่ JDA นี้ ได้แบ่งพื้นที่สัมปทาน สำรวจ และผลิตปิโตรเลียมออกเป็น 3 แปลงด้วยกัน ได้แก่ แปลง B – 17 ดำเนินงานโดยบริษัท Carigali - PTTEPI Operating Company (CPOC), แปลง A – 18 โดยบริษัท Carigali - Hess Operating Company (C – HESS) และแปลง C – 19 โดยบริษัท CPOC โดยก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง A – 18 ได้ถูกส่งไปยังโรงไฟฟ้าจะนะ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นอกจากนั้นยังถูกส่งไปที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ จะนะ ของบริษัท ทรานส์ ไทย – มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งแยกก๊าซธรรมชาติเป็นก๊าซ LPG และ NGL ซึ่งจะถูกส่งต่อไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซีย ก๊าซธรรมชาติจากแปลง A – 18 บางส่วน และก๊าซธรรมชาติจากแปลง B – 17 ได้ถูกจัดส่งเข้าท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลสายประทาน 3 ไปยังโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และถูกส่งไปยังโรงไฟฟ้าและลูกค้าต่างๆด้วยระบบท่อส่งก๊าซฯของ ปตท. (ขณะนี้ได้มีการดำเนินการแยก TPA ออกมา) สำหรับท่อส่งก๊าซฯในพื้นที่ JDA ทั้งหมด จะดำเนินงานโดยบริษัททรานส์ ไทย – มาเลเซีย จำกัด (TTM) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ปตท. (ปตท.สผ.) และปิโตรนาส ประเทศมาเลเซีย (PETRONAS) โดยมีอัตราส่วนการถือหุ้น 50 : 50 นอกจากการจัดส่งก๊าซฯทั้งสองจุดที่ได้กล่าวมาแล้วทางบริษัท TTM กำลังวางแผนเพื่อดำเนินการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จากแหล่ง JDA แปลง B – 17 ไปยังชายฝั่งเมือง Kertih ประเทศมาเลเซีย เพื่อรักษาสัดส่วนการใช้ ก๊าซฯจากแหล่ง JDA ให้มีความทัดเทียมกันทั้งสองประเทศอีกด้วย

ด่วน สนช. มีมติรับร่าง พรบ. ปิโตรเลียม และ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เรียบร้อยแล้วเป็นเอกฉันท์

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 39/2559 ประเด็น ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมและ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มีมติเป็นเอกฉันท์ ร่าง พรบ. ปิโตรเลียม และ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เรียบร้อยแล้ว

โดยร่าง พรบ.ปิโตรเลียม มีผู้เห็นด้วย 152 คน จาก 173 คน คิดเป็น 84%

ส่วนร่าง พรบ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มีผู้เห็นด้วย 154 คน จาก 173 คน คิดเป็น 89%



อย่าปล่อยให้ คปพ. มีอำนาจเหนือรัฐบาล

แชร์ให้ทั่ว บอกต่อในวงกว้าง พรบ.ปิโตรเลียม ฉบับใหม่ รัฐบาลทำตามเสียงของทุกภาคส่วนเป็นสำคัญ เว้นแต่ไม่ถูกจริตของ คปพ ที่จะยกตนเหนือรัฐบาล และ คปพ จะทำตัวเหนืออำนาจรัฐ

ล่าสุดมีการบอกด้วยว่า คปพ.ขู่ไม่รับ รธน.หาก สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม - นัด 24 มิ.ย.ล่าชื่อให้เกิน 1 หมื่น

ที่มา http://m.manager.co.th/Politics/detail/9590000062981

คปพ.บอกว่า ได้จัดทำร่างกฏหมายปิโตรเลียม ฉบับประชาชน (ต้องถามว่า คปพ.เป็นตัวแทนประชาชนทั้งประเทศตั้งแต่เมื่อไหร่ เรื่องนี้ สนช.ต้องไม่หลงกล วาทกรรมแอบอ้างเจตนารมณ์ประชาชน) ทั้งๆ ที่ การแก้ไขที่ผ่านมานั้น พรบ. ฉบับนี้ มีการหารือ และ แก้ไข รวมถึงเปิดรับฟังความเห็นในหลายเวทีแล้ว ได้แก่ สโมสรกองทัพบก รวมไปถึงที่ทำเนียบรัฐบาล

พรบ ปิโตรเลียม ฉบับใหม่ ไม่ฟังเสียงประชาชนจริงหรือ? (ยาว แต่อ่านเถอะ จะได้รู้ว่าเป็นยังไง) http://on.fb.me/1FYmUQj

ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2559 แก้ไขใหม่ http://on.fb.me/1QIyBcH

แต่การที่จะล่ารายชื่อประชาชนไม่น้อยกว่า10,000 คน เข้าชื่อ เพื่อเสนอร่าง ฉบับ คปพ. ให้สนช.พิจารณา (ถามว่า 10,000 คนนี่คือเสียงส่วนใหญ่ จะชี้นำคน63 ล้านคน ทั้งประเทศได้เลยหรือ) http://bit.ly/28OAAnx

ในส่วนการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ เข้าไปในร่างกฏหมายปิโตรเลียม (จะตั้งทำไมให้ซ้ำซ้อนเปลืองงบประมาณแผ่นดิน 10,000 ล้านบาท อะไรคือประสิทธิภาพ อะไรคือธรรมาภิบาล) นักวิชาการแนะนำด้วยซ้ำว่าไม่จำเป็น http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=707707

คปพ. อยากจะให้รัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียม ที่อยู่ใต้ดิน คือจ้างเขาขุดขึ้นมาให้รัฐขายเอง ขายได้แล้วค่อยมาจ่ายค่าจ้าง

(ถามว่า รัฐมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ในการค้าขายปิโตรเลียมหรือ ? จะขายราคาเท่าไหร่ จะจ่ายค่าจ้างเขาเท่าไหร่อย่างไร รัฐได้ประโยชน์มากกว่าเดิมจริงหรือ ถ้าผู้ซื้อคือ ปตท. รัฐจะขายถูกหรือขายแพง ถ้าขายถูก รัฐก็ได้ผลตอบแทนน้อย ถ้าขายแพง ประชาชนก็ได้ใช้พลังงานราคาแพง ดังนั้นที่ คปพ.บอกว่าจะให้รัฐได้ผลประโยชน์มากๆ ประชาชนได้ใช้น้ำมันก๊าซราคาถูก จึงเป็นเรื่องที่สวนทางกัน เที่ยวเอาเรื่องกรรมสิทธิ์ มาปลุกกระแสรักชาติ แล้วพามวลชนไปหลงทางกระนั้นหรือ) และที่สำคัญ ตามกฎหมายเดิม ปิโตรเลียมก็เป็นของรัฐอยู่แล้ว การจะกระทำการใดต้องได้รับอนุญาต แล้วควบคุมดูแลโดยรัฐ http://show.energy.go.th/faq_003.html

ที่มา สำนักข่าว INN, กระทรวงพลังงาน, energy guru, และ น้องปอสาม

ข้อดีข้อเสียบรรษัทพลังงานแห่งชาติ

การศึกษาเรื่องบริษัทน้ำมันแห่งชาติโดยธนาคารโลก พบว่า มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งนี้ท่านผู้อ่านต้องชั่งใจให้ดี ถึงอนาคต และ ความที่จะได้ และ เสีย

ที่มาภาพ น้องปอสาม

ข้อดี คือ ถ้ารัฐเป็นเจ้าของบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ภาครัฐจะได้ข้อมูลในการสำรวจมากขึ้น ซึ่งอาจจะเพิ่มส่วนแบ่งของรัฐได้ เนื่องจากรัฐลงทุนเอง และควบคุมการใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมได้ดีกว่า ส่วนข้อเสีย คือ ถ้าเป็นองค์กรที่มีอิทธิพลรัฐมากเกินไป อาจเกิดการควบคุมยากขึ้น หากรัฐไปควบคุมมากๆ การบริหารจัดการมีความคล่องตัว ซึ่งอาจจะไร้ประสิทธิภาพได้

สิ่งที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย คือ นักการเมืองจะไปหาประโยชน์ในทางที่ไม่ชอบจากองค์กร ซึ่งมีการใช้กำไรไปในทางที่ผิดด้วย และอาจมีการทุจริต (อันนี้ไม่ใช่หรือที่เกรงกลัวกัน ที่ต่อต้านกันมาตลอด ออกมาชุมนุมกันด้วยซ้ำ)

ข้อดี ถือกรรมสิทธิ์แทนรัฐแต่เพียงผู้เดียว

ข้อเสีย ทุนประเดิม 10,000 ล้านบาท และการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์ทรัพยากรปิโตรเลียม ซึ่งได้กำไรมาจากบรรษัทปิโตรเลียม

ปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดในประเทศไทย คือ ปัญหาธรรมาภิบาล และการส่งเสริมประชานิยมที่เกิดความเสียหายได้ รวมถึงบทบาทภาคประชาสังคมมีมากเกินไป (นี่ไม่ใช่หรือ ที่เกิดการแทรกแซงทางการเมือง ให้นักการเมืองเข้าไปหากินกันสบาย)

ประเทศที่มีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาลถือหุ้น 100% ซึ่งหลายประเทศที่มีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ

หรือจะทำให้ บรรษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นผู้ร้ายในคราบพระเอก???

บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ : ฤาจะเป็นผู้ร้ายในคราบพระเอก???

การพิจารณารายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514


โดยมีข้อเสนอที่สำคัญคือ การให้ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (National Oil Company) ให้มีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ดำเนินการเกี่ยวกับการให้สิทธิ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างเบ็ดเสร็จและครบวงจร คณะกรรมาธิการได้เสนอให้มีการตรากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ให้บรรษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวในการสำรวจและให้สิทธิเกี่ยวกับปิโตรเลียม ในการดำเนินการบริหารจัดการปิโตรเลียมและการบังคับบริษัทเอกชนในฐานะคู่สัญญา

นอกจากนั้นยังกำหนดให้บรรษัทน้ำมันแห่งชาติมีสภาพนิติบุคคลและมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เพื่อให้การบริหารจัดการสัญญาที่เกี่ยวกับปิโตรเลียมไม่อยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการพัสดุของส่วนราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ

บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ จะเป็นผู้ถือสิทธิทรัพยากรปิโตรเลียมแทนรัฐในการสำรวจและแสวงหาประโยชน์จากปิโตรเลียม ควบคุมดูแลระบบการสำรวจและแสวงหาประโยชน์ในปิโตรเลียมทั้งหลาย และมีหน้าที่ในการบริหารสัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้างผลิต

หากพิจารณาตามข้อเสนอดังกล่าว จะเห็นได้ว่าได้มีการรวมเอาบทบาทของทางราชการในฐานะผู้ให้สิทธิการสำรวจ ผู้กำกับดูแล และผู้ปฏิบัติการเอาไว้ในองค์กรเดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลและการจัดการที่ดี นอกจากนั้นองค์กรดังกล่าวยังเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติเป็นจำนวนเงินมากมายมหาศาล ปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านบาท


ที่มาภาพ น้องปอสาม

คำถามคือ การบริหารจัดการองค์กรดำเนินการอย่างไร โดยใคร ตรวจสอบอย่างไร มีความโปร่งใสแค่ไหน ที่มาของผู้บริหารเป็นอย่างไร ประสิทธิภาพขององค์กรจะวัดกันอย่างไร รายงานต่อใครและรับผิดชอบต่อใคร

ซึ่งผมเชื่อว่าในประวัติศาสตร์ของการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ องค์กรที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในตัวเองมากขนาดนี้ ใหญ่โตขนาดนี้ มีผลประโยชน์มากมายขนาดนี้ น่าจะยังไม่เคยมีมาก่อน และไม่น่าเชื่อว่าจะบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นี่พูดกันแค่เรื่องของการบริหารจัดการองค์กรเท่านั้นนะครับ ยังไม่ได้พูดกันถึงเรื่องของหลักการว่า การมีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติมาดูแลการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมของชาติเบ็ดเสร็จแบบนี้เป็นเรื่องเหมาะสมหรือไม่

จะทำให้เสียบรรยากาศการลงทุนและเกิดการผูกขาดโดยภาครัฐหรือไม่
ซึ่งในหลายประเทศพบว่า บรรษัทน้ำมันแห่งชาติบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ ประสบความล้มเหลว และเป็นบ่อเกิดของการคอร์รัปชัน

ดังนั้น ผมจึงวิตกว่าคณะกรรมาธิการพลังงาน สนช. กำลังจะเสนอให้มียักษ์ในตะเกียงวิเศษตัวใหม่ขึ้นมา ซึ่งถ้าบริหารหรือควบคุมไม่ดีก็จะสร้างปัญหาและผลเสียอย่างมหาศาลให้กับวงการพลังงานของประเทศ

จึงอยากเตือนให้ระวังให้ดี เพราะถ้าเผลอปล่อยยักษ์ตัวนี้ออกจากตะเกียงเมื่อไร แล้วมันไม่ยอมกลับเข้าไป

จะมาหาว่าผมไม่เตือนไม่ได้นะครับ!!!.

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/tpd/2188059

นักวิชาการมองสัมปทานปิโตรฯต้องผลิตต่อเนื่อง บรรษัทพลังงานแห่งชาติไม่จำเป็น

นักวิชาการแนะรัฐบาลเร่งต่ออายุสัมปทานที่กำลังหมดอายุลงในปี 2565-2566 หวั่นล่าช้ากระทบความมั่นคงด้านพลังงาน

ขอบคุณภาพจาก INN

วันนี้ (22มิ.ย.59) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในงานสัมมนาให้ความรู้สื่อมวลชน หัวข้อ “ผลกระทบและทางออกสัมปทานปิโตรเลียมหมดอายุ” ซึ่งจัดขึ้นโดย สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ นักวิชาการด้านพลังงาน ได้เสนอให้ภาครัฐเร่งต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม ที่กำลังหมดอายุลงในปี 2565 -2566 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการผลิต เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในหลายอุตสาหกรรม และเป็นหัวใจหลักของพลังงานไทย

ด้านนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยร้อยละ 60 มาจากแหล่งสัมปทานในอ่าวไทยที่กำลังจะหมดอายุ ดังนั้น หากการผลิตไม่ต่อเนื่องจะส่งผลต่อความมั่นคงด้านพลังงานที่ผ่านมา ภาครัฐจึงได้อนุมัติให้สร้างคลัง แอลเอ็นจี เพิ่ม เพื่อรองรับการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีในอนาคต หากการเปิดประมูลสัมปทานรอบใหม่ล่าช้า

นายธิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า อุตสาหกรรมต้นน้ำการผลิตก๊าซธรรมชาติ มีความจำเป็นสำหรับประเทศไทยที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยแนวทางในการต่ออายุเป็นรูปแบบใดนั้น ไม่สำคัญเท่ากับการผลิตที่ต่อเนื่อง และเพียงพอต่อความต้องการ การให้ผลตอบแทนรัฐ ไม่จำเป็นเท่ากับการมีทรัพยากรที่เพียงพอกับการนำไปใช้

อย่างไรก็ตาม มองว่าการตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติ อาจไม่จำเป็น เพราะจะมีภาระต้นทุนโดยไม่มีรายได้ เพราะประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติเพื่อการส่งออกน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าของ จึงไม่จำเป็นต้องมีบริษัทน้ำมันแห่งชาติ

ทั้งนี้ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย สร้างรายได้ให้กับประเทศกว่า 600,000 ล้านบาทต่อปี หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6 ต่อจีดีพี หากก๊าซในอ่าวไทยมีปริมาณลดลงจะเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมี ดังนั้นบริษัทในเครือปตท. จึงเร่งศึกษาการนำแนฟทาแคล็กเกอร์ มาใช้ทดแทน ได้แก่ ก๊าซ แอลเอ็นจี น้ำมันเตา และ น้ำมันดีเซล ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าแพงขึ้น และส่งผลต่อราคาไฟฟ้าของประเทศ
ทั้งนี้ แหล่งสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุในปี 2565-2566 ทั้งเอราวัณ และบงกช จะมีกำลังการผลิตลดลงเนื่องจากผู้รับสัมปทานรายเดิมจะไม่มีการลงทุนเพิ่ม เพราะไม่คุ้มทุน ดังนั้นในปี 2564 จะเป็นช่วงที่มีความสุ่มเสี่ยงด้านความมั่นคงทางไฟฟ้า หากไม่สามารถเปิดประมูลสัมปทานต่ออายุสัมปทานได้ภายในปีหน้า

ที่มา สำนักข่าว, INN TNN24


คุณจะอึ้งเมื่อได้เห็นราคาน้ำมันของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ

น้ำมันของไทย มีทั้งเบนซิน และ โซฮอล์ ลองดูเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ลองเลื่อนลงไปดู คุณจะได้กระจ่าง
เลื่อนลงไป


เลื่อนลงไป


เลื่อนลงไป


เลื่อนลงไป


เลื่อนลงไป



เลื่อนลงมาจนสุดแล้วอึ้งหรือไม่ อึ้งใช่ป่ะ

ว่าไทยไม่ได้แพงกว่าประเทศอื่นตามที่มีการโพสต์ใน Social Media ดังนั้น แล้วอย่าเป็นเหยื่อการโพสต์อะไรแบบนี้อีก

ที่ถูกต้องคือราคาน้ำมันของไทย จะถูกหรือแพง มันขึ้นอยู่กลับว่าจะเอาไปเทียบกับประเทศไหน ถ้าเทียบกับสิงคโปร์ ไทยก็ถูกกว่า แต่ถ้าเทียบกลับมาเลเซีย ไทยก็แพงกว่า ที่เป็นเช่นนั้น เพราะโครงสร้างราคา มีการบวกเพิ่มค่าใช้จ่ายต่างๆเข้าไปด้วยนอกเหนือจากต้นทุนของเนื้อน้ำมัน หลักๆก็คือภาษี และกองทุนน้ำมัน มาเลเซียนั้นรัฐเอารายได้จากการส่งออกน้ำมัน มาอุดหนุนราคาในประเทศ ราคาขายก็เลยถูกกว่า ส่วนไทยเป็นประเทศผู้นำเข้า เพราะผลิตได้เองไม่พอกับที่ใช้ รัฐเลยต้องเก็บภาษี มีน้ำมันบางตัวที่รัฐเข้าไปอุดหนุน อย่างE85

ดังนั้นราคาน้ำมัน หรือ การทวงคืน ไม่ได้เกี่ยวกับ ปตท. และการตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ จึงไม่ได้ทำให้ราคาน้ำมันถูกลง ยกเว้นว่า รัฐจะเอารายได้จากส่วนอื่น มาอุดหนุน ซึ่งดูแล้วจะสร้างภาระให้กับประเทศมหาศาล

การส่งออกน้ำมันดิบของไทยไม่ได้มีใครโกหกใคร

ความจริงแล้ว เรื่องนี้ได้มีการชี้แจงและอธิบายกันหลายครั้งแล้ว ทั้งจากทางราชการ ผู้ประกอบการ และนักวิชาการที่มีความเข้าใจในธุรกิจปิโตรเลียมอย่างแท้จริง แต่เนื่องจากเป็นเรื่องทางเทคนิคของธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และธุรกิจการกลั่นน้ำมัน จึงเป็นเรื่องที่อาจเข้าใจยาก และต้องทำความเข้าใจกันบ่อยๆ อยู่สักหน่อย



ธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมและธุรกิจการกลั่นน้ำมัน เป็นธุรกิจสากลที่มีมาตรฐานการปฏิบัติเหมือนกันทั่วโลก นั่นคือน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแต่ละแหล่งนั้น มีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะอยู่ใกล้กันก็ตาม และโรงกลั่นแต่ละโรงนั้น ก็ได้รับการออกแบบให้กลั่นน้ำมันที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าจะกลั่นน้ำมันดิบที่มีคุณภาพแตกต่างกันมากๆ และกลั่นน้ำมันดิบได้ทุกชนิด โรงกลั่นฯจะต้องลงทุนในการปรับปรุงกระบวนการกลั่นและติดตั้งอุปกรณ์เป็นเงินสูงมาก ซึ่งอาจไม่จำเป็นและไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ตลอดจนน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นก็ต้องคัดเลือกชนิดที่ตรงกับความต้องการของตลาดและกลั่นแล้วได้ประสิทธิภาพสูงสุด คือได้น้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดต้องการในปริมาณที่ดีที่สุด และได้รับผลตอบแทนสูงสุด (high yield/high return)

ดังนั้น โรงกลั่นฯในยุโรปและสหรัฐอเมริกา จึงได้รับการออกแบบให้กลั่นน้ำมันดิบชนิดเบา กำมะถันต่ำ หรือที่เรียกว่า Light Sweet Crude เพราะกลั่นแล้วได้น้ำมันเบนซินเยอะ แต่ดีเซลน้อย ซึ่งตรงกับปริมาณการใช้เพราะประเทศแถบนี้ใช้น้ำมันเบนซินมากกว่าดีเซล และอาจติดตั้งอุปกรณ์ในการกำจัดโลหะหนักไว้ตั้งแต่แรก

ที่มา คุยเฟื่องเรื่องพลังงาน

ในขณะที่โรงกลั่นฯในแถบเอเชีย มักจะได้รับการออกแบบให้กลั่นน้ำมันดิบจากตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นน้ำมันดิบชนิดคุณภาพปานกลาง หรือที่เรียกว่า Medium Light Crude ซึ่งกลั่นแล้วได้น้ำมันดีเซลเยอะกว่าเบนซิน ซึ่งตรงกับปริมาณการใช้ในภูมิภาคนี้ที่ใช้ดีเซลมากกว่าเบนซิน และไม่จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ในการกำจัดโลหะหนัก เพราะน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางชนิดที่โรงกลั่นแถบนี้นิยมใช้ไม่มีโลหะหนักผสมอยู่ หรือถ้ามีก็มีในปริมาณที่น้อยมาก

ดังนั้น ถ้าประเทศใดผู้ประกอบการขุดพบน้ำมันดิบที่ไม่ตรงกับความต้องการของโรงกลั่นฯ ในประเทศ แต่เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการก็คือ ส่งออกน้ำมันดิบชนิดนั้นไปขายต่างประเทศ ซึ่งก็เป็นการดีสำหรับประเทศชาติและรัฐบาลด้วย เพราะทำให้ประเทศมีรายได้จากการส่งออก และรัฐบาลก็เก็บค่าภาคหลวงและภาษี ได้สูงกว่าบังคับให้ผู้ประกอบการขายให้โรงกลั่นฯในประเทศ เพราะในเมื่อน้ำมันดิบมีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่โรงกลั่นฯอยากได้ โรงกลั่นฯก็ต้องรับซื้อในราคาถูก ซึ่งจะทำให้รัฐมีรายได้น้อยลง เพราะค่าภาคหลวงและภาษีเก็บเป็นร้อยละของราคาขายและกำไร
ซึ่งเรื่องแบบนี้เขาก็ทำกันทั่วโลกครับ แม้แต่ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่มีผู้ชอบหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างอยู่เรื่อยๆ เขาก็มีการส่งออกน้ำมันดิบคุณภาพดี แต่ไม่เหมาะสมกับใช้กลั่นในประเทศออกไปขายต่างประเทศ แล้วนำเข้าน้ำมันดิบที่มีคุณภาพเหมาะสมกับโรงกลั่นฯเข้ามากลั่นแทน ก็ไม่เห็นที่ไหนจะมีปัญหาเหมือนกับประเทศไทยเลย (ประเทศไทยเราใช้ดีเซลเยอะกว่าชนิดอื่น จึงต้องนำเข้าน้ำมันมากลั่นเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ในประเทศ)



น้ำมันดิบที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ (95%) ก็ส่งให้โรงกลั่นฯในประเทศหมด ปริมาณส่งออกมีน้อยมาก (ประมาณ 5% เท่านั้น) และน้ำมันดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศก็ไม่ได้มีราคาแพงกว่า เพราะเป็นน้ำมันดิบคนละชนิดกันกับที่ส่งออก (อาจจะถูกกว่าด้วยซ้ำไป)

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการบริหารจัดการน้ำมันดิบให้เหมาะสมกับโรงกลั่นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามความต้องการใช้ภายในประเทศ โดยสมมุติให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบมีค่าเฉลี่ยเป็นไปตามสมมุติฐานแล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ 1 สมมุติให้นำเข้าน้ำมันดิบชนิดที่ 1 เพียงชนิดเดียว มากลั่นจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำมันดีเซลร้อยละ 41 ได้น้ำมันเบนซินร้อยละ 19 และที่เหลือเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ดังแสดงในรูปตาราง การนำเข้าน้ำมันมากลั่นนี้เพื่อสนองความต้องการใช้น้ำมันดีเซลภายในประเทศเป็นหลัก คือ ประมาณ 352,000 บาร์เรลต่อวัน หรือ 56 ล้านลิตรต่อวัน โดยต้องนำเข้าน้ำมันดิบชนิดนี้ประมาณ 858,537 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเมื่อกลั่นแล้วจะได้น้ำมันดีเซลพอดีความต้องการใช้ แต่ต้องส่งออกน้ำมันเบนซินอีกกว่า 5 ล้านลิตรต่อวัน เพราะกลั่นได้เกินความต้องการ และต้องนำเข้าน้ำมันเครื่องบินอีก 1.5 ล้านลิตรต่อวัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้..เป็นต้น

จากตัวอย่างดังกล่าว จะพบว่า แม้ความต้องการน้ำมันดีเซลภายในประเทศมีเพียง 352,000 บาร์เรลต่อวัน หรือ 56 ล้านลิตรต่อวัน แต่ต้องนำน้ำมันดิบชนิดที่ 1 เข้ามากลั่นมีปริมาณสูงกว่า 8 แสนบาร์เรลต่อวัน

ในกรณีที่ 2 สมมุติให้นำเข้าน้ำมันดิบชนิดที่ 2 ซึ่งกลั่นแล้วได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำมันดีเซลร้อยละ 33.5 ได้น้ำมันเบนซินร้อยละ 25.5 และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ดังแสดงในรูป การนำเข้าน้ำมันมากลั่นนี้เพื่อสนองความต้องการใช้น้ำมันดีเซลเป็นหลัก คือ ประมาณ 352,000 บาร์เรลต่อวัน หรือ 56 ล้านลิตรต่อวัน โดยต้องนำเข้าน้ำมันดิบชนิดนี้ประมาณ 1,050,476 บาร์เรลต่อวัน และเมื่อกลั่นแล้วจะได้น้ำมันดีเซลพอดีความต้องการใช้ แต่ต้องส่งออกน้ำมันเบนซินและน้ำมันเครื่องบิน อีก 22 และ 4.2 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ เพราะกลั่นได้เกินความต้องการใช้

จากตัวอย่างดังกล่าว จะพบว่า เพื่อสนองความต้องการใช้น้ำมันดีเซลภายในประเทศ 352,000 บาร์เรลต่อวัน หรือ 56 ล้านลิตรต่อวัน แต่ต้องนำน้ำมันดิบชนิดที่ 2 เข้ามากลั่นมีปริมาณสูงถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน        

ในกรณีที่ 3 สมมุติให้นำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า 1 ชนิด คือนำเข้าน้ำมันดิบชนิดที่ 1 และ 2 ตามที่กล่าวไปแล้ว โดยนำเข้าน้ำมันชนิดที่ 1 ประมาณ 750,000 บาร์เรลต่อวัน และชนิดที่ 2 อีก 100,000 บาร์เรลต่อวัน จะได้ผลิตภัณฑ์รวมกันตามรูปตาราง ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำมันดีเซลและเบนซินเกินความต้องการใช้ แต่ต้องนำเข้าน้ำมันเครืองบิน รายละเอียดตามรูป

กรณีต่างๆ นี้ เป็นเพียงตัวอย่างที่นำมาประกอบให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เรื่องการบริหารจัดการน้ำมันให้มีความเหมาะสมกับโรงกลั่นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการใช้ภายในประเทศให้ได้มากที่สุด แต่เอาเข้าจริงๆ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่เกี่ยวข้อง เช่น แหล่งที่มาของน้ำมันที่หลากหลาย ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้ ความสามารถและประสิทธิภาพในการกลั่นของแต่ละโรง ระยะเวลานำเข้า ส่งออก สต๊อกน้ำมันดิบ สต๊อกน้ำมันสุก ความต้องการใช้รายวัน ราคา กำไร และ อื่นๆ ซึ่งมันไม่ได้ง่ายเหมือนการนำเอาตัวเลขการใช้น้ำมันสุก ตัวเลขการผลิตและการนำเข้าน้ำมันดิบมาบวกลบกันตรงๆ ได้ อย่างที่หลายท่านเข้าใจกัน ทำให้เกิดความสงสัยในเรื่องปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่มากเกินความจำเป็น และการบริหารจัดการของโรงกลั่นให้ได้น้ำมันสำเร็จรูปพอดีกับความต้องการในแต่ละวัน คงไม่สามารถทำได้ จึงต้องมีการนำเข้าและส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปตามความเหมาะสมในช่วงเวลานั้นๆ

ความเป็นมา พรบ ปิโตรเลียม ของไทย ที่ไม่ได้มาจากชาวต่างชาติ

เรื่อง “สัมปทานปิโตรเลียม-พ.ร.บ.ปิโตรเลียม” นั้น ในไทยตอนนี้ยังเป็นอีกเรื่องที่ดูจะอึมครึม? ต้องตามดูว่าจะอย่างไรแน่? อย่างไรก็ตาม ย้อนดู ’ความเป็นมา พ.ร.บ.ปิโตรเลียมของไทย“ ก็มีแง่มุมที่น่าคิด...



ทั้งนี้ การบุกเบิกสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในไทยนั้น ประคอง พลหาญ คือหนึ่งในผู้ที่มีส่วนสำคัญ โดยเคยเป็นข้าราชการที่ทำงานเรื่องนี้ ซึ่งบุคคลผู้นี้เป็น 1 ใน 3 คนไทยที่ได้ทุนสหภาพโซเวียตไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยมอสโก โดยจบปริญญาตรีและโท ด้านธรณีวิทยา-ปิโตรเลียม จบเทียบเท่าปริญญาเอกด้านเคมี-ปิโตรเลียม เคยเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรียุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และเคยเป็นอนุกรรมการ ป.ป.ช.ด้วย

เมื่อบุคคลผู้นี้เรียนจบจากมอสโก พจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติในขณะนั้น ได้มอบหมายให้ทำเรื่องกฎหมายปิโตรเลียม สัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม ...นี่เป็นจุดเริ่ม “พ.ร.บ.ปิโตรเลียม” ในไทย...

ในปี 2507 เริ่มมีบริษัทน้ำมันสนใจขอสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในไทย ซึ่งกระทรวงพัฒนาการฯ ต้นสังกัดกรมทรัพยากรธรณีที่ ประคอง ทำงานอยู่ เห็นว่าควรประกาศให้บริษัทต่าง ๆ แข่งขันกัน โดยมี กติกาที่เป็นสากล จึงตั้งคณะกรรมการวางหลักเกณฑ์ขอสำรวจ โดยมี รมว.พัฒนาการฯ เป็นประธาน ซึ่งได้จัดทำหลักเกณฑ์ขึ้นโดยศึกษากฎหมายปิโตรเลียมในประเทศอื่น ๆ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ได้เห็นชอบในเดือน ก.ย. 2508

ต่อมาคณะกรรมการฯ เห็นว่าควรมีรายละเอียดเพิ่ม เช่น การคิดมูลค่าที่ใช้เก็บค่าภาคหลวง-ภาษีเงินได้ การแบ่งผลประโยชน์ระหว่างรัฐกับผู้ประกอบการ ทางกระทรวงพัฒนาการฯจึงขออนุมัติ ครม. และได้รับอนุมัติในเดือน เม.ย. 2509 ให้จ้างบริษัทจากสวิตเซอร์แลนด์ เป็นที่ปรึกษากำหนดรายละเอียดร่วมกับคณะกรรมการฯ

จนเป็นที่มา “พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514”

นอกจากนี้ กรมทรัพยากรธรณีได้ขอผู้เชี่ยวชาญจากกรมสรรพากร กรมอุทกศาสตร์ ได้รวมคนเก่งหลายสาขาร่างเงื่อนไข “สัมปทานปิโตรเลียม” ที่รัฐได้ผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมมากที่สุด ขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกเอกชน ดึงดูดให้ต่างชาติสนใจลงทุน และยอมรับความเสี่ยงกรณีที่สำรวจไม่พบปิโตรเลียม

“มีการแบ่งแปลงพื้นที่สำรวจ... พื้นที่แปลงสำรวจที่เปิดให้สัมปทานส่วนใหญ่อยู่ในอ่าวไทย ซึ่งรอบแรกที่เปิดประมูลสัมปทาน มีบริษัทต่างชาติที่ได้รับสัมปทาน 6 บริษัท...” ...ทาง ประคอง ให้ข้อมูลไว้ ซึ่งในช่วงแรก ๆ ของการขุดสำรวจปิโตรเลียมในไทยนั้น จะเน้นที่การค้นหา น้ำมัน เป็นหลัก จะไม่ค่อยได้สนใจ ก๊าซธรรมชาติ

ด้วยเหตุนี้จึงมีการเผาก๊าซทิ้งเสียของไปมาก ซึ่ง ประคอง ได้เสนอการไฟฟ้าให้รับซื้อก๊าซเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า หรือนำไปเป็นก๊าซหุงต้มขายให้ประชาชนใช้ในราคาถูก และภายหลังก็มีการสร้างท่อก๊าซจากอ่าวไทยมาที่โรงแยกก๊าซบนบก มีการตั้ง องค์กรก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย รับซื้อก๊าซผลิตไฟฟ้า และบรรจุถังเป็น LPG ขาย โดยต่อมาองค์กรนี้ได้ยุบรวมตั้งเป็น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. ในปี 2521

ทั้งนี้ หลังเปิดสัมปทานครั้งแรก ก็ ทำให้ไทยเข้าสู่ยุคโชติช่วงชัชวาล มีก๊าซผลิตไฟฟ้า มีก๊าซหุงต้มราคาถูก และ เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านปิโตรเคมี อย่างก้าวกระโดด นำสู่โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด แหล่งนิคมอุตสาหกรรม เช่น นิคมฯมาตาบพุด นิคมฯระยอง ที่ปัจจุบันมีมูลค่าส่งออกสินค้าหลายล้านล้านบาท

สำหรับกองงานที่ ประคอง พลหาญ รับผิดชอบ ก็พัฒนาขึ้น โดยแยกออกเป็นกองเชื้อเพลิงธรรมชาติ ปัจจุบันได้ยกระดับเป็นกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ขณะที่บุคคลผู้นี้ก็ยังมีบทบาทในฐานะอาจารย์ วางรากฐานการสร้างบุคลากรด้านเชื้อเพลิงธรรมชาติ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาเหมืองแร่ และปิโตรเลียม, คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นผู้จดทะเบียน สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย เพื่อให้ความรู้ วิชาการ ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพธรณีวิทยา

ประคอง เล่าไว้ว่า... ยุคนั้นก็มีการพิจารณาระบบอื่น เช่น แบ่งปันผลผลิต แต่เมื่อศึกษา-ดูเหตุผลต่าง ๆ ในช่วงนั้น ก็พบว่าสัมปทานเป็นระบบที่เหมาะสมที่สุด เพราะ รัฐไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องเสี่ยง และเป็นการดึงดูดต่างชาติมาลงทุน เกิดการใช้จ่าย จ้างงาน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และยังมีการนำเข้าและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่คนไทย โดยมีเพียงเงื่อนไขสำคัญคือ รัฐบาล ภาครัฐ ดูแลควบคุมบริษัทที่ได้สัมปทานให้ดำเนินการอย่างถูกต้อง

ส่วนการสำรวจปริมาณปิโตรเลียมสำรองในการเปิดสัมปทานรอบต่อไป กองเชื้อเพลิงธรรมชาติในช่วงนั้นได้ว่าจ้างบริษัทสำรวจรวมข้อมูลจากบริษัทต่าง ๆ ที่ได้สัมปทาน ซึ่งเบื้องต้นพบว่าปริมาณสำรองปิโตรเลียมของไทยนั้นมีไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นแหล่งก๊าซมากกว่าน้ำมัน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ หากเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ กระตุ้นให้มีการค้นหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ ก็อาจจะพบปริมาณสำรองที่มากขึ้น

ทั้งนี้ ต่าง ๆ เหล่านี้ก็น่าจะบ่งชี้ว่า... "พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514" มิใช่กฎหมายที่กำเนิดจากการกะเกณฑ์โดยต่างชาติ มิใช่ใบเบิกทางให้ต่างชาติเข้ามาปล้นทรัพยากรหรือผลประโยชน์ในประเทศไทย เป็น พ.ร.บ.ที่ตัดสายสะดือทำคลอดโดยคนไทย เพื่อผลประโยชน์ไทย แล้วผ่านการแก้ไขจนทันสมัย...
เป็น ’กติกาสากล“ ที่ยอมรับกันทั่วโลก!!.

ที่มา เดลินิวส์

โยงทักษิณกับสัมปทานพลังงานไทยสุดเพ้อเจ้อ

ฮือฮา! บริษัทน้ำมันอาบู ดาบี นำโดย “CEO ทีมแมนฯซิตี” จับมือนักลงทุนสิงคโปร์  คว้าสิทธิ์พัฒนาแหล่งน้ำมัน “นงเยาว์” กลางอ่าวไทยhttp://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000005299เปิดหลักฐานขายชาติ! แม้วเอื้อ บ.เพื่อนในอาบูดาบี ฮุบแหล่งน้ำมันอ่าวไทยhttp://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000005429สัมปทานปิโตรเลียมไทย บนอาคารชินวัตร!http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?newsid=9570000006998

มีหลายประเด็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง แต่ในบทความนี้ จะขอนำข้อเท็จจริง หลักการ การให้สัมปทาน ที่มาที่ไป และภาพการลงทุน ของ แหล่งนงเยาว์ มาแสดงไว้ให้พิจารณา พอสังเขป ว่าบริษัทที่จะมาฮุบนั้น ยังมีความเสี่ยงอยู่มากน้อยแค่ไหน เข้ามาเอาประโยชน์ฝ่ายเดียว หรือ ทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ไปด้วย



ข้อเท็จจริงอีกด้าน ของแหล่งนงเยาว์

การให้สัมปทานปิโตรเลียม เพื่อเปิดโอกาสให้ บริษัทน้ำมันทั้งไทยและต่างชาติ ที่มีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนสำรวจหาปิโตรเลียมในประเทศไทย โดยแบกรับความเสี่ยงฝ่ายเดียว ตามกฎ กติกา ภายใต้ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2532 (Thailand III) บริษัทที่จะเข้ามารับสัมปทานได้ต้องมีคุณสมบัติและผ่านขั้นตอนการประมูลเนื้องาน คือ เสนอปริมาณงานสำรวจและเงินลงทุนที่จะใช้ บริษัทไหนเสนอมามากกว่าอย่างมีเหตุผล จะได้รับการคัดเลือก ออกสัมปทานให้ ไม่ได้วัดกันที่ความสวยความงาม ดังที่เป็นข่าวในบทความตามลิงค์ข้างต้น

เมื่อได้รับสัมปทานไปแล้ว บริษัทมีหน้าที่ต้องทำตามงานที่ได้เสนอไว้ หรือ เรียกว่า ข้อผูกพัน และต้องนำเงินมาประกันตามจำนวนที่ได้เสนอไว้ กรณีไม่ทำตามข้อผูกพันเงินประกัน(ในช่วง 3 ปีแรก)ดังกล่าวจะตกเป็นของรัฐ... ในช่วงเริ่มต้นสำรวอจจะแบ่งเป็น 2 ช่วงๆละ 3 ปี และต่อได้อีก 3 ปี (3+3+3) ในทุกแปลงสำรวจที่ออกภายใต้ พรบ.ฉบับนี้ จะเหมือนกัน ดังเช่น แปลงที่ตกเป็นข่าว คือ แปลง G1/48 ,G2/48 ,G3/48 ,G6/48 ,G10/48 และ G11/48 ออกให้ผู้รับสัมปทานไปในรอบที่ 19 ส่วนแปลง L21/50 ,L52/50 และ L53/50 ออกให้ผู้รับสัมปทานไปในรอบที่ 20 แปลงดังกล่าวนี้อยู่ในช่วงของการสำรวจและได้มีการลงทุนไปหลายหมื่นล้านบาท ยังไม่พบปิโตรเลียม มีเพียง 2 แปลง คือ แปลง G1/48 และ G11/48 ที่กำลังเป็นข่าวว่ามีการสำรวจพบ และกำลังจะพัฒนาเป็นแหล่ง มโนราห์ และ นงเยาว์ ตามข่าว ส่วนแปลงอื่นๆ ถ้าหมดช่วงสำรวจยังสำรวจไม่พบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ ต้องคืนแปลงกลับมาให้รัฐ

ในช่วงระยะเวลาสำรวจนั้น การเปลี่ยนแปลงผู้ลงทุน หรือสัดส่วนผู้ร่วมลงทุน สามารถทำได้ เป็นเรื่องทางธุรกิจทั่วไป เป็นการระดมเงินทุนและกระจายความเสี่ยง หรือจะซื้อขาย ควบรวมกิจการกัน ก็ทำได้ภายใต้ข้อกฎหมาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบต่อ สิทธิและหน้าที่ของผู้รับสัมปทานตามสัญญาสัมปทาน และ จะต้องดำเนินงานสำรวจตามข้อผูกพันต่อไปตามที่ได้เสนอไว้ (การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ลงทุน ต้องผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานรัฐตามขั้นตอนของกฎหมาย) ดังนั้น การเข้ามาของบริษัทดังกล่าว ไม่ว่าจะเข้ามาในรัฐบาลไหน คงไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร เพราะเป็นเรื่องปกติถ้ามันเป็นไปตาม กฎระเบียบตามข้อกฎหมายที่สามารถทำได้ ถือว่าเข้ามาอย่างถูกต้องชอบธรรม

ตัวอย่าง ภาพการดำเนินงานที่ผ่านมาและแผนในอนาคต ของแปลง G11/48



การนำเสนอในทำนองว่า มีการเข้ามา ฮุบสัมปทานแหล่ง นงเยาว์ อาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดได้ว่า มีการเอื้อประโยชน์ หรือ รัฐขายหรือปล่อยให้มีการเข้ามาขุดสูบน้ำมันดิบออกไป แต่ในความเป็นจริง มันเป็นเรื่องทางธุรกิจตามที่ได้กล่าวแล้ว และการได้มาของแปลงดังกล่าวมีขั้นตอนมาโดยลำดับ ผ่านมา 7 ปี แล้ว มีการลงทุนสำรวจไปแล้วมากมาย คือ สำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน แบบ 2 และ 3 มิติ ในช่วงปี 50-52 เจาะหลุมสำรวจไป 4 หลุม และเจาะหลุมประเมินผลอีก 5 หลุม ในช่วงปี 52-53 รวมใช้เวลาสำรวจไป 6 ปี กว่าจะมั่นใจ และมีข้อมูลมากพอในการขออนุมัติเป็นพื้นที่ผลิต นงเยาว์ และ ในสถานการณ์ปัจจุบัน แปลง G11/48 นี้ ยังไม่สามารถพัฒนาจนผลิตปิโตรเลียมได้สำเร็จ ยังขาดทุนจากเงินลงทุนที่ได้ทำการสำรวจไปแล้วมากกว่า 3,000 ล้านบาท(สิ้นปี 55) และยังต้องใช้เงินลงทุนอีกจำนวนมาก เพื่อการก่อสร้างติดตั้ง แท่นผลิต แท่นหลุมผลิต และ การเจาะหลุมผลิต อีกไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท กว่าจะได้ผลิตน้ำมันดิบหยดแรกขึ้นมาต้องขาดทุนไปไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท และจะผลิตได้มากน้อยแค่ไหน ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ชัดเจน แม้ข้อมูลในขณะนี้จะแสดงไว้ว่า จะสามารถผลิตได้สูงสุดวันละ 6,400 บาร์เรล ก็ตาม ดังนั้น การเข้ามาของบริษัท...ตามที่เป็นข่าว ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย และต้องแบกรับภาระการขาดทุนที่ได้ลงทุนไปแล้ว อีกทั้งยังต้องลงทุนเพิ่มเพื่อพัฒนาแหล่งดังกล่าวให้ได้ตามแผนอีกด้วย การเข้ามาดังกล่าวนี้ จะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อบริษัทก็ต้องมองกันยาวๆ อีกหลายปีครับ แต่ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับคือ มีการลงทุนสำรวจต่อเนื่องและถ้าสามารถพัฒนาแหล่งดังกล่าวได้ตามแผน จะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบ และรัฐจะมีรายได้ จากแปลงดังกล่าวตามระบบการจัดเก็บตามกฎหมายปัจจุบัน(Thailand III) อีกด้วย

ผลการดำเนินงานของแปลงที่ตกเป็นข่าว



ข้อมูลการสำรวจและการผลิตปิโตรเลียมของบริษัท มูบาดาลา ปิโตรเลียมในประเทศไทย

บริษัท Mubadala Petroleum (Thailand) เป็นบริษัทในเครือของ บ.Mubalala Petroleum ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE โดย Mubadala Petroleum เป็นบริษัทในเครือ 100% ของบริษัท Mubadala Development Company (MDC) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งโดยรัฐบาลแห่งรัฐของ Abu Dhabi มีมกุฎราชกุมาร ของ Abu Dhabi เป็นประธานบริหาร 




บริษัท Mubadala Development Company(MDC) ทำธุรกิจหลายอย่าง ทั้งธุรกิจเกี่ยวกับด้านการบิน (Aerospace) ด้านการเทคโนโลยีการสื่อสาร(Communication Technology) ด้านสุขภาพ(Health Care) ด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) รวมถึงธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซ (Oil & Gas) ภายใต้บริษัท Mubadala Petroleum)

บริษัท Mubadala Petroleum มิได้มีธุรกิจด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังได้รับสัมปทานแหล่งน้ำมันแหล่งก๊าซในอีกหลายประเทศ เช่นใน การ์ตา โอมาน บาห์เรน อินโดนีเซีย และประเทศไทย นอกจากนั้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ Mubadala Petroleum เริ่มเข้ามาซื้อกิจการทั้งหมดของ บริษัท Pearl Energy ที่เป็นสัญชาติอเมริกันตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ จึงได้สิทธิสัมปทานปิโตรเลียมในไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และ มาเลเซีย ของบริษัทมาด้วย

สำหรับในไทย บริษัทลูกของบริษัท Mubadala Petroleum ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมโดยถูกต้องตามกฎหมายหลายแปลง รวมถึงแปลงที่ซื้อมาจากบริษัท Harrods Energy คือแปลง B5/27 ในอ่าวไทย ซึ่ง Pearl Energy เป็นผู้สำรวจพบจนสามารถพัฒนาแหล่งน้ำมันดิบขนาดเล็กชื่อว่าแหล่งจัสมินและบานเย็น กำลังผลิตเพียงราว 15,000 - 17,000 บาร์เรล/วัน จากแหล่งเล็กๆคือ จัสมินและบานเย็นดังกล่าว ทำให้บริษัท Mubadala มีความเชื่อมั่นมาขอสัมปทานเพิ่มเติมอีก โดยนำเงินจากรายได้ของสองแหล่งนั้นกลับมาลงทุนเพิ่มเติมในไทยอีกเป็นหลายพันหลายหมื่นล้านบาท จนกระทั่งพบแหล่งน้ำมันเล็กๆ อีก 2 แหล่งที่กำลังจะผลิตในเร็วๆนี้ คือแหล่งมโนราห์ และแหล่งนงเยาว์

เพิร์ลออยได้ขาย 2 แปลงให้แก่บริษัทคาร์นาวอน และบริษัทตัวเองได้ถูกขายให้กับบริษัทมูบาดาลา

ผลปรากฏว่าตั้งแต่ต้นปี 2557 ทั้ง 5 แปลงสัมปทานได้ถูกคืนให้รัฐบาลหมดแล้ว เพราะผู้ถือสัมปทานลงทุนสำรวจไปแล้วไม่พบปิโตรเลียมที่จะผลิตขึ้นมาขายได้ แม้จะยื้อเวลาต่อถึง 9 ปีก็ได้ แต่เขาตัดสินใจว่าไม่คุ้มที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นอีก เรียกว่าขาดทุนจนเลิกล้มโครงการไปแล้ว

มูบาดาลา อยู่บนตึกชินวัตร 3 แล้วยังไง?
ก็เป็นการเช่าพื้นที่เท่านั้น และก็มีหลายบริษัทด้วยที่อยู่ในตึก และ อยู่ใกล้หน่วยงานราชการที่ต้องติดต่อ


สุดมั่วเรื่องบทความฉะวงการพลังงานสุดฉ้อฉล คิดจะฉะ ข้อมูลยังผิด

สุดมั่วเรื่องบทความฉะวงการพลังงานสุดฉ้อฉล คิดจะฉะ ข้อมูลยังผิด


ระบบจัดเก็บรายได้สัมปทานไทย จากกิจกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม มี 2 ระบบ คือ

  • ระบบ Thailand I เก็บค่าภาคหลวง(12.5%) และ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (50%) บังคับใช้กับแปลงสำรวจที่ออกให้ไปในช่วงปี  2514-2532 และบังคับใช้มาถึงปัจจุบันกับแปลงที่ยังดำเนินงานอยู่ซึ่งทุกแปลงอยู่ในช่วงผลิต
  • ระบบ Thailand III เป็นกฎหมายปัจจุบัน ได้จากการ แก้ไข ปรับปรุง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ในปี 2532 (ไม่ใช่รัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ นะครับ) บังคับใช้กับแปลงสำรวจที่ออกภายหลังปี 2532 โดย เก็บค่าภาคหลวง(5-15%) เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(SRB) (0-75%) และ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม(50%)


จากทั้งสองภาพที่นำมาเสนอ กล่าวสรุปได้ว่า รัฐมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นกับแหล่งขนาดเล็กทำให้สามารถพัฒนาได้ในเชิงพาณิชย์ และจะเก็บรายได้เข้ารัฐเพิ่มมากขึ้นเมื่อพบแหล่งขนาดใหญ่ หรือ โครงการมีกำไรเกินควร และถ้าดูเฉพาะตัวเลขค่าภาคหลวงในระบบ Thailand III รัฐเก็บได้ 11.9% จากมูลค่าปิโตรเลียมที่ขาย ดังนั้น ที่กล่าวว่ารัฐจัดเก็บจริงได้เพียง 7% จึงไม่เป็นความจริง


เมื่อกล่าวถึง ระบบการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ ภาพรวม รายได้รัฐต่อรายได้บริษัท ในแต่ละโครงการของทั้งสองระบบ โดยโครงการที่อยู่ในระบบ Thailand III ตัวเลขแสดงด้วยสีแดงและชื่อโครงการอยู่ในกรอบสีน้ำเงิน จากภาพแสดงให้เห็นว่า แม้ระบบจัดเก็บที่ได้รับการแก้ไขในปี 2532 เพื่อให้เก็บได้มากขึ้น แต่ในความเป็นจริง แปลงที่ออกให้ไปหลังปี 2532 กลับพบปิโตรเลียมน้อยมาก พบเพียงแหล่งขนาดเล็ก มีเพียงโครงการเดียวที่เข้าข่ายแหล่งขนาดกลางถึงใหญ่ คือ โครงการทานตะวัน-เบญจมาศ ซึ่งผลดำเนินงาน รายได้รัฐต่อรายได้บริษัท อยู่ที่ 69:31 ตามรูปนี้


เปิดสัมปทานไปแล้ว 20 รอบ ไม่รู้ว่าปริมาณ น้ำมัน และ ก๊าซ ที่ขุดเจาะกันไปนั้น ไม่มั่นใจว่าเป็นตัวเลขจริงหรือไม่ ภาคประชาชนต้องเข้าไปตรวจสอบได้... ตั้งข้อสังเกตุว่า สัมปทานมีช่องโหว่ โดยได้ส่งคนไปอัดวีดีโอ เช็ครถ และ เรือ ที่ขนน้ำมัน คำนวณดูแล้วแตกต่างจากตัวเลขที่ทางราชการรายงาน

การผลิตก๊าซที่มีความดันสูง ระบบการผลิตจากหลุมผลิตจนถึงจุดซื้อขายเป็นระบบปิด ไม่มีการลักลอบไปไหนได้ และแต่ละจุดมีมาตรวัดปริมาณ ตรวจสอบได้ทุกเวลา มีบันทึกต่อเนื่อง มีมาตรฐานรองรับ

การผลิตน้ำมันดิบ จากหลุมผลิต ผ่านกระบวนการผลิต เก็บเข้าถังหรือเรือกักเก็บ มีการตรวจวัดปริมาณการผลิต ปริมาณกักเก็บสะสม ทุกวัน มีมาตรฐานรองรับ มีการตรวจวัดปริมาตรในถังกักเก็บ ก่อนและหลังซื้อขาย รถขนส่งมีการตรวจสอบก่อนออกจากแหล่ง และ ก่อนเข้าโรงกลั่น มีระบบจีพีเอสติดตาม สำหรับในทะเล เรือขนถ่ายที่จะเข้ามารับน้ำมันจากเรือกักเก็บ จะต้องได้มาตรฐานเรื่องความปลอดภัย การขนถ่าย มีหลายหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องโดยเฉพาะถ้าต้องส่งออกและมีเจ้าหน้าที่รัฐกำกับดูแลในเรื่องปริมาณขนถ่าย ทั้งหมดที่กล่าวมารายละเอียดอ่านได้ตามลิงค์ สงสัยสอบถามได้ครับ

ลิงค์ กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 ว่าด้วยเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการผลิตปิโตรเลียม
http://law.dmf.go.th/detail.php?lan=th&itm_no=I673760911

การผลิตปิโตรเลียม มีมาตรฐานสากลรองรับ เช่น AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE (API) และ AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS (ASTM) ทั้งวิธีการ ติดตั้ง ตรวจสอบ มาตรวัด ปริมาณก๊าซ และ น้ำมัน มีหลักเกณฑ์วิธีการ เขียนไว้ชัดเจนแล้ว ต้องอ่านนะครับถึงจะรู้ แค่ฟังเขาว่ามา คงไม่ได้แล้ว และการนั่งนับรถบรรทุกวิ่งเข้าวิ่งออกโดยไม่รู้ว่าเขาบรรทุกอะไร น้ำหรือน้ำมัน บรรทุกไปไหน การเอาเรือไปเฝ้าสังเกตุการ มีความน่าเชื่อถือหรือ....

สถานที่ประกอบกิจการ เป็นเขตปลอดภัย คงไม่ปล่อยให้ใครก็ได้เดินเข้าไปตรวจสอบเอง ประชาชนหลายล้านคน ถ้าเกิดสงสัยกันหมด คงวุ่นวายน่าดูครับ ผมว่าถ้าต้องการตรวจสอบจริง แนะนำให้ทำหนังสือแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ ขอเข้าไปดูน่าจะเป็นประโยชน์กว่าครับ


อันนี้เป็นลิงค์ การจัดหาปิโตรเลียม เขาไม่ได้ปกปิดนะครับ แต่การนำไปใช้ต้องมีความเข้าใจด้วย เดี๋ยวตัวเลขจะไม่ตรงกันอีก ที่ยกมานี้ เป็นตัวเลขซื้อขาย จะน้อยกว่า ตัวเลขผลิตอยู่นิดหน่อย....
http://www.dmf.go.th/index_pad.php?act=service&sec=yearSupply  

อุปกรณ์ วัสดุเหล็กทุกท่อนที่ประกอบเป็นแท่น ในระบบสัมปทานไม่ได้เป็นของประเทศไทย ไม่เหมือนระบบต่างประเทศที่ตกเป็นของรัฐ ดังนั้น เมื่อหมดสัญญาสัมปทานรัฐจะทำเองก็ไม่ได้เพราะเขาถอนอุปกรณ์ทั้งหมดกลับไป เราต้องเริ่มใหม่

กฎกระทรวงฉบับที่ 17 ในแบบสัมปทาน ระบุไว้ชัดเจนแล้ว สรุป สั้นๆ ว่า เมื่อสิ้นระยะเวลาผลิต หรือ สิ้นสุดสัมปทาน อุปกรณ์ทุกอย่างที่รัฐต้องการจะตกเป็นของรัฐเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปครับ ส่วนอุปกรณ์ที่รัฐไม่ต้องการ ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ต้องทำการรื้อถอนออกไป ดังนั้น สิ่งที่กล่าวในเนื้อข่าวจึงไม่เป็นความจริง

http://law.dmf.go.th/detail.php?lan=th&itm_no=I488122220
กทธ/ป2  ข้อ 15

ส่วนเรื่องการอ้างไปถึงว่าเป็นการให้เอกชนมีรายได้เยอะทำให้รายได้รัฐน้อยก็ไม่เป็นจริงอีก

ผลกำไร ขาดทุน ของโครงการหนึ่งๆ มันขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง? แน่นอน ต้องขึ้นอยู่กับ รายได้ ซึ่งเกิดจากปริมาณและชนิดของปิโตรเลียมที่ผลิตได้คูณกับราคาที่แปรผันไปตลอดเวลา รายจ่ายที่เป็นเงินลงทุนตามความยากง่าย แตกต่างกันไป ดังนั้น ในแต่ละโครงการจึงมีผลกำไร ขาดทุน แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าว ที่นี้ถ้ามาพูดถึง รายได้รัฐ ที่แบ่งเอาจากค่าภาคหลวงโดยไม่สนว่าโครงการจะมีกำไรหรือไม่ ภาษีปิโตรเลียมจากกำไรสุทธิ และ เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(SRB) เรียกเก็บจากกำไรเกินควรซึ่งบางโครงการก็มีบางโครงการก็ไม่มี รายได้ของรัฐจาก 3 รายการนี้ มีรายละเอียดในการเรียกเก็บแตกต่างกันไปในแต่ละโครงการขึ้นอยู่กับสถานะของโครงการ ดังนั้น เมื่อรวมรายได้รัฐจากโครงการต่างๆ ไม่มีทางที่จะออกมาตรงกันได้ จะแตกต่างกันไปตามสภาพของปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น

จึงสรุปได้ว่า รายได้รัฐ ต่อ กำไรบริษัท ภายใต้ระบบ Thailand III ไม่จำเป็นต้องออกมาตรงกันทุกโครงการ แต่ต้องออกมาในลักษณะที่ รัฐได้มากกว่า มากกว่าเท่าไร ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังตัวอย่างที่แสดงในภาพ


ความมั่วของบทความ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000032804

รสนาฟ้องหมิ่นประมาท สุดท้าย เงิบอีก ศาลยกฟ้องเพราะ ไม่ได้เข้าข่าย ผิด พรบ. คอมพิวเตอร์

ศาลยกฟ้อง 'ไทยโพสต์' ซีอีโอ ปตท. หมิ่น 'รสนา'

รัชดาฯ * ที่ห้องพิจารณาคดี 805 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์พิพากษาคดีในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีหมายเลขดำ อ.3426/2557 ที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน), บริษัท สารสู่อนาคต จำกัด, นายชูเกียรติ ยิ้มประเสริฐ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นสพ.ไทยโพสต์, นางกรรณิกา วิริยะกุล กรรมการบริหาร นสพ.ไทยโพสต์ เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์



คำฟ้องระบุพฤติการณ์ว่า เมื่อวันที่ 20 ก.ค. จำเลยได้ใส่ความโจทก์โดยได้ให้สัมภาษณ์หมิ่นประมาทโจทก์ซึ่งไม่ใช่ความจริง โดยลงพิมพ์บทความในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง

ในวันนี้ (18 พ.ค.) ผู้รับมอบอำนาจทนายโจทก์ และผู้รับมอบอำนาจจำเลยที่ 1 เดินทางมาศาล ทั้งนี้ ศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 1-4

นายสัจจะ คงรักษาสุวรรณ ผู้ประสานงานคดี ผู้รับมอบอำนาจจากนายไพรินทร์จำเลยที่ 1 เปิด เผยภายหลังฟังคำพิพากษาว่า คดีนี้เกิดจากการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ในเรื่องเกี่ยว กับการปฏิรูปพลังงาน ลงในบท ความของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ซึ่งในส่วนของการพาดหัวบทความนั้น มีการยกตัวอย่างว่ามีผู้ที่ให้สัม ภาษณ์โจมตีนายไพรินทร์อยู่เสมอนั้นมีชื่อของ น.ส.รสนา อยู่ในพาดหัวบทความ จึงเป็นเหตุให้นางรสนามายื่นฟ้องหมิ่นประมาทและเรียกค่าเสียหาย จำนวน 50 ล้านบาท ซึ่งศาลอาญาได้มีคำพิพากษาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องให้ยกฟ้องจำเลยทั้ง 4 ส่วนเหตุผลที่ยกฟ้องศาลยังไม่ได้บอกรายละเอียด ต้องรอคัดคำพิพากษาอีกครั้งหนึ่ง.

ที่มา : http://www.ryt9.com/s/tpd/2162313

ช๊อคทำไม!! ในเมื่อพื้นที่สัมปทานไม่ได้เจอปิโตรเลียมทุกพื้นที่

โอ้ละหนอ Social Media จะโม้เหม็นบิดเบือนกล่าวอ้างถึงพื้นที่สัมปทานว่า เราได้นั้นได้มีพื้นที่กว้างขวาง มีการแจกสัมปทานไปแล้วทั่วประเทศ ผู้สัมปทานก็เป็นเจ้าของสิทธิ์ในพื้นที่นั้น ประโยคด้านบนเร้าใจยิ่งนัก คิดว่าเราจะเสียดินแดน แต่แท้จริงแล้วเป็นการเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง


แท้จริงแล้ว หลักกฎหมายไทย ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใต้ดิน ไม่ได้เป็นสมบัติของผู้หนึ่งผู้ใด เจ้าของที่ดินเป็นเพียงผู้ครอบครองและมีสิทธิใช้ประโยชน์บนพื้นดินเท่านั้น รัฐบาลในฐานะตัวแทนประชาชนมีหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรใต้ดินเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนทั้งประเทศ โดยอาจมอบสิทธิให้เอกชนเข้าสำรวจหาและผลิตนำทรัพยากรขึ้นมาใช้พัฒนาประเทศ นอกจากการได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแล้ว รัฐยังมีรายได้จาก ค่าภาคหลวง และภาษีต่างๆ จากกิจการนั้นๆ ตาม กฎหมายเฉพาะของแต่ละประเภท เช่น เหมืองทองคำ ดีบุก ตะกั่ว แร่ต่างๆ น้ำบาดาล รวมถึง ปิโตรเลียม

กฎหมายปิโตรเลียม พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 มาตรา 23 ความว่า " ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในที่ใดไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่น ต้องได้รับสัมปทาน " การขอสัมปทานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยแบบสัมปทานหรือสัญญาสัมปทานให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 http://law.dmf.go.th/detail.php?lan=th&itm_no=I384142581
กฎกระทรวง http://law.dmf.go.th/sub_main.php?lan=th&main_no=M836391530

ประเทศไทยมีพื้นที่บนบกประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ทางทะเลอีกประมาณ 350,000 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 863,115 ตารางกิโลเมตร จากการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมไป 20 รอบ ออกแปลงสำรวจให้บริษัทน้ำมันไปกว่า 155 แปลง ปัจจุบันเหลือแปลงสำรวจที่ยังดำเนินงานอยู่ 54 แปลง มีพื้นที่สัมปทานรวม 90,154 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ประเทศไทย (ไม่รวมแปลงและพื้นที่ บริเวณพื้นที่ทับซ้อน และ พื้นที่บริเวณภาคเหนือซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมการพลังงานทหาร)


ดังนั้น ข่าวหรือสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่ออกมาและมีเจตนาชี้นำตามที่ได้กล่าวข้างต้น จึงไม่เป็นความจริง การได้รับสิทธิสำรวจมีขั้นตอนที่มาที่ไปเป็นลำดับ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้รับสัมปทานหรือผู้ร่วมลงทุน ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขที่ข้อกฎหมายกำหนดไว้ ก็สามารถทำได้ และการได้รับสิทธิหลายแปลง บนพื้นที่หลายหมื่นตารางกิโลเมตร ย่อมหมายถึง ผู้รับสัมปทานจะต้องใช้จ่ายเงินลงทุนสำรวจมากขึ้นตามช่วงระยะเวลาและข้อผูกพันที่ได้ทำสัญญาไว้กับรัฐ แต่โอกาสที่จะค้นพบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์นั้น ยังมีความไม่แน่นอนสูง ในขณะที่ผู้รับสัมปทานรายที่ได้รับการอนุมัติพื้นที่ผลิตไปเพราะได้ผ่านการลงทุนสำรวจ พบ และพิสูจน์ความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์มาแล้ว ซึ่งถ้าได้รับสิทธิในพื้นที่ผลิตมากย่อมมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ผลิตปิโตรเลียมรายใหญ่และมีรายได้แล้ว โดยเมื่อหักค่าใช้จ่ายเหลือเป็นกำไร ก็จะแบ่งกันระหว่างรัฐกับผู้รับสัมปทาน ภายใต้ระบบที่ได้ออกสัมปทานให้ไปในขณะนั้น



บิดเบือนคำตัดสินศาล เรื่องท่อก๊าซเป็นสมบัติสาธารณะของแผ่นดิน

ท่อก๊าซเป็นสมบัติสาธารณะของแผ่นดิน เป็นการบิดเบือนเนื้อหาคำตัดสินศาล



ถ้าอ่านตามประโยคเต็มคือ สำหรับในส่วนของทรัพย์สินที่การปิโตรเลียมฯ ได้มาโดยมิได้ใช้อำนาจมหาชน แต่ได้มาโดยวิธีอื่น เช่น การซื้อ จัดหา หรือแลกเปลี่ยน ตามมาตรา ๗(๑) แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๑๑ นั้น

ไม่ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ

ตามมาตรา ๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๑๘

ยกเนื้อหามาจาก คำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ ฟ.๔๗/๒๕๔๙ คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.๓๕/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๔ เดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หน้า ๘๐

เขาคือ‘ธีระชัย’..? ลูบคมตลาดทุน

เขาคือ‘ธีระชัย’..? ลูบคมตลาดทุน



ธนะชัย ณ นคร

เห็นการเคลื่อนไหวของ “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” ในขณะนี้แล้ว มีสิ่งไม่น่าเชื่อหลายประการ

ไม่น่าเชื่อว่า เขาคนนี้คืออดีตผู้บริหารระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เคยดำรงตำแหน่งถึง รองผู้ว่าการ ธปท. ด้านเสถียรภาพการเงิน

ไม่น่าเชื่อว่า เขาคนนี้คืออดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.

และไม่น่าเชื่อว่า เขาคนนี้คืออดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

และเป็นรมว.คลังที่เคยกำกับกรมการจัดเก็บภาษี คือ กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต

การเป็นรัฐมนตรีคลัง (หรืออดีตเคยเป็น) ที่น่าจะเข้าใจเรื่องโครงสร้างภาษีของประเทศไทยเป็นอย่างดี

ยิ่งโดยเฉพาะโครงสร้างภาษีปิโตรเลียม และน้ำมันทั้งระบบในประเทศไทยว่า เขามีการจัดเก็บอย่างไร และในแต่ละปี รัฐมีรายได้จากภาษีในกลุ่มธุรกิจนี้เท่าไหร่

อย่าลืมว่า กระทรวงการคลัง คือ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บมจ.ปตท. (PTT)

การเป็นรัฐมนตรีของกระทรวงการคลัง ที่ถือหุ้นใหญ่ใน ปตท. จึงย่อมน่าจะมีความเข้าใจทั้งประวัติความเป็นมา และบทบาทหน้าที่ของ ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติเป็นอย่างดี

หากคุณธีระชัย ไม่เห็นด้วยกับโครงสร้างของ ปตท.

ไม่เห็นด้วยกับระบบสัมปทานปิโตรเลียม หรือไม่เห็นด้วยกับนโยบายด้านพลังงานของประเทศไทย

เพราะเหตุใดคุณธีระชัย ถึงไม่เคลื่อนไหวในช่วงที่ตนเองมีอำนาจเล่า

“จุดขาย” ของกลุ่มคุณธีระชัย (ที่ตอนนี้ถูกเรียกเป็นกลุ่ม NGO หรือถูกขนานนามเป็นคณะลิเก) ในการเรียกมวลชนเพื่อให้มาเป็นแนวร่วม คือ ความพยายามบอกว่า หากเรามีการปรับโครงสร้างด้านพลังงานใหม่

คนไทยก็จะได้ใช้ราคาน้ำมันที่ถูกลง!!

แน่นอนว่า ทุกคนก็อยากใช้น้ำมันราคาถูก นั่นจึงเป็นจุดขายที่ดี

และยิ่งบอกว่า พลังงานของไทย ควรเป็นอธิปไตยของคนไทย ก็จะยิ่งเรียกกลุ่มบุคคลให้เข้ามาเป็นแนวร่วมได้อีก เพราะอาจมีคนบางกลุ่มมองว่า เราได้สูญเสียอธิปไตยด้านพลังงานไปแล้ว

ฟังแล้วก็ได้แต่ขำกลิ้ง เพราะความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ถามจริงๆ  กับอดีตรัฐมนตรีคลังท่านนี้ ท่านทราบหรือไม่ว่า ปตท.คือหน่วยงานของประเทศไทยที่เรียกอธิปไตยด้านพลังงานของไทยกลับคืนมา

ก่อน ปตท.จะยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน ไทยเรานั้นถูกครอบงำด้วยบริษัทน้ำมันข้ามชาติมานาน

และปตท.นี่แหละที่เรียกอธิปไตยพลังงานกลับมา

แต่หากบอกว่า ความยิ่งใหญ่ของ ปตท. นั่นแหละที่ทำให้เกิดการผูกขาด ทำให้ประชาชนคนไทยใช้น้ำมันราคาแพง

ผมว่าประเด็นนี้คนเป็นรัฐมนตรีคลัง น่าจะเข้าใจเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดีอีกเช่นกัน และน่าจะเป็นบุคคลที่อธิบาย (อย่างถูกต้อง) เกี่ยวกับโครงสร้างภาษีด้านพลังงานของเราเป็นอย่างไร

ไม่ใช่ไปเอาข้อมูลจากกูเกิ้ล (Google) หรือแหล่งเชื่อถือไม่ได้มากล่าวอ้าง

กระทั่งถูกบุคคลที่เขาทำงานในวงการพลังงานออกมาบอกว่านี่มัน “คณะลิเก” ใช่ไหม

ข้อมูลด้านพลังงานในหลายๆ เรื่องของคุณธีระชัย ถูกตอกกลับจนน่าหงาย

นักวิชาการบางท่านถึงขนาดต้องบอกกับคุณธีระชัยว่า ขอโทษที่บังอาจสอนท่านเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน

พร้อมกับอธิบายให้ฟังถึงข้อเท็จจริง

เรื่องของการจัดตั้งองค์กรพลังงานแห่งใหม่ ท่านมีนัยสำคัญอะไรแอบแฝง ทั้งๆ ที่ทราบดีว่า เราก็มีหน่วยงานกำกับทางด้านนี้ และทำงานได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว

การขุดเจาะปิโตรเลียม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน ก็ไม่ได้ส่งผลต่อราคาน้ำมันขายปลีก

เรื่องนี้ท่านอดีตรัฐมนตรีคลัง ทราบหรือไม่

ระบบสัมปทานการขุดเจาะปิโตรเลียมที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ เป็นวิธีที่น่าจะดีที่สุด รัฐไทยไม่ต้องไปเผชิญกับความเสี่ยงด้านการลงทุน

รัฐนอนกินค่าภาคหลวง ค่าสัมปทาน สบายๆ

เพราะเหตุใดถึงต้องให้รัฐไปแบกความเสี่ยงมหาศาลเป็นหมื่นๆ ล้านบาท หรืออาจถึงแสนล้านบาทเช่นนั้น

ทั้งที่ควรให้เอกชนเป็นฝ่ายแบกภาระความเสี่ยง

ท่านเคยเป็นรองผู้ว่าการ ธปท.ด้านเสถียรภาพการเงิน เคยเป็นเลขาธิการ ก.ล.ต. ก็ย่อมเข้าใจเรื่อง “ความเสี่ยง”

มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า การเคลื่อนไหวของท่านนั้น เพียงเพราะผิดหวังจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง (อีกครั้ง) ในรัฐบาล “ประยุทธ์ 1” ซึ่งไม่รู้ว่าใช่หรือไม่

กระทั่งนำไปสู่นามใหม่ว่า “พระเอกลิเก”

แทบไม่เชื่อเลยว่าบุคคลท่านนี้คือ “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล”

ที่มา 

โต้กลับประเด็นที่คนบางกลุ่มเข้าใจเรื่องพลังงาน

อาทิตย์ที่ผ่านมาประเด็นพลังงาน ที่ร้อนแรงสุดคงหนีไม่พ้น มติ กพช. ที่ให้มีการประมูลแปลงที่สิ้นอายุลงของแหล่งก๊าซธรรมชาติของไทย มีหลายประเด็นที่น่าจะสับสน และ ยังไม่ได้รับการนำเสนอ

เมื่อหมดอายุสัมปทานตามกฎหมาย อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึง แท่นขุดเจาะและเครื่องจักร ตลอดจนปิโตรเลียมที่เหลืออยู่จะต้องตกเป็นของรัฐ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยที่รัฐไม่ต้องลงทุนทรัพย์สินเหล่านี้อีก ประเด็นนี้ถ้ามองในมุมของการเอาไปใช้ต่อต้องดูว่า ทรัพย์สินเหล่านี้ใช้ต่อคุ้มค่าหรือไม่ อย่าลืมว่า ทรัพย์สินเหล่านี้มีอายุการใช้งานและต้องมีการบำรุงรักษา หากส่งมอบให้รัฐ หรือหากบริษัทที่รับต่อไปแล้วไม่คุ้มค่า ผลสุดท้ายก็ต้องรื้อถอนออก ซึ่งต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจนในการจะเก็บหรือว่าจะรื้อถอน เพราะจะเป็นทั้งต้นทุนและสะท้อนถึงความต่อเนื่องของก๊าซที่จะผลิตออกมา

ประการถัดมา มีการเรียกร้องให้ใช้ระบบจ้างผลิต (อันนี้ทาง กพช ยังไม่ได้ข้อสรุป และระบบนี้หน้าตาเป็นอย่างไรก็ยังไม่มีใครทราบ ดีแต่เรียกร้องว่าอยากได้ระบบนี้) ระบบรับจ้างผลิต มักใช้กับประเทศในตะวันออกกลาง ที่มีแหล่งผลิตขนาดใหญ่ ความเสี่ยงต่ำ จูงใจให้เกิดการแข่งขัน แต่แหล่งเอราวัณและบงกช ที่เป็นแหล่งกระเปาะเล็กๆ ความเสี่ยงสูงกว่า หากใช้ระบบรับจ้างผลิต ก็จะมีเฉพาะรายเดิมที่เสนอตัวเข้ามา แต่รัฐต้องสร้างแรงจูงใจ ด้วยค่าจ้างที่สูงขึ้น (ต้องแลกด้วยปริมาณก๊าซจำนวนมาก และราคาสูง และให้เอกชนสามารถนำปริมาณสำรองมาบันทึกเป็นมูลค่าทางบัญชีหรือ book value ของบริษัทได้ด้วย) โดยจะขอยกกรณีของประเทศ โบลิเวีย

- โบลิเวียมีการเรียกร้องให้จัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐในอัตราที่สูงมากกว่าเดิมมากจาก 50% มาเป็น 82% ของมูลค่าปิโตรเลียมนั้น ทำให้ส่งผลต่อความสามารถในการกำไรจากการพัฒนาและผลิตก๊าซธรรมชาติของบางแหล่งที่ถูกค้นพบแล้วลดลง กล่าวคือทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น บริษัทเอกชนได้ส่วนแบ่งน้อยลง ทำให้ปริมาณทรัพยากรบางส่วนไม่สามารถผลิตขึ้นมาให้คุ้มทุนได้แบบแต่ก่อน จึงถูกตัดออกไปไม่นับเป็นปริมาณสำรอง แต่ก๊าซส่วนนั้นก็ยังคงอยู่ใต้ดินไม่หายไปไหนแค่ผลิตขึ้นมาให้คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ไม่ได้เท่านั้น
- ประเทศโบลีเวียมีการพึ่งพาการส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังประเทศบราซิล และ ประเทศอาร์เจนติน่า เพราะยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อบริษัท Petrobas ของบราซิล และ Repsol-YPF ของสเปนและอาร์เจนติน่า ทำให้ยังคงมีการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติอยู่ตลอดมา ปริมาณสำรองส่วนที่ถูกผลิตออกไปก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
- การที่รัฐบาลโมราเลสไปยึดสัมปทานเมื่อปี 2006 นั้น ทำให้บริษัทต่างชาติหมดความเชื่อมั่นและหมดความสนใจที่จะมาลงทุนในประเทศโบลีเวียอีกต่อไป โดยเฉพาะธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ทำให้ที่ผ่านมาโดยช่วงปี 2011 มีการสำรวจและขุดเจาะหลุมสำรวจปิโตรเลียมเพียงแค่ 1 หลุมเท่านั้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง โคลอมเบียขุดเจาะหลุมสำรวจไป 61 หลุม บราซิล 300 หลุม อาร์เจนติน่า 600 หลุม จึงไม่ได้มีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งใหม่ๆ เพื่อทดแทนปริมาณสำรองที่ถูกผลิตออกไป
เรื่องราคา ก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ที่ไปหยิบเอาราคาของ Henry Hub มาใช้ ซึ่งคิดว่าเป็นการเข้าใจผิด ถ้าจะหยิบราคาก๊าซที่ Henry Hub มาใช้ ต้องหาท่อต่อมาลงที่ประเทศไทยด้วย ไม่ใช่ไปหยิบราคาเอาแหล่งก๊าซที่ถูกที่สุดมานำเสนอ และไม่บอกด้วยว่า ประชาชนที่ใช้ราคา Herry Hub นั้น เค้าไม่ได้ใช้ราคาก๊าซถูกๆ ที่ปากหลุม เค้าใช้แพงกว่าราคาปากหลุมอยู่ 3-4 เท่า ส่วนประเทศไทยเรา ที่นำเข้ามาเพื่อผลิตไฟฟ้านั้น มีราคาต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติในประเทศที่ได้จากระบบสัมปทานที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งไม่ทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ก็เป็นความจริงเฉพาะบางส่วน เท่านั้น เพราะการอ้างอิงราคาLNG ที่คปพ.อ้างถึง4-5เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู นั้น เป็นราคาตลาดจร (Spot Market) ที่มีปริมาณจำกัดและเป็นราคาที่เกิดขึ้นเพียงบางช่วงบางตอนเท่านั้น ถ้าย้อนไปดูเมื่อ3-5ปีที่ผ่านมา LNG เคยขึ้นไปถึง 15 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ซึ่งแพงกว่าก๊าซจากอ่าวไทยมาก ถามคปพ.ว่า ถ้าต้องนำเข้าLNG ประมาณปีละ7ล้านตัน เพื่อทดแทนก๊าซที่จะหายไปจากระบบ เราจะไปซื้อ LNG ราคาต่ำได้ที่ไหน ใครจะขายให้เรา และขายให้นานแค่ไหน และอย่างลืมว่า เราซื้อก๊าซธรรมชาติต้องใช้เงินสกุลดอลล่าห์ ยามที่ค่าเงินบาทอ่อนลง ก็ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติแพงขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ก๊าซอ่าวไทย ยังเป็นก๊าซที่มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ และทำให้รัฐมีรายได้จากค่าภาคหลวง และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ในขณะที่ LNG ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับรัฐในส่วนนี้
ส่วนถัดมาเรื่อง บอกว่า คุณเข้าใจถูกแล้ว คนไทยมีความรู้ความสามารถ อย่าง ปตท.สผ. เป็นบริษัทของคนไทยที่มีความรู้ความสามารถในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ทั้งในและต่างประเทศ ก็เป็นความจริงเพียงบางส่วนแต่ก็ต้องมองถึงเรื่องศักยภาพทางธรณีที่อยู่ใต้ดินมันต้องการทั้งความชำนาญในพื้นที่และความสามารถ มิเช่นนั้น ประเทศต่างๆ จะให้บริษัทต่างชาติมาร่วมทุนทำไม และการที่จะให้ ปตท.สผ. ต้องมาแบกรับความเสี่ยงจากการขุดเจาะสำรวจบริษัทเดียวมันออกจะเห็นแก่ตัวไปหน่อย (และถ้าทำได้จริง จะโดนหาว่าผูกขาดพลังงานเพิ่มเติมหรือไม่?)เพราะในข้อเท็จจริง ในอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนั้น ปตท.สผ. ก็ไม่สามารถที่จะรับความเสี่ยงโดยถือหุ้น 100% โดยบทบาทของ ปตท.สผ. นั้นเป็นบทบาทของ Investor และ Operator โดยคุณเสนอมาอีกให้ตั้ง บรรษัทพลังงานแห่งชาติ (เสนอมาหลายรอบแล้ว ทั้งที่มีหน่วยงานอื่นที่ทำหน้าที่นี้ และปัญหาที่ต่อมาคือ ใคร ดูแล ดูแล อย่างไร ในเมื่อถ้ามี กฎหมาย ชัดเจน มีรูปแบบแล้ว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ดูแลอยู่ ไม่ทราบว่าจัดตั้งองค์กรใหม่ให้เปลืองงบประมาณทำไม หรืออยากมานั่งบริหาร?)

ประการสุดท้าย กรณีที่นายก กล่าวว่าประเทศเพื่อนบ้านมีราคาพลังงานถูกกว่าประเทศไทยนั้น เพราะมีเงินอุดหนุนในการตรึงราคาให้ต่ำกว่าความเป็นจริง ก็เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องส่วนนึง และการที่บอกว่า มาเลเซียน้ำมันถูกเพราะมีรัฐวิสาหกิจอย่างปิโตรนาสอยู่ทำให้น้ำมันถูกก็ไม่ได้เป็นความจริง เพราะถ้าอยากให้น้ำมันถูกแบบประเทศเพื่อนบ้าน ก็ให้รัฐเอาเงินมาอุดหนุน รวมถึงการไม่จัดเก็บภาษีในสินค้าประเภทเชื้อเพลิง รวมไปถึงลดมาตรฐานน้ำมันลงให้เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน (คราวนี้ไม่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมกันแล้ว?) รวมถึงมาเลเซียสินค้าส่งออกคือประเภทสินค้าประเภทน้ำมัน ในปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันตกต่ำลง รัฐบาลมาเลเซียได้ลดงบการศึกษาลงแล้วด้วยซ้ำ

ดังนั้นแล้ว ยิ่งเวลานานล่าช้าออกไปเท่าใด อำนาจต่อรองของรัฐในการกำหนดท่าทีและเงื่อนไขของรัฐจะลดน้อยลง ต้องรอให้อัตราการผลิต/ลงทุนหายไปก่อนหรือไงจึงจะเชื่อว่าเราเข้าสู่วิกฤติ ด้านพลังงานก๊าซธรรมชาติแล้ว ส่วนกลุ่มคนบางส่วนจะพูดอะไรก็ได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไรกับคำพูดของตน ใช้วาทะโวหาร สร้างภาพชาตินิยมสุดโต่ง หากหลงตามพวกนี้ อนาคตประเทศก็คงจะขัดสนแร้นแค้น ถอยหลังลงคลองเหมือนเวเนซูเอล่า หรือโบลิเวีย เราต้องการให้เป็นแบบนั้นจริงๆ หรือ?

ท่อก๊าซ ปตท. สำคัญไฉน

ท่อก๊าซ ปตท. สำคัญไฉน
โดย ฉกาจนิตย์ จุณณะภาต นักกฎหมายพลังงาน

จากการเดินสายชี้แจงเรื่อง hot issue ที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องการให้ ปตท. แบ่งแยกท่อก๊าซของ ปตท. ไปให้รัฐ ในช่วงที่ผ่านมา นั้น


ผมเริ่มมองเห็นภาพว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของ ปตท. กับ รัฐ อย่างที่เคยเข้าใจเสียแล้ว แต่การหาทางออกที่ไม่ถูกต้องของเรื่องนี้ จะกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนทุกคนมากทีเดียว

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คือ ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยจะเกิดความปั่นป่วนอย่างมาก เพราะขนาดของกลุ่ม ปตท. ในตลาดมีขนาดถึง 1 ใน 4 ของภาพรวม

เอกชนและนักลงทุน จะสูญเสียความเชื่อมั่นและไม่กล้าลงทุนในโครงการใหญ่อีก เพราะไม่รู้ว่าจะโดนรัฐยึดไปเมื่อไหร่

นอกจากนั้น ระบบคุ้มครองสิทธิ์ของเอกชนโดยศาลจะสั่นคลอน เพราะคำพิพากษาของศาลไม่ถูกเชื่อถือโดยหน่วยงานของรัฐ

เรื่องย่อๆ เกี่ยวกับท่อก๊าซ ปตท. นี้ เพจ 'สรุป' ได้จัดทำไว้แล้วค่อนข้างดีสำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตามมาก่อน #สรุป #สรุปเดียว ลองอ่านกันได้ครับ

สำหรับในโพสต์นี้ ผมจะขอสรุปเรื่องนี้อีกครั้ง เพื่อจะเสริมให้พอเห็นภาพว่า เรื่องท่อก๊าซ ปตท. เริ่มต้นจากตรงไหน และหน่วยงานรัฐออกมาขอให้ ปตท. แบ่งแยกท่อก๊าซ โดยใช้หลักการอะไร

1. เมื่อปี 2544 ปตท. ได้แปลงสภาพตัวเองจากองค์การของรัฐให้ป็นบริษัทมหาชน เพื่อระดมทุนและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ถามว่าทำให้ประสิทธิภาพต่างกันตรงไหนกับของเดิม เพื่อนๆ ลองเทียบการรถไฟ องค์การโทรศัพท์ กับ ปตท. การท่าอากาศยาน ทุกวันนี้ดูครับ

2. ในการแปลงสภาพ ปตท. ต้องใช้กฎหมายฉบับหนึ่ง เรียกย่อๆว่า 'กฎหมายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ' ซึ่งกำหนดว่า ทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่เดิม ให้โอนมาเป็นของ ปตท. ที่แปลงสภาพแล้วทั้งหมด กฎหมายกำหนดไว้แบบนี้ เพื่อให้บริษัทที่แปลงสภาพมีทุนในการดำเนินการต่อ มิเช่นนั้น ก็ต้องมาแบบตัวเปล่าๆ ซึ่งถ้าต้องหมดตัวเช่นนั้น ก็ไม่รู้ว่า ปตท. จะแปลงสภาพมาเพื่ออะไร

3. หลังจากนั้นอีก 5 ปี มีกลุ่ม NGO ยื่นฟ้องศาลปกครองสูงสุด บอกว่า ปตท. แปรรูปไม่ได้ ผิดกฎหมาย ศาลท่านก็ตัดสินว่า การแปรรูป ปตท. เดินมาไกลถึงขนาดนี้แล้ว คงไม่ต้องให้เดินถอยหลังกลับไปอีก

4. แต่ครั้งนี้ ศาลได้วางหลักกฎหมายขึ้นมาบอกว่า แม้ ปตท. จะแปรรูปแล้ว แต่ก็ต้องแบ่งแยกทรัพย์สินที่ใช้ 'อำนาจมหาชน' ที่ได้มาก่อนแปรรูป ปี 2544 ให้กับรัฐนะจ๊ะ ซึ่งตอนนั้น ปตท. ก็ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะไม่แฟร์กับนักลงทุน ก็ตอนที่ ปตท. เปิดขายหุ้นให้นักลงทุนทั่วไป ได้รวมมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดไปแล้ว ไม่เห็นมีใครออกมาทักท้วงอะไร แต่พอผ่านมา 5 ปี จะมาแบ่งทรัพย์สิน ปตท. ไปเฉยเลย ก็เท่ากับว่านักลงทุนถูกหลอกเมื่อ 5 ปีที่แล้ว

แต่ศาลก็คือศาล ทุกคนต้องเคารพ มันคือกติกา ปตท. ก็ไม่มีปัญหาอะไร แบ่งแยกทรัพย์สินคืนไป

5. หลักการแบ่งทรัพย์สิน หน่วยงานต่างๆ ก็มาตกลงกันตามที่ศาลบอก คือ อันไหนที่ใช้ 'อำนาจมหาชน' ได้มาก่อน ปตท. แปรรูป ก็ให้กับรัฐไป ได้แก่ การเวนคืนที่ดิน การรอนสิทธิที่ดินเอกชน และทรัพย์สินที่อยู่บนที่ดินเหล่านั้น (ซึ่งก็คือ ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปตท. นั่นเอง)

6. พอ ปตท. แบ่งแยกเสร็จ ก็ส่งคืนให้กับรัฐไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดก็เห็นด้วยว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซให้รัฐตามคำพิพากษาครบแล้ว

7. แต่ปรากฏว่าวันที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งว่า ปตท. ส่งครบแล้ว สตง. กลับส่งหนังสือไปถึงศาลบอกว่า ปตท. ยังส่งคืนไม่ครบนะ โดยเฉพาะท่อก๊าซในทะเล

แต่ สตง. ก็ดันไปสัญญากับศาลว่า เรื่องที่ว่าจะคืนครบหรือไม่นั้น ก็แล้วแต่ศาลปกครองสูงสุดจะพิจารณาละกันขอรับ สตง. เพียงแต่ให้ข้อมูลเพิ่มว่าศาลอาจจะได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ตอนที่รับรองว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซครบแล้ว

8. ศาลปกครองสูงสุดก็ดูข้อมูลที่ สตง. ส่งมาให้ แล้วพิจารณาว่า ท่อก๊าซในทะเลไม่เข้าหลัก 'อำนาจมหาชน' ที่ศาลตัดสินเอาไว้ ดังนั้น ที่ศาลรับรองว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซครบ จึงถูกต้องแล้ว ศาลก็เลยส่งหนังสือไปแจ้ง สตง. ว่า ศาลพิจารณาความเห็น สตง. แล้ว ก็ยังยืนยันแบบเดิมว่า ปตท. ส่งท่อก๊าซครบแล้ว 'ตามหลักกฎหมาย'

9. เรื่องท่อส่งก๊าซ ปตท. ก็เงียบไปอยู่หลายปี และ สตง. ก็รับรองงบการเงิน ปตท. ต่อตลาดหลักทรัพย์มาตลอดไม่มีประเด็นเรื่องท่อส่งก๊าซอีก ทุกอย่างดูเหมือนจะจบตามที่ศาลปกครองสูงสุดบอก

10. ปรากฏว่าหลัง คสช. ยึดอำนาจปี 2557 ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ออกมาเคลื่อนไหวเรื่อง ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปตท. อีกครั้ง คราวนี้ไปไกลกว่าเดิม ยิ่งกว่า สตง. คือ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง (อีกครั้ง) ขอให้ ปตท. แบ่งแยกท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งหมด ไม่ว่าก่อนหรือหลังแปรรูป มูลค่า 68,000 ล้านบาท พูดง่ายๆ ว่าขอให้ ปตท. มอบท่อก๊าซทั้งหมดให้รัฐนั่นเอง เพราะผู้ตรวจการแผ่นดินบอกว่าท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ประชาชนใช้ร่วมกันก็ต้องตกเป็นของแผ่นดิน!

11. พอกระแสถูกจุดขึ้นมาอีกครั้ง สตง. ที่เคยเงียบไป ก็ลืมสัญญาที่ตัวเองให้ไว้กับศาล ออกมาร่วมวงกับเขาด้วย โดยขอให้ ปตท. มอบท่อก๊าซในทะเลที่ สตง. เคยบอกไว้นานมาแล้วให้กับรัฐ แต่เนื่องจาก สตง. ไม่มีอำนาจไปฟ้องเรียกท่อก๊าซเอง จึงบังคับเชิงข่มขู่ว่า ให้คณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน ไปเอามาแทน สตง. มิเช่นนั้น สตง. จะฟ้องศาลให้เอาผิด!

เมื่อตอนนี้อำนาจศาลถูกท้าทาย ก็ต้องดูกันต่อไปครับว่า เรื่องนี้จะหาทางออกกันอย่างไร

สรุปคือ เรื่องท่อก๊าซธรรมชาติ ปตท. ก็กลับมาเป็นมหากาพย์ด้วยประการฉะนี้ครับ สาเหตุหลักเกิดจากมีบุคคลและหน่วยงานบางกลุ่มไม่เชื่อตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเมื่อหลายปีก่อนนั่นเอง

สำหรับในความเห็นส่วนตัวของผม การเอาท่อส่งก๊าซของ ปตท. ไปได้สำเร็จ นั้น อาจจะได้แค่เพียงความสะใจในช่วงสั้นๆ แต่ถ้ามองระยะยาวแล้ว มันไม่คุ้มกันเลยกับมูลค่าท่อเพียงไม่กี่หมื่นล้าน กับ ความพังพินาศของระบบความเชื่อมั่นของประเทศไทย ซึ่งประเมินค่าไม่ได้

ทุกวันนี้จึงได้แต่ภาวนาขอให้ผู้นำประเทศไทย ยึดมั่นในหลักกฎหมายและนิติรัฐอย่างมั่นคงครับ

----------------------------------------------------------------------------------------------------

แล้วถ้า เรื่องการที่จะให้กฤษฎีกาตีความเรื่องนี้ในขณะนี้ ทำได้หรือไม่? อย่างไร? ควรทำหรือไม่?

1. ความจริงแล้วมติ ครม. 18 ธันวาคม 2550 ที่รับทราบคำพิพากษาของคดีแปรรูป ปตท. บอกไว้ว่า หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาของศาล ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้ตีความครับ

2. แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือ ก่อนที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งรับรองการคืนทรัพย์สินของ ปตท. เป็นเวลาถึง 1 ปี (ระหว่างวันที่ 18 ธ.ค. 2550 - 26 ธ.ค. 2551) ไม่มีหน่วยงานใดยื่นให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความคำพิพากษาเลยครับ แม้แต่ สตง. เองก็ตาม

ดังนั้น จึงมองเป็นอื่นไม่ได้ว่า ก่อนศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งรับรอง ปตท. นั้น หน่วยงานของรัฐเองก็ไม่เคยมองว่ามีข้อโต้แย้งในการตีความคำพิพากษา

3. แม้ว่าต่อมา สตง. เลือกที่จะลืมข้อเท็จจริงสองข้อข้างต้นนี้ไป และส่งหนังสือไปแจ้งศาลปกครองสูงสุดภายหลังที่ศาลมีคำสั่งรับรองไปแล้วเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2552 ว่า สตง. ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกทรัพย์สิน (แทนที่จะส่งไปยังกฤษฎีกาตามมติ ครม.)

แต่ สตง. ก็ต้องไม่ลืมว่า ตนเองได้สละสิทธิ์ที่จะหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาไปแล้วตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ. 2552 เพราะ สตง. แจ้งศาลเองว่า "การแบ่งแยกทรัพย์สินครบถ้วนหรือไม่ ให้คำวินิจฉัยศาลเป็นที่สุด"

4. แต่พอศาลวินิจฉัยแล้วว่า ในความเห็นของศาล ปตท. ได้แบ่งแยกทรัพย์สินครบถ้วนตามคำพิพากษาแล้ว

สตง. กลับลืมคำมั่นสัญญาของตัวเองที่เคยให้ไว้ นำเรื่องส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตีความในสิ่งที่ศาลมีคำพิพากษาไปแล้ว

ดังนั้น ในความเห็นของผม จึงมองว่า การกระทำของ สตง. ที่ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ควรทำและไม่เหมาะสมครับ เพราะเป็นการท้าทายอำนาจศาลปกครองสูงสุดโดยตรง และยังเป็นการผิดคำพูดของตัวเองอีกด้วย

สำหรับในมุมของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็น่าเห็นใจอยู่นะครับ เพราะเป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล จะไม่รับเรื่องที่หน่วยงานรัฐส่งมาหารือก็ไม่ได้

ซึ่งเรื่องนี้ต้องถาม สตง. มากกว่าครับ ว่า เหตุใดจึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาล่าช้าไปถึง 7 ปี และถ้าคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นที่เหมือนศาลหรือแตกต่างจากศาล สตง. จะทำอย่างไรต่อไป?

เพราะความเห็นกฤษฎีกาไม่อาจเพิกถอนคำพิพากษาของศาลได้

ที่มา Pum Chakartnit