เงินเดือนซีอีโอ ปตท. ไม่เป็นความจริง แชร์ไปอาจมีความผิดใน พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550


++++++ข้อความส่งต่อเรื่องเงินเดือนซีอีโอ ปตท. ไม่เป็นความจริง++++++

👉 ค่าตอบแทนผู้บริหารเป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ปตท. กำหนด ซึ่งเชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานของ ปตท. ตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (Performance Agreement : PA) ที่กำหนดโดยกระทรวงการคลัง

👉 คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้พิจารณาค่าตอบแทนให้สะท้อนถึงผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ตลอดจนเป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรฐานของกลุ่มธุรกิจชั้นนำประเภทเดียวกัน

👉 โดยส่วนใหญ่บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์มีข้อกำหนดชัดเจน ไม่มีบัตรเครดิตฟรี บ้านฟรี หรือใช้จ่ายฟรีอย่างที่พูดกันไป เพราะค่าใช้จ่ายต่างๆ ต้อง มีหลักฐานเหตุผลการเบิก ซึ่งระบุลงในรายงานประจำปี โบนัสก็มีในรายงานประจำปีด้วยเช่นกัน

👋 หยุดแชร์ข่าวยุแยงบิดเบือนแบบนี้ซะที


*****คำเตือน*****

ความผิดใน พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ที่เราไม่คาดคิด!! อาจเสี่ยงติดคุก

1. การนำรูปผู้อื่นไปแชร์: ไม่ว่าจะแชร์รูปใคร ทั้งเพื่อน คนรู้จัก ดารา นักการเมือง หรือใครก็แล้วแต่ หากเรานำไปแชร์ หรือดัดแปลง ทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือได้รับความอับอาย มีความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 16 พรบ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550)

2. โพสข้อความด่า: การโพสข้อความด่าหรือจงใจกล่าวหา ใส่ร้ายผู้อื่น ซึ่งข้อความที่ไม่เป็นความจริง อันน่าจะทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย มีความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 14 พรบ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550)

พรบ ปิโตรเลียม ฉบับใหม่ ไม่ฟังเสียงประชาชนจริงหรือ?

พรบ ปิโตรเลียม ฉบับใหม่ ไม่ฟังเสียงประชาชนจริงหรือ?


พรบ ปิโตรเลียม ฉบับใหม่ ไม่ฟังเสียงประชาชนจริงหรือ? (ยาว แต่อ่านเถอะ จะได้รู้ว่าเป็นยังไง)

หากย้อนความหลังไปถึงการคัดค้านของกลุ่มต่างๆ ที่อ้างว่าเป็นภาคประชาชน ออกมาขับเคลื่อนในการคัดค้านเกี่ยวกับการดำเนินการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมที่รัฐดำเนินการภายใต้กฎหมายที่กำหนดขึ้น ได้มีข้อเรียกร้องต่างๆ นานา โดยสาระสำคัญคือให้หยุด ชะลอ สัมปทานรอบที่ 21 ไปก่อน หากยังไม่มีการแก้ไข พรบ.ปิโตรเลียม

โดยหากเรียงลำดับเหตุการณ์ที่ภาคประชาชนเสนอ โดยมีฝ่ายกลางทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โดยให้ทั้งสองนำเสนอข้อมูลนั้น จะเห็นว่า เวทีสัมมนาปฎิรูปพลังงานที่จัดขึ้น ณ สโมสรกองทัพบก และ การจัดอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปที่วัดอ้อน้อย โดยมีฝั่งเป็นกลางอย่าง หลวงปู่พุทธอิสระหาข้อสรุปให้ภาครัฐ และ ภาคประชาชน มีการเพิ่มข้อเสนอลงใน เงื่อนไขในการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และ กระทรวงพลังงานได้มีการเพิ่มเงื่อนไขตามข้อเสนอจากงานดังกล่าวจากระบบ Thailand III เป็น Thailand III+

จากนั้น ยังคงมีความต้องการและเรียกร้องให้ชะลอ รวมไปถึงหยุดสัมปทานไปก่อน โดยอ้างว่าต้องมีการแก้ไข พรบ. ปิโตรเลียม ภาครัฐ โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และกับ รัฐบาล จึงหาทางออกร่วมกัน โดยมีการจัดงานเสวนาอีกครั้ง โดยครั้งนี้ได้มีการจัดงานเวทีเดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 มี มล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายก เป็นประธาน และมีตัวแทนภาครัฐประกอบด้วย นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นแกนนำ ,นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน, นายบรรยง พงษ์พานิช คณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ และนายศิริพงษ์ ศุภกิจจานุสรณ์ นักวิชาการอิสระด้านกฎหมาย

สำหรับตัวแทนภาคประชาชนประกอบด้วย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ,หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนโยบายพลังงานและทรัพยากร มหาวิทยาลัยรังสิต, น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านพลังงาน และนายนพ สัตยาศัย กลุ่มวิศวจุฬาฯร่วมปฏิรูปประเทศไทย

โดยข้อเสนอจากเวทีดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไป เช่น เรื่องรายได้รัฐ ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และได้มีการชี้แจงให้ข้อมูลกันไปแล้ว และในข้อเสนอที่ความต้องการให้นำระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) เข้ามาใช้กำกับดูแลกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยนั้น ทางภาครัฐ ได้รับฟัง และรับไว้พิจารณา โดยได้เลื่อนและภายหลังได้ยกเลิกการเปิดสัมปทานรอบ 21 ออกไปก่อน และแก้ไขกฎหมาย เพิ่มระบบแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC) เพื่อให้รัฐได้มีทางเลือกเพิ่มขึ้นสำหรับการบริหารจัดการกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอนาคต เป็นไปตามที่ภาคประชาชนต้องการเรียบร้อยแล้ว

หากอ่านจนจบแล้ว คงได้แต่ฝากให้พิจารณา และ คิดตาม ว่า พรบ.ปิโตรเลียมฉบับใหม่ นั้น ได้มีการทำตามข้อเสนอของภาคประชาชนที่เรียกร้องกันหรือไม่

ที่มา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เวปไซต์ผู้จัดการ และ พลังงาน 24 ชั่วโมง
http://bit.ly/1HgI2LY
http://bit.ly/1Li94Je
http://bit.ly/1MeoXkI
http://bit.ly/1HWqdYV
http://bit.ly/1Piwa49

ลือสะพัด ไทยเสียเขตแดนและผลประโยชน์ทางทะเลให้เขมร

ลือสะพัด ไทยเสียเขตแดนและผลประโยชน์ทางทะเล ให้เขมร แต่คุณจะอึ้ง ถ้าได้รู้ข้อมูลอีกด้าน



เรื่อง เขตแดน พื้นที่ทับซ้อน กับ ผลประโยชน์ทางทะเล ระหว่างไทยกับกัมพูชา เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่มีคนให้ความสนใจกันมาก เลยมีบางท่านนำมาเป็นประเด็น อ้างเป็นเหตุผลใน การคัดค้านการออกสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 สิ่งที่นำเสนอ มันก็ถูกในบางส่วน แต่ถูกไม่ทั้งหมด ถ้าตัดความเห็นของส่วนตัวออกไปก็น่าจะดี การลากเส้นผ่านเกาะกูด ตามหลักสากล ซึ่งประเด็นนี้รัฐเขาก็รู้อยู่แล้ว หน่วยงานที่รับผิดชอบก็ไม่ยอมอยู่แล้ว มันจึงเป็นที่มาของการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนระหว่างเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือ ตามภาพ และ มีความชัดเจนอยู่แล้ว ว่าจะต้องปลดพื้นที่ในส่วนเหนือ กลับมาเป็นของไทยให้ได้ก่อนที่จะมีการเจรจาพื้นที่ส่วนล่างซึ่งจะพัฒนาร่วมกัน หรือ จะออกมาอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ต้องเจรจากัน แต่ย้ำว่า ต้องปลดพื้นที่ส่วนบนให้ได้ก่อน ส่วนประเด็นที่หยิบยกขึ้นมา พูดมาหลายครั้งแล้วว่า การออกสัมปทานรอบใหม่นี้ การตีพื้นที่แปลง G1/57 เป็นการยอมรับเส้นไหล่ทวีปที่กัมพูชาอ้างสิทธิโดยปริยาย ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างแรง และก็ไม่เคยรับฟังหน่วยงานรัฐที่ออกมาชี้แจงให้ข้อมูลว่า มันไม่เกี่ยวกัน เหตุที่แปลงมันแหว่งไป เว้นไปนั้น เพราะมันไปติดกับพื้นที่ที่ได้เคยออกสัมปทานไปแล้วในรอบแรก ปัจจุบันมีผู้รับสัมปทานอยู่ (แต่ยังไม่สามารถดำเนินงานได้) ไม่ได้เป็นเพราะเรายอมรับ ไม่เกี่ยวอะไรกับเกาะกูด มันเป็นคนละเรื่องกัน





ส่วนเรื่องการแบ่งพื้นที่ทางทะเลกับบนบกนั้นยิ่งคนละส่วนกัน พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ ยืนยันด้วยเสียงหนักแน่น ก่อนอธิบายว่า การแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น เขตแดนทางบกกับเขตแดนทางทะเล เรามีลักษณะพิเศษคือ ข้อตกลงทางบกฉบับหนึ่งและมีข้อตกลงทางทะเลอีกฉบับหนึ่ง ดังนั้นไม่ว่าเขตแดนทางบกจะถูกปรับปรุงก็ไม่เกี่ยวข้องกับเขตแดนทางทะเล พลางอธิบายเรื่องเขตแดนทางทะเลของไทยว่า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา เขตแดนทางทะเลถือหลักสองประการคือ หนึ่งทฤษฎีเปิด หรือกฎเสรีภาพทางทะเล ผู้คิดเป็นนักกฎหมายสหรัฐฯเนื้อหาบอกว่า ทะเลน่าจะเป็นสมบัติร่วมของมนุษยชาติ แม้จะมีคนเห็นด้วย แต่ประเทศที่เป็นเกาะอย่างอังกฤษเดือดร้อน เพราะเห็นว่าตัวเองมีความปลอดภัยต่ำ จึงให้นักกฎหมายของตนเขียนทฤษฎีทะเลปิดขึ้นใหม่ เนื้อหาบอกว่า รัฐควรสามารถที่จะเป็นเจ้าของสิทธิทะเลในส่วนที่ตัวเองดูแล จึงเกิดเป็น 2 ทฤษฎีที่ใช้กันอยู่ ซึ่งแนวคิดของ พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ชัดเจนแล้วว่า เส้นแบ่งเขตแดนทางบกกับทางทะเลแยกจากกัน

แฉความมั่วของคลิป เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย

แฉความมั่วของคลิป เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย อย่าให้ใครปล้นสติปัญญาของเราไป


น่าแปลกใจ ที่ข้อมูลลักษณะนี้ถูกเผยแพร่ออกไปมากทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของภาครัฐ และจะส่งผลกระทบกับพวกเรา ประชาชนคนไทย ต่อการใช้พลังงานในอนาคต....แม้จะเป็นคลิปที่เก่าแล้ว ขออธิบาย ให้ข้อมูลที่ถูกต้องไว้น่าจะดี ....(ถอนหายใจ) หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆได้บ้าง ถ้าพวกเขาเปิดใจรับฟัง และนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกันด้วยเหตุผล และสำหรับคนที่รับฟัง และเข้าใจแล้ว อาจได้ใช้กรณีที่พบเจอการเผยแพร่คลิปดังกล่าวนนี้ที่ส่งต่อกันมาทางไลน์ (ช่วงนี้วนมาอีกแล้ว) ขอให้ช่วยกันก๊อบปี้ ลิงค์ต่อไปนี้ ไปใช้ในการอธิบายให้ความจริงได้เลยครับ
อ่านข้อความได้ที่นี่ http://energythaiinfo.blogspot.com/2016/05/blog-post_6.html
สรุปภาพโดยรวม กรณี ไม่อยากตามอ่านทั้งหมด..... พิธีกรพยายามนำเสนอข้อมูลจากหลายๆที่ เน้นว่าเป็นข้อมูลภาครัฐ เพื่อนำเสนอว่า ประเทศไทยร่ำรวยพลังงาน มีการให้สัมปทานครอบคลุมพื้นที่ที่บิดเบือนว่าเป็นแหล่งมีปิโตรเลียมทั่วประเทศ แม้แต่ในกรุงเทพมหานครก็ยังมีปิโตรเลียมอยู่ใต้พื้นดิน ชี้นำว่าประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ใต้พื้นดินมีปิโตรเลียมอยู่มากมาย มากพอจนส่งออกได้ รายได้จากการส่งออกมากกว่าข้าวและยางพารา แต่ทำไม เรายังต้องใช้พลังงานราคาแพง ยังต้องขาดแคลนก๊าซเอลพีจี ทั้งที่มีแหล่งน้ำมัน แหล่งก๊าซติดอันดับโลก..เรามีก๊าซแซงหน้ากลุ่มประเทศโอเปค และด้วยเหตุที่เรามีมากมายขนาดนี้ แต่ทำไมรายได้รัฐกลับได้น้อยมาก นี่คือการปล้นประเทศไทยพี่น้อง.....
อ่านข้อความได้ที่นี่ http://energythaiinfo.blogspot.com/2016/05/blog-post_6.html
คำตอบแบบภาพรวม...เรามีปิโตรเลียมจริง ประกาศให้โลกรู้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี 2524 ยุคโชติช่วงชัชวาลโน่น..รัฐไม่เคยปกปิด มีรายงานประจำปีทุกๆ ปี หลายสิบปีที่ผ่านมามีรายงานประจำเดือนอีกด้วย ใครที่ชอบอ้างว่า ไหนรัฐบอกว่าไม่มีๆ ไม่จริงนะครับ เรามีในระดับที่ไม่พอใช้ ต้องนำเข้าในปริมาณมากโดยเฉพาะน้ำมันดิบ ..แม้เราจะผลิตได้เพิ่มขึ้นมาตลอด 30 ปี แต่เราก็ใช้เพิ่มมากขึ้นด้วยเหมือนกัน...จึงต้องสำรวจหาภายในประเทศเพิ่มเพื่อทดแทนที่ใช้ไปและลดการนำเข้า
อ่านข้อความได้ที่นี่ http://energythaiinfo.blogspot.com/2016/05/blog-post_6.html
เราออกสัมปทานเพื่อให้เอกชนมาลงทุนสำรวจรับความเสี่ยงแทนรัฐ พื้นที่แปลงสัมปทานที่ออกให้ไปครอบคลุมแอ่งตะกอนโดยมีระยะเวลาจำกัด และบังคับให้เอกชนต้องคืนพื้นที่ คืนแปลงกลับให้รัฐ ...หลุมทวีวัฒนา ที่เป็นข่าวนั้น เป็นหลุมสำรวจในแปลง L45/50(รอบที่20) ผลการเจาะสำรวจไม่พบปิโตรเลียม แปลงดังกล่าวได้คืนกลับให้รัฐหมดแล้วหลังจากการสูญเสียเงินลงทุนไปหลายร้อยล้านบาท พื้นที่ตรงนั้นกลายเป็นเตนท์ขายรถยนต์มือสองไปแล้ว....การจัดอันดับประเทศที่มีปิโตรเลียมนั้น อยากจะบอกว่าอันดับไม่สำคัญเท่าปริมาณที่มีอยู่ ถ้าเทียบกับอันดับต้นๆ เรามีไม่ถึง 1% ... แม้เราจะมีแหล่งก๊าซ ผลิตก๊าซได้มากกว่ากลุ่มประเทศโอเปคหลายประเทศ (โอเปคเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบ) แต่เราก็ผลิตได้ไม่พอใช้ ต้องนำเข้าทั้งก๊าซและน้ำมันดิบมูลค่าเป็น ล้านๆบาท ทำให้เราขาดดุลพลังงงานปีละกว่า 1 ล้านล้านบาท ที่เราเคยส่งออกน้ำมันดิบเพราะโรงกลั่นไม่ต้องการด้วยเหตุผลทางด้านเทคนิค ปัจจุบันรัฐขอความร่วมมืองดส่งออกน้ำมันดิบ เอกชนกับโรงกลั่น แบกรับภาระกันเอง ....รายได้รัฐจัดเก็บตามศักยภาพปิโตรเลียมที่ประเทศเรามีอยู่ เก็บมากไปก็จะขาดแรงจูงใจให้เอกชนมาเสี่ยงลงทุนให้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายด้วย....และที่ผ่านมาภายใต้ระบบสัมปทาน Thailand III รัฐมีส่วนแบ่งรายได้คิดจากกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว เฉลี่ยรวม ในสัดส่วนรัฐได้ 70 เอกชนได้ 30 เป็นอย่างนี้แล้ว จะเรียกว่า ปล้นประเทศไทยได้อย่างไร...... 
อ่านข้อความได้ที่นี่ http://energythaiinfo.blogspot.com/2016/05/blog-post_6.html
ข้อมูลที่พิธีกรนำเสนอนั้น มีทั้งจริง และไม่จริง ผสมปนกันไป โดยเลือกที่จะพูด เลือกที่จะเน้น จับบางประเด็น บางคำถามชี้นำ มีการเชื่อมโยงข้อมูล รูปภาพ ให้ดูน่าเชื่อถือ ทำให้คนฟังคล้อยตามได้ และอาจเข้าใจผิดไปได้ จะด้วยความไม่รู้ หรือด้วยความตั้งใจหรือไม่ ลองพิจารณากันนะครับ ว่าทั้งสองท่านนั้น เป็นผู้มีธรรมาภิบาล ตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือน และให้ร้ายคนอื่นด้วยหรือไม่ อย่างไร ... 
พิธีกร ท่านบอกว่า ทุกบรรยากาศ คือ การรายงานความจริง ลองพิจารณากันดูนะครับ 
ตัวอย่าง การให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน และคำชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้ 
อ่านข้อความได้ที่นี่ http://energythaiinfo.blogspot.com/2016/05/blog-post_6.html
ในช่วง 10 นาทีแรก นำเสนอข่าวการขุดเจาะสำรวจในเขตทวีวัฒนา พุทธมณฑล พิธีกรพยายามชี้นำเสมือนว่า บริเวณภาคกลางตอนล่าง อ่าวไทยตอนบน มีการค้นพบปิโตรเลียมกันมากโดยอ้างรูปแผนที่จากหน่วยงานรัฐ(กรมโยธาธิการ...) ว่าพื้นที่สีเหลือเป็นแหล่งปิโตรเลียม เชื่อมโยงไปที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ มีการให้สัมปทานเอกชนไปเป็นพื้นที่ใหญ่มาก ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพ โยงไปบริษัทมิตรา โยงไปว่า กระทรวงพลังงานเป็นผู้ร่วมลงทุน และสรุปว่า ในบริเวณ กรุงเทพมหานคร มีการเจาะสำรวจ และมีการพบน้ำมันเตรียมที่จะผลิตกันแล้ว ... 

- นาทีที่ 4.46 พิธีกรกล่าวว่า “ที่เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานครของเรา ก็มีการพบ และ พร้อมที่จะดูดกันแล้ว พี่น้องเลยประท้วง” .....และก็เน้นย้ำว่า "มีแท่นขุดเจาะ และพร้อมที่จะผลิตน้ำมันกันแล้ว " 
- นาทีที่ 7.07 “กรุงเทพของเราเป็นบ่อน้ำมัน” ความจริงตอนนี้เป็นไงละ บริเวณหลุมทวีวัฒนา ปัจจุบัน กลายสภาพเป็นเต็นท์รถไปแล้วครับ 



- นาทีที่ 9.04 “สรุปแล้ว กรุงเทพมหานคร มีปิโตรเลียมใต้พื้นกรุงเทพ ใกล้เคียงกับอ่าวแมกซิโกหรือทะเลเหนือ อันนี้คุณยืนยัน....” พูดอะไรออกไปไม่คิดเลย พยายามรับลูกกัน...แต่อีกฝ่ายก็ไม่ยืนยัน

ข้อมูลที่ถูกต้อง คือ 

- ข่าวการขุดเจาะหลุมทวีวัฒนาเป็นเรื่องจริง รัฐออกสัมปทานปิโตรเลียมให้เอกชนไปสำรวจเป็นเรื่องจริงทั้งบริเวณภาคกลางตอนบน ตอนล่าง อ่าวตัวกอ ภาคอีสาน ภาพแผนที่จากกรมโยธาธิการอาจเป็นรูปจริง แต่พื้นที่สีเหลืองที่กล่าวอ้างว่าเป็นแหล่งที่พบปิโตรเลียมถ้าหมายถึงเต็มพื้นที่เป็นเรื่องเท็จ 


รัฐออกสัมปทานแปลง L45/50 และ L46/50 ครอบคลุมบริเวณกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อให้เอกชนไปลงทุนสำรวจปิโตรเลียม.... ปัจจุบันเอกชนได้คืนแปลงกลับคืนให้รัฐหมดแล้ว หลังเจาะหลุมสำรวจไป 1 หลุม (หลุมทวีวัฒนา) ไม่พบปิโตรเลียมแต่อย่างใด พื้นที่บริเวณหลุมทวีวัฒนาปัจจุบันกลายสภาพเป็นเตนท์ขายรถยนต์มือสองไปแล้ว ดังนั้น เรื่องราวทั้งหมดที่พิธีกรพยามนำเสนอ เชื่อมโยง ถ้าทำให้ท่านคล้อยตามและคิดไปว่า บ้านเรามีปิโตรเลียมอยู่มากมายนั้น...ไม่เป็นความจริง เรามีอยู่จำนวนหนึ่งแต่ไม่พอใช้ ต้องนำเข้าจนขาดดุลพลังงาน 

ในช่วง 10 นาทีต่อมา(น.10-20) พิธีกรพยายามชี้นำ ให้ประชาชนเข้าใจว่า ประเทศต่างๆ ที่อยู่บริเวณ อ่าวเปอร์เซียตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มโอเปค มีน้ำมันมากมาย ...ในอ่าวไทย มีรูปร่าง มีความอุดมสมบูรณ์ คล้ายๆ กัน ดังนั้น อ่าวไทยจึงเป็นแหล่งทรัพยกรน้ำมันสำคัญ....อ้างข้อมูล การให้สัมภาษณ์ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงฯ แล้วทึกทักไปเองว่าภาคอีสานเป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ มีพื้นที่ 1 แสนตารางกิโลเมตร ใหญ่เหมือนประเทศซาอุ ชี้นำว่าการให้สัมปทานสำรวจเป็นพื้นที่กว้างอาจกระทบพื้นที่เกษตรกรรม คนปลูกข้าวเดือดร้อน พูดซะน่ากลัวเลยนะครับ ใต้ต้นข้าวเป็นบ่อน้ำมัน 

- นาทีที่ 17.07 พิธีการกล่าวอ้างว่า "รักษาการกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ คาดว่า พื้นที่อีสานมีมีโครงสร้างใหญ่มากมีพื้นที่กว่า 1 แสนตารางกิโลเมตร" เอาคำสัมภาษณ์ท่านมา บิดเบือน อ้างท่านอธิบดีพูดว่า "ถ้าเราเจอก๊าซ..ในทุกโครงสร้าง..เราจะใหญ่กว่าซาอุ" แต่พิธีกรสองคนเลือกบางคำมาพูดต่อ..เขาบอกว่า "ถ้าเจอ" (if) นะฮ้าฟ แล้วมันเจอมั้ยล่ะ? 
- นาทีที่ 18.13 "ท่านพูดว่าเราใหญ่กว่าซาอุ..."

ข้อมูลที่ถูกต้อง คือ 

- การเปรียบเทียบอ่าวไทยกับอ่าวเปอร์เซียว่ามีโอกาสที่จะมีแหล่งน้ำมันเหมือนกัน อาจทำให้คนทั่วไปสับสน เพราะการจะมีหรือไม่มีแหล่งน้ำมัน มีปัจจัยต่างๆ มากมาย และข้อเท็จจริงในปัจจุบันก็ชี้ชัดอยู่แล้วว่า เรามีมากน้อยแค่ไหน พอใช้หรือไม่ จะแค่เปรียบเทียบรูปร่างอ่าวโดยไม่พูดถึงข้อมูลการพบ การผลิต จริงๆ ในปัจจุบันเลยหรือครับ


- กลุ่มประเทศโอเปค เป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันดิบ (ไม่ได้ส่งออกก๊าซ) ประเทศบริเวณอ่าวเปอร์เซีย ได้พิสูจน์แน่ชัดแล้วว่ามีน้ำมันดิบอยู่มากจริง จนเหลือใช้ และส่งออกทำรายได้เข้าประเทศ แต่ประเทศไทยขุดน้ำมันดิบจากแปลงสัมปทานได้เองประมาณ 150,000 บาร์เรลต่อวัน ไม่พอใช้ ต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่นอีกกว่า 850,000 บาร์เรลต่อวัน ขาดดุลพลังงานมากมายกว่า 1 ล้านล้านบาท แล้วจะไปเปรียบเทียบอะไรกับ ซาอุ หรือ กลุ่มโอเปค 
- ในภาคอีสาน มีการสำรวจมาโดยตลอด โดยเจาะสำรวจไปกว่า 50 หลุม ปัจจุบัน พบแหล่งก๊าซเพียง 3 แหล่ง ผลิตรวมกันได้ประมาณ 130 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน (บ้านเราใช้ 5,000 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน) และไม่เคยมีข้อมูลว่าพบแหล่งน้ำมันดิบครับ..การกล่าวอ้างถึงบุคคล โดยเลือกเน้นทำให้เกิดความเข้าใจผิด ...รองอธิบดี ท่านกล่าวว่า ถ้าเราเจอก๊าซ........พิธีกรละเลย แต่พยายามชี้นำ และย้ำว่า ท่านพูดว่าเราใหญ่กว่าซาอุ (18.13) 
- นํ้ามันที่อยู่ใต้ดินไม่ได้อยู่เป็น "บ่อ" นะครับ แหล่งน้ำมันในบ้านเราส่วนใหญ่อยู่ในโครงสร้างหินที่มีรูพรุน ลึกลงไป 1-3 กิโลเมตร ไอ้ที่ว่าใต้ท้องนาเป็นบ่อน้ำมันน่ะมีแต่ในฝันครับ และการสำรวจในบริเวณพื้นที่จริงต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และต้องผ่านความเห็นชอบจากหน่วยงานรัฐก่อนลงพื้นที่ทำจริง 

ตัวอย่างแหล่งผลิตและหลุมผลิต 

ในช่วง น. 20-30 พยายามชี้นำ รูปแอ่งตะกอนต่างๆ แปลงสำรวจ ที่ปรากฎอยู่ในแต่ละภูมิภาค ในแผนที่ประเทศไทย รูปแผนที่แปลงสัมปทานในรอบที่ 19 และ 20 ชี้นำเสมือนว่า ประเทศไทยมีปิโตรเลียมอยู่มากมาย โดยเฉพาะภาคอีสาน ถ้าไม่มีจะให้สัมปทานเอกชนไปทำไม...โยงไปถึงข้อมูลต่างประเทศ CIA EIA ชี้ให้เห็นว่าอันดับเราดีกว่าหลายๆ ประเทศ จาก 200 ประเทศ แสดงว่าเรามีมาก และโยงไปว่าเราเก็บรายได้น้อยเมื่อเทียบกับประเทศโบลิเวีย...อยากให้ทำเหมือนเขา 

- นาทีที่ 19.37 "เราเห็นรอยด่างๆ เป็นแผ่นใหญ่สอดคล้องกับที่ท่าน รองอธิบดี .....ที่เห็นเป็นเงาๆที่คือ แหล่งปิโตรเลียม... ใหญ่ขนาดนี้ ท่านทำผิดหรือเปล่าครับ...” สังเกตพฤติกรรม พิธีกรนะครับ 
- นาทีที่ 20.15 "พรุ่งนี้จะยังอยู่ไหมครับ เราประกาศไปอย่างนี้..... พฤติกรรมแบบนี้พิจารณากันดูนะครับ 
- นาทีที่ 20.53 "สีอื่นคือ เจาะกันอยู่ ดูดกันแล้ว นี่เกือบทั้งประเทศเลยนะ ก็แปลกใจนะว่า ถ้าเราไม่มีทำไมให้สัมปทาน แล้วทำไมมาซื้อกัน นั่นแสดงว่ามันต้องมีซิค่ะ " 
- นาทีที่ 21.10 “สีม่วงๆ นี่กำลังดูดกันอยู่แล้วค่ะ สีเหลืองสำรวจ สีส้มกำลังดำเนินการ ส่วนสีฟ้านี่ให้ใหม่นะค่ะ ปรากฎว่าเต็มอีสานเลยค่ะ” 
- นาทีที่ 21.50 “พื้นที่ที่มีปิโตรเลียม น้อยกว่าพื้นที่ที่ไม่มี นะเนี่ย จากภาพนี่นะครับ” 
- นาทีที่ 26.20 เราสามารถส่งออกน้ำมันไปสหรัฐอเมริกา 


ข้อมูลที่ถูกต้อง คือ 
- แอ่งตะกอน ที่ปรากฏในแผนที่ เป็นแอ่งใหญ่ๆ เต็มไปหมดนั้น ไม่ได้เป็น แหล่งปิโตรเลียม ตามที่พิธีกรพยายามชี้นำ บอกความเท็จ เน้นยำว่าเป็นข้อมูลจากภาครัฐ ..ใช่ครับ รูปแผนภาพนะใช่ แต่ความเห็นผิดๆ นะไม่ใช่ และพยายามทำให้คนเข้าใจว่ารัฐจะปกปิด (20.15) พฤติกรรมอย่างนี้ มีธรรมาภิบาล หรือไม่ครับ 
- ภาพแปลงสำรวจ เป็นสีเหลียม สีต่างๆ นั้น ก็เป็นเพียงแปลงสำรวจที่แสดงขอบเขตพื้นที่เพื่อการสำรวจ ไม่ได้หมายถึงพื้นที่ที่มีปิโตรเลียม และพื้นที่แปลงสำรวจที่ให้เอกชนไปนั้น มีการบังคับคืนกลับมาให้รัฐเมื่อเวลาผ่านไป ตัวอย่างในรอบที่ 20 ออกประกาศเชิญชวน 68 แปลง เอกชนสนใจมายื่นขอเพียง 28 แปลง ซึ่งปัจจุบันคืนกลับให้รัฐ เหลืออยู่เพียง 7 แปลง และพบปิโตรเลียมเพียง 1 แปลงเท่านั้น ที่บอกว่าดูดๆ กันแล้ว ตามสีนั้น น่าจะจินตนาการ บิดเบือนไปเอง 


- ต้องขอบอกว่าอันดับที่...ไม่ได้สำคัญ ไม่ได้บ่งบอกถึงปริมาณที่มีอยู่จริง หรือปริมาณที่ผลิตได้จริง ถ้าสังเกตรูปกราฟจะพบว่า แม้เราจะดูเสมือนว่าอยู่อันดับต้นๆ จาก 200 ประเทศ แต่ปริมาณกลับมีน้อยมากถ้าเทียบกับลำดับก่อนหน้าเรา คือ เรามีไม่ถึง 1% เป็นต้น และการเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ดูจะแปลกๆ เช่น เปรียบเทียบว่าเรามีก๊าซ ผลิตก๊าซ ได้มากกว่าอีกหลายประเทศในกลุ่มโอเปค ...โอเปคเป็นกลุ่มประเทศส่งออกน้ำมันดิบนะ ไม่ได้รวมตัวกันส่งออกก๊าซ (มีน้ำมันดิบมากไม่จำเป็นต้องมีก๊าซมากนะครับ) อันนี้เป็นการสร้างกำดักความคิด ชี้นำให้หลงเชื่อว่า เรามีมาก 


- การส่งออกน้ำมันดิบที่โรงกลั่นบ้านเราไม่ต้องการ ถือเป็นเรื่องปกตินะครับ แถมส่งออกมีเงินไหลเข้าประเทศด้วย ถ้ามองภาพใหญ่ก็เหมือนการแลกเปลี่ยนสินค้ากัน โรงกลั่นบ้านเรานำเข้าน้ำมันดิบที่เหมาะสม กลั่นแล้วได้น้ำมันสำเร็จรูปตรงตามความต้องการใช้ของประชาชน ...ถ้าสงสัยว่า ส่งออกน้ำมันดิบและเงินไปเข้ากระเป๋าใคร ก็ต้องบอกว่า ไม่ว่าจะขายในประเทศหรือส่งออก เงินก็เข้ากระเป๋าเอกชนผู้รับสัมปทานเหมือนกันเพื่อนำไปทดแทนเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงเงินที่ต้องจ่ายคืนกลับมาให้รัฐในรูปแบบต่างๆ เช่น ค่าภาคหลวง เงินผลประโยชน์ตอนแทนพิเศษ และ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 
- การจัดเก็บรายได้ รัฐไม่สามารถกำหนดเอาตามความชอบใจได้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อสภาพการลงทุน การพัฒนาแหล่ง การผลิตปิโตรเลียม การแบ่งรายได้รัฐจะต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพปิโตรเลียมที่ประเทศเรามี ความยากง่าย ความเสียง และอื่นๆ ถ้าจะเอาแบบโบลิเวียก็ต้องศึกษาให้รอบด้าน และดูว่าปัจจุบันโบลิเวียมีสภาพเป็นอย่างไร ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมบ้านเขา เป็นอย่างไร เรื่องแบบนี้ต้องศึกษาให้ละเอียดนะครับ จะให้รัฐเก็บ 80 และให้เอกชน 20 ในบ้านเราคงทำไม่ได้ เพราะค่าเฉลี่ยในบ้านเราจากมูลค่า 100 เป็นเงินลงทุน ค่าใช้จ่ายไปแล้ว 40 เหลืออีก 60 แบ่งกันระหว่างรัฐกับเอกชน

ต่อมา พิธีกร ก็กลับมาตอกย้ำว่า เรามีมากจากหลักฐานต่างๆๆ ที่กล่าวมา.... ย้ำคิดว่าเรามีมาก เพื่ออะไร ก็เพื่อสร้างแนวคิดร่วม ปลุกกระแสชาตินิยม และโยงไปประเด็นถัดไป นำเสนอว่าเรามีก๊าซเยอะ ที่เราขาดเอลพีจีเพราะ เรามีโรงแยกก๊าซไม่พอ การพยายามนำเสนอ ทิศทางการผลิตก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท และน้ำมันดิบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ตามข้อมูลรัฐ แล้วพยายามชี้นำว่า การใช้ไม่ได้เพิ่มขึ้นแสดงว่าบริษัทน้ำมันรวย กำไรมาก... เรามีมากจนต้องส่งออก เอามูลค่าไปเทียบกับ การส่งออกข้าว ยางพารา ...ตอกย้ำว่า เรามีพลังงานมากพอจะส่งออก ...เรามีเกือบ 9 แสนบาร์เรล ...ชี้นำให้เอา 159 คูณ เพื่อแปลงเป็นลิตร แล้วพาไปดูข้อมูลหลุม ว่ามีมาก แสดงว่าเรามีปิโตรเลียมมาก ขนาดแหล่งฝางค้นพบบ่อแรกสมัย ร.5 ปัจจุบันยังไหลอยู่ ชี้นำว่าเรามีมากอีก เชื่อมโยงไปรายงานกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เอาแผนที่มาแสดง เพื่อตอกย้ำอีกว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวใต้พื้นดินมีปิโตรเลียม...เรามีมาก...แล้วก็วนกลับไปว่า เรารับส่วนแบ่งจากปิโตรเลียมน้อย...ไม่เป็นธรรม 

- นาทีที่ 31.25 วิกฤตราคาน้ำมัน และราคาก๊าซ ของประเทศไทยวันนี้ มันต้อง คิดกันใหม่แล้วมั่งค่ะ ว่าตกลงเราไม่ได้ขาดแคลน แต่เราทำอะไรกับสิ่งที่เรามี มันมีจริงอย่างนี้แล้ว แล้วประเทศไทยเป็นยังไงค่ะ 
- นาทีที่ 35.15 ประเทศไทยมีก๊าซเยอะ ..ปัญหาเรื่อง เอลพีจีขาด เป็นเพราะโรงแยกก๊าซมีไม่พอ 
- นาทีที่ 35.52 เรามีเยอะกว่าที่เราจะใช้ เรามีเยอะทีเดียว 
- นาทีที่ 38.14 สถิติที่น่าสนใจว่า คนไทยตั้งแต่ปี 2539 ก็ใช้พลังงานไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย... 
- นาทีที่ 39.08 ประเทศไทยส่งออกพลังงานมากกว่ายางพาราและข้าว.....ตกลงแล้วเรามีพลังงานมากพอจะส่งออกเป็นพลังงานปิโตรเลียม 
- นาทีที่ 43.30 เกือบ 9 แสนบาร์เรลต่อวัน ที่เรามีปิโตรเลียมของเราเอง....เยอะไม่เยอะก็ใช้ 159 คูณเช้าไปเป็น ลิตร 
- นาทีที่ 44.52 บ่อฝางเราค้นพบบ่อแรกตั้งแต่ รัชกาลที่ 5 วันนี้มีน้ำมันดิบไหลอยู่ 1,500 บาร์เรลต่อวัน 
- นาที่ที่ 45.20 เอ..เราบอกอย่างนี้ เดี๋ยวพรุ่งนี้กระทรวงเข้าไม่เปลี่ยนเวบไซด์หรือ...เกรงว่าเปิดไปจะไม่เจอเสียล่ะ (รอบ 2 แล้วนะครับ นิสัยแบบนี้) 
- นาทีที่ 48.14 มูลค่าปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นตลอด แต่สิ่งที่เราได้ไม่ค่อยขึ้นเท่าไร....48.57 ปริมาณมูลค่ากระโดดไปมาก แต่สิ่งที่ประเทศได้ไม่เห็นกระโดดไปด้วย 
- นาที่ที่ 50.51 เราซื้อก๊าซน้ำมันดิบในราคาตลาดโลก แพง

ข้อมูลที่ถูกต้อง คือ 
- ประเด็นก๊าซเรามีเยอะหรือไม่ ข้อเท็จจริงคือ เราผลิตก๊าซจากอ่าวไทยได้ประมาณ 3,600 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน เรามีโรงแยก ที่สามารถแยกก๊าซได้ประมาณ 2,800 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ถามว่าทำไม่ไม่สร้างโรงแยกก๊าซเพิ่ม..ตอบว่า สร้างในตอนนี้ก็ไม่คุ้มค่า เพราะก๊าซกำลังจะหมดไปจากอ่าวไทย -การนำตัวเลขการผลิต ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท และ น้ำมันดิบ มาเหมารวมกันเป็นหน่วยบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ แต่เวลาจะใช้พูดถึงปริมาณรวม กลับพูดแค่ บาร์เรล การกล่าวว่าเราผลิตได้วันละ 8-9 แสนบาร์เรล ...แล้วแปลงเป็นลิตร ..เพื่อเจตนาให้เปรียบเทียบกับ การใช้น้ำมันเบนซิน ดีเซล ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ ก๊าซไม่สามารถกลั่นมาเป็นน้ำมันเบนซิน ดีเซลได้ 
- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นหน่วยงานรัฐ ที่เปิดเผยข้อมูลการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้ละเอียดมาก ซึ่งคงไม่มีหน่วยงานไหนในโลก ที่จะเปิดเผยข้อมูลมากขนาดนี้ แต่ก็มีการกะแหนะกระแหน ถึง 2 ครั้ง จากพิธีกรชาย เกรงว่า กรมฯจะชิงเปลี่ยนหรือปิดเวบไซด์หนี ไม่ให้ประชาชนเข้าไปดูข้อมูล ภายหลังดูคลิปนี้ ซึ่งต้องบอกว่า เป็นความคิดที่ดูไม่งามเอาเสียเลย.... ผมไม่เห็นว่ามันจะมีอะไร ที่ต้องปิดบัง ต้องชิงปิด กลัวคนจะเข้าไปดู ...ก็ในเมื่อกระทรวง เขาเปิดให้ดู มาหลายปีแล้ว ใครจะเอาข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อก็สามารถทำได้ แต่ถ้าเอาไปสร้างเรื่อง ชี้นำ ให้คนเข้าใจคลาดเคลื่อน อย่างที่ คลิป นี้ทำอยู่ใช่หรือไม่ คงไม่ดีนัก พิจารณากันดูนะครับ พฤติกรรมแบบนี้ 
- การส่งออกน้ำมันดิบ เป็นเรื่องปกติ เพราะน้ำมันดิบเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่หาซื้อได้เสรี โรงกลั่นภายในประเทศเป็นผู้จัดหาน้ำมันดิบที่เหมาะสมกับโรงกลั่นของตน ถ้าน้ำมันดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับโรงกลั่น ก็ไม่แปลกครับ ซึ่งข้อเท็จจริงมีการส่งออกน้ำมันดิบจริง แต่ก็เป็นปริมาณน้อย ถ้าเทียบกับการนำเข้าน้ำมันดิบ 

- การมีหลุมปิโตรเลียมมาก ไม่ได้หมายถึงเรามีปิโตรเลียมมาก เพราะต้องดูว่าเราผลิตได้มากน้อยแค่ไหนในแต่ละปี ซึ่งถ้าติดตามข้อมูลจะพบว่า ในแต่ละปีมีการขุดเจาะหลุมไม่น้อยกว่า 500 หลุม เพื่อทดแทนหลุมที่หยุดไหล หมดสภาพ ซึ่งหมายถึงต้อง ลงทุนติดตั้งแท่นหลุมผลิต เจาะหลุมผลิตเพิ่มขึ้น...


- พิธีกรพยายามชี้นำโดยนำภาพมูลค่าปิโตรเลียม และ การเก็บค่าภาคหลวง เพื่อบิดเบือนว่า สิ่งที่ประเทศไทยได้ เพียงน้อยนิด ประเทศไทยใจดี ซึ่งในช่วงแรกไม่บอกว่า รายได้รัฐนอกจากค่าภาคหลวงแล้ว ยังมี ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ และ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และไม่ได้กล่าวถึง เงินลงทุนที่เอกชนต้องใช้จ่ายไป...


- แนวโน้มรายได้เข้ารัฐเพิ่มขึ้นทุกปี...แต่พิธิกรบอกว่า เราไม่ได้เพิ่มขึ้น ไม่กระโดดตามมูลค่าปิโตรเลียม
- ราคาก๊าซในบ้านเราถูกกว่าราคาก๊าซนำเข้า โดยราคาก๊าซที่ขุดได้ ก่อนขายเอกชนต้องมาขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐว่าจะขายในราคาเท่าใด...ส่วนราคาน้ำมันดิบเป็นไปตามราคาตลาดโลกจริง..
- การพยายามนำเสนอว่ารัฐจัดเก็บได้น้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะถ้าเปรียบเทียบตามหลักวิชาการ ตามข้อมูลจริง จะพบว่าภายใต้ระบบสัมปทานปัจจุบัน Thailand III รัฐได้ส่วนแบ่งสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ ทั้งนี้การจะเก็บรายได้รัฐมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับศักยภาพปิโตรเลียมและนโยบายของแต่ละประเทศ แต่ถึงกระนั้นก็ต้องคำนึงถึงด้วยว่าเอกชนจะอยู่รอดด้วยหรือไม่(อันนี้ไม่ได้เข้าข้างเอกชน แต่ถ้าเขาอยู่ไม่ได้ ก็ไม่สามารถพัฒนานำปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ได้)

- ประโยชน์จากกิจกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียม นอกจากรายได้รัฐโดยตรงแล้ว ยังมีรายได้โดยอ้อมจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนิติบุคคล จากธุรกิจกลางน้ำ ปลายน้ำ ก๊าซที่ขุดได้ภายในประเทศ สามารถต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย สร้างงาน สร้างรายได้ ทำให้เราได้ใช้ไฟฟ้าราคาถูก มีอุปกรณ์ต่างๆ สะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เช่น ถุง ถัง กาละมัง ขวด พาสติก อุปกรณ์การแพทย์ วัสดุก่อสร้าง ของตกแต่งบ้าน และอื่นๆ อีกมากมาย ...คนไทยทุกคนได้ประโยชน์ มันจะเรียกว่า ปล้นประเทศได้อย่างไร


- การนำเสนอ ข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แล้วสรุปว่า ประเทศไทยโดนปล้น ท่านๆ ลองพิจารณาดูนะครับ ว่า การนำเสนอทีกล่าวมาแล้วนี้ เข้าข่าย บิดเบือน สร้างความเข้าใจผิดให้สังคมหรือไม่....

ลำดับการคืนท่อก๊าซของ ปตท.ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

ลำดับการคืนท่อก๊าซของ ปตท.ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด



14 ธ.ค. 2550 ศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้ ปตท. ดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดิน เพื่อแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐ และของ บมจ.ปตท.

18 ธ.ค. 2550 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ ปตท. แบ่งแยกทรัพย์สินที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ (โดยการปิโตรเลียมฯ) เหนือที่ดินของเอกชน และได้จ่ายเงินค่าทดแทนโดยการใช้เงินของการปิโตรเลียมฯ ซึ่งเป็นองค์การของรัฐตามคำวินิจฉัยของศาลฯ โดยมอบหมายให้ กระทรวงการคลัง โดย กรมธนารักษ์ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดิน ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้ตรวจสอบรับรองความถูกต้อง

หากมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นผู้พิจารณาเพื่อให้มีข้อยุติ และต่อมาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำหนดแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการรับโอนทรัพย์สินของการปิโตรเลียมฯ ขึ้น

22 ธ.ค 2551 กรมธนารักษ์ มีหนังสือแจ้งมายัง ปตท. ว่า ปตท. ได้ดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สินต่างๆ ให้แก่ กระทรวงการคลัง ตามคำพิพากษาศาลฯ เสร็จสิ้นครบถ้วนแล้ว และขอให้รายงานศาลฯเพื่อทราบต่อไป

25 ธ.ค.2551 ปตท. ได้ยื่นคำร้องรายงานสรุปการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด

26 ธ.ค.2551 ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งบันทึกในคำร้องรายงานสรุปฯของ ปตท. ว่าปตท. ดำเนินการโอนทรัพย์สินตามคำพิพากษาครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว

29 ธ.ค.2551 สตง. ส่งหนังสือให้ความเห็นถึง ปตท. โดยแนบเอกสารตรวจสอบฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2551 (เอกสารที่กล่าวอ้าง)

20 ก.พ.2552 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้มีหนังสือถึง ปตท. และหน่วยงานอื่นๆ รวมถึง เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองว่า
"การดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สินของ บมจ.ปตท. ให้แก่กระทรวงการคลัง ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด จะครบถ้วนและเป็นไปตามคำพิพากษาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่จะผู้พิจารณา ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดถือเป็นยุติ"

3 มี.ค.2552 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นคำร้องขอให้ศาลฯ ไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ปตท. ต้องคืนกระทรวงการคลังพร้อมกับแนบรายงานการตรวจสอบของ สตง.ประกอบท้ายคำร้องด้วย ซึ่งในวันเดียวกันศาลฯ มีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวและสั่งว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

10 มี.ค.2552 สำนักงานศาลปกครอง มีหนังสือแจ้งไปยัง สตง. ว่า ?ได้ติดตามผลการดำเนินการตามคำพิพากษาของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่และรายงานให้ศาลทราบ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว?

10 ส.ค.2553 กระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงานได้เสนอเรื่องการคืนทรัพย์สินตามคำพิพากษาของปตท. ไปยังคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบการดำเนินการดังกล่าวของ ปตท.

2 พ.ย.2555 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ยื่นฟ้องว่า ปตท. คืนท่อตามคำพิพากษาไม่ครบและขอให้ศาลตัดสินให้ปตท.คืนท่อในทะเลด้วย โดยศาลมีคำวินิจฉัยว่า ศาลปกครองสูงสุดได้เคยมี "คำพิพากษาว่า ปตท. ได้ดำเนินการส่งมอบทรัพย์สินครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว"

10 ต.ค.2557 ผู้อำนวยการสำนักงานศาลปกครองสูงสุด มีหนังสือแจ้งคำสั่งศาลฯที่วินิจฉัยว่าไม่จำเป็นต้องออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดตามที่ ปตท. ได้ยื่นขอให้ออกหนังสือดังกล่าว เนื่องจากคดีได้ถึงที่สุดโดยผลของกฎหมายอยู่แล้ว

12 ธ.ค.57 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ในคดีการแบ่งแยกระบบท่อก๊าซธรรมชาติของ บมจ.ปตท. ให้กลับมาเป็นของรัฐ ตามคำร้องที่ 1034/2555 คำสั่ง 800/2557 ซึ่งมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 1 กับพวกรวม 1,455 คน (ผู้ฟ้องคดี) ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี ที่ 1, นายกรัฐมนตรี ที่ 2, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ 3, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ 4, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ 5  (ผู้ถูกฟ้องคดี)

ล่าสุด
วันที่ 16 ก.พ. 58 ศาลปกครองกลางได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2557 โดยมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลางให้ไม่รับคำฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ตามที่ได้ปรากฎตามหน้าเว็ปข่าวหนังสือพิมพ์ต่างๆ ว่า ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ



เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง

ศาลปกครองสูงสุดไม่รับฟ้องคดีแบ่งแยกท่อก๊าซ ปตท. กลับเป็นของรัฐ เพราะ คดีไร้สาระ ซ้ำซาก

OPEC คือกลุ่มประเทศที่ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลัก ไม่ใช่ก๊าซธรรมชาติ

OPEC ย่อมาจาก Organization of the Petroleum Exporting Countries ถ้าแปลตรงตัวก็แปลว่า องค์การประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม  แต่โดยพฤตินัยแล้ว หมายถึงประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบนะครับ เพราะประเทศยักษ์ใหญ่แห่งก๊าซธรรมชาติอย่างรัสเซียที่มีปริมาณสำรองและการส่งออกก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในโลกนั้น ก็ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ OPEC นะครับ จึงต้องเรียกกลุ่ม OPEC ว่าเป็น “องค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก” โดยปริยาย



ถ้ามีใครไปเปรียบเทียบการผลิตก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย กับพวกกลุ่มประเทศ OPEC อย่างเช่น เอกวาดอร์ คูเวต อังโกลา อิรัก หรือ ลิเบีย เป็นต้น แล้วบอกว่าเราผลิตมากกว่าเค้าอย่างนี้อย่างนั้น ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่มีปิโตรเลียมมหาศาล!!! อย่าไปหลงเชื่อนะครับ ว่าประเทศไทยมีปิโตรเลียมมหาศาลเทียบเท่าประเทศกลุ่ม OPEC เพราะประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศนำเข้าทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบนะครับ เนื่องจากเรามีการบริโภคที่มากกว่าที่ผลิตได้นั่นเอง และกลุ่มประเทศ OPEC เค้าไม่เน้นผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติ เค้าเน้นการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบครับ

ประเทศกลุ่ม OPEC ได้ก่อตั้งจากการประชุมที่กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก เมื่อวันที่ 11-14 กันยายน 1960 โดย 5 ประเทศยักษ์ใหญ่แห่งวงการปิโตรเลียมคือ ประเทศซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน อิรัก คูเวต และ เวเนซูเอล่า เพื่อความร่วมมืออย่างมีเอกภาพทางด้านนโยบายน้ำมัน ด้านการควบคุมราคาน้ำมันไม่ให้ผันผวน ด้านเศรษฐกิจที่จะผลิตน้ำมันเป็นแหล่งพลังงานของทุกประเทศที่ใช้น้ำมันด้วยผลตอบแทนที่เป็นธรรมในการลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม หลังจากนั้นก็มีอีก 9 ประเทศขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกดังนี้ กาตาร์ (1961) อินโดนีเซีย (1962-2009) ลิเบีย (1962) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (1967) แอลจีเรีย (1969) ไนจีเรีย (1971) เอลกวาดอร์ (1973-1992, 2007-ปัจจุบัน) กาบอง (1975-1994) อังโกลา (2007)

ต่อมาประเทศเอลกวาดอร์ขอลาออกในปี 1992 แล้วก็กลับมาเป็นสมาชิกอีกครั้งในปี 2007 ส่วนประเทศกาบองได้ขอลาออกในปี 1994 และประเทศอินโดนีเซียลาออกในปี 2009 เนื่องจากกลายเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันไปแล้ว ทำให้เหลือประเทศสมาชิกในปัจจุบัน 12 ประเทศ


ในช่วงแรกกลุ่ม OPEC มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้อยู่ 5 ปี ก็ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในวันที่ 1 กันยายน 1965 โดยช่วงเวลานั้นเป็นช่วงสิ้นสุดยุคล่าอาณานิคม มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของโลก และมีการก่อตัวรัฐอิสระเป็นประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ จึงมีการใช้น้ำมันดิบเพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูประเทศ ในเวลานั้นวงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้มีกลุ่มบริษัทข้ามชาติที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุคนั้นเรียกกันว่า “Seven Sisters” มีทั้งหมด 7 บริษัท  ได้แก่ Esso, Shell, BP, Mobil, Chevron, Gulf Oil, และ Texaco (ปัจจุบันเหลือเพียง 4 บริษัท คือ BP, Shell, Chevron และ ExxonMobil เนื่องจาก Gulf Oil ขายกิจการส่วนใหญ่ให้ Chevron และขายกิจการส่วนที่เหลือให้ BP สำหรับ Texaco นั้นขายกิจการให้ Chevron และสุดท้าย Esso กับ Mobil ควบรวมกิจการกลายเป็น ExxonMobil)

ทางกลุ่ม OPEC นั้นได้ตระหนักว่า การขุดเจาะสำรวจน้ำมันของประเทศสมาชิกได้ถูกครอบงำด้วยบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ ทำให้รัฐที่เป็นเจ้าของทรัพยากรนั้นได้ค่าภาคหลวงและผลประโยชน์เป็นส่วนน้อย ทำให้เกิดความร่วมมือกันของเหล่าประเทศสมาชิก OPEC เพื่อจุดประสงค์สำคัญหลายประการในระยะเริ่มแรกดังนี้

เจรจาแก้ไขผลประโยชน์รัฐกับกลุ่มบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่ทำการขุดเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศกลุ่มสมาชิก เพื่อเพิ่มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและชดเชยการอ่อนค่าของค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ เพื่อปกป้องผลประโยชน์และสิทธิอันชอบธรรมในทรัพยากรปิโตรเลียมของเหล่าประเทศสมาชิกจากผู้รับสัมปทานต่างชาติต่างๆ โดยสร้างอำนาจต่อรองในการยึดครองหรือโอนกิจการปิโตรเลียมกลับมาเป็นของรัฐ เพื่อที่จะได้ร่วมมือกันและมีอำนาจในการควบคุมราคาและกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลก
ในปี 1973-1985 เป็นช่วงเวลาที่กลุ่มประเทศ OPEC ได้ออกนโยบายที่เรียกว่า “Official Selling Price (OSP)” คือกลุ่มประเทศ OPEC รวมหัวกันกำหนดราคาน้ำมันกันเอง ทำให้ช่วงระยะเวลานี้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้นจาก $3 ต่อบาร์เรล เป็น $30 ต่อบาร์เรล ส่งผลทำให้อุปสงค์ หรือความต้องการน้ำมันดิบลดลงอย่างมาก เพราะราคาไม่ยุติธรรม ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของกลุ่ม OPEC จากเดิมที่เคยมีอยู่ 2 ใน 3 ลดลงเหลือ 1 ใน 3 เท่านั้น สุดท้ายกลุ่ม OPEC จึงต้องยกเลิกระบบ OSP ไปโดยปริยาย เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดที่ควรจะเป็น ทำให้ราคาน้ำมันดิบลดลงเหลือราวๆ $18 ต่อบาร์เรล

ต่อมาในช่วงปี 1986 – 1993 นั้นทางกลุ่ม OPEC ได้พยายามปรับเปลี่ยนการควบคุมตลาดน้ำมันด้วยวิธีการต่างๆ หลังจากวิธีการ OSP นั้นไม่ประสบความสำเร็จ ก็ใช้วิธีการควบคุมอัตราผลผลิตแทน เมื่อเวลาราคาน้ำมันสูงขึ้น ก็จะผลิตน้ำมันดิบออกมาเยอะๆเพื่อขายให้ได้เงินเยอะๆ พอราคาน้ำมันต่ำลงก็จะผลิตน้ำมันออกมาน้อยๆเพื่อเก็บรักษาปริมาณสำรองเอาไว้เพื่อควบคุมระดับราคาไม่ให้ตกต่ำมากไปกว่าเดิม ช่วงนี้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะแกว่งตัวอยู่ในช่วง $14-21 ต่อบาร์เรล

ในช่วงกลางปี 1993 ก็ได้เกิดระบบโควต้า เพื่อทำให้ราคาน้ำมันดิบแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยจะกำหนดปริมาณการผลิตของสมาชิก OPEC ในแต่ละประเทศที่เหมาะสมกับความต้องการของโลกและมีกำหนดการลดอัตราการผลิตน้ำมันดิบของแต่ละกลุ่มประเทศสมาชิกในขณะที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะตกต่ำ เพื่อรักษาราคาน้ำมันดิบให้อยู่ในระดับที่ต้องการ แต่แล้วในปี 1996 ก็เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำมันดิบ ทำให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์สูงขึ้นไปถึงระดับ $25 ต่อบาร์เรล เนื่องจากการคว่ำบาตรประเทศอิรัก ความต้องการน้ำมันดิบของโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรงกลั่นหลายแห่งต้องปิดซ่อมบำรุง ทำให้กลุ่มประเทศ OPEC ต่างฝ่ายต่างเพิ่มอัตราการผลิตจนเกินโควต้าของตัวเอง ผนวกกับการเกิดเหตุการณ์ต้มยำกุ้งหรือวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทยที่ทำให้เศรษฐกิจของโลกถอดถอย ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลงอย่างมาก รวมถึงประเทศนอกกลุ่ม OPEC ก็เริ่มมีความสามารถในการผลิตน้ำมันดิบได้เองแล้ว ดังนั้นราคาน้ำมันดิบเบรนท์จึงตกต่ำลงไปถึง $11 ต่อบาร์เรล ทำให้หลุมน้ำมันหลายหลุมที่ต้นทุนสูงต้องหยุดการผลิตไปเลย

แต่แล้วในปี 2004 นั้นบทบาทของกลุ่ม OPEC ได้ถูกลดอิทธิพลโดยยักษ์ใหญ่แดนมังกร ประเทศจีน ที่ตั้งเป้าจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 2008 นั้น ได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ ทำให้มีการเปิดตลาดแรงงานครั้งใหญ่ในประเทศจีน เพราะประเทศจีนได้เปรียบในด้านแรงงานราคาถูก ทำให้เกิดการผลิตครั้งใหญ่มหึมา มีความต้องการพลังงานสูงมาก ทำให้กลุ่ม OPEC ไม่สามารถรักษาเพดานราคาน้ำมันได้ ทั้งๆที่ผลิตน้ำมันเต็มกำลังการผลิตแล้วก็ยังไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้เพียงพอกับความต้องการของโลกรวมทั้งจีนได้ ทำให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทะยานสูงสุดที่ $145 ต่อบาร์เรล ในเดือน กรกฎาคมปี 2008 เกิดส่วนแบ่งตลาดน้ำมันดิบจากประเทศนอกกลุ่ม OPEC มากมายที่สามารถพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในระดับราคานี้

ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา หรือ แฮมเบอร์เกอร์ขึ้น ธุรกิจ อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างแรง ทำให้ความต้องการพลังงานของโลกลดลงอย่างมาก ราคาน้ำมันจึงดิ่งลงมาเหลือประมาณ $35 ต่อบาร์เรล เป็นจุดที่ทำให้ประเทศกลุ่ม OPEC กลับมามีบทบาทและอิทธิพลเหนือตลาดน้ำมันโลกอีกครั้ง และราคาน้ำมันดิบก็สูงขึ้นอยู่ในระดับประมาณ $95-100 ต่อบาร์เรล ตามความต้องการที่จะรักษาส่วนแบ่งตลาดของกลุ่ม OPEC ในปัจจุบัน

เนื่องจากน้ำมันดิบเป็นแหล่งพลังงานและวัตถุดิบหลักที่เป็นที่ต้องการของที่ประเทศในโลก จึงทำให้ประเทศในกลุ่ม OPEC มีอิทธิพลในด้านเศรษฐกิจและการเมืองของโลก ถ้าอยู่ๆวันนึงประเทศกลุ่ม OPEC นี้ไม่ปล่อยน้ำมันดิบออกมา จะมีผลต่อเศรษฐกิจของโลกในทันที อย่างไรก็ตาม การดำเนินการด้วยระบบโควต้าที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นกลับไม่ค่อยมีเอกภาพเท่าที่ควร เพราะสภาพของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เช่นประเทศซาอุดิอาระเบีย คูเวต กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นั้นเป็นประเทศที่ร่ำรวยก็เลยสามารถปฏิบัติตามโควต้าได้อย่างเคร่งครัด ขณะที่ประเทศที่ยังยากจนอย่างประเทศไนจีเรีย รวมถึงประเทศที่มีปัญหาทางการเมืองและต้องการฟื้นฟูประเทศอย่าง ประเทศอิรัก ประเทศอิหร่าน ก็อาจจะมีการส่งออกเกินโควต้าเพื่อหารายได้เข้าประเทศเพิ่มเติม จึงทำให้เสถียรภาพของราคาน้ำมันดิบบางช่วงผันผวนและตกต่ำได้

จะเห็นได้ว่า จุดประสงค์หลักที่ผ่านมาของกลุ่มประเทศ OPEC ก็คือต้องการรักษาอำนาจต่อรองในการควบคุมและรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดิบโลก เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มประเทศสมาชิกที่มีน้ำมันดิบเป็นสินค้าออกหลัก และเพื่อให้ประเทศในกลุ่มสมาชิกสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดของโลกในระดับสูงและใช้เป็นอำนาจในการต่อรองเรียกร้องการเก็บผลประโยชน์ค่าภาคหลวงและภาษีในประเทศของตัวเองในอัตราที่สูงได้

ทำไม "ปิโตรนาส" กำไรมากกว่า "ปตท."


อาจเกิดความเข้าใจผิดรวมไปถึงสับสนในการตีความภาพ info graphic นี้ ซึ่งที่จะสื่อให้เห็นว่า ปตท. กับ ปิโตรนาส ต่างกัน

แม้ว่า "ปตท." และ "ปิโตรนาส" จะดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมที่ครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ อย่างธุรกิจสำรวจและผลิตจนถึงธุรกิจปลายน้ำ อย่างธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและก๊าซ เหมือนกันก็จริง แต่สิ่งที่ทำให้ 2 บริษัทมีความแตกต่างกัน ประเด็นหลักๆ คือ

"สิทธิความเป็นเจ้าของแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียม"

- แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยทุกแหล่งรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของ
เพื่อให้เกิดความยุติธรรม เสมอภาค และข้อเสนอที่ดีที่สุด -

รัฐจึงเปิดให้เอกชนและบริษัทที่รัฐถือหุ้นอยู่ เข้ามายื่นขอสัมปทาน โดยจะต้องแบ่งส่วนแบ่งให้กับภาครัฐ ตามที่กำหนด และบริษัทในกลุ่ม ปตท. (ปตท.สผ.) ก็ถือเป็นผู้แข่งขันรายหนึ่งที่ต้องยื่นขอสิทธิ์สัมปทานจากภาครัฐเช่นกัน โดยไม่ได้สิทธิพิเศษใดๆ และต้องแข่งขันกับเอกชนรายอื่นๆ

- ซึ่งต่างกับมาเลเซียที่แหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมทุกแหล่ง
รัฐได้มอบหมายให้ปิโตรนาสที่ขึ้นตรงกับรัฐบาล -

ให้ดำเนินกิจการขุดเจาะสำรวจ ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ขณะเดียวกันบางแหล่ง ที่อาจมีความเสี่ยง รัฐจะทำการมอบหมายให้ปิโตรนาสเป็นผู้ร่วมในการดำเนินการเป็นคู่สัญญา ร่วมกับบริษัทเอกชนอื่นเข้ามาสำรวจขุดเจาะ โดยบริษัทนั้นต้องแบ่งผลประโยชน์ให้ปิโตรนาสตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน ฉะนั้นแล้วการเปรียบเทียบกำไร การแข่งขันทางธุรกิจ รวมไปถึงศักยภาพทางธรณีวิทยา ย่อมเทียบกันไม่ได้อยู่แล้ว
แน่นอนว่า หากทรัพยากรปิโตรเลียมทั้งหมดในประเทศไทย ปตท. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวเฉกเช่น ปิโตรนาส จะทำให้ ปตท.ได้รับสิทธิ์ผูกขาดจะยิ่งขัดกับสิ่งที่คนบางกลุ่ม

******บอกว่า ปตท. ผูกขาดในการจัดการทรัพยากรแน่นอน******

หรือกลุ่มที่โจมตี ภาพ info graphic นี้ ต้องการให้ ปตท. เหมือนปิโตรนาสในเรื่องการผูกขาดด้านการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม รวมไปถึงการบริหารจัดการทรัพยากรในประเทศแต่เพียงผู้เดียว จะย้อนแย้งทันทีกับการที่บอกว่าไม่ต้องการให้ ปตท. ได้รับสิทธิ์ในการผูกขาดกิจการด้านต่างๆ ทันที

ศาลปกครองสูงสุดไม่รับฟ้องคดีแบ่งแยกท่อก๊าซ ปตท. กลับเป็นของรัฐ เพราะ คดีไร้สาระ ซ้ำซาก

"ศาลปกครองสูงสุด"ไม่รับฟ้องคดีแบ่งแยกท่อก๊าซ ปตท. กลับเป็นของรัฐ เหตุฟ้องซ้ำ



"ศาลปกครองสูงสุด"ไม่รับฟ้องคดีแบ่งแยกท่อก๊าซ ปตท. กลับเป็นของรัฐ เหตุฟ้องซ้ำ

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2558  "ศาลปกครองสูงสุด" มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ในคดีการแบ่งแยกระบบท่อก๊าซธรรมชาติของ บมจ. ปตท ให้กลับมาเป็นของรัฐ ตามคำร้องที่ 1034/2555 คำสั่ง 800/2557 ซึ่งมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 1 กับพวกรวม 1,455 คน (ผู้ฟ้องคดี) ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี ที่ 1, นายกรัฐมนตรี ที่ 2, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ 3, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ 4, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ 5  (ผู้ถูกฟ้องคดี)

ทั้งนี้ "ศาลปกครองสูงสุด" ยืนยกฟ้องคดีแยกระบบท่อก๊าซ ปตท. กลับเป็นของรัฐ เหตุฟ้องซ้ำ หลัง “มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค” ฟ้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้อง ดำเนินการ ติดตามท่อก๊าซบนบกและในทะเลที่มีก่อน 1 ตุลาคม 2544 ทั้งหมด + ท่อก๊าซเส้นที่ 3 ส่วนที่อยู่ในทะเล (เริ่มดำเนินการปี 2550 แต่วางท่อในทะเลก่อนการแปรสภาพ) เพราะมีหนังสือโต้ตอบระหว่างกระทรวงการคลัง กับ สตง.กล่าวถึงมูลค่าประมาณ 47,664 ล้านบาท

สำหรับคดีนี้ ผู้ฟ้องได้ระบุว่า บมจ.ปตท.ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4  แบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อคืนให้แก่รัฐหรือกระทรวงการคลังไม่ครบถ้วนตามที่ศาลปกครองสูงสุดเคยมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ฟ.47/2549 คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้มีหนังสือที่ ตผ 0023/68   ลงวันที่ 20  ก.พ. 2552  รายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง แต่ปรากฏว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 (ภายใต้การกำกับดูแลของคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดกลับเพิกเฉย มิได้ดำเนินการแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องจึงได้ยื่นขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันดำเนินการแบ่งแยกระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้กลับมาเป็นของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ

และเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2555 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา/คำสั่ง ไม่รับคำฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจากพิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ฟ้องคดีทั้ง 1,455  คนประสงค์จะให้ศาลมีคำพิพากษาต่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าให้มีการปฏิบัติให้ถูกต้องและครบถ้วนในการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิในการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อให้กับกระทรวงการคลัง ซึ่งกรณีพิพาทตามฟ้องนี้ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 4 ดำเนินการดังกล่าวแล้ว จึงเห็นได้ว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 226  ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550  กับพวกรวม 1,455 คน  ต้องการร้องขอเพื่อให้มีการดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดให้ถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรา 72 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ. 2542 ประกอบมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งไม่จำต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง กรณีจึงถือว่าคดียังไม่มีเหตุแห่งการฟ้องคดีที่ศาลจะต้องพิจารณาพิพากษาแต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีจึงได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นต่อ "ศาลปกครองสูงสุด"

ต่อมา "ศาลปกครองสูงสุด" วินิจฉัยแล้วว่าคดีนี้ เป็นการขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือประเด็นข้อใดแห่งคดีที่ศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ. 35/2550 ได้วินิจฉัยแล้ว จึงเป็นกรณีที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว

ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 1,455 คนได้อ้างในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งว่า รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 นั้น ศาลเห็นว่ายังเป็นรายงานสรุปการดำเนินการส่งมอบทรัพย์สินคืนให้กระทรวงการคลังที่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะยังไม่ได้รับการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สตง.  จึงยังเป็นรายงานสรุปการดำเนินการส่งมอบทรัพย์สินคืนให้กระทรวงการคลังที่ยังไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด  ศาลเห็นว่ากรณีดังกล่าวที่ผู้ฟ้องได้อ้างว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาไมได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันภายในหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคณะรัฐมนตรี มิใช่เป็นเหตุที่จะกล่าวอ้างว่าเป็นการดำเนินการที่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะเป็นกระบวนการที่กำหนดขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น

การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น "ศาลปกครองสูงสุด" เห็นพ้องด้วยในผล  คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ฟ้องทั้ง 1,455 คน ไม่มีเหตุผลที่จะรับฟังได้ 


เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง

ลำดับการคืนท่อก๊าซของ ปตท.ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

ทำไมน้ำมันชอบ ขึ้น 0.60 บาท ลง 0.40 บาท

" ขึ้น 0.60 บาท ลง 0.40 บาท ส่วนต่าง 0.20 บาท เหตุใดราคาน้ำมันขึ้นลง ถึงไม่เท่ากัน? "

เหตุผลหลัก มาจาก ... ปั๊มรายย่อย ที่ขายน้ำมันให้ประชาชน เค้าต้องรับความเสี่ยง จากการขึ้น-ลงของราคาขายหน้าปั๊ม

สมมุติ เค้าสั่งน้ำมันมาลง อาทิตย์ละ 1 ครั้ง  มาวันอาทิตย์ ขายตั้งแต่ อาทิตย์ - เสาร์

ถ้าอาทิตย์นั้น ราคาน้ำมันมีการปรับขึ้นราคา  โอเค เค้าก็โชคดีหน่อย  แต่...เค้าก็จะได้กำไรมากขึ้น ก็เฉพาะ " ปริมาณน้ำมันที่เหลือในถังของเค้า "

แต่...ถ้าอาทิตย์นั้น ราคาน้ำมันมีการปรับลดราคา  คราวนี้ซวย  มีน้ำมันเหลือในถังใต้ดินเยอะแค่ไหน  มีโอกาส " เท่าทุน "  หรือ " ขาดทุน "

ทีนี้  ถ้า ... กำหนดว่า ขึ้น - ลง ต้องเท่ากันทุกครั้ง  ครั้งละ 50 สต.   คุณคิดว่า ปั๊มเค้าจะรับภาระได้มั้ย ?

เพราะต้นทุนของปั๊ม คือ ราคาน้ำมันขายส่ง + ต้นทุนทุกอย่างที่ปั๊มเค้าต้องจ่าย

ถ้าจะเอากันแบบนี้ล่ะก็ ...  ต่อไปนี้ ปั๊มรายย่อย เค้าก็จะดูราคาน้ำมันตลาดโลก ทุกวัน วันไหนราคาขึ้น สั่งปิดพรุ่งนี้ไปเลย เพราะรู้แน่ๆ ว่า วันมะรืน จะขึ้นราคาได้อีก 60 สต./ลิตร  เพราะยิ่งเหลือน้ำมันมากเท่าไหร่ ก็กำไรมากเท่านั้น

ส่วนวันไหนราคาลง ก็ทนๆ ขายไปจนหมดถัง แล้วก็ปิดปั๊ม  รอวันที่ราคาตลาดโลกมันตกถึงต่ำสุดจริงๆ แล้วค่อยสั่งมาขาย

ทีนี้แหละ  คนเดือดร้อนจริงๆ ก็คือ ประชาชนตาดำๆ ที่ใช้รถใช้ถนนนั่นแหละ

เค้าถึงไปหาวิธีการกันมา  แล้วก็สรุปออกมาว่า  ตอนขึ้น ต้องมากกว่า ตอนลง  20-30 สต./ลิตร  มันถึงได้ออกมาว่า  ขึ้น 0.60 บาท ลง 0.40 บาท


>>>  งั้น ... พวกขายน้ำมัน ก็ได้เปรียบสิ

ได้เปรียบอะไร ?     คุณอย่าลืมว่า

1. ราคาตลาดโลก เค้าเปลี่ยนแปลงทุกวัน  แทบจะทุก 15 นาทีเลยด้วยซ้ำ
2. แต่บ้านเรา เวลาจะขึ้น จะลง  มันห่างๆ กัน 3 - 7 วัน  บางที ทั้งเดือน ไม่ขยับเลยด้วยซ้ำ  ทั้งๆ ที่ ตลาดโลก มันปรับขึ้นๆ ลงๆ ของมันแทบทุกวัน

ก.พลังงาน / สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เค้าถึงทำหน้านี้เอาไว้

http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html

เพื่อให้เปิดตรวจสอบดู ว่า แต่ละวัน  Marketing Margin ของน้ำมันแต่ละอย่าง  มันอยู่ที่เท่าไหร่

มีถึงขนาดว่า  ทำตารางสรุปข้างล่างอีกที ว่า  เดือนที่แล้ว เฉลี่ยทั้งเดือน กลุ่มเบนซิน กี่บาท/ลิตร  ดีเซล กี่บาท/ลิตร




ฉะนั้นแล้วจึงเป็นที่มาว่า ทำไมถึง ขึ้น 0.60 บาท ลง 0.40 บาท