อาจเกิดความเข้าใจผิดรวมไปถึงสับสนในการตีความภาพ info graphic นี้ ซึ่งที่จะสื่อให้เห็นว่า ปตท. กับ ปิโตรนาส ต่างกัน
แม้ว่า "ปตท." และ "ปิโตรนาส" จะดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมที่ครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ อย่างธุรกิจสำรวจและผลิตจนถึงธุรกิจปลายน้ำ อย่างธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและก๊าซ เหมือนกันก็จริง แต่สิ่งที่ทำให้ 2 บริษัทมีความแตกต่างกัน ประเด็นหลักๆ คือ
"สิทธิความเป็นเจ้าของแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียม"
- แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยทุกแหล่งรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของ
เพื่อให้เกิดความยุติธรรม เสมอภาค และข้อเสนอที่ดีที่สุด -
รัฐจึงเปิดให้เอกชนและบริษัทที่รัฐถือหุ้นอยู่ เข้ามายื่นขอสัมปทาน โดยจะต้องแบ่งส่วนแบ่งให้กับภาครัฐ ตามที่กำหนด และบริษัทในกลุ่ม ปตท. (ปตท.สผ.) ก็ถือเป็นผู้แข่งขันรายหนึ่งที่ต้องยื่นขอสิทธิ์สัมปทานจากภาครัฐเช่นกัน โดยไม่ได้สิทธิพิเศษใดๆ และต้องแข่งขันกับเอกชนรายอื่นๆ
- ซึ่งต่างกับมาเลเซียที่แหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมทุกแหล่ง
รัฐได้มอบหมายให้ปิโตรนาสที่ขึ้นตรงกับรัฐบาล -
ให้ดำเนินกิจการขุดเจาะสำรวจ ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ขณะเดียวกันบางแหล่ง ที่อาจมีความเสี่ยง รัฐจะทำการมอบหมายให้ปิโตรนาสเป็นผู้ร่วมในการดำเนินการเป็นคู่สัญญา ร่วมกับบริษัทเอกชนอื่นเข้ามาสำรวจขุดเจาะ โดยบริษัทนั้นต้องแบ่งผลประโยชน์ให้ปิโตรนาสตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน ฉะนั้นแล้วการเปรียบเทียบกำไร การแข่งขันทางธุรกิจ รวมไปถึงศักยภาพทางธรณีวิทยา ย่อมเทียบกันไม่ได้อยู่แล้ว
แน่นอนว่า หากทรัพยากรปิโตรเลียมทั้งหมดในประเทศไทย ปตท. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวเฉกเช่น ปิโตรนาส จะทำให้ ปตท.ได้รับสิทธิ์ผูกขาดจะยิ่งขัดกับสิ่งที่คนบางกลุ่ม
******บอกว่า ปตท. ผูกขาดในการจัดการทรัพยากรแน่นอน******
หรือกลุ่มที่โจมตี ภาพ info graphic นี้ ต้องการให้ ปตท. เหมือนปิโตรนาสในเรื่องการผูกขาดด้านการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม รวมไปถึงการบริหารจัดการทรัพยากรในประเทศแต่เพียงผู้เดียว จะย้อนแย้งทันทีกับการที่บอกว่าไม่ต้องการให้ ปตท. ได้รับสิทธิ์ในการผูกขาดกิจการด้านต่างๆ ทันที