ลำดับการคืนท่อก๊าซของ ปตท.ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด
14 ธ.ค. 2550 ศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้ ปตท. ดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดิน เพื่อแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐ และของ บมจ.ปตท.
18 ธ.ค. 2550 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ ปตท. แบ่งแยกทรัพย์สินที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ (โดยการปิโตรเลียมฯ) เหนือที่ดินของเอกชน และได้จ่ายเงินค่าทดแทนโดยการใช้เงินของการปิโตรเลียมฯ ซึ่งเป็นองค์การของรัฐตามคำวินิจฉัยของศาลฯ โดยมอบหมายให้ กระทรวงการคลัง โดย กรมธนารักษ์ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดิน ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้ตรวจสอบรับรองความถูกต้อง
หากมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นผู้พิจารณาเพื่อให้มีข้อยุติ และต่อมาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำหนดแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการรับโอนทรัพย์สินของการปิโตรเลียมฯ ขึ้น
22 ธ.ค 2551 กรมธนารักษ์ มีหนังสือแจ้งมายัง ปตท. ว่า ปตท. ได้ดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สินต่างๆ ให้แก่ กระทรวงการคลัง ตามคำพิพากษาศาลฯ เสร็จสิ้นครบถ้วนแล้ว และขอให้รายงานศาลฯเพื่อทราบต่อไป
25 ธ.ค.2551 ปตท. ได้ยื่นคำร้องรายงานสรุปการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
26 ธ.ค.2551 ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งบันทึกในคำร้องรายงานสรุปฯของ ปตท. ว่าปตท. ดำเนินการโอนทรัพย์สินตามคำพิพากษาครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว
29 ธ.ค.2551 สตง. ส่งหนังสือให้ความเห็นถึง ปตท. โดยแนบเอกสารตรวจสอบฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2551 (เอกสารที่กล่าวอ้าง)
20 ก.พ.2552 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้มีหนังสือถึง ปตท. และหน่วยงานอื่นๆ รวมถึง เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองว่า
"การดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สินของ บมจ.ปตท. ให้แก่กระทรวงการคลัง ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด จะครบถ้วนและเป็นไปตามคำพิพากษาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่จะผู้พิจารณา ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดถือเป็นยุติ"
3 มี.ค.2552 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นคำร้องขอให้ศาลฯ ไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ปตท. ต้องคืนกระทรวงการคลังพร้อมกับแนบรายงานการตรวจสอบของ สตง.ประกอบท้ายคำร้องด้วย ซึ่งในวันเดียวกันศาลฯ มีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวและสั่งว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
10 มี.ค.2552 สำนักงานศาลปกครอง มีหนังสือแจ้งไปยัง สตง. ว่า ?ได้ติดตามผลการดำเนินการตามคำพิพากษาของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่และรายงานให้ศาลทราบ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว?
10 ส.ค.2553 กระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงานได้เสนอเรื่องการคืนทรัพย์สินตามคำพิพากษาของปตท. ไปยังคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบการดำเนินการดังกล่าวของ ปตท.
2 พ.ย.2555 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ยื่นฟ้องว่า ปตท. คืนท่อตามคำพิพากษาไม่ครบและขอให้ศาลตัดสินให้ปตท.คืนท่อในทะเลด้วย โดยศาลมีคำวินิจฉัยว่า ศาลปกครองสูงสุดได้เคยมี "คำพิพากษาว่า ปตท. ได้ดำเนินการส่งมอบทรัพย์สินครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว"
10 ต.ค.2557 ผู้อำนวยการสำนักงานศาลปกครองสูงสุด มีหนังสือแจ้งคำสั่งศาลฯที่วินิจฉัยว่าไม่จำเป็นต้องออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดตามที่ ปตท. ได้ยื่นขอให้ออกหนังสือดังกล่าว เนื่องจากคดีได้ถึงที่สุดโดยผลของกฎหมายอยู่แล้ว
12 ธ.ค.57 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ในคดีการแบ่งแยกระบบท่อก๊าซธรรมชาติของ บมจ.ปตท. ให้กลับมาเป็นของรัฐ ตามคำร้องที่ 1034/2555 คำสั่ง 800/2557 ซึ่งมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 1 กับพวกรวม 1,455 คน (ผู้ฟ้องคดี) ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี ที่ 1, นายกรัฐมนตรี ที่ 2, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ 3, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ 4, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ 5 (ผู้ถูกฟ้องคดี)
ล่าสุด
วันที่ 16 ก.พ. 58 ศาลปกครองกลางได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2557 โดยมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลางให้ไม่รับคำฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ตามที่ได้ปรากฎตามหน้าเว็ปข่าวหนังสือพิมพ์ต่างๆ ว่า ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
14 ธ.ค. 2550 ศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้ ปตท. ดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดิน เพื่อแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐ และของ บมจ.ปตท.
18 ธ.ค. 2550 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ ปตท. แบ่งแยกทรัพย์สินที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ (โดยการปิโตรเลียมฯ) เหนือที่ดินของเอกชน และได้จ่ายเงินค่าทดแทนโดยการใช้เงินของการปิโตรเลียมฯ ซึ่งเป็นองค์การของรัฐตามคำวินิจฉัยของศาลฯ โดยมอบหมายให้ กระทรวงการคลัง โดย กรมธนารักษ์ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดิน ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้ตรวจสอบรับรองความถูกต้อง
หากมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นผู้พิจารณาเพื่อให้มีข้อยุติ และต่อมาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำหนดแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการรับโอนทรัพย์สินของการปิโตรเลียมฯ ขึ้น
22 ธ.ค 2551 กรมธนารักษ์ มีหนังสือแจ้งมายัง ปตท. ว่า ปตท. ได้ดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สินต่างๆ ให้แก่ กระทรวงการคลัง ตามคำพิพากษาศาลฯ เสร็จสิ้นครบถ้วนแล้ว และขอให้รายงานศาลฯเพื่อทราบต่อไป
25 ธ.ค.2551 ปตท. ได้ยื่นคำร้องรายงานสรุปการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
26 ธ.ค.2551 ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งบันทึกในคำร้องรายงานสรุปฯของ ปตท. ว่าปตท. ดำเนินการโอนทรัพย์สินตามคำพิพากษาครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว
29 ธ.ค.2551 สตง. ส่งหนังสือให้ความเห็นถึง ปตท. โดยแนบเอกสารตรวจสอบฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2551 (เอกสารที่กล่าวอ้าง)
20 ก.พ.2552 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้มีหนังสือถึง ปตท. และหน่วยงานอื่นๆ รวมถึง เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองว่า
"การดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สินของ บมจ.ปตท. ให้แก่กระทรวงการคลัง ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด จะครบถ้วนและเป็นไปตามคำพิพากษาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่จะผู้พิจารณา ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดถือเป็นยุติ"
3 มี.ค.2552 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นคำร้องขอให้ศาลฯ ไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ปตท. ต้องคืนกระทรวงการคลังพร้อมกับแนบรายงานการตรวจสอบของ สตง.ประกอบท้ายคำร้องด้วย ซึ่งในวันเดียวกันศาลฯ มีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวและสั่งว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
10 มี.ค.2552 สำนักงานศาลปกครอง มีหนังสือแจ้งไปยัง สตง. ว่า ?ได้ติดตามผลการดำเนินการตามคำพิพากษาของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่และรายงานให้ศาลทราบ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว?
10 ส.ค.2553 กระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงานได้เสนอเรื่องการคืนทรัพย์สินตามคำพิพากษาของปตท. ไปยังคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบการดำเนินการดังกล่าวของ ปตท.
2 พ.ย.2555 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ยื่นฟ้องว่า ปตท. คืนท่อตามคำพิพากษาไม่ครบและขอให้ศาลตัดสินให้ปตท.คืนท่อในทะเลด้วย โดยศาลมีคำวินิจฉัยว่า ศาลปกครองสูงสุดได้เคยมี "คำพิพากษาว่า ปตท. ได้ดำเนินการส่งมอบทรัพย์สินครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว"
10 ต.ค.2557 ผู้อำนวยการสำนักงานศาลปกครองสูงสุด มีหนังสือแจ้งคำสั่งศาลฯที่วินิจฉัยว่าไม่จำเป็นต้องออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดตามที่ ปตท. ได้ยื่นขอให้ออกหนังสือดังกล่าว เนื่องจากคดีได้ถึงที่สุดโดยผลของกฎหมายอยู่แล้ว
12 ธ.ค.57 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ในคดีการแบ่งแยกระบบท่อก๊าซธรรมชาติของ บมจ.ปตท. ให้กลับมาเป็นของรัฐ ตามคำร้องที่ 1034/2555 คำสั่ง 800/2557 ซึ่งมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 1 กับพวกรวม 1,455 คน (ผู้ฟ้องคดี) ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี ที่ 1, นายกรัฐมนตรี ที่ 2, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ 3, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ 4, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ 5 (ผู้ถูกฟ้องคดี)
ล่าสุด
วันที่ 16 ก.พ. 58 ศาลปกครองกลางได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2557 โดยมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลางให้ไม่รับคำฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ตามที่ได้ปรากฎตามหน้าเว็ปข่าวหนังสือพิมพ์ต่างๆ ว่า ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ