"มหากาพย์การฟ้องคดีทวงคืนท่อก๊าซ ทรัพย์สินแผ่นดิน ยังไม่จบ จริงหรือ?" ยาวมาก แต่อยากให้อ่าน สาเหตุ
ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาอีกครั้ง กับการทวงคืนท่อก๊าซที่น่าจะจบตามคำพิพากษาไปแล้ว แต่อาจไม่จบตามจริต ความจริงเรื่องท่อก๊าซนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ศาลปกครองเคยมีคำสั่งรวมถึงคำพิพากษาประเด็นนี้มาแล้วถึง 5 ครั้ง ถ้าจะให้ย้อนไปก็ตั้งแต่ 26 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ศาลได้มีคำสั่งว่า ปตท. ได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กระทั่งล่าสุดเมื่อ 7 เมษายน 2559 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ฟ้อง (มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ คุณ รสนา) อีกครั้ง ก็ยังมีการตั้งคำถามอีกรอบ สร้างความสับสนเคลือบแคลงให้ประชาชนสับสนในข้อเท็จจริงว่า
"มหากาพย์การฟ้องคดีทวงคืนท่อก๊าซ ทรัพย์สินแผ่นดิน จบแล้ว จริงหรือ?" เพราะศาลยังไม่ได้พิจารณาเนื้อหาในประเด็นแห่งคดี การถูกยกคำร้องเป็นปัญหาแพ้ทางเทคนิคกฎหมายเท่านั้น
ถ้าผู้ที่ยังสงสัย ได้อ่านคำสั่งของศาลปกครองล่าสุด (ลงวันที่ 7 เมษายน 2559) รวมถึงคำสั่งในครั้งที่ผ่านๆ มา ด้วยใจที่ปราศจากอคติ ก็น่าจะเข้าใจ เพราะที่ผ่านมาศาลฯ ได้ชี้แจงประเด็น รวมถึงข้อกฎหมายต่างๆ ไว้ครบถ้วน
ประการแรก คือ ศาลฯ ไม่ได้ตัดสินโดยอาศัยเหตุที่ว่าผู้ฟ้องไม่ใช่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดี (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น (และในคำสั่งของศาลไม่ได้ใช้คำว่า ประชาชนผู้ฟ้องคดีไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ด้วย) เพราะในคำสั่งยังอ้างข้อเท็จจริงของคดีที่ผู้ฟ้องได้เคยยื่นคำร้องลงวันที่ 3 มี.ค. 2552 ที่ขอให้ศาลไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ ปตท. ต้องแบ่งแยกให้กระทรวงการคลังตามคำพิพากษา ซึ่งจริงๆ แล้วในคดีนั้นในคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ยื่นต่อศาลฯ ก็ได้มีการแนบหนังสือทักท้วงของ สตง.เข้าไปด้วย และจริงๆ ศาลฯ ก็ได้รับรายงานการตรวจสอบของ สตง. มาหลายวาระ และโดยอย่างยิ่ง หนังสือ สตง. ฉบับลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 ก็ยังได้ระบุความเห็นในตอนท้ายไว้เลยว่า “....การดำเนินการแบ่งแยกจะครบถ้วนและเป็นไปตามคำพิพากษาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่จะพิจารณาซึ่งคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดถือเป็นยุติ...” เพราะความถูกต้องครบถ้วนของการแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษาของศาลฯ องค์กรเดียวที่จะชี้ขาดในเรื่องนี้ได้ก็คือศาล.... ดังนั้น ที่อ้างว่า การที่ประชาชนผู้ฟ้องคดีถูกยกคำร้องทุกครั้งจึงเป็นแค่ปัญหาแพ้ทางเทคนิคกฎหมาย (technical foul) เพราะศาลปกครองยังไม่เคยพิจารณาเนื้อหาแห่งคดีในคำฟ้องของประชาชนเรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินคืนแผ่นดินยังไม่ครบถ้วนเพราะมีการลัดขั้นตอนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของกระบวนการแบ่งแยกทรัพย์สิน จึงไม่จริง!!
ประการที่สอง เรื่องการตีความของกฤษฎีกา การตั้งคำถามเป็นเรื่องที่ดี แต่การอดทนรอการพิจารณาที่ถี่ถ้วนน่าจะดีกว่า เพราะ ขนาดคดีแบ่งแยกทรัพย์สิน ยังใช้เวลาในการยื่นฟ้องพิจารณา รวมถึงยื่นซ้ำอีก ต่อเนื่องกันกินเวลามาทั้งหมด จะเกือบสิบปี โดยที่ยื่นทุกครั้งก็มีการพิจารณาทุกครั้ง ฉะนั้นแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้นิ่งนอนใจแน่นอน
ส่วนในกรณีของ อดีต รมว กระทรวงการคลังที่มีการตั้งคำถามถึงท่อก๊าซในทะเล ว่าควรเป็นของใครและมีการเทียบไปถึงว่าควรต้องคืน เพราะมีการยกเทียบการเช่าที่ของผู้ค้าริมหาดไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้รัฐ ตั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตน
กรณีนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยให้ทรัพย์สินของ ปตท. ที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนส่งมอบให้กับรัฐ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าท่อก๊าซบนบกบางส่วนนั้น อยู่บนที่ดินได้มาจากการใช้อำนาจมหาชน เช่น การเวนคืนที่ดิน หรือ การรอนสิทธิที่ดินของเอกชน ส่วนนี้จึงส่งมอบให้แก่รัฐไป แต่ท่อส่วนที่ ปตท. ลงทุนเองที่อยู่บนที่ดินที่ไม่ได้มาจากการเวนคืนที่ดิน หรือ รอนสิทธิที่ดินของเอกชน ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่ศาลปกครองวินิจฉัย ถ้าให้ส่งมอบท่อเหล่านั้นให้รัฐคงต่อไปไม่มีคนกล้ามาลงทุน ท่อก๊าซในทะเลก็เช่นกัน ไม่ได้อยู่บนที่ดินที่มาจากการเวนคืนที่ดิน หรือ รอนสิทธิที่ดินของเอกชน ซึ่งไม่ใช่การใช้อำนาจมหาชน ดังนั้นท่อก๊าซในทะเล จึงไม่เข้าข่ายที่ต้องส่งมอบให้แก่รัฐ และ พื้นที่ในทะเลเป็นพื้นที่ของรัฐ จึงไม่จำเป็นต้องมีการเวนคืนที่ดิน หรือ รอนสิทธิที่ดิน
การวางท่อในทะเลจึงมีเพียงจะต้องขออนุญาตต่อหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ เช่น กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ กรมประมง เป็นต้น ถ้าหน่วยงานของรัฐอนุญาตให้ใช้พื้นที่ได้ เอกชนรายใดก็สามารถใช้พื้นที่ในทะเลได้ ส่วนเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนให้รัฐนั้น เรื่องนี้ผมคิดว่า ท่านรู้ดีอยู่ว่า การจ่ายค่าตอบแทนให้รัฐนั้น มีหน่วยงานรัฐกำกับอย่างคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน รวมไปถึงหน่วยงานอย่าง สตง.ตรวจสอบรายรับรายจ่ายอีกด้วย และเอาเรื่องการวางท่อไปเทียบกับการค้า ท่านไม่คิดถึงว่า มันต่างกัน การวางท่อนั้น จุดประสงค์คือเพื่อส่งต่อ พลังงานให้เราคนไทยทุกคนได้ใช้กัน มีพลังงานไม่ขาดแคลน ไปเทียบกับการขายของริมหาดได้อย่างไร
ดังนั้น เรื่องประเด็นเรื่องท่อก๊าซควรจะจบได้แล้วตามกระบวนการของกฎหมายที่ศาลได้ตัดสินแล้วโดยชอบ หรือ ถ้าไม่จบก้อเพราะมันไม่เป็นไปตามหวังของใครบางคนหรือไม่?
เรื่องที่เกี่ยวข้องกัน หลักฐานชิ้นสำคัญชี้ชัดว่า สตง. ยอมรับ ปตท. คืนท่อก๊าซครบถ้วน
ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาอีกครั้ง กับการทวงคืนท่อก๊าซที่น่าจะจบตามคำพิพากษาไปแล้ว แต่อาจไม่จบตามจริต ความจริงเรื่องท่อก๊าซนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ศาลปกครองเคยมีคำสั่งรวมถึงคำพิพากษาประเด็นนี้มาแล้วถึง 5 ครั้ง ถ้าจะให้ย้อนไปก็ตั้งแต่ 26 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ศาลได้มีคำสั่งว่า ปตท. ได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กระทั่งล่าสุดเมื่อ 7 เมษายน 2559 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ฟ้อง (มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ คุณ รสนา) อีกครั้ง ก็ยังมีการตั้งคำถามอีกรอบ สร้างความสับสนเคลือบแคลงให้ประชาชนสับสนในข้อเท็จจริงว่า
"มหากาพย์การฟ้องคดีทวงคืนท่อก๊าซ ทรัพย์สินแผ่นดิน จบแล้ว จริงหรือ?" เพราะศาลยังไม่ได้พิจารณาเนื้อหาในประเด็นแห่งคดี การถูกยกคำร้องเป็นปัญหาแพ้ทางเทคนิคกฎหมายเท่านั้น
ถ้าผู้ที่ยังสงสัย ได้อ่านคำสั่งของศาลปกครองล่าสุด (ลงวันที่ 7 เมษายน 2559) รวมถึงคำสั่งในครั้งที่ผ่านๆ มา ด้วยใจที่ปราศจากอคติ ก็น่าจะเข้าใจ เพราะที่ผ่านมาศาลฯ ได้ชี้แจงประเด็น รวมถึงข้อกฎหมายต่างๆ ไว้ครบถ้วน
ประการแรก คือ ศาลฯ ไม่ได้ตัดสินโดยอาศัยเหตุที่ว่าผู้ฟ้องไม่ใช่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดี (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น (และในคำสั่งของศาลไม่ได้ใช้คำว่า ประชาชนผู้ฟ้องคดีไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ด้วย) เพราะในคำสั่งยังอ้างข้อเท็จจริงของคดีที่ผู้ฟ้องได้เคยยื่นคำร้องลงวันที่ 3 มี.ค. 2552 ที่ขอให้ศาลไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ ปตท. ต้องแบ่งแยกให้กระทรวงการคลังตามคำพิพากษา ซึ่งจริงๆ แล้วในคดีนั้นในคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ยื่นต่อศาลฯ ก็ได้มีการแนบหนังสือทักท้วงของ สตง.เข้าไปด้วย และจริงๆ ศาลฯ ก็ได้รับรายงานการตรวจสอบของ สตง. มาหลายวาระ และโดยอย่างยิ่ง หนังสือ สตง. ฉบับลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 ก็ยังได้ระบุความเห็นในตอนท้ายไว้เลยว่า “....การดำเนินการแบ่งแยกจะครบถ้วนและเป็นไปตามคำพิพากษาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่จะพิจารณาซึ่งคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดถือเป็นยุติ...” เพราะความถูกต้องครบถ้วนของการแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษาของศาลฯ องค์กรเดียวที่จะชี้ขาดในเรื่องนี้ได้ก็คือศาล.... ดังนั้น ที่อ้างว่า การที่ประชาชนผู้ฟ้องคดีถูกยกคำร้องทุกครั้งจึงเป็นแค่ปัญหาแพ้ทางเทคนิคกฎหมาย (technical foul) เพราะศาลปกครองยังไม่เคยพิจารณาเนื้อหาแห่งคดีในคำฟ้องของประชาชนเรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินคืนแผ่นดินยังไม่ครบถ้วนเพราะมีการลัดขั้นตอนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของกระบวนการแบ่งแยกทรัพย์สิน จึงไม่จริง!!
ประการที่สอง เรื่องการตีความของกฤษฎีกา การตั้งคำถามเป็นเรื่องที่ดี แต่การอดทนรอการพิจารณาที่ถี่ถ้วนน่าจะดีกว่า เพราะ ขนาดคดีแบ่งแยกทรัพย์สิน ยังใช้เวลาในการยื่นฟ้องพิจารณา รวมถึงยื่นซ้ำอีก ต่อเนื่องกันกินเวลามาทั้งหมด จะเกือบสิบปี โดยที่ยื่นทุกครั้งก็มีการพิจารณาทุกครั้ง ฉะนั้นแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้นิ่งนอนใจแน่นอน
ส่วนในกรณีของ อดีต รมว กระทรวงการคลังที่มีการตั้งคำถามถึงท่อก๊าซในทะเล ว่าควรเป็นของใครและมีการเทียบไปถึงว่าควรต้องคืน เพราะมีการยกเทียบการเช่าที่ของผู้ค้าริมหาดไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้รัฐ ตั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตน
กรณีนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยให้ทรัพย์สินของ ปตท. ที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนส่งมอบให้กับรัฐ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าท่อก๊าซบนบกบางส่วนนั้น อยู่บนที่ดินได้มาจากการใช้อำนาจมหาชน เช่น การเวนคืนที่ดิน หรือ การรอนสิทธิที่ดินของเอกชน ส่วนนี้จึงส่งมอบให้แก่รัฐไป แต่ท่อส่วนที่ ปตท. ลงทุนเองที่อยู่บนที่ดินที่ไม่ได้มาจากการเวนคืนที่ดิน หรือ รอนสิทธิที่ดินของเอกชน ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่ศาลปกครองวินิจฉัย ถ้าให้ส่งมอบท่อเหล่านั้นให้รัฐคงต่อไปไม่มีคนกล้ามาลงทุน ท่อก๊าซในทะเลก็เช่นกัน ไม่ได้อยู่บนที่ดินที่มาจากการเวนคืนที่ดิน หรือ รอนสิทธิที่ดินของเอกชน ซึ่งไม่ใช่การใช้อำนาจมหาชน ดังนั้นท่อก๊าซในทะเล จึงไม่เข้าข่ายที่ต้องส่งมอบให้แก่รัฐ และ พื้นที่ในทะเลเป็นพื้นที่ของรัฐ จึงไม่จำเป็นต้องมีการเวนคืนที่ดิน หรือ รอนสิทธิที่ดิน
การวางท่อในทะเลจึงมีเพียงจะต้องขออนุญาตต่อหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ เช่น กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ กรมประมง เป็นต้น ถ้าหน่วยงานของรัฐอนุญาตให้ใช้พื้นที่ได้ เอกชนรายใดก็สามารถใช้พื้นที่ในทะเลได้ ส่วนเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนให้รัฐนั้น เรื่องนี้ผมคิดว่า ท่านรู้ดีอยู่ว่า การจ่ายค่าตอบแทนให้รัฐนั้น มีหน่วยงานรัฐกำกับอย่างคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน รวมไปถึงหน่วยงานอย่าง สตง.ตรวจสอบรายรับรายจ่ายอีกด้วย และเอาเรื่องการวางท่อไปเทียบกับการค้า ท่านไม่คิดถึงว่า มันต่างกัน การวางท่อนั้น จุดประสงค์คือเพื่อส่งต่อ พลังงานให้เราคนไทยทุกคนได้ใช้กัน มีพลังงานไม่ขาดแคลน ไปเทียบกับการขายของริมหาดได้อย่างไร
ดังนั้น เรื่องประเด็นเรื่องท่อก๊าซควรจะจบได้แล้วตามกระบวนการของกฎหมายที่ศาลได้ตัดสินแล้วโดยชอบ หรือ ถ้าไม่จบก้อเพราะมันไม่เป็นไปตามหวังของใครบางคนหรือไม่?
เรื่องที่เกี่ยวข้องกัน หลักฐานชิ้นสำคัญชี้ชัดว่า สตง. ยอมรับ ปตท. คืนท่อก๊าซครบถ้วน