แฉ!! ความมั่วของคลิป แหล่งน้ำมันกงไกรลาศ คนไม่รู้ก็เที่ยวโม้ไปทั่ว

แฉ คลิปมั่ว แหล่งน้ำมันกงไกรลาศ รถขนน้ำมันดิบ 30,000 ลิตร กงไกรลาศ สุโขทัย คนไม่รู้ก็เที่ยวโม้ไปทั่ว แชร์ให้ทราบโดยทั่วกันจะได้ไม่โดนหลอก การผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งบูรพาของบริษัท สยามโมเอโกะ




แชร์ให้ทราบโดยทั่วกันจะได้ไม่โดนหลอก การผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งบูรพาของบริษัท สยามโมเอโกะ รถที่เห็น ชาวโลกเค้าเรียกว่ารถขนส่งน้ำมันดิบมีความจุประมาณ 200 บาร์เรล (น้ำมันดิบ ไม่ใช้หน่วยเป็นลิตรนะครับ) รถทุกคันนะครับจะส่งไปกลั่นที่โรงกลั่นบางจากนะครับ ประมาณ 3 คันต่อวัน หมายความว่าแหล่งนี้ผลิตได้ประมาณ 600 บาร์เรลต่อวัน (ประเทศไทยใช้น้ำมันดิบประมาณวันละ 1,000,000 บาร์เรล) ก่อนที่น้ำมันดิบจะส่งออกไปจากฐานผลิตปิโตรเลียมที่เห็นนั้นจะถูกวัดปริมาณลง seal ทุกครั้งทุกคัน แล้วไปวัดปริมาณที่ถูกต้อง แม่นยำ ชัดเจนอีกครั้งที่โรงกลั่นบางจาก ถ่ายอยู่ที่แหล่งบูรพา แต่บอกรถขนน้ำมันจากแหล่งลานกระบือ ซึ่งทั้งสองแหล่งนี้ อยู่ห่างกัน และดำเนินงานกันคนละบริษัท ผู้รับสัมปทานคือ บริษัทสยามโมเอโกะนะครับ มีอัตราการผลิตวันละประมาณ 600 บาร์เรลนะครับ น้ำมันดิบที่ผลิตได้ถูกขายให้โรงกลั่นบางจากและใช้ในประเทศทั้งหมดครับ

ส่วนที่บอกว่าการผลิตแสนง่ายต่อท่อแล้วดูดเหมือนน้ำบาดาล เปิดก๊อกใส่รถ คืออย่างนี้ครับการที่ไม่เห็นหัวโยก Beam Pump หรือปั๊มหัวโยกนั้น เนื่องจาก ไม่สามารถใช้ Beam Pump ได้ แต่ความจริงคือหลุมนี้มีการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยในการผลิตอยู่ที่ก้นหลุมที่ไม่สามารถมองจากข้างบนได้ ซึ่งมันมีชื่อว่า Jet Pump ค่าใช้จ่ายต่อวันไม่เท่าไหร่หรอกครับ 107,250 บาทต่อหลุมต่อวันเท่านั้นเอง ซึ่งแหล่งนี้มีการติดตั้ง Jet Pump อยู่ 2 หลุม ส่วนหลุมที่ไม่ได้ติดตั้ง Jet Pump นั้นมีทั้งหมด 3 หลุม ค่าใช้จ่ายต่อวันก็ไม่สูงมากครับ แค่ 46,200 บาทต่อหลุมเอง **(ฺBeam pump and Jet pump ปกติทั่วไป หากแหล่งกักเก็บมี drive มีแรงดันขับเคลื่อนมากพอที่จะดันเอาน้ำมันดิบขึ้นมาได้ หลุมนั้น ไม่ต้องติดปั้ม แต่ผลิตไป บางแหล่ง ความดันลดไม่ไหล ก็ต้องติดปั้ม แต่อยู่ๆ จะเปิดก๊อกไหลใส่รถไปเลย ไม่ได้ ต้องมี process คือ ต้องเอาน้ำมันดิบนั้นเข้า แยกน้ำเพื่อให้มีน้ำปนในน้ำมันดิบน้อยที่สุด ตามผู้ซืีอกำหนด โดยเก็บน้ำมันไว้ใจแทงค์ หรือฉีดสารบางตัวเพื่อให้น้ำมันดิบแยกน้ำกับน้ำมันดิบได้ไวขึ้น ก่อนโหลดลงรถ)

สรุปนะครับจาก 5 หลุมมีค่าใช้จ่ายต่อวันแค่ประมาณ 350,000 บาทต่อหลุมทั้งหมดเองครับ ชัดเจนนะครับที่บอกว่าต่อท่อ เปิดก๊อก ใส่รถ ไม่ยุ่งยาก ไม่ลำบาก เอากันง่ายๆ ดูดกันสบาย มันง่ายตรงไหนครับ (แค่แหล่งเดียวนะครับ อย่าเหมารวมทุกที่เข้าไปว่า Cost มันจะเท่ากันทุกที่)

ส่วนที่บอกว่าราคาน้ำมันสุกขายเป็นราคานำเข้าบวกค่าขนส่งนั้น คืออย่างนี้ครับขอความกรุณาอย่าเอาหัวไว้กั้นหูนะครับ คือการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ(น้ำมันดิบ) มีการจัดเก็บค่าภาคหลวงให้ท้องที่กระทรวงการคลัง เก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมส่งกระทรวงการคลัง เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษส่งกระทรวงการคลัง ไม่มีส่วนไหนเลยที่ไปเกี่ยวข้องการราคาน้ำมันสุก ซึ่งราคาที่ขายนั้นเป็นราคาเนื้อน้ำมันรวมกับเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมัน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ค่าการตลาด ไม่มีส่วนเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันดิบในประเทศเลยครับ ซึ่งราคาน้ำมันสุกที่ขายนั้นกำหนดโดยรัฐบาลครับ โดยการที่มาอ้างเรื่องราคาน้ำมันสุกนั้นกำหนดโดย พรบ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ที่บอกว่าแก้ไขมา 5 ครั้งแต่ไม่แก้ไขข้อนี้ ใช่ครับไม่แก้ไขข้อนี้ เพราะว่ามันไม่มีข้อนี้ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมเลย

ต่อมาคือสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย ความเป็นธรรมคืออะไร การไม่บิดเบือดข้อมูลต่างหากครับ ความถูกต้อง คือการไม่โกหกกัน เป็นธรรมกับทุกฝ่าย เลิกมโน ที่ป้าในคลิปบอกว่าเรามีน้ำมันดิบเป็นของตัวเองและใช้ราคาน้ำมันตลาดโลก ง่ายๆ ครับ คือที่เรามีมันไม่พอกับที่เราใช้ ดังนั้นไม่แปลกที่จะใช้ราคาตลาดโลกครับ (ผลิตได้ประมาณ 150,000 บาร์เรลต่อวัน ใช้วันละ 1,000,000 บาร์เรล)

และที่บอกว่าผู้บริหารกระทรวงพลังงานบอกว่าลงทุนสูง เจาะยากอันนี้ก็ว่ากันด้วยข้อเท็จจริงดังนี้

ค่าใช้จ่ายในการผลิตของทั้ง 5 หลุมตกวันละ 350,000 บาท เงินลงทุนสิ่งปลูกสร้าง กระบวนการผลิตทั้งหมด เป็นเงินประมาณ 57,090,000 บาท เงินลงทุนส่วนนี้คงเป็นค่าใช้จ่ายที่ต่ำนะครับ น้ำมันดิบที่ขึ้นมานั้นไม่ใช่ว่าเอาไปใส่ถัง เปิดก๊อก ใส่รถและขายได้เลยนะครับ มันต้องมีกระบวนการที่มันสมองและสองตาของคนบรรยายมองไม่ออกหรอกว่า จะต้องไปผ่านกระบวนการนำน้ำและก๊าซธรรมชาติออกจากเนื้อน้ำมันดิบด้วยครับ

สุดท้ายที่ทิ้งคำถามว่าอยากให้ข้าราชการกระทรวงพลังงานปล่อยให้ประเทศไทยอยู่ในสภาพแบบนี้ ตอบไปหมดแล้ว เกี่ยวกับข้อจริง แต่ที่คนที่ทำงานรู้สึกแย่คือ ปล่อยให้ประเทศไทย มีกลุ่มคนบางกลุ่มมาคอยบิดเบือนข้อมูล สร้างความสับสนให้ประชาชนทุกวัน

รักนะ ♥♥ จาก กลุ่มบุคลากรที่ทำงานและเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- ความสำเร็จในการขุดเจาะปิโตรเลียมในประเทศไทย http://on.fb.me/1nwS7kC
- ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (๑) http://on.fb.me/1oloao5
- ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (๒) http://on.fb.me/1y9sVS9
- ต้นทุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (๓) http://on.fb.me/1rmDT0X

รายละเอียดชี้แจงอย่างเป็นทางการ จากหน่วยงานภาครัฐ http://bit.ly/1zV5YHO

ที่มาของคลิปดังกล่าว http://bit.ly/1IvuIaS