ช๊อคทำไม!! ในเมื่อพื้นที่สัมปทานไม่ได้เจอปิโตรเลียมทุกพื้นที่

โอ้ละหนอ Social Media จะโม้เหม็นบิดเบือนกล่าวอ้างถึงพื้นที่สัมปทานว่า เราได้นั้นได้มีพื้นที่กว้างขวาง มีการแจกสัมปทานไปแล้วทั่วประเทศ ผู้สัมปทานก็เป็นเจ้าของสิทธิ์ในพื้นที่นั้น ประโยคด้านบนเร้าใจยิ่งนัก คิดว่าเราจะเสียดินแดน แต่แท้จริงแล้วเป็นการเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง


แท้จริงแล้ว หลักกฎหมายไทย ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใต้ดิน ไม่ได้เป็นสมบัติของผู้หนึ่งผู้ใด เจ้าของที่ดินเป็นเพียงผู้ครอบครองและมีสิทธิใช้ประโยชน์บนพื้นดินเท่านั้น รัฐบาลในฐานะตัวแทนประชาชนมีหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรใต้ดินเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนทั้งประเทศ โดยอาจมอบสิทธิให้เอกชนเข้าสำรวจหาและผลิตนำทรัพยากรขึ้นมาใช้พัฒนาประเทศ นอกจากการได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแล้ว รัฐยังมีรายได้จาก ค่าภาคหลวง และภาษีต่างๆ จากกิจการนั้นๆ ตาม กฎหมายเฉพาะของแต่ละประเภท เช่น เหมืองทองคำ ดีบุก ตะกั่ว แร่ต่างๆ น้ำบาดาล รวมถึง ปิโตรเลียม

กฎหมายปิโตรเลียม พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 มาตรา 23 ความว่า " ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในที่ใดไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่น ต้องได้รับสัมปทาน " การขอสัมปทานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยแบบสัมปทานหรือสัญญาสัมปทานให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 http://law.dmf.go.th/detail.php?lan=th&itm_no=I384142581
กฎกระทรวง http://law.dmf.go.th/sub_main.php?lan=th&main_no=M836391530

ประเทศไทยมีพื้นที่บนบกประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ทางทะเลอีกประมาณ 350,000 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 863,115 ตารางกิโลเมตร จากการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมไป 20 รอบ ออกแปลงสำรวจให้บริษัทน้ำมันไปกว่า 155 แปลง ปัจจุบันเหลือแปลงสำรวจที่ยังดำเนินงานอยู่ 54 แปลง มีพื้นที่สัมปทานรวม 90,154 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ประเทศไทย (ไม่รวมแปลงและพื้นที่ บริเวณพื้นที่ทับซ้อน และ พื้นที่บริเวณภาคเหนือซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมการพลังงานทหาร)


ดังนั้น ข่าวหรือสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่ออกมาและมีเจตนาชี้นำตามที่ได้กล่าวข้างต้น จึงไม่เป็นความจริง การได้รับสิทธิสำรวจมีขั้นตอนที่มาที่ไปเป็นลำดับ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้รับสัมปทานหรือผู้ร่วมลงทุน ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขที่ข้อกฎหมายกำหนดไว้ ก็สามารถทำได้ และการได้รับสิทธิหลายแปลง บนพื้นที่หลายหมื่นตารางกิโลเมตร ย่อมหมายถึง ผู้รับสัมปทานจะต้องใช้จ่ายเงินลงทุนสำรวจมากขึ้นตามช่วงระยะเวลาและข้อผูกพันที่ได้ทำสัญญาไว้กับรัฐ แต่โอกาสที่จะค้นพบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์นั้น ยังมีความไม่แน่นอนสูง ในขณะที่ผู้รับสัมปทานรายที่ได้รับการอนุมัติพื้นที่ผลิตไปเพราะได้ผ่านการลงทุนสำรวจ พบ และพิสูจน์ความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์มาแล้ว ซึ่งถ้าได้รับสิทธิในพื้นที่ผลิตมากย่อมมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ผลิตปิโตรเลียมรายใหญ่และมีรายได้แล้ว โดยเมื่อหักค่าใช้จ่ายเหลือเป็นกำไร ก็จะแบ่งกันระหว่างรัฐกับผู้รับสัมปทาน ภายใต้ระบบที่ได้ออกสัมปทานให้ไปในขณะนั้น