รู้แล้วอึ้ง.. คะแนนการจัดอันดับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศที่กลุ่มทวงพลังงานชอบอ้างถึง

เวลาคนที่มีความรู้ด้านพลังงานเลือกประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการกำกับดูแลการบริหารจัดการปิโตรเลียม เขาจะเลือกประเทศเช่น Norway ที่กระทรวงพลังงาน นำโดย พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน และคณะ พร้อมสื่อมวลชน ได้เดินทางไปยังประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์ เพื่อศึกษาต้นแบบการพัฒนาพลังงานชุมชน แหล่งสำรวจก๊าซธรรมชาติ และแผนการบริหารจัดการด้านพลังงาน เมื่อวันที่ 16-21 พ.ค.ที่ผ่านมา



แต่เวลาให้คนไม่มีความรู้ด้านพลังงานเลือก เขาจะเลือกประเทศที่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดี เช่นเวเนหรือแม้กระทั่งมาเลเซีย

เชื่อคนผิด เสียใจจนตายครับ


http://resourcegovernanceindex.org/country-profiles
http://in.mobile.reuters.com/article/idINL8N1JP3V1
https://resourcegovernance.org


สถาบันกำกับดูแลการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ได้จัดทำ ranking ของการกำกับดูแลการบริหารจัดการปิโตรเลียมของแปดสิบกว่าประเทศที่ปิโตรเลียมเป็นรายได้สำคัญของประเทศ

เขามี kpi สำคัญๆหลายตัวเพื่อประเมินผล

นอร์เวย์ได้ที่หนึ่งเพราะบริหารจัดการได้ดีสุด



แต่ที่อยากเอ่ยถึงคือมาเลเซียเพราะอยากให้สมาชิก สนช. ผู้ทรงเกียรติทั้งหลายได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมาเลเซียเสียที

มาเลเซียได้อันดับที่ 27 เพราะความไม่โปร่งใสในระบบ PSC และการกระจายรายได้จากปิโตรเลียมที่ควรทำได้ดีกว่าที่เป็นอยู่อีกเยอะ

ช่วยกรุณาอ่านตามลินค์ที่แปะไว้นะครับและเลิกฟังเลิกเชื่อคนที่ไม่มีความรู้ด้านพลังงานเสียทีเถิด การปฏิรูปพลังงานไทยจะได้เดินต่อในทางที่ถูกที่ควรครับ

http://resourcegovernanceindex.org/country-profiles/MYS/oil-gas