เลิกมโนว่าไม่มีมิเตอร์ดูการไหลของก๊าซจากหลุมปิโตรเลียมแบบรีลไทม์

เมื่อปิโตรเลียมได้รับการผลิตขึ้นมาจากหลุมนั้น ภาครัฐโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติทราบในทุกๆหยด ทุกอณูที่ขึ้นมาว่าผลิตขึ้นมาเท่าไหร่ เอาไปผ่านกระบวนการจุดไหน อย่างไร เท่าไหร่บ้าง


ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท น้ำมันดิบที่ขึ้นมาจากหลุมมันไม่ได้ขึ้นมาแล้วใช้ได้ทั้งหมด มันมีสิ่งเจือปนที่ต้องเอาออก เพราะมันไม่สามารถซื้อขายได้ ดังนั้นปริมาณปิโตรเลียมที่ขึ้นมาจากหลุมทั้งหมด จะไม่ใช่ปริมาณปิโตรเบียมที่ขายทั้งหมด ทุกอย่างมีการแสดงผลและเก็บข้อมูลรายงานกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติตลอดเวลาและในเวลาเย็นของทุกๆ วันจะมีรายงานสรุปอีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นการ double check ในตัวอยู่แล้ว และยังมีข้าราชการกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติผู้รับผิดชอบอยู่หน้างานคอยตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับการรายงานมาที่กรมฯ แบบ Real time ขอย้ำว่า Real time อีกครั้งหนึ่ง

(ที่บอกว่าอยากได้ให้มีมิเตอร์แบบนี้กัน แต่หารู้ไม่ว่าเค้ามีมานานแล้ว)

ดังนั้นอย่างที่บอกนี่คือการ double double check กันทีเดียวเลย ที่บอกว่าเป็นการรายงานภายในของหน่วยงานทำงานอย่างเดียวอันนี้ไม่จริงโดยสิ้นเชิง

หรือแม้แต่การที่ลากเอาไปว่าเนื่องจากการผลิตก๊าซแต่ละแหล่งคนละสัญญานั้น การคำนวณปริมาณก๊าซของหน่วยงานรัฐจะเป็นข้อมูลหลังปัจจุบัน 1 วัน อันนี้จริงครับแต่จริงไม่หมด

การซื้อขายก๊าซธรรมชาตินั้นจะถูกกำหนดไว้ด้วย
- ปริมาณ
- คุณภาพ
- ค่าความร้อน
ปริมาณ หน่วยงานรัฐ ทราบปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ส่งขายเป็นแบบ real time สามารถทราบได้จากระบบมาตรวัดตลอดเวลาและจะมีการสรุปในทุกๆวัน

ส่วนคุณภาพนั้นคือปริมาณ Co2 ปริมาณน้ำในเนื้อก๊าซธรรมชาติที่มีการกำหนดค่าในสัญญาซื้อขาย อันนี้ต้องควบคุมไม่ให้เกินกว่าที่ตกลงกันไว้ โดยการวัดค่าน้ำและ co2 ผ่านอุปกรณ์ที่ถูกปรับเทียบและควบคุมโดยหน่วยงานรัฐ หรือก็คือ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

ส่วนสุดท้ายคือค่าความร้อน อันนี้คือการนำก๊าซธรรมชาติไปผ่านเครื่อง gas chromatography เพื่อหารายละเอียดองค์ประกอบของเนื้อก๊าซว่าประกอบไปด้วย carbon ใดๆเป็นองค์ประกอบบ้าง เพื่อคำนวณหาค่าความร้อนจากเนื้อแก๊สนั้น ซึ่งกระบวนการวัดปริมาณ คุณภาพ ค่าความร้อนนั้น ถูกกำหนดโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติโดยใช้มาตรฐาน AGA (American Gas Association) ล่าสุดในการกำหนดวิธีการ กระบวนการและอุปกรณ์ ผสานกับ พรบ. ปิโตรเลียมที่กำหนดกระบวนการต่างๆ ไว้เช่นกัน

โดยค่าของคุณภาพและค่าความร้อนจะถูกเก็บค่าและคำนวณตามหลักการที่กำหนดไว้ ซึ่งจะใ้ช้เวลาประมาณ 1 วันในการคำนวณ เพื่อนำมาคำนวณกับปริมาณก๊าซที่ส่งขายซึ่งทราบอยู่แล้วแบบ real time ได้ออกมาเป็นมูลค่าของก๊าซในการจัดเก็บค่าภาคหลวงต่อไป ซึ่งมีบางท่านบอกว่ากรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะทราบปริมาณก๊าซธรรมชาติช้าไป 1 วัน อันนี้ไม่จริงด้วยประการทั้งปวง







ที่มา เลิกมโนว่าไม่มีมิเตอร์ดูการไหลของก๊าซจากหลุมปิโตรเลียม เครดิต น้องปอสาม