รู้แล้วจะอึ้ง สาเหตุที่มาเลเซียน้ำมันถูกกว่าไทย

รู้แล้วจะอึ้ง สาเหตุที่น้ำมันมาเลเซีย ถูกกว่าไทย ภาพนี้เป็นโครงสร้างราคาน้ำมัน ในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ระหว่าง เบนซิน 95 ของประเทศไทย กับ เบนซิน (RON) 95 ของประเทศมาเลเซีย ค่าเงิน 1 ริงกิต = 8.58 บาท

ที่มาภาพ น้องปอสาม


นโยบายการยกเลิกอุดหนุนราคาพลังงานที่มาเลเซียพยายามทำมาตั้งแต่ต้นปีตอนนี้น่าจะมีผลแล้วกับราคาน้ำมันในเดือนตุลาคม แต่ยังไงก็ตามยังคงไม่มีการเก็บภาษีในสินค้าประเภทเชื้อเพลิงทำให้ราคาต่างกับประเทศอื่น (ยกเว้น Ron 97 เก็บ 6% แต่ยังถือว่าต่ำสุดในอาเซียน)

ภาพนี้เป็นโครงสร้างราคาน้ำมัน ในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ระหว่าง เบนซิน 95 ของประเทศไทย กับ เบนซิน (RON) 95 ของประเทศมาเลเซีย ค่าเงิน 1 ริงกิต = 8.58 บาท

ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นฯ + ค่าการตลาด ของทั้งสองประเทศใกล้เคียงกันมาก โดยราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น + ค่าการตลาดของ เบนซิน 95 ตกลิตรละ 18.99 บาท (ยูโร4) ส่วนของ RON 95 มาเลเซีย ลิตรละ 17.60 บาท (ยูโร2)

สาเหตุที่เบนซิน 95 มีราคาที่สูงกว่าเนื่องจากคุณภาพน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 และผลของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ราคาหน้าโรงกลั่นฯ ของน้ำมันเบนซิน 95 ในไทย ลิตรละ 16.10 บาท รวมถึงคุณภาพน้ำมันของไทย (ยูโร 4) สูงกว่ามาเลเซีย (ยูโร 2) รวมไปถึงระยะทางการขนส่งน้ำมันจากสิงคโปร์มาไทย กับ สิงคโปร์ไปมาเลเซีย (MOPS is an acronym that stands for the Mean of Platts Singapore, which is the average of a set of Singapore-based oil product price assessments published by Platts สาเหตุที่ใช้ราคาที่สิงคโปร์เนื่องจากเป็นตลาดค้าน้ำมันใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียเราที่ประกาศโดย Platts)

ส่วนราคาขายปลีกนั้น เบนซิน 95 แพงกว่า อยู่ที่ลิตรละ 33.76 บาท เพราะรัฐจัดเก็บภาษีฯและกองทุนฯ เพิ่มเติมอีกลิตรละ 14.77 บาท ขณะที่ RON 95 มาเลเซีย ขายที่ราคาเดียวกับราคาหน้าโรงกลั่นฯ + ค่าการตลาดที่ลิตรละ 17.60 บาท (RM 2.05) เพราะรัฐไม่เก็บภาษีเลย ซึ่งก่อนหน้านั้นรัฐเคยเอางบประมาณไปอุดหนุนหรือช่วยจ่ายค่าน้ำมันบางส่วนให้อีกด้วย แต่ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว

ส่วนเรื่องมาตรฐานน้ำมัน Euro ก็สำคัญเนื่องจาก ไทยใช้ Euro4 เพราะ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเราแย่กว่าประเทศอื่น รวมไปถึงอีกปัจจัยคืออุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ทำให้แปรผันในส่วนการส่งออกรถยนต์ออกนอกประเทศ เนื่องจากหลายประเทศให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน

ทั้งหมดนี้ จึงเป็นสาเหตุที่ราคาน้ำมันขายปลีกทั้งสองประเทศแตกต่างกัน แต่ถ้าพิจารณาที่ตัวเนื้อน้ำมัน จะเห็นได้ว่าราคาไม่ได้แตกต่างกันมาก ที่ราคาขายปลีกต่างกันเพราะอัตราการจัดเก็บภาษีฯและกองทุนฯ
ปล. สาเหตุที่ไม่ได้แยกค่าการตลาดออกมาเพราะไม่มีข้อมูลค่าการตลาดของทางมาเลเซีย

เครดิตข้อมูล:
- สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน (www.eppo.go.th)
- paulton.org
- Petron
- Financial Times
- GST Malaysia
- Malaysia abolishes fuel subsidies
http://www.ft.com/…/240062/malaysia-abolishes-fuel-subsidies
- Ron95, Diesel and LPG to be exempted from GST , Budget 2015 GST Update
http://www.gstmalaysia.co/ron95-diesel-and-lpg-to-be-exe…/…/
- Harga Petrol RON95 RON97 Diesel Terkini Oktober 2015
http://www.hasrulhassan.com/…/harga-petrol-ron95-ron97-terk…
- Harga Minyak Petrol RON95 RON97 Diesel Terkini: Oktober 2015 ราคาเดือนตุลาคม 58 พร้อมเนื้อหาการเก็บภาษี GST ใน RON 97 6%
http://www.malaysiatercinta.com/…/harga-petrol-dan-diesel-t…
- การนำเข้าน้ำมันของมาเลเซียจากสิงคโปร์ และมาตรฐานน้ำมันของมาเลเซีย
http://www.platts.com/…/malaysia-to-import-50-ppm-97-ron-ga…
GST ภาษีระบบใหม่ "มาเลย์" ชดเชยรายได้ น้ำมัน-ส่งออก
http://on.fb.me/1RDXVDn
info Graphic การจัดเก็บภาษี GST ของมาเลเซีย
http://on.fb.me/1PckMHP
ที่มา โครงสร้างตัวอย่างจากคุณสิริวัฒน์ วิฑูรกิจวานิช
http://on.fb.me/1WYSIJs