บ่อน้ำมันวิเชียรบุรี ถ้าแชร์เรื่องมั่ว!! ก็จะได้ข้อมูลแบบมั่วๆ

ใครที่เคยได้รับทราบ หรือ ได้รับการส่งคลิปจากทางไลน์ หรือ ช่องทางอื่นๆ ประเด็นที่ว่า
ความลวง:
คนไทยรู้หรือยัง ?
ตะลึง..!!


     ขุดน้ำมันดิบที่วิเชียรบุรี ลึกไม่ถึง 1 กม.ได้วันละ 10,000 บาเรนใช้ได้นาน 20 ปี
    เตรียมส่งออกจีน..


เหยี่ยวข่าว 7สี - บ่อน้ำมันวิเชียรบุรี ขุมทรัพย์ใต้ดิน ที่เพชรบูรณ์


ความลับที่รัฐปกปิด เริ่มเปิดเผยออกมาเรื่อยๆ..ที่นี่ ประเทศไทยนะ โดยสันนิษฐานว่ามาจากเนื้อหาของเหยี่ยวข่าว http://s.bugaboo.tv/wmxh และเกิดการเผยแพร่ออกไปให้เกิดการเข้าใจที่ผิด

ซึ่งทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ชี้แจงดังนี้

1. ในอดีตปริมาณการผลิตสูงสุดต่อวันที่เคยผลิตได้ประมาณ 12,500 บาร์เรลต่อวัน แต่อัตราการผลิตลดลงอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ 5,000 บาร์เรลต่อวัน ยิ่งไปกว่านั้น อัตราการผลิตในปัจจุบันลดลงเหลือ 1,200 บาร์เรลต่อวัน (ตั้งแต่เดือน ก.พ.2555) เนื่องจากการผลิตน้้ามันดิบของหลุมในแหล่งส่วนใหญ่ได้มาจากชั้นหินหักเก็บปิโตรเลียมที่เป็นหินภูเขาไฟ ซึ่งโดยธรรมชาติของแหล่งกักเก็บชนิดนี้จะผลิตน้ำมันได้ในปริมาณสูงในช่วงแรกเท่านั้น

เนื่องจากในหินภูเขาไฟมีคุณสมบัติที่สามารถกักเก็บปิโตรเลียมได้น้อย (แหล่งกักเก็บเป็นลักษณะของรอยแตกในหินภูเขาไฟเนื้อแน่น จึงมีปิโตรเลียมในช่องรอยแตกเท่านั้น แตกต่างจากหินกักเก็บที่เป็นหินทราย ซึ่งจะเป็นลักษณะของรูพรุนระหว่างเม็ดทรายเมื่อทำการผลิตปิโตรเลียมจะค่อยๆ ไหลออกมาอย่างต่อเนื่องตามแต่ความสามารถในการซึมได้ของปิโตรเลียม และความดันภายในแหล่ง) การผลิตปิโตรเลียมจากหินกักเก็บลักษณะหินภูเขาไฟจะหมดไปอย่างรวดเร็ว และประสบปัญหาเรื่องปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงจนเป็นเหตุให้ปิดหลุมผลิต

กราฟด้านล่างแสดงอัตราการผลิตรวมที่ระยะหนึ่งมีการผลิตได้มากถึง 12,500 บาร์เรลต่อวัน และลดลงอย่างรวดเร็ว

(ประวัติการผลิตน้้ามันดิบของ บริษัท Eco Orient Resources ซึ่งเดิมชื่อ Pan Orient Resources (Thailand) รวมทุกแหล่ง ได้แก่ วิเชียรบุรี นาสนุ่น
L44 L33 POR และบูรพา)

2. หลุมผลิตในนาสนุ่น มีหลุมเจาะที่เจาะลึกน้อยกว่า 1 กิโลเมตร จริง เนื่องจากชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมอยู่ในชั้นหินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นชั้นหินกักเก็บที่ต่างจากแหล่งกักเก็บอื่นๆ ซึ่งชั้นหินกักเก็บที่อยู่ในชั้นหินทราย

3. จากข่าวรายงานว่าจะแหล่งพื้นที่ผลิตในจังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถผลิตน้ำมันดิบไปได้อีก 20 ปีนั้น หากค้านวณจากปริมาณส้ารองที่พิสูจน์แล้ว (Proved Reserves หรือ P1)
ณ ปี 2555 มีปริมาณส้ารองอยู่ที่ 5.38 ล้านบาร์เรล ซึ่งเมื่อเทียบอัตราการผลิตปัจจุบันที่ 1,270 บาร์เรลต่อวัน แหล่งผลิตปิโตรเลียมในจังหวัดเพชรบูรณ์จะผลิตต่อไปได้ประมาณ
12 ปี เท่านั้น

4. นักข่าวรายงานว่าน้ำมันดิบที่ผลิตได้ในจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ส่งโรงกลั่นน้ำมัน หากไม่สามารถกลั่นในโรงกลั่นในประเทศได้ จะถูกส่งออกไปยังประเทศจีน และอเมริกานั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากการซื้อขายน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งบนบกไม่มีการส่งออกไปขายต่างประเทศ ทั้งนี้ น้ำมันดิบที่ผลิตได้ทั้งหมดจะขนส่งไปยังโรงกลั่นภายในประเทศ (หยุดการส่งออกน้ำมันดิบ ตั้งแต่ ก.ย. 57)




ที่มา เอกสารชี้แจง สัมปทานปิโตรเลียมของไทย รัฐได้หรือเสียประโยชน์กันแน่