พม่าน้ำมันขุดมือ อันตราย เสี่ยงสารพิษ

เรื่องน้ำมันขุดมือ ของชาวบ้านที่มาขุดน้ำมันในพม่า มีมาแต่ในอดีตหลายสิบปีก่อน เพราะที่ในพื้นที่มีน้ำมันซึมขึ้นมาบนผิวดิน รัฐบาลท้องถิ่นอนุญาตให้ชาวบ้านขุดหาน้ำมันความลึกไม่เกิน 100 เมตร จากนั้นเอาท่อพีวีซีหย่อนลงไปเก็บน้ำมันขึ้นมา เคยผลิตได้สูงสุดถึง 25 บาร์เรลต่อวันต่อหลุม โดยต้องเสียค่าเช่าที่ประมาณ 3,000-50,000 บาท /หลุมขุดเจอก็เจอ ไม่เจอก็เจ๊งไป



หลายครอบครัว ขายไร่ขายนามาเสี่ยงโชค แล้วก็หน้าแห้งกลับไป

ตอนนี้รัฐบาลท้องถิ่น งดให้/ต่อการอนุญาตแล้ว ส่วนที่ยังเห็นขุดกันอยู่ก็คือกลุ่มที่ยังผลิตได้ ซึ่งเหลืออยู่ไม่มาก

ถ้าดูจากภาพ จะเห็นคราบการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยในระดับเละเทะ เพราะขาดมาตรการและการกำกับที่ดี (ซึ่งหมายถึงเงินลงทุน!!) และ ไม่มีที่ไหนในโลก ที่ผลิตลิตรละ 2 บาท ถ้ามีหลักฐานเอามาแสดงอย่าพูดชุ่ย

ยังไม่รวมถึงการทะเลาะเบาะแว้ง การต่อสู้แย่งชิงทำเล อาชญากรรม และปัญหาเด็กกับเยาวชน ที่จะขาดโอกาสทางการศึกษา เพราะพ่อแม่ย้ายถิ่นฐานมาปักหลักในพื้นที่

เมื่อมาตรฐานการผลิตและมาตรการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ผลิตโดยไม่ต้องรับผิดชอบใดๆต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมขนาดนี้ ต้นทุนการผลิตย่อมต่ำไปด้วยเป็นธรรมดา ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลให้ปัจจุบันทางการพม่ากำหนดยุทธศาตร์ใหม่ โดยให้เอกชน รวมไปถึงรัฐ ขุดเจาะสำรวจเองในอนาคต

เหตุการณ์ก็คล้ายๆกับการเฮโลขุดแร่ที่เขาศูนย์ ดอยโง้ม เขาพนมพา บ้านน้ำเค็มที่เมืองไทย ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมมีกลุ่มคน NGO รวมไปถึงนักการเมือง (ที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องธรณีวิทยา) จึงอยากให้ประเทศไทยเป็นอย่างนี้ แต่ขอโทษนะครับ ถึงจะอยากอย่างไรก็แห้วนะครับ เพราะที่เมืองไทยเรา มีที่ที่น้ำมันไหลซึมขึ้นมาใกล้ผิวดินเพีบงแห่งเดียวคือที่ฝาง และก็ไม่ได้มากมายเหมือนที่พม่าเขา หม่องเขาเพียงแต่โชคดีที่มีน้ำมันในระดับตื้นนะครับ เพราะน้ำมันดิบที่เกิดจากแอ่งสะสมตะกอนที่หนากว่า 10 กิโลเมตรนั้น ถูกขับดันไหลซึมขึ้นสู่ผิวดินตามรอยเลื่อนขนาดใหญ่เท่านั้นแหละ ไม่ได้เก่งกว่าคนไทยตรงไหนหรอกครับ

ซึ่งพม่ามีน้ำมันดิบที่ซึมผ่านชั้นหินต่างๆ ขึ้นมาจนอยู่ตื้นมาก สามารถเจาะหลุมได้ด้วยอุปกรณ์แบบเจาะน้ำบาดาล บางครั้งซึมขึ้นมาจนถึงผิวดิน (Oil seep)และมีระบบการขออนุญาตของพม่า / ให้ขุดเฉพาะหลุมตื้น / ไม่ใช้แท่นเจาะขนาดใหญ่ ส่วนไทยมีปรากฏการณ์นี้น้อยมาก ที่พบเมื่อนานมากมาแล้วคือที่ฝาง ปกติแหล่งน้ำมันของไทยอยู่ลึกประมาณ 2.5 - 3 กม. ต้องใช้แท่นเจาะแบบอุตสาหกรรม ส่วน การเจาะแบบในคลิปได้คือถ้าบ่อน้ำมันมันตื้นมากๆ แบบน้ำบาดาล อาจจะได้ แต่ถ้าเจาะแบบ Open hole อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนในชั้นน้ำบาดาล (อยากทำแบบนี้ไม่ต่อต้านกันแล้วหรอ) เห็นในภาพเป็นท่อ PVC บ้านๆ พอนำเอาน้ำมันดิบขึ้นมาแล้ว ไม่มีการสวมอุปกรณ์เครื่องมือป้องกัน ไม่รู้ว่าน้ำมันดิบนั้นจะมีสารปนเปื้อนหรือเปล่า อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายเพราะได้กลิ่นและสัมผัสกับน้ำมันดิบโดยตรง แถมสภาพแวดล้อมแถวนั้นก็ดูเสื่อมโทรม ถ้าเกิดฝนตกแล้วชะล้างเอาน้ำมันดิบลงแม่น้ำล่ะ ไม่อยากจะคิดเลย พวก NGO ประเทศไทยว่ายังไง ปลาจะตาย สัตว์ที่อาศัย คนใช้น้ำในแม่น้ำไม่ได้ แต่การเจาะหลุมปิโตรเลียมในไทย เจาะลึกกว่าระดับน้ำบาดาลมาก (ระดับน้ำบาดาลลึกสุดในไทยประมาณ 600 เมตร)และ ลงท่อกรุ Casing รอบหลุม ไม่ให้สิ่งที่อยู่ในหลุมออกไปปะปนกับชั้นหินอื่น เรียกว่าเป็นระบบปิด น้ำจากการขุดเจาะยังต้องเอาไปบำบัดก่อนอัดกลับลงหลุม แถมเจ้าพนักงานก็ต้องใส่ชุดหมี ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันไอจากน้ำมันดิบอีกต่างหาก

เคยโพสต์ไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว http://bit.ly/2MGrADw
เคยมีกรณีเพื่อนบ้านเราเช่นกัน ช่วงเมษายนที่ผ่านมา ไฟไหม้บ่อน้ำมันเถื่อนในอินโดฯ http://bit.ly/2MXJaCB

#น้ำมันขุดมือ



ที่มา น้ำมันพม่าขุดมือ อันตราย เสื่องสารพิษ http://bit.ly/2D4oQJT