ราคาก๊าซพม่า,มาเลเซีย 66 สต. เพ้อเจ้อ

สุดเพ้อเจ้อเรื่องราคาก๊าซธรรมชาติที่ขายให้มาเลเซีย 66 สต.



ก๊าซฯจากแหล่ง JDA (Joint Development Area) เป็นพื้นที่ทับซ้อน ที่ไทยกับมาเลเซียได้ตกลงร่วมกันพัฒนา โดยตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมาเป็นผู้พัฒนาหาประโยชน์จากแหล่งก๊าซฯในพื้นที่นั้น กำไร ผลผลิต หรือสิทธิประโยชน์ก็แบ่งเท่าๆ กันระหว่างไทยกับมาเลเซีย ทั้งไทยและมาเลเซียมีสิทธิที่จะซื้อก๊าซจากแหล่งนั้นตามที่ได้ตกลงกัน โดยมีโครงการวางท่อก๊าซมาขึ้นบกที่สงขลา ที่อำเภอจะนะ

ก๊าซธรรมชาติที่ว่าขายให้มาเลเซีย จึงเป็นก๊าซฯจากแหล่ง JDA นี้ ซึ่งไม่ใช่ของไทยซึ่งเป็นกรรมสิทธิร่วมกันจะเอาไปเปรียบเทียบกับก๊าซฯที่ประเทศไทยซื้อจากพม่า จากแหล่งเยนาดา เยตากุนไม่ได้ เพราะก๊าซฯ นั้นแม้ ปตท.สผ. จะได้ร่วมสำรวจและผลิต แต่ราคาก็ต้องเป็นราคาที่ตกลงกับรัฐบาลพม่า ดังนั้น คนที่มาพูดว่าไทยเราซื้อก๊าซจากแหล่งนี้มาแพง ถึงว่าเป็นการกล่าวหาที่เป็นเท็จ


เรื่องราคาที่มีการเข้าใจผิดว่า 66 สต. นั้น ยิ่งเป็นความมั่วโดยหาที่เปรียบไม่ได้ เพราะ ราคาก๊าซที่เราทำสัญญากับมาเลเซียในพื้นที่พัฒนาร่วมนี้ อยู่ที่***ราคาประมาณ 7.8 ดอลลาร์สหรัฐ/ล้านบีทียู (องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียได้เสนอร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย -มาเลเซีย ที่คณะกรรมการองค์กรร่วมไทย -มาเลเซียได้เห็นชอบแล้วในการประชุมองค์กรร่วมครั้งที่ 103 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2555 และได้มีการลงนามกำกับย่อ (Initial) โดยคู่สัญญาทุกรายเป็นที่เรียบร้อยแล้วเพื่อขอรับความเห็นชอบจากรัฐบาลไทย (พร้อมทั้งนำเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาลมาเลเซียด้วยเช่นกัน) อายุสัญญาจะเริ่มนับจากวันที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญาและจะสิ้นสุดเมื่อครบระยะเวลา 5 ปี 6 เดือน) ฉะนั้นแล้ว 66 สต. เป็นตัวเลขที่เอามาจากไหน?

***ส่วนก๊าซจากพม่าที่บอกว่ากิโลละ 12 บาท (คาดว่าสับสนหน่วย) น่าจะเป็นเข้าใจผิดเรื่องตัวเลขอีกเช่นเคย ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 11.54 ดอลล่าร์/ล้านบีทียู และเป็นราคาที่ทำสัญญาเจรจาซื้อขาย ระหว่าง 4 บริษัทในพื้นที่ของพม่า โดย ปตท.สผ. เป็นแค่หนึ่งในบริษัทร่วมลงทุนเท่านั้น

อนาคตก๊าซจากพม่าอาจลดน้อยลงเพราะพม่าหันไปทำสัญญาระยะยาวกับประเทศจีนอาจทำให้ไทย ตกอยู่ในสถานการณ์ขาดแคลนก๊าซ ทำให้ต้องนำเข้า LNG จากที่อื่นๆ เพิ่ม 16.42 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู (ประมาณ 542 บาทต่อล้านบีทียู) หรือเท่ากับ 26.2 บาท/กิโลกรัม ซึ่งจากแหล่งก๊าซในไทยอยู่ที่ประมาณ 8 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู (ประมาณ 264 บาทต่อล้านบีทียู) หรือเท่ากับ 12.77 บาท/กิโลกรัม ฉะนั้นตอนนี้เราก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำสัญญากับพม่า เพื่อให้ได้ก๊าซในราคาที่ถูกกว่านำเข้า LNG ที่ต้องขนส่งทางเรือทำให้มีต้นทุนสูงกว่า

และ ถ้ามีการเปรียบเทียบกับอเมริกา ยิ่งเพ้อเจ้อใหญ่ ก๊าซ Henry Hub 3 บาท ไม่ใช่ว่า จะได้ใช้ถูกๆ เพราะ

- ข้อมูลข้างต้นเป็นการนำราคาก๊าซธรรมชาติที่ไม่ใช่ราคาขายปลีกและยังไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายดำเนินการใดๆ มาเปรียบเทียบกับราคาขายปลีก NGV จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ การเปรียบเทียบควรเปรียบเทียบราคาขายปลีก NGV ด้วยกัน

- ราคาก๊าซ NGV ของสหรัฐฯ อเมริกาอยู่ที่ $2-2.5 ต่อ GGE (Gasoline-gallon equivalent เทียบเท่าแกลลอนของเบนซิน) ซึ่งเทียบเท่ากับราคา NGV ที่ประมาณ 27-34 บาท/กก. ราคาก๊าซ NGV ของเยอรมันปัจจุบันอยู่ที่ 0.9-1.1 ยูโร/กก. ซึ่งเท่ากับราคา NGV ที่ประมาณ 36-44 บาท/กก.



#JDA #THAI #MALAYSIA #LNG #NG #MYANMAR #ENERGY
------- JDA หรือ (Thailand – Malaysia Join Development Area, JDA) -------

พื้นที่พัฒนาร่วมไทย – มาเลเซีย (Thailand – Malaysia Join Development Area, JDA) มีพื้นที่ประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ในอ่าวไทยตอนใต้ ใกล้กับทะเลจีนใต้ เกิดขึ้นจากการประกาศพื้นที่เขตแดนของทั้งประเทศไทย และประเทศมาเลเซียที่มีพื้นที่ทับซ้อนกัน เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการใช้พื้นที่และทรัพยากร ในปี ค.ศ. 1991 รัฐบาลทั้งสองประเทศจึงประกาศให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมโดยตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาดูแล ได้แก่ Malaysia – Thailand Join Authority ( MTJA ) มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรในพื้นที่โดยให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับทั้งสองประเทศโดยเท่าเทียมกัน ในพื้นที่ JDA นี้ ได้แบ่งพื้นที่สัมปทาน สำรวจ และผลิตปิโตรเลียมออกเป็น 3 แปลงด้วยกัน ได้แก่ แปลง B – 17 ดำเนินงานโดยบริษัท Carigali - PTTEPI Operating Company (CPOC), แปลง A – 18 โดยบริษัท Carigali - Hess Operating Company (C – HESS) และแปลง C – 19 โดยบริษัท CPOC โดยก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง A – 18 ได้ถูกส่งไปยังโรงไฟฟ้าจะนะ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นอกจากนั้นยังถูกส่งไปที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ จะนะ ของบริษัท ทรานส์ ไทย – มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งแยกก๊าซธรรมชาติเป็นก๊าซ LPG และ NGL ซึ่งจะถูกส่งต่อไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซีย ก๊าซธรรมชาติจากแปลง A – 18 บางส่วน และก๊าซธรรมชาติจากแปลง B – 17 ได้ถูกจัดส่งเข้าท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลสายประทาน 3 ไปยังโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และถูกส่งไปยังโรงไฟฟ้าและลูกค้าต่างๆด้วยระบบท่อส่งก๊าซฯของ ปตท. (ขณะนี้ได้มีการดำเนินการแยก TPA ออกมา) สำหรับท่อส่งก๊าซฯในพื้นที่ JDA ทั้งหมด จะดำเนินงานโดยบริษัททรานส์ ไทย – มาเลเซีย จำกัด (TTM) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ปตท. (ปตท.สผ.) และปิโตรนาส ประเทศมาเลเซีย (PETRONAS) โดยมีอัตราส่วนการถือหุ้น 50 : 50 นอกจากการจัดส่งก๊าซฯทั้งสองจุดที่ได้กล่าวมาแล้วทางบริษัท TTM กำลังวางแผนเพื่อดำเนินการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จากแหล่ง JDA แปลง B – 17 ไปยังชายฝั่งเมือง Kertih ประเทศมาเลเซีย เพื่อรักษาสัดส่วนการใช้ ก๊าซฯจากแหล่ง JDA ให้มีความทัดเทียมกันทั้งสองประเทศอีกด้วย