ที่มาภาพ https://www.facebook.com/nongposamm/photos/a.1548159858783765.1073741828.1547935488806202/1766799376919811/?type=3&theater
- ราคาน้ำมันประเทศไทยกับเพื่อนบ้าน แต่ละประเทศมีนโยบายที่ต่างกัน โครงสร้างราคา มาตรฐานน้ำมัน พลังงานทดแทนด้วย พม่านำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากไทย แต่ความจริง พม่านำเข้าจากสิงคโปร์เยอะที่สุด ซึ่งราคาน้ำมันสำเร็จรูปในพม่าถูกกว่าสิงคโปร์ แบบนี้สิงคโปร์ผิดหรือไม่ที่ขายน้ำมันในประเทศแพงกว่าพม่า ราคาต่างกันลิตรนึงประมาณ 20 บาท มีคนพยายามเปรียบเทียบราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ไทยกับมาเลเซีย และบอกว่าจะนำเข้าจากมาเลเซียที่ถูกกว่ามาขาย ซึ่งนำเข้าได้ แต่ต้องถูกกฎหมาย นำเข้าก็ต้องเก็บภาษี ตามนโยบาย ต้องปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมของไทย ต้องมีส่วนผสมพลังงานทดแทน สุดท้าย ก็ราคาขายเท่ากันเหมือนเดิม แต่สิ่งที่ได้มา คือเงินตราของประเทศไหลออก และวาทกรรมปลอมๆ หลอกให้เข้าใจผิดว่า มาเลเซียดีกว่าไทย น้ำมันถูกกว่าไทย
- มีการบอกว่า ถ้ามีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ จะได้ตั้งราคาขายน้ำมันได้เองถูกๆ ไม่ต้องมีก็ตั้งได้ครับ ไม่ต้องอิงตลาดไหน กำหนดเอง แต่มาตรฐานอยู่ตรงไหน ความถูกที่สุด หรือราคาเป็นธรรมที่ทุกภาคส่วนได้รับ คนขาย และ คนซื้อ หรืออย่างไร และรายได้รัฐจะลดลงหรือไม่ ขัดกันหรือไม่กับความต้องการให้รัฐมีรายได้มากๆ สุดท้ายเราก็จะได้อีก วาทกรรมราคาเป็นธรรม ไม่ต้องอิงราคาจากไหน
- ทรัพยากรปิโตรเลียมนั้นเป็นของรัฐไทยอยู่แล้ว ซึ่งหมายถึงเป็นของคนไทยทั้งประเทศ แต่รัฐให้สิทธิเอกชนมาดำเนินการ ภายใต้ระบบ สัมปทาน ที่รัฐได้ผลตอบแทนในรูปค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และผลตอบแทนพิเศษอื่นๆ เรามีแหล่งปิโตรเลียมขนาดเล็กกระจัดกระจาย การสำรวจกว่าจะค้นพบและพัฒนาได้มีความเสี่ยงสูง รัฐจึงเลือกไม่รับความเสี่ยง ตรงนี้ข้อมูลทางธรณีวิทยา บอกอยู่แล้ว ไม่ต้องเดา ไม่ต้องมาสร้างวาทกรรมบิดเบือนหลอกผู้คน นี่ไงครับ ได้มาอีก อธิปไตยพลังงาน วาทกรรมประดิษฐ์
- อายุสัมปทานของ แหล่ง บงกช เอราวัณ กำลังจะหมดลง แต่รัฐบอกจะต่อให้รายเดิม มีใครที่ไหนเคยบอกว่าต่อให้รายเดิม เพราะตามกฎหมายระบุชัดเจนว่าต่อไม่ได้ แต่รัฐเสนอแนวทางในการบริการจัดการภายใต้หลักการทางวิชาการ เศรษฐศาสตร์ ความเป็นไปได้ในการชักจูง เชิญชวนให้เกิดการลงทุน ภายใต้เงื่อนไขจำกัดในเรื่องศักยภาพที่ตะต้องมึการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายคือสร้างความต่อเนื่องในการผลิตก๊าซธรรมชาติ แต่เพื่อตอบโจทย์การเรียกร้องของสังคมมติ กพช. จึงออกมาเห็นชอบให้ใช้การประมูลเพื่อบริหารจัดการทั้งสองแหล่ง (เป็นไงบ้าง เชื่อยังว่าโดนคณะเกาะการเมืองนี้หลอก)
- รัฐไม่มีอำนาจในการผลิตปิโตรเลียม ไม่มีการถ่ายโอนเทคโนโลยี ก็ไม่จริงอีกเช่นกัน เพราะรัฐยังสามารถ กำกับดูแลผู้รับสัมปทานได้ตามกฎหมาย ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยี ก็เห็นได้ชัดจาก การให้ทุนพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรรมปิโตรเลียม ที่สำคัญคุณเคยรู้หรือไม่ปัจจุบันในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีคนไทย สัญชาติไทยปฎิบัติงานอยู่เกือบ 100% โดยที่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ก็เห็นได้ชัดจาก การให้ทุนพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมปิโตรเลียม และการที่ ปตท.สผ. สามารถเป็นโอเปอเรเตอร์ได้เอง เราไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดนคณะนี้หลอกซ้ำซ้อนสร้างวาทกรรมรัฐเสียเปรียบอีก นึกถึงหรือไม่?
- มีการบอกว่า รัฐไม่ฟังเสียงที่เสนอร่าง พรบ. ที่ภาคประชาชนเสนอไป รัฐได้ฟังข้อเสนอแล้ว แต่ก็ต้องมองว่าอันทำได้และปฎิบัติได้จริง ดังนั้นก็มีใส่ระบบต่างๆ ลงไปตามที่เสนอ ทั้ง จ้างผลิต แบ่งปันผลผลิต ลงไปด้วยแล้ว เพียงแค่มันไม่ได้ถูกใจกลุ่มคุณใช่หรือไม่ เลยเป็นที่มาว่า รัฐไม่ทำตามเสียงประชาชน
- มีการกล่าวอีกว่าเอกชนผลักค่าเสียหาย สิ่งแวดล้อมให้รัฐ ก็ไม่จริงอีก เพราะการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงปรับสภาพพื้นผิวให้เหมือนเดิมหลังสัมทานหมดอายุ เป็นความรับผิดชอบของผู้รับสัมปทานเอง ได้วาทกรรมมาอีก รัฐเสียเปรียบเอกชน เอกชนเอาเปรียบเรา
- มีการกล่าวไปอีกเอกชนผลักความเสี่ยงให้รัฐในระบบภาษี มีการยกเว้นภาษีและหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่าธุรกิจทั่วไปของประชาชน ก็ไม่จริง ทุกอย่างก็เป็นไปตามข้อกฏหมาย ที่เชิญชวนเขามาลงทุน อันนี้น่าจะปิดประเทศไปเลย ไม่ต้องส่งเสริมธุรกิจร่วมทุน
- มีการกล่าวอีกมีการใช้ดุลพินิจของข้าราชการและนักการเมือง ก็ไม่จริงอีก เพราะการตัดสินใจ มีระบบ หลักเกณฑ์ เป็นรูปแบบคณะกรรมการ มีกฏหมายรองรับ ไม่ใช่ใครอยากจะให้เป็นแบบไหนก็ได้ (45 ปีที่มี พ.ร.บ. 2 ฉบับมาไม่เคยเขียนถึงการให้ต่ออายุสัมปทานหลังจากหมดอายุที่อนุญาตให้ผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาการผลิตได้ครั้งแล้วครั้งเล่า ระยะสำรวจใน Thailand II Concession Scheme สั้นกว่า Scheme อื่นๆ เสียด้วยซ้ำไป) ได้วาทกรรมรักชาติปลอมๆ เอาการเมืองเอาสีมาโหนเล่น ให้เกลียดกัน
- การผลิตไฟฟ้าให้พอดีและทันกับความต้องการของประเทศ ไม่ใช่พิจารณาแค่ไฟฟ้าสำหรับภาคครัวเรือน 2 ล้านหลังคาเรือนเท่านั้น แต่ยังมีภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เป็นตัวขับเคลื่อน และสร้างความมั่นคงของประเทศ
- พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่สะอาด แต่อย่างไรก็ตามการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนนี้ ยังไม่สามารถเป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ได้ ทดแทนแหล่งพลังงานหลักได้ รวมทั้ง ราคายังสูงมาก การพัฒนาเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าไปมาก ต้นทุนลดลงมากเช่นกัน แต่ก็คงยังสูงอยู่เมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล (เป็นไงวาทกรรมเกี่ยวไฟฟ้า)
- ก๊าซไทยแพงกว่าตลาดโลก อันนี้เข้าใจผิดหลายรอบละ ออกรายการก็ออก ถึงขั้นไปตัดเทปรายการทิ้งเลย ผู้รับสัมทานขายก๊าซปากหลุมแพงกว่าตลาดโลก ก็ไม่จริงอีก ราคาก๊าซซื้อขายโดยอิงกับราคาที่ผู้ใช้รายใหญ่ในภูมิภาคซื้อ คือ JKM หรือ Japan/Korea Marker เนื่องจากสองประเทศนึ้เป็นประเทศใหญ่ในการซื้อขาย LNG ราคา Spot ที่ประเทศอื่นจะซื้อจึงอิง JKM เป็นหลัก และราคานี้ก็ใช้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเท่านั้น และก๊าซที่บอกว่าถูกของสหรัฐอเมริกา เมื่อต้องแปรสภาพและขนส่งมา บวกค่าลงทุนสร้างคลังและสถานีรับจ่ายแล้ว ก๊าซที่ผลิตในไทยเฉลี่ยย้อนหลังแล้วยังถูกกว่า (แนวโน้มการซื้อขาย LNG จะเป็นการซื้อขายแบบเป็นคอนแทรค (Contract) มากขึ้นๆ เรื่อยๆ หลลังจากที่โรง LNG ใหญ่ๆ สร้างเสร็จอย่างโรงที่ ปตท.สผ. ไปร่วมทุน แหล่งของ Exxon และของบริษัทออสเตรเลีย ในประเทศปาปัวนิวกินี และแหล่งในทะเลทางตะวันตกเฉียงเหนือที่เชลล์สร้างโรง LNG ลอยย้ำห่างจากฝั่ง 300 กิโลเมตรชื่อ Prelude ซึ่งมีระวางขับน้ำรวม 600,000 ตัน (เท่ากับของเรือบรรทุกเครื่องบินนิมิส 7 ลำ) ก็พอสบายใจได้อุปทาน แต่ยังไงๆ เรื่องราคาก็ยังต้องคงอิงราคาที่นิยมใช้กันเป็นกรณีๆ กันไป) ที่สำคัญคือรัฐได้ค่าภาคหลวง ภาษี เกิดการจ้างงาน เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจดีกว่า ก๊าซนำเข้า อันนี้วาทกรรมก๊าซของไทยแพงกว่าตลาดโลก
- วาทกรรมแปรรูปขายหุ้นหมดเร็ว 77 วินาที อธิบายกันมาหลายรอบ เป็น 10 กว่าปี ขายหมดเร็วเพราะมีการให้ความมั่นใจนักลงทุน แถมก่อนหน้าก็มีการเปิดจองทดลองแล้วคนก็ไม่สนใจ หุ้นต่ำเพราะมีเหตุการณ์ 911 หุ้นมันก็ตกต่ำทั่วโลก แถมหุ้นยังมีต่ำกว่าราคา 35 บาทด้วยซ้ำ แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจดีขึ้น ราคามันก็เพิ่มมาเป็นปกติ เป็นไงบ้าง วาทกรรมขายหุ้นหมดเร็ว ตอนหุ้นตก เหลือ 28 บาท ไปทำอะไรกันอยู่ เรื่องท่อ ถ้าไปอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองว่าให้ ปตท.ส่งมอบที่ดินและสิ่งอื่นๆ ที่ได้มาด้วยอำนาจรัฐ (เช่นเดียวกับการเวนคืน และการใช้พิ้นที่ของเอกชนโดย กฟผ. กฟภ. และกฟน.) ซึ่งหลักๆ ก็หมายถึงที่ดิน ไม่รวมถึงตัวท่อและอุปกรณ์ ไม่งั้นในอนาคตจะเป็นเรื่องประหลาดมากระดับกินเนสที่ กฟผ.ผลิตไฟฟ้าแล้วต้องไปเช่าสายส่งจากกรมธนารักษ์มาส่งไฟฟ้าให้ลูกค้า ศาลตัดสิน คนทำก็ทำตามศาลตัดสิน อันไหนไม่เข้าข่ายให้ทำนอกเหนือคำตัดสินได้อย่างไร สุดท้ายเจ้าหน้าที่ทำตามหน้าที่ จะให้ละเมิดคำตัดสิน?
- การที่บอกว่า ประเทศไทยมีโรงกลั่นมากมายเราจะได้ใช้ราคาน้ำมันที่ถูกนั้น ในอดีตการใช้ไม่ได้มากมายเท่าในปัจจุบัน โปรดตระหนักให้มั่น เราผลิตได้แค่ประมาณ 15% ที่เหลือต้องนำเข้าที่เหลือ และถ้าเราต้องพึ่งพาการนำเข้าอย่างเดียว ความมั่นคงทางพลังงานจะอยู่ที่ไหน
- วาทกรรมประเทศไทยโชติ์ช่วงชัชวาลย์ ตีความหมายคำนี้ว่า พลังงานถูกหรืออย่างไร มันไม่ใช่ ประเทศไทยพลังงานไม่ขาดแคลน มีการจ้างงานและเศรษฐกิจที่ดีหรือ? ฝากให้คิด
ที่มาเนื้อหา น้องปอสาม ตอบวาทกรรมประดิษฐ์จะได้ไม่เข้าใจเรื่องพลังงาน