ข้าวมันไก่กับราคาน้ำมัน การเชื่อมโยงสุดปัญญาอ่อนของชาวโซเชียล

ผมเห็นประเด็นนี้มาสักพักละ ตั้งแต่สัปดาห์ก่อน คือประเด็นนี้เกิดขึ้นมานานละครับ จะกลับมาพร้อมช่วงราคาน้ำมันไทยเราปรับตัวถี่ทีไร มาทุกที เรื่อง

นิทานหลอกควาย ข้าวมันไก่สิงคโปร์

ข้าวมันไก่

ในความเป็นจริงนั้น ไทยเราเองนำเข้าน้ำมันดิบมาเพื่อกลั่นให้พอใช้เหลือจึงส่งออก



การที่ผู้ประกอบการบ้านเราไม่ใช่แค่เจ้าใดเจ้าหนึ่งอ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์ อันนี้ความเข้าใจพื้นฐานเลยคือ การกำหนดราคาเองต้องตั้งราคาเท่าไหร่ ถึงไม่ขาดทุนและเอาเปรียบผู้บริโภค

การอิงตลาดน้ำมันที่สิงคโปร์คือสิ่งที่ควรจะเป็นมากที่สุด และแถมทำให้ผู้ประกอบการเร่งพัฒนาศักยภาพแข่งกับต่างประเทศได้ด้วย เพราะโรงกลั่นที่นี่โรงเดียวก็มากกว่าโรงกลั่นบ้านเราแล้ว แถม ตลาดสิงคโปร์ไม่ใช่ราคาหน้าปั๊ม ไม่ใช่ราคาโรงกลั่นเดียวของสิงคโปร์ แต่เป็นตลาดที่ผู้ประกอบการหลายร้อยรายมาเทรดน้ำมันแข่งขันกัน หน่วยงานนั้นคือ Platt ไม่ว่าจะด้วยเรื่องราคา หรือความต้องการใช้ และการอิงราคาที่นี่ก็ไม่ใช่ไทยเราใช้ที่เดียว ประเทศที่มีโรงกลั่นก็ใช้แบบนี้ทั้งนั้น มาเลเซียที่เราชอบยกมาเทียบเค้าก็อิงราคาน้ำมันของสิงคโปร์ครับ แถมมีบวกค่าพรีเมียมเข้าไปเช่นกัน แต่เรียกไม่เหมือนกัน บ้านเค้าถ้าผมจำไม่ผิดเรียกว่า Alpha ส่วนต่างเพิ่มเติมคือคุณภาพพิเศษ สารเติมแต่งเจ้าไหนต่อเจ้าไหน อีกส่วนคือเรื่องผสมพลังงานทดแทนที่แต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน ที่จะผลต่อปลายทางคือราคาขายหน้าปั๊ม อีกส่วนที่จะลืมไม่ได้คือ นโยบายทางภาษีของแต่ละประเทศ (บางประเทศอุดหนุนราคา บางประเทศไม่เก็บภาษี หรือ เก็บน้อยมากๆ)

ตลาดทองก็เช่นกัน เราขุดทองในประเทศได้เองทำไมเราต้องไปอิงตลาดทองไม่กำหนดราคาเองให้ถูกไปเลยดีกว่า

สรุปจากเรื่องนิทานข้าวมันไก่สิงคโปร์หลอกควาย คือเอามาเทียบกับไม่ได้

- ข้าวเรา ไก่เรา ไม่ได้นำเข้าจากต่างประเทศถึงเกือบ 90%

- ดังนั้นการจะตั้งราคามันจึงมีราคากลางมากำหนด จะได้ไม่กำหนดเองตามอำเภอใจ

- ไก่ดิบ ข้าวดิบ มีปรับลง ปรับขึ้นทุกวัน แต่ราคาข้าวมันไก่ไม่เคยปรับลง มีแต่ขึ้นหรือไม่ก็ลดปริมาณลง

ที่มา https://www.facebook.com/nongposamm/photos/a.1548159858783765/2887554158177655/

มั่วดราม่าไม่เลิก พม่าน้ำมันถูกกว่าไทย เพราะ..

เมื่อดราม่าไม่เลิก ก็จะออกมั่วๆ หน่อย สร้างความเกลียดชัง แถมยังดูถูกประเทศไทยและพม่า



พม่าน้ำมันถูกกว่าไทยเพราะ โครงสร้างราคาน้ำมันล้วนๆ ส่วนเหตุผลทีละข้อที่ส่งต่อกันๆก็ไม่ได้มองเหตุการณ์หรือข้อมูลอะไรเลย

........1.พม่าไม่มีกระทรวงพลังงาบแบบไทย.....

ตอบ : มั่วละครับ นี่คือเวปไซต์อย่างเป็นทางการของกระทรวงพลังงานประเทศพม่า http://www.energy.gov.mm/

........2.พม่าไม่มีสถาบันปิโตรเลี่ยมแบบไทย

ตอบ : พม่าหรือประเทศไหนอยู่ที่นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ สถาบันปิโตรเลียมของไทยจัดตั้งเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ในด้านปิโตรเลียม นำมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของไทย ในกรณีของพม่า คาดว่าน่าจะเป็น Myanma Petrochemical Enterprise(MPE)

........3.พม่าไม่มีบริษัทค้าน้ำมันปิโตรเลี่ยมเป็นของรัฐแบบ ปตทวย. ....

ตอบ : พม่าขายน้ำมันโดยรัฐ โดยหน่วยงาน Myanma Petroleum Products Enterprise (MPPE) ส่วนอัตราการเก็บภาษี กองทุน อยู่ที่ นโยบายของแต่ละประเทศ

........4..พม่าไม่มี กบง.คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแบบไทย....
........5..พม่าไม่มี..กพช...คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแบบไทย....

ตอบ : คนเขียนมั่วจุง ไม่มีความรู้อะไรเลย พม่า มี Energy Planning Department(EPD)ทำหน้าที่ ประสาน จัดการ และ วางกฎระเบียบ ซึ่งชื่อมันอาจต่างกับประเทศไทย แต่มาเหมาเอาว่าประเทศพม่าไม่มี ถือว่าอคติมาก

........6..พม่าไม่มีสถาบันวิจัยพลังงานแบบมหาลัยดังในไทย...
........7.พม่าไม่มีวิศวกรรมปิโตรเลียมแบบมหาลัยดังของไทย...

ตอบ : พม่า มีมหาลัยที่คล้าย ม. เกษตรศาสตร์ ย่างกุ้ง มหาลัยเค้าสร้างก่อนจุฬาแต่ ไม่สอนเลี้ยงสัตว์ สอนแต่ปลูกป่า ในทางตรงกันข้าม ของไทย มีวิศวกรปิโตรเลียมที่ทำผลงาน มีนวัตกรรมมากมาย

ถัดมา พม่า เริ่มเจอน้ำมันครั้งแรก เมื่อปี คศ. 1853 แต่มีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ต่างๆ จนกระทั่งถึงปี คศ. 2011 ถึงจะเริ่มมีกฎเป็นรูปเป็นร่างมี Petrochemical Complex ที่ Thanbayakan ที่ผลิตได้แค่ 25,000 B/D

หมายเหตุ ทุกวันนี้ ทรัพยากรบุคคลในอุตสาหกรรมประเภทนี้ เป็นที่ต้องการมาก เพราะเริ่มเปิด AEC จีน เริ่มเข้าไปลงทุนที่ประเทศพม่าแล้ว มีการต่อท่อส่งน้ำมัน และ ร่วมทุนกับพม่ามากมาย (แสดงให้เห็นว่า พม่ามีทรัพยากรธรรมชาติที่เยอะกว่าประเทศไทยมากมายหลายเท่า)

.........8.พม่าไม่มีโรงกลั่นแม้สักโรงเดียว...ต้องซื้อน้ำมันจากไทยเท่านั้น

ตอบ : พม่ามีโรงกลั่นเล็กๆ ที่ Thanlyin และ Chauk กำลังการผลิต 20,000 และ 6,000 B/D ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากสิงคโปร์มากที่สุด

.........9.พม่าไม่มีด้อกเตอร์ พลังงาน ด้อกเต้อ ปิโตรเลียม..ด้อกเต้อ เศรษฐศาสตร์..บอร์ด(ตาบอด)พลังงาน ...บอร์ด(ตาบอด)ปิโตรเลียม มากมายหลายองค์กร แบบไทย...

ตอบ : อย่าดูถูก ประเทศตัวเอง และ ประเทศเพื่อนบ้าน พม่า หรือ ประเทศไหนก็มีเฉกเช่นเดียวกันหมด และอาชีพเหล่านี้เป็นที่ต้องการของตลาดด้วยซ้ำ

.........เขาเลยคิดราคาพลังงานลึกซึ้งแยบคายแบบไทยไม่เป็น

กล่าวโดยสรุป ควรมองเรื่องความมั่นทางพลังงานในภาพรวมบ้าง ประเทศพม่า บางพื้นที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ด้วยซ้ำ พม่าไม่มีกลไกราคาน้ำมัน ช่วยเหลือประชาชน ยามที่พลังงานมีราคาผันผวน พม่าแก๊สหุงต้มแพงกว่าประเทศไทย พม่าไม่มีพลังงานทางเลือกให้เลือกใช้มากนัก และ พม่า ยังมีการปล่อยมลพิษในเชื้อเพลิงมากกว่าประเทศไทยอีก (มาตรฐานน้ำมันต่ำกว่าไทย)


บทความที่คล้ายกัน

น้ำมันดิบ WTI จะต่ำลงขนาดไหน ก็ไม่ได้เกี่ยวกับ ราคาน้ำมันขายปลีกของไทยเรา

หากท่านดูข่าว ไม่ว่าจะเห็นราคาน้ำมันดิบ WTI ที่กี่เหรียญ อันนี้น่าจะตกใจกันมากในเมื่อคืนที่ผ่านมาเพราะราคาน้ำมันดิบของ WTI แทบจะแจกฟรี แต่เหตุผลหลักคือถังน้ำมันดิบของ WTI ใน Texas เป็นเรื่องของสัญญา futures เดือนพฤษภาคมที่จะหมดอายุลง ผู้ที่ถือสัญญาอยู่จะต้องส่งมอบน้ำมันที่สหรัฐอเมริกา แต่เนื่องจากสถานที่จัดเก็บเต็มในประเทศ จึงต้องขายสัญญาออกไป แม้ต้องขายติดลบก็ตาม



🛢🛢 เหตุการณ์นี้ยังไม่กระทบกับราคาน้ำมันส่งมอบในส่วนอื่นของโลก (เช่น Brent Dubai) เนื่องจาก storage ที่อื่นยังไม่เต็ม และ WTI มีข้อจำกัดในการส่งออก ทำให้ WTI ไม่สะท้อนราคาน้ำมันตลาดโลก

คราวนี้มาดูประเด็นที่เกี่ยวข้องกับไทยเราบ้าง

🛢🛢 ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ไม่ว่าจะลงไปเท่าไหร่ ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันในประเทศเราเลย หรือแม้แต่กระทั่งเกี่ยวข้องกับผลประกอบการของบริษัทน้ำมันในบ้านเราเลย เพราะฉะนั้นไม่ต้องตกใจหรือคิดว่าตลาดน้ำมันในบ้านเราจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะบ้านเราใช้ราคาอ้างอิงน้ำมันสำเร็จรูป ณ ตลาดสิงคโปร์ (มีอธิบายในด้านล่าง) เป็นหลัก ซึ่งตลาดนี้สะท้อนความต้องการในภูมิภาค

ในขณะที่ตลาดส่งมอบน้ำมันทั่วโลกอื่นๆ ที่ผ่านมา Dubai ปรับลดลงเล็กน้อยเท่านั้นไม่ถึง 1 เหรียญต่อบาร์เรล

⛽⛽ สำหรับผู้ใช้น้ำมันเติมรถกันนั้น ไม่ต้องดีใจว่าจะได้เข้าไปเติมน้ำมันแบบราคาลดลงแบบเยอะแยะขนาดนั้น เพราะกว่าน้ำมันดิบจะมาเป็นน้ำมันรถยังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนแถมยังมีนโยบายของภาครัฐ อย่างภาษี กับ กองทุนต่างๆ บวกเข้าไปอีก

อันนี้เคยนำเสนอไปแล้วลองอ่านที่เพจอื่นนำเสนอดูบ้าง เรื่องทำไมต้องอ้างอิงน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ และ ราคาที่ตลาดนี้เหมาะสมหรือไม่ ที่มา Oil Trading - ทันตลาดน้ำมันและเศรษฐกิจโลกกับ KP https://bit.ly/3anaPUT



ที่มาภาพ http://energythaiinfo.blogspot.com/2012/08/blog-post.html

สาเหตุหลักคือ ตลาดซื้อขายกลางในสิงคโปร์ เป็นจุดที่เรือน้ำมันจากทุกประเทศในภูมิภาคในเอเชียวิ่งเข้ามาบรรจบกันเพื่อทำการแลกเปลี่ยนซื้อขายน้ำมันในแต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบหรือน้ำมันสำเร็จรูปอย่างเบนซินและดีเซล หากใครมีน้ำมันเกินก็นำมาขายได้ที่สิงคโปร์นี้ ใครขาดน้ำมันอะไรก็มารับซื้อจากตลาดสิงคโปร์นี้ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นตลาดราคากลางของเอเชียที่มีความน่าเชื่อถือสูงเพราะมีผู้เล่นจากทั่วทุกมุมของเอเชียนำของเข้ามาซื้อขายกันตลอดเวลา

ถ้าเราจะไม่ทำการกลั่นน้ำมันดิบกันในประเทศเอง - หากเราสมมุติว่าเราไม่มีโรงกลั่น และต้องนำเข้าน้ำมันเบนซินและดีเซลจากต่างชาติมาเติมใส่ปั๊มในประเทศเราให้ได้ใช้กัน ตลาดสิงค์โปร์ก็คือต้นทุนราคาที่เราต้องนำเข้ามาอยู่ดีและนั้นก็จะเป็นต้นทุนของปั๊มเรา ทำให้ราคาก็จะไม่ต่างอะไรมากกับราคาที่โรงกลั่นเราขายอยู่ดี จริงๆแล้วราคาของโรงกลั่นเรายังถูกกว่าด้วยซ้ำเพราะการนำเข้าน้ำมันดิบนั้นถูกกว่าน้ำมันสำเร็จรูปหลายเท่า เพราะสามารถขนถ่ายได้ในปริมาณมากและไม่ต้องไปเสียค่าจ้างจากการกลั่นให้ประเทศอื่นๆ เพราะฉะนั้นราคาขายในประเทศที่อิงกับตลาดสิงค์โปร์นี้จึงเป็นราคากลางที่เหมาะสม

สิงคโปร์ก็เป็นเมืองท่าประตูทางผ่านจากจะวันออกกลางสู่เอเชียที่เป็นหลักที่สุด จุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญนี้ ทำให้เขาสามารถตั้งตัวขึ้นมาเป็นจุดซื้อขายน้ำมันหลักๆได้ - เพราะอย่างที่เรียนว่าไม่ใช่แค่เพียงประเทศไทย แต่หลายๆประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ไม่สามารถผลิตน้ำมันดิบได้เองนั้นก็กำลังต่างก็ต้องพึ่งพาน้ำมันดิบจากตะวันออกกลาง และทุกๆเส้นทางของแต่ละประเทศนั้นต้องมีสิงคโปร์อยู่ระหว่างกลาง

ราคา ณ ตลาดสิงคโปร์ ไม่ได้กำหนดโดยรัฐบาลสิงคโปร์ แต่กำหนดโดย ทาง Platts นั้นจึงต้องหาวิธีใหม่ที่จะทำอย่างไรให้ผู้ซื้อผู้ขายทั้งหมดในเอเชียมากำหนดราคาซื้อขายรายวันกันได้โดยให้มีสภาพคล่องสูงที่สุด โดย Platts ใช้วิธีการว่าหากใครก็ตามที่ต้องการเข้ามา เสนอซื้อ (Bid) หรือ เสนอขาย (Offer) ในช่วง Singapore Window นั้น จะต้องรับส่งมอบน้ำมันตามเกรดนั้นจริงๆตามที่ Platts กำหนด จะไม่มีใครสามารถเข้ามาซื้อขายราคาต่างๆเพียงเล่นๆได้ ต้องประสงค์ที่จะรับน้ำมันไปในระดับราคานั้นจริงๆ การทำแบบนี้นั้นทำให้ยากที่ราคาจะโดนปั่นได้ เพราะบริษัทน้ำมันต่างๆ ที่เข้ามาร่วมซื้อขายนั้นต้องพร้อมที่จะรับน้ำมันไปในราคาที่เสนอจริงๆ

ที่มา น้ำมันดิบ WTI จะต่ำลงขนาดไหน ก็ไม่ได้เกี่ยวกับ ราคาน้ำมันขายปลีกของไทยเรา

เห็นแล้วอึ้ง! ประเทศมาเลเซียที่ราคาน้ำมันถูกกว่าไทย แต่คุณภาพชีวิตต่ำกว่าไทย

“ประเทศที่มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดในเอเชีย” จากการจัดอันดับของ U.S.News สหรัฐอเมริกา

ถ้าเทียบในโซนเอเซีย ประเทศที่ได้อันดับ 1-3 ได้แก่

  1. ญี่ปุ่น
  2. สิงคโปร์
  3. จีน



ที่มา ThailandSkyline

ส่วนของไทย ได้อันดับ 6 และ มาเลเซีย ได้อันดับ 7 ลำดับ

อาจมีคนสงสัยว่า อ่าวแล้วก่อนหน้าเรื่อง GDP ต่อหัวของไทย น้อยกว่า มาเลเซีย มิใช่หรือ?

คงต้องตอบว่า จริง แต่มีเหตุผล คือ ตัวหารเรามีเยอะกว่า มาเลเซียประชากรแค่ 30 ล้านกว่าคน เวลาคำนวนจีดีพีต่อหัวออกมาก็เลยเยอะกว่าไทย ของไทยมี 60 ล้านกว่าคน
ในแง่ของการลงทุน ทำธุรกิจ จะเห็นได้ว่า ของไทย อันดับก็เหนือว่ามาเลเซียเช่นกัน
ยิ่งในส่วนของ Corruption จะเห็นว่า การให้คะแนนของมาเลเซียได้ต่ำกว่าไทยเสียอีกด้วยซ้ำ



จะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันถูก ไม่ได้บ่งบอกว่า ประเทศนั้นๆ จะดีกว่าประเทศไหน

รู้หรือไม่!! มาเลเซียอุดหนุนราคาน้ำมัน เฉลี่ยอาทิตย์ละประมาณ 600 กว่าล้านบาท

มาเลเซียจะมีการประกาศปรับราคาน้ำมันทุกวันศุกร์โดยการประกาศนั้นจะมาจากทางรัฐบาลครับ




หมายความว่า ราคาในประเทศเค้าจะใช้ราคานี้ไป ไม่ว่าน้ำมันจะลดลงขนาดไหน หรือ ขึ้นขนาดไหน ก็ต้องใช้ไป 1 อาทิตย์


ที่มา น้องปอสาม


ราคาที่ปรับก็จะเป็น เบนซิน 97 โดยอาทิตย์หน้าราคาจะลดลง 9 เซ็นต์ หรือประมาณ เอา 0.09 คูณเข้าไป

ส่วนเบนซิน 95 กับ ดีเซล(ยูโร2) จะยังคงราคาเดิม ไม่ว่าจะราคาน้ำมันในตลาดเปลี่ยนไปยังไงก็ตาม เพราะรัฐบาลอุดหนุนราคา (ดูภาพได้จากตาราง รวมถึงงบประมาณที่ใช้อุดหนุนแต่ละครั้ง)

ส่วนกลไกการกำหนดราคา ใช้อิงจากรัฐบาล APM (automatic pricing mechanism) ซึ่งก็อิงราคาตลาดสิงคโปร์ MOPs ส่วนที่เหลือคือการอุดหนุนราคา

หากตีเป็นเงินคร่าวๆ ยกตัวอย่างอุดหนุนแค่ประมาณ 1 สัปดาห์ใช้เงินประมาณ 87.28 ล้านริงกิต หรือ ประมาณ 600 กว่าล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การอุดหนุนนี้คาดว่าจะสิ้นสุดปีหน้า และจะเปลี่ยนเป็นการอุดหนุน แบบกำหนด CC ของรถยนต์ รวมถึงจักรยานยนต์ ในปีหน้า

ที่มา http://bit.ly/malaysiaoctsubsidize600mthb

กลโกง 8 ขั้น ที่โคตรมั่ว พูดแบบมั่ว ก็เชื่อแบบมั่ว

บทวิเคราะห์ที่แสนมั่ว ก็จะได้เนื้อหาแบบมั่วๆ



ปตท. ได้สรุปข้อมูลชี้แจงข่าวลือ กลโกง 8 ขั้น ที่มีการส่งต่อกันในโซเชียลมีเดียที่ระบุหัวข้อว่า กลโกง 8 ขั้นของ ปตท. โดย ปตท. ได้สรุปข้อเท็จจริงตอบคำถาม 8 ข้อ ดังนี้

ข้อที่ 1 ประเทศไทยมีการกลั่นน้ำมันรวมประมาณวันละ 1 ล้านบาร์เรล แบ่งเป็นน้ำมันในประเทศ 20% อีก 80% ที่เหลือนำเข้าจากต่างประเทศ การคำนวณราคาจึงคำนวณตามต้นทุนจริง

ข้อที่ 2 ข้อโจมตีที่ว่า ปตท. มีกำไรหน้าโรงกลั่นสูงถึงลิตรละ 5-6 บาทนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะตัวเลขดังกล่าว อ้างอิงตามส่วนต่างค่าการกลั่น (Refining Margin) ไม่ใช่ตัวกำไร แต่เป็นตัวเลขเปรียบเทียบราคาขายกับราคาต้นทุนหน้าโรงกลั่น ที่ยังไม่นับรวมต้นทุนอื่นๆ ที่ ปตท. ต้องจ่ายอีก เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าตอบแทนผู้บริหาร และค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร เป็นต้น

ข้อที่ 3 เป็นข้อกล่าวหาที่เป็นความเท็จโดยสิ้นเชิง เพราะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นกองทุนของรัฐ จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ปตท.และบริษัทผู้ค้าน้ำมันอื่นๆ มีหน้าที่เก็บเงินจากลูกค้าแล้วนำส่งเข้ารัฐ ไม่ได้นำไปเก็บไว้เป็นรายได้ และกำไรของบริษัทเอกชนแต่อย่างใด

ข้อที่ 4 เป็นเท็จโดยสิ้นเชิง เพราะปัจจุบันราคาแอลพีจี ในตลาดโลกอยู่ที่ตันละประมาณ 800 เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ในประเทศไทยภาครัฐตรึงราคาไว้ที่ตันละ 333 เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น

ข้อที่ 5 ประเทศไทยขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในประเทศขึ้นมาได้ประมาณ 75-80% ของความต้องการใช้งาน อีก 20-25% จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ปตท.มิได้ตั้งเป้านำเข้าก๊าซจากต่างประเทศ เพื่อคิดราคาแพงจากคนไทย

ข้อที่ 6 เป็นข้อโจมตีที่เป็นความเท็จ เพราะน้ำมันเป็นสิ่งที่ทั่วโลกต้องการ จึงย่อมไม่มีเจ้าของน้ำมันรายใด ที่จะยอมให้ราคาคงที่ไปตลอด 10 ปี อย่างแน่นอน ตัวอย่าง คือ การรวมตัวกันของกลุ่มประเทศผู้ค้าน้ำมัน (โอเปก) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อกำหนดราคาน้ำมันสูง ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดี

ข้อที่ 7 การนำเงินไปลงทุนในเกาะเคย์แมน เพื่อการฟอกเงิน ไม่เป็นจริง เพราะหากมีจริง จะต้องมีการตรวจสอบพบอย่างแน่นอน เนื่องจากทุกปี ปตท. ถูกตรวจสอบอย่างน้อยจาก 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และถูกตรวจสอบโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)

ข้อที่ 8 ค่าผ่านท่อก๊าซ ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกกูเลเตอร์) มิใช่ ปตท. ทั้งนี้ ปตท.เห็นว่า ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ว่าจ้างให้มีการเขียนข่าวลือโจมตีในลักษณะนี้ ก็ถือเป็นการว่าจ้างที่ไม่คุ้มค่า เพราะเป็นข้อมูลมั่ว ไม่มีที่มาที่ไป และยั่วยุให้คนไทยแตกแยกกันเอง ด้วยการแพร่ความเท็จ.

ขอบคุณข้อมูลจากไทยรัฐ "ปตท." งัดข้อมูลสยบความเท็จ 8 ข้อ

วิเคราะห์มั่วๆ 5ปี เนื้อหามั่วๆ ก็ได้แบบมั่วๆ เรื่องพลังงาน

เห็นมีคนแชร์มาจากทาง LINE เต็มไปหมด โดยเนื้อหาคร่าวๆ โทษนั่น โทษนี่ โดยไม่มองบริบท เรื่องพลังงาน หรือ เนื้อหาสาระว่าแท้จริงเป็นอย่างไร ก็คงต้องเอามาแก้กันไปว่ามั่วขนาดไหน ขอตัดตอนมาในส่วนเรื่องพลังงานเท่านั้น

 จากดร.อาทิตย์. อุไรรัตน์

ฟังแล้วอย่าเชื่อร้อยเปอร์เซนต์ เอาไปช่วยกันคิด วิจารณ์ วิจัยวิเคราะห์ เจาะลึก ให้ความจริงประจักษ์
เมื่อประจักษ์แล้ว. อย่าเมินเฉย. ชวยกันแก้วิบัติของชาตื

" 5 ปีแห่งความทุกข์ระทมของประชาชน
5 ปีแห่งความหายนะของชาติบ้านเมือง



บอกได้คำเดียวว่า หนักกว่านักการเมืองอาชีพ ชาตินี้คงจะหาผู้นำที่สร้างความบรรลัยให้ชาติบ้านเมืองมากเท่าลุงคนนี้ไม่มีอีกแล้ว โดยเฉพาะการเอื้อประโยชน์ให้เจ้าสัว/นายทุน น่าเกลียดจริงๆ

"มาลองอ่านกันว่า การตั้งคำถามมีคำตอบคำตอบที่ตอบวนกันมา 5ปี" 

> เดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินสกปรกหลายจังหวัดเอื้อประโยชน์นายทุนเหมืองถ่านหิน ทั้งที่ทั่วโลกทยอยยกเลิก เพราะมันสกปรกมีมลพิษอันตราย

คนที่โพสต์คงไม่ทราบว่า ทั่วทั้งโลกปิดบางส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินหมดอายุ และ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วยซ้ำ คนโพสต์ทราบหรือไม่

> ยัดเยียดการขุดเจาะปิโตรเลียมที่บ้านนามูล ดูนสาด จ.ขอนแก่น เอื้อนายทุนบริษัทน้ำมัน มีชาวบ้านคัดค้าน ก็ส่งฝ่ายปกครองไปข่มขู่ให้ยินยอม

การขุดเจาะปิโตรเลียมที่บ้านนามูล ดูนสาด  ผู้รับสัมปทานจะต้องปฏิบัติงานภายใต้กฎหมายปิโตรเลียมทุกขั้นตอน มีการรับฟังความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งได้รับการอนุมัติ EIA  โดยช่วงก่อนการขุดเจาะ บริษัทได้มีการขนย้ายอุปกรณ์เข้าพื้นที่ ซึ่งได้รับความสะดวกจากฝ่ายปกครอง (กอ.รมน.) เข้าพื้นที่เพื่อดูแลอำนวยความสะดวก ดูแลความปลอดภัย และความเรียบร้อย รวมถึงการสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนและบริษัทผู้รับสัมปทานในการขนย้ายอุปกรณ์เครื่องจักร มิได้เป็นการข่มขู่ประชาชนในพื้นที่ และเอื้อบริษัทตามที่มีบุคคลภายนอกให้ข้อมูลเชิงลบและปลุกปั่นแต่อย่างใด 

> เชฟรอนโกงภาษี 3,000 ล้าน แทนที่จะไล่กลับอเมริกา กลับใจดีต่อสัมปทานให้แหล่งทานตะวันในอ่าวไทยของเชฟรอนไปอีก 10 ปี ที่สุดอุบาทว์คือ คิดค่าลงนามต่ออายุสัมปทานแค่ 15 ล้านบาท และส่วนแบ่งจากการขายเพียง 1% จากมูลค่าปิโตรเลียมของแหล่งนี้ 3-5 แสนล้านบาท(แหล่งนี้ขุดน้ำมันดิบมูลค่า 40 ล้านบาท/วัน ขุดวันเดียวก็ได้เงินมากกว่าที่จ่ายค่าลงนามต่อสัญญากับรัฐกว่าเท่าตัวแล้ว และแหล่งนี้ยังมีก๊าซธรรมชาติอีกมาก)

- กรณีภาษีเชฟรอน เกิดจากปัญหาการตีความข้อกฎหมายกรณีการคืนภาษีภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ของบริษัทเชฟรอน  ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการจ่ายภาษีจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพื่อใช้บริเวณอ่าวไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2555-2559 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยช่วงที่ผ่านมาภายหลังจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ทางบริษัทฯ ได้ให้ความร่วมมือและทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการตรวจสอบยอดภาษีที่ต้องชำระให้ถูกต้องแล้ว
- กรณีการต่ออายุสัมปทานแหล่งทานตะวันและแหล่งใกล้เคียงในแปลงสำรวจหมายเลข B8/32 ซึ่งเป็นแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย เป็นการต่อระยะเวลาตามกฎหมายปิโตรเลียม 
- ส่วนโบนัสลงนามและโบนัสการผลิต เป็นเพียงส่วนเพิ่มเติมที่รัฐจะได้นอกเหนือไปจากรายได้ที่รัฐจะได้รับต่อไปอีก     10ปี นอกจากการจัดเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(หากมีกำไรเกินปกติ) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ซึ่งจากการวิเคราห์ทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า จะมีสัดส่วนรายได้รัฐต่อรายได้สุทธิของผู้รับสัมปทานเป็นอัตราส่วนร้อยละ 71:29
-  การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นการลงทุนที่สูงและมีความเสี่ยงสูง ผู้รับสัมปทานยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการลงทุน และจ่ายค่าภาคหลวง   ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(ถ้ามีกำไรเกิน) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม อีกด้วย



> เชฟรอนเจตนาสำแดงใบขนน้ำมันปลอดภาษีเท็จซ้ำซาก ผิดกฏหมายอาญาแผ่นดิน ก็อุ้ม ไม่เอาผิด และยังให้ร่วมประมูลสัมปทาน

- การเข้าร่วมประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ และบงกช เปิดรับผู้ที่เข้าร่วมประมูลเป็นการทั่วไปอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ   มิได้จำกัดบริษัทรายใดรายหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามในขั้นแรก กระทรวงพลังงาน ได้มีการกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมประมูลไว้แล้ว ทั้งคุณสมบัติด้านการเงินและการเป็นผู้ดำเนินงานการผลิตปิโตรเลียมในทะเล  จากการพิจารณาและตรวจสอบข้อมูล บริษัทเชฟรอน มีคุณสมบัติตามที่กระทรวงพลังงานกำหนดในเอกสารการยื่นขอ  
- ในส่วนการขนน้ำมันปลอดภาษี  เป็นน้ำมันที่กลั่นแล้วมิได้เกี่ยวข้องกับกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งภายหลังเชฟรอนได้จ่ายภาษีที่เกิดจากการตีความกฎหมายตามที่กฤษฎีกาได้ตีความเอาไว้เรียบร้อยแล้ว 


> ส่วนกรณีนี้ยิ่งหนัก 7 บริษัทน้ำมันทำผิดกฏหมาย ลักลอบขุดน้ำมันในที่ส.ป.ก. ศาลปกครองจึงมีคำสั่งให้เลิกขุด แต่นอกจากคสช.จะไม่เอาผิดแล้ว ยังใช้ ม.44 ล้างผิดให้ และแก้กฏหมายส.ป.ก.อนุญาตให้เอกชนขุดน้ำมันในที่ส.ป.ก.ต่อไปได้ ขนาดคำสั่งศาลยังไร้ความหมาย แล้วบ้านนี้เมืองนี้จะอยู่กันอย่างไร

-  กรณีศาลปกครองสูงสุดมีการตัดสินว่าบริษัทผู้รับสัมปทานมีความผิดฐานดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ ส.ป.ก.  ที่ได้รับการอนุมัติแล้วนั้น (ส.ป.ก. ไม่มีอำนาจในการอนุญาตให้ทำกิจกรรมอื่นนอกจากการเกษตร)  จึง เป็นการดำเนินงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  
- ที่ผ่านมาบริษัทผู้ได้รับสัมปทานได้ดำเนินการยื่นขอและดำเนินการตามแนวทางของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งกรณีดังกล่าวภาครัฐ โดยกระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้หารือร่วมกันเพื่อหาทางออกในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใต้ผืนดินของประเทศ และการใช้ที่ ส.ป.ก.  เพื่อประโยชน์จากกิจกรรมอย่างอื่น   จึงมีความเห็นร่วมกันว่าควรนำเสนอ คสช. เพื่อพิจารณาใช้ ม. 44 เพื่อหาทางออกของปัญหาดังกล่าว โดยกระทบต่อการใช้พื้นที่ทางการเกษตรของเกษตรกรให้น้อยที่สุดโดยมีค่าทดแทนให้เกษตรกรและ ส.ป.ก. ที่เหมาะสมและคืนพื้นที่เมื่อดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จ นอกจากนั้นยังเพิ่มแนวทางการให้  ส.ป.ก. ในการพิจารณาแก้ข้อกฎหมายเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อทำกิจกรรมอื่นได้นอกจากเกษตรกรรมในอนาคตซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรของประเทศในลักษณะบูรณาการก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด


> มีก๊าซ มีน้ำมันเต็มแผ่นดิน แทนที่จะขุดเอง เพื่อให้รายได้เข้ารัฐเต็มๆ ไม่ต้องไปแบ่งให้ใคร ก็ไปแจกสัมปทานให้ต่างชาติรวย

- จากข้อมูลสถิติ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 ภายใต้ระบบสัมปทาน พบน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ภายในแอ่งตะกอนที่กระจายตัวอยู่ในแต่ละภูมิภาค โดย จะพบน้ำมันดิบในบริเวณภาคเหนือ (แหล่งฝาง)  ภาคกลางและอ่าวไทย พบก๊าซธรรมชาติ บริเวณภาคอีสานและอ่าวไทย (ตามภาพ) มิได้มีก๊าซ มีน้ำมันเต็มแผ่นดิน 
- ระบบสัมปทาน เป็นการให้สิทธิผู้รับสัมปทานไปสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รัฐมีการออกแบบการจัดเก็บรายได้จากการผลิตปิโตรเลียม ซึ่งระบบสัมปทานถูกออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพแหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทย  เพื่อให้เกิดการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศ และจูงใจให้บริษัทมาเสี่ยงลงทุนเพราะการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นการลงทุนที่สูงและมีความเสี่ยงสูง 
- หากภาครัฐขุดเองต้องมีเงินมากพอที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินของประเทศ  หากขุดเจาะไม่พบปิโตรเลียม 


> แจกสัมปทานปิโตรเลียมโดยเลือกระบบที่รัฐเสียประโยชน์ ระบบจ้างผลิตที่รัฐได้ประโยชน์ 80-90% ไม่เอา แต่เลือกระบบ PSC(จำแลง) ที่ได้ส่วนแบ่งแค่ 30%

- ระบบสัมปทาน นับตั้งแต่มีการให้สัมปทานตั้งแต่ปี 2514 และมีการปรับปรุงกฎหมายปิโตรเลียม (แก้ไข พ.ศ. 2532) เพื่อให้รัฐได้รับรายได้มากขึ้นและให้ผู้รับสัมปทานสามารถพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมขนาดเล็กได้ รวมทั้ง ปรับปรุงให้รัฐมีทางเลือกในการบริหารจัดการระบบการจัดเก็บรายได้รัฐ (เพิ่มระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้างบริการ แก้ไขปี พ.ศ. 2560) ในระบบสัมปทาน รัฐมีรายได้รวมมากกว่าผู้รับสัมปทาน ถึง ร้อยละ 60:40

> แก้ไขพรบ.ปิโตรเลียมให้ไทยตกเป็นทาสบริษัทน้ำมันต่างชาติหนักข้อขึ้นกว่าเดิม

คำว่าตกเป็นทาสบริษัทน้ำมันต่างชาตินี่คิดยังไงหรอครับ ทุกวันนี้คนไทยทำงานเยอะแยะ
- การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เพื่อกําหนดให้การให้สิทธิสํารวจและผลิตปิโตรเลียมมีทางเลือกให้รัฐสามารถพิจารณานําระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตหรือระบบสัญญาจ้างบริการมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมนอกเหนือไปจากการพิจารณาให้สัมปทานปิโตรเลียมภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งแก้ไขบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับประโยชน์หรือสิทธิของผู้รับสัมปทานและบทบัญญัติเกี่ยวกับค่าภาคหลวงให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น มิได้เอื้อต่อบริษัทน้ำมันต่างชาติ
- การประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ และบงกช ที่ผ่านมา บริษัทคนไทย (บริษัท ปตท.สผ. เอ็นเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทย ได้เป็นผู้ชนะทั้งสองแหล่งต้องมีคนทำงานด้วย 80% ในปีแรก อย่างน้อย 90% ในอีกปีที่ 5 ด้วย

> แก้ไขพรบ.ปิโตรเลียม ลดการจัดเก็บภาษีรายได้จากบริษัทน้ำมันผู้สัมปทาน จากเดิมเก็บอยู่ 50% ก็ลดเหลือ 20%

- การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ให้มีระบบการจัดเก็บรายได้เพิ่มเติม ให้มีระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้างบริการ   ระบบกลไกการจัดเก็บจึงแตกต่างกันกับระบบสัมปทาน กล่าวคือ ในระบบสัมปทาน ผู้รับสัมปทานต้องจ่ายค่าภาคหลวงร้อยละ 5-15  ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(ถ้ามีกำไรเกินควร ร้อยละ 0-75) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมร้อยละ 50    ในส่วนของระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต ผู้รับสัญญาจะต้องจ่ายค่าภาคหลวง ร้อยละ 10 ปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไรร้อยละ 50 และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมร้อยละ 20    ความแตกต่างของการจัดเก็บภาษี เกิดจากความแตกต่างของระบบการจัดเก็บรายได้ที่แตกต่างกัน  แต่ไม่ว่าจะจัดเก็บรายได้จากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในระบบใด รัฐจะได้มากกว่ารร้อยละ 50 ทั้งสองระบบ




> ก่อนคสช.เข้ามา เก็บภาษีรายได้จากผู้สัมปทานปิโตรเลียมได้ราว 1 แสนล้านบาท/ปี ปัจจุบันเก็บแค่ไม่ถึง 4 หมื่นล้านบาท/ปี

- แต่งตั้ง คสช. เมื่อ 22 พ.ค. 57
- ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เริ่มปรับตัวลดลง ประมาณเดือน ก.ค. 57 (2014) จาก 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จนถึงระดับต่ำสุดในเดือน ม.ค. 59 ประมาณ 26 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล  ดังนั้นรายได้ที่รัฐจะได้รับขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเป็นหลัก ไม่เกี่ยวกับการแต่งตั้ง คสช.


อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบ ย้อนหลัง 5 ปี  (https://www.indexmundi.com/commodities/?commodity=crude-oil-dubai&months=60)

- การจัดเก็บภาษีปิโตรเลียมรายปีที่ลดลง นอกจากปัจจัยในราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงแล้ว การจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมรายปี ส่วนมาจะจัดเก็บในเดือน พ.ค. ของปีถัดไป  ดังนั้น หากในปี 2559 ราคาน้ำมันดิบยังอยู่ในระดับต่ำ (ช่วง 40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ) จะสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในปี 2560  ลดลงตามไปด้วย ดังกราฟด้านล่าง




> ขูดรีดภาษีน้ำมันปชช. อย่างโหดเหี้ยมอำมหิตกว่าทุกรัฐบาล

-*- ก็ท่องไว้เอาไปพัฒนาประเทศ เอาไปเป็นงบของกระทรวงต่างๆ อย่างกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับงบมากสุด

> ก่อนคสช.เข้ามา เก็บภาษีน้ำมันปชช.อยู่ราว 6 หมื่นล้านบาท/ปี ปัจจุบันเก็บ 2.2 แสนล้านบาท/ปี

น้ำมันคนใช้เยอะก่อนรัฐบาล คสช แน่ เพราะราคาน้ำมันลดลง คนก็ใช้มากขึ้น

> ขึ้นราคาก๊าซ LPG อย่างบ้าคลั่ง ขึ้นมากที่สุดกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านๆมาชนิดทิ้งไม่เห็นฝุ่น

การขึ้นราคา LPG คือการปรับโครงสร้าง เปิดเสรีให้เอกชนรายอื่นเข้ามาดำเนินกิจการ และที่สำคัญ รัฐบาลอื่นๆ มีการอุดหนุนราคา

> ขึ้นลงราคาน้ำมันไม่เป็นธรรมกับปชช. ตลาดโลกขึ้น น้ำมันไทยรีบขึ้นราคาตาม ตลาดโลกลดลง น้ำมันไทยไม่ค่อยจะลงตาม และหลายครั้งขึ้นราคาสวนทางตลาดโลกแบบหน้าด้านๆ และตอนขึ้น 50 สตางค์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนตอนลง 20-40 สตางค์เป็นส่วนใหญ่ ขึ้นลงลักษณะนี้จนปชช.ด่าจนหมดคำด่าไปแล้ว

ราคาน้ำมันเราอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งบางครั้งขึ้นมากกว่าลงด้วยซ้ำ และอย่าลืมว่าตอนขึ้น มันขึ้นแบบเขยิบแบบอั้น สะสมแล้วขึ้นทีเดียวไม่ได้ขึ้นเลยทันที แต่ลง ลงทันที ดังนั้นเวลาขึ้นจึงมากกว่าลง แบบนี้น้ำนมดิบราคาลง ทำไมเราไม่ได้กินนมกล่องที่ราคาถูกลงหล่ะ หรือแม้แต่ข้าวกระเพราที่ราคาถูกลงด้วยเวลาวัตถุดิบราคาลง

> แยกธุรกิจค้าน้ำมันออกจากปตท.ไปยกให้นายทุน

แยกธุรกิจน้ำมันเพื่อความคล่องตัว เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ รัฐห้ามทำธุรกิจแข่งกับเอกชน และที่สำคัญ ปตท. หรือที่เป็นรัฐวิสาหกิจก็ยังถือหุ้นใหญ่สุด

> ขายหุ้นโรงกลั่นบางจากที่ปตท.ถือหุ้นอยู่ให้กลุ่มทุน
> ขายหุ้นโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม(SPRC)ที่ปตท.ถือหุ้นอยู่ให้นายทุน

ด่าเค้าผูกขาดไม่ได้ใช่หรอ ก็ขายหุ้นออกยังไงหล่ะ บางจากก็ขายให้กลุ่มทุนที่ว่าคือ กองทุนรวมวายุภักษ์ กับ สำนักงานประกันสังคม นะครับ นี่กลุ่มทุนหรอครับ ส่วน SRPC ก็ขายให้นักลงทุนรายย่อยทั่วไป

> ปตท.โกงท่อก๊าซ ก็ไม่ยอมทวงคืน

คืนไปเป็นชาติ ตามคำตัดสินของศาล แถมยังจำหน่ายคดีออกจากสารบบไปแล้ว

> แยกท่อก๊าซออกจากปตท.ไปให้นายทุน

ช้าก่อนนะโยม เค้าแยกท่อออกมา แล้วเอาไปเปิดเป็น TPA (Third Party Access) เปิดเสรีกว่าเดิมใครอยากใช้ก็มาขออนุญาตได้ แล้วสรุปตกลงอยากให้ ท่อก๊าซอยู่กับ ปตท อีกใช่หรือไม่

> อุ้มธุรกิจปิโตรเคมีของปตท. ด้วยการยกเลิกเก็บเงินภาคปิโตรเคมีเข้ากองทุนน้ำมัน ทั้งที่เดิมเขาก็จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันน้อยกว่าประชาชนอยู่แล้ว ทำให้ทุกวันนี้ภาคปิโตรเคมีไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันสักบาท ทั้งที่ใช้ก๊าซ LPG มากกว่าใคร ใช้มากกว่าภาคครัวเรือนที่คนไทยใช้หุงต้มกันทั้งประเทศอีก

การจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันของภาคปิโตรเคมี ทุกภาคส่วนที่ต้องใช้ผลิตผลของก๊าซจากอ่าวไทยนั้น ไม่มีการจัดเก็บเพราะเนื่องจากไม่ได้ใช้เป็นเชื้อเพลิง และ ถ้าหากเก็บกองทุนฯ เพิ่มจะให้ต้นทุนแข่งขันกับปิโตรเคมีกับต่างประเทศไม่ได้และจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากปิโตรเคมีแพงขึ้นด้วย เช่น ยารักษาโรค เสื้อผ้าต่างๆ และจะบอกว่าการบริหารจัดการทรัพยากรที่สำคัญคือ การต่อยอดจากวัตถุดิบที่มีอยู่ทำอย่างให้เกิดประโยชน์มากสุดด้วย