พรบ ปิโตรเลียม ฉบับใหม่ ไม่ฟังเสียงประชาชนจริงหรือ?

พรบ ปิโตรเลียม ฉบับใหม่ ไม่ฟังเสียงประชาชนจริงหรือ?


พรบ ปิโตรเลียม ฉบับใหม่ ไม่ฟังเสียงประชาชนจริงหรือ? (ยาว แต่อ่านเถอะ จะได้รู้ว่าเป็นยังไง)

หากย้อนความหลังไปถึงการคัดค้านของกลุ่มต่างๆ ที่อ้างว่าเป็นภาคประชาชน ออกมาขับเคลื่อนในการคัดค้านเกี่ยวกับการดำเนินการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมที่รัฐดำเนินการภายใต้กฎหมายที่กำหนดขึ้น ได้มีข้อเรียกร้องต่างๆ นานา โดยสาระสำคัญคือให้หยุด ชะลอ สัมปทานรอบที่ 21 ไปก่อน หากยังไม่มีการแก้ไข พรบ.ปิโตรเลียม

โดยหากเรียงลำดับเหตุการณ์ที่ภาคประชาชนเสนอ โดยมีฝ่ายกลางทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย โดยให้ทั้งสองนำเสนอข้อมูลนั้น จะเห็นว่า เวทีสัมมนาปฎิรูปพลังงานที่จัดขึ้น ณ สโมสรกองทัพบก และ การจัดอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปที่วัดอ้อน้อย โดยมีฝั่งเป็นกลางอย่าง หลวงปู่พุทธอิสระหาข้อสรุปให้ภาครัฐ และ ภาคประชาชน มีการเพิ่มข้อเสนอลงใน เงื่อนไขในการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และ กระทรวงพลังงานได้มีการเพิ่มเงื่อนไขตามข้อเสนอจากงานดังกล่าวจากระบบ Thailand III เป็น Thailand III+

จากนั้น ยังคงมีความต้องการและเรียกร้องให้ชะลอ รวมไปถึงหยุดสัมปทานไปก่อน โดยอ้างว่าต้องมีการแก้ไข พรบ. ปิโตรเลียม ภาครัฐ โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และกับ รัฐบาล จึงหาทางออกร่วมกัน โดยมีการจัดงานเสวนาอีกครั้ง โดยครั้งนี้ได้มีการจัดงานเวทีเดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 มี มล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายก เป็นประธาน และมีตัวแทนภาครัฐประกอบด้วย นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นแกนนำ ,นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน, นายบรรยง พงษ์พานิช คณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ และนายศิริพงษ์ ศุภกิจจานุสรณ์ นักวิชาการอิสระด้านกฎหมาย

สำหรับตัวแทนภาคประชาชนประกอบด้วย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ,หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนโยบายพลังงานและทรัพยากร มหาวิทยาลัยรังสิต, น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านพลังงาน และนายนพ สัตยาศัย กลุ่มวิศวจุฬาฯร่วมปฏิรูปประเทศไทย

โดยข้อเสนอจากเวทีดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไป เช่น เรื่องรายได้รัฐ ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และได้มีการชี้แจงให้ข้อมูลกันไปแล้ว และในข้อเสนอที่ความต้องการให้นำระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) เข้ามาใช้กำกับดูแลกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยนั้น ทางภาครัฐ ได้รับฟัง และรับไว้พิจารณา โดยได้เลื่อนและภายหลังได้ยกเลิกการเปิดสัมปทานรอบ 21 ออกไปก่อน และแก้ไขกฎหมาย เพิ่มระบบแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC) เพื่อให้รัฐได้มีทางเลือกเพิ่มขึ้นสำหรับการบริหารจัดการกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอนาคต เป็นไปตามที่ภาคประชาชนต้องการเรียบร้อยแล้ว

หากอ่านจนจบแล้ว คงได้แต่ฝากให้พิจารณา และ คิดตาม ว่า พรบ.ปิโตรเลียมฉบับใหม่ นั้น ได้มีการทำตามข้อเสนอของภาคประชาชนที่เรียกร้องกันหรือไม่

ที่มา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เวปไซต์ผู้จัดการ และ พลังงาน 24 ชั่วโมง
http://bit.ly/1HgI2LY
http://bit.ly/1Li94Je
http://bit.ly/1MeoXkI
http://bit.ly/1HWqdYV
http://bit.ly/1Piwa49