มหากาพย์ “ท่อก๊าซ ปตท.” ถูกจุดพลุขึ้นมาเป็น “ทอล์ก ออฟ เดอะทาวน์” อีกหน!
หลังประธานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เปิดแถลงมติ คตง.ที่ให้ชี้มูลความผิดอดีต รมว.คลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) พร้อมข้าราชการและอดีตผู้บริหารบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) รวม 6 คน
โดยระบุว่า กระทำการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2550 กรณีแบ่งแยกทรัพย์สินและคืนท่อก๊าซบริษัท ปตท.ที่ไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2550 ยังผลให้รัฐเกิดความเสียหายกว่า 32,613.45 ล้านบาท ก่อนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.และรัฐบาลดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดผู้เกี่ยวข้องต่อไป
ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก! ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 4 เม.ย.2559 ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินก็ออกโรงแถลงมติคณะกรรมการตรวจการแผ่นดินที่ให้ยื่นเรื่องฟ้องกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ต่อศาลปกครอง โดยระบุว่าส่งมอบท่อก๊าซที่ว่านี้ไม่ครบตามคำพิพากษาของศาลมาแล้ว จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันชดใช้คืนเงินแผ่นดินวงเงินกว่า 52,393 ล้านบาท
ยังมีเครือข่ายปฏิรูปพลังงาน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายเอ็นจีโอที่ออกโรงยื่นฟ้องศาลปกครองและศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้บริษัท ปตท.ส่งคืนท่อก๊าซในส่วนที่อ้างว่ายังแบ่งแยกและส่งคืนให้แก่รัฐไม่ครบถ้วน ไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
จนก่อให้เกิดคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับ “ท่อก๊าซ ปตท.” ทำไมกรณีการแบ่งแยกทรัพย์สินส่งคืนท่อก๊าซ ปตท.ที่ดำเนินการไปนับ 10 ปี ถึงยังคาราคาซังไม่สะเด็ดน้ำเสียที!
“ทีมเศรษฐกิจ” ขอย้อนรอยมหากาพย์ท่อก๊าซ ปตท.ที่ว่านี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันวิเคราะห์ แน่นอนว่า หาก ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงมีรายการ “หมกเม็ด” ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ครม.และคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดจนยังผลให้รัฐเสียหาย ก็สมควรที่ทุกฝ่ายจะไล่เบี้ยทวงคืนผลประโยชน์ของแผ่นดินคืนมา
แต่หากรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ได้ดำเนินการไปอย่างครบถ้วนแล้ว ก็สมควรที่ประชาชนคนไทยจะได้ร่วมปกป้องและส่งกำลังใจให้รัฐกับองค์กร ปตท.ได้ลุกขึ้นมาฟ้องไล่เบี้ยเอากับเครือข่ายเหล่านี้อย่าง “สาสม” จะได้ไม่เที่ยวไปขุดเอาเผือกร้อนนี้ไป “แบล็กเมล์” ใครต่อใครกันได้อีก!
********
ย้อนรอยมหากาพย์ท่อก๊าซ ปตท.
วิกฤตการณ์น้ำมันโลกครั้งที่ 1 เมื่อปี 2516 ทำให้รัฐบาลต้องมองหาแหล่งพลังงานภายในประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศจนกระทั่งประเทศไทยสำรวจพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย จึงมีการลงทุนวาง “ท่อส่งก๊าซปิโตรเลียม” จากแหล่งผลิตมายังชายฝั่งทะเลตะวันออก และกรุงเทพฯ
รัฐบาลได้จัดตั้ง “การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย” ขึ้นเมื่อวันที่ 29 ธ.ค.2521 เพื่อรับผิดชอบการบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพราคาเชื้อเพลิง การจัดหาและนำเข้าพลังงานตลอดจนเป็นเครื่องมือของรัฐในการดูแลเสถียรภาพด้านพลังงานประเทศ
ก่อนที่รัฐจะดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็น “บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)” และนำกิจการเข้าจดทะเบียนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2544 และถือเป็นรัฐวิสาหกิจลำดับต้นๆของประเทศที่มีการแปรรูปนำกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นอย่างจริงจัง!
อย่างไรก็ตาม ช่วงที่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปตท.นั้น เครือข่ายภาคประชาชนและโดยเฉพาะ “มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค” ได้ออกโรงคัดค้านกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนี้อย่างถึงพริกถึงขิง ด้วยนัยว่าเป็นการ “ขายชาติ” เปิดให้ทุนการเมือง หรือนอมินีต่างชาติเข้ามา “ชุบมือเปิบ” ทั้งยังได้ยื่นฟ้องรัฐบาลต่อศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนการแปรรูป และนำทรัพย์สินท่อก๊าซที่ว่ากลับมาเป็นสมบัติของแผ่นดิน
กระทั่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาที่ ฟ 35/2550 (คดีแปรรูป ปตท.) ลงวันที่ 14 ธ.ค.2550 ให้ยกคำฟ้องกรณีเพิกถอนการแปรรูป ปตท.จำกัด (มหาชน) แต่ให้คณะรัฐมนตรี นายกฯ กระทรวงพลังงานคลัง และ ปตท.ดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินกลับมาเป็นของรัฐ
หลังคำพิพากษา คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลังดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินดังกล่าว โดยให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง และหากมีข้อโต้แย้งด้านกฎหมายก็ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณา
แม้กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงานและบริษัท ปตท.จะดำเนินการแบ่งแยกและโอนทรัพย์สินท่อก๊าซ ปตท.กลับมาเป็นของรัฐตามคำพิพากษาของศาล จนกระทั่งศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งลงวันที่ 26 ธ.ค.2551 ยืนยันว่า “ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว”
อย่างไรก็ตาม หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งรับรองการส่งมอบท่อก๊าซปตท.ข้างต้นไปเพียงขวบเดือน กลับปรากฏว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้มีหนังสือไปถึงสำนักงานศาลปกครอง กระทรวงการคลัง พลังงานและบริษัท ปตท.เพื่อแจ้งว่า ปตท.ยังส่งมอบทรัพย์สินให้กระทรวงการคลังไม่ครบถ้วน
เป็นจุดกำเนิดของ “มหากาพย์ท่อก๊าซ ปตท.” ที่ยังคงมีการตามล้างตามเช็ดมาจนกระทั่งปัจจุบัน!!!
จุดพลุคืนท่อก๊าซ ปตท.ย้อนแย้งศาล?
ในทันทีที่ สตง.“จุดพลุ” ประเด็นการส่งคืนท่อก๊าซ ปตท. มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคและเครือข่ายเอ็นจีโอที่ต่อสู้กับกระบวนการแปรรูป ปตท.มาก่อนหน้า ก็ยื่นฟ้อง ปตท.ต่อศาลปกครองในทันที (3 มี.ค.2552)
และแม้ศาลปกครองจะมีคำพิพากษาให้ “ยกคำร้อง” และยืนยันว่า ปตท.ได้ดำเนินการคืนท่อครบถ้วนแล้ว แต่กระนั้นมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคและเครือข่ายก็ยังคงเดินหน้ายื่นฟ้องศาลปกครองอีกเพื่อให้ ปตท.แบ่งแยกและคืนท่อก๊าซฯตามมาอีกหลายต่อหลายครั้ง
มีการเปิดประเด็นใหม่ๆ ขึ้นร้องต่อศาลไม่หยุดหย่อน และเมื่อศาลไม่รับฟ้องทางกลุ่มก็จะยื่นอุทธรณ์ เมื่อศาลไม่รับอุทธรณ์ กลุ่มจะยื่นเรื่องให้เพิกถอนคำพิพากษาตามมาอีก วนเวียนอยู่เช่นนี้ถึง 5 รอบ จนกระทั่งวันที่ 16 ก.พ.2558 ศาลได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่ออ่านคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ในคดีที่มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคกับพวกรวม 1,455 คน ร่วมกันอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองกรณีแบ่งแยกทรัพย์และส่งคืนท่อก๊าซ ปตท. ที่ว่านี้
โดยศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนยันตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง “ไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์” ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบ เนื่องจาก ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาในคดีแปรรูป ปตท. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แม้จะมีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์และให้จำหน่ายคดี แต่เครือข่ายภาคประชาชนกลุ่มนี้ก็ยังคงเดินหน้าร้องสิบทิศ และถึงขั้นยื่นเรื่องร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลปกครอง
สูงสุด และตุลาการศาลปกครองว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มีการกระทำทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่อีก!
ก่อนที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) จะออกโรงตอกย้ำประเด็นการแบ่งแยกและส่งคืนท่อก๊าซ ปตท.ที่ว่านี้ในห้วงขวบเดือนที่ผ่านมา ที่ทำเอาใครต่อใคร “นั่งไม่ติด”
คลัง–ปตท.ยันทำตามคำพิพากษาครบถ้วน!
นายชวลิต พันธ์ทอง ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและบริหารความยั่งยืน ปตท. กล่าวกับ “ทีมเศรษฐกิจ” ว่า ขอยืนยันว่าปตท.ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และมติ ครม.ครบถ้วนแล้ว พร้อมทั้งได้นำเสนอข้อมูลทรัพย์สินของ ปตท.ทั้งก่อนและหลังการแปรรูปต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อประกอบการพิจารณามาโดยตลอด ก่อนที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา “ถึงที่สุด” ให้การรับรองเมื่อปลายปี 2551
ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 เม.ย.2559 ศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2551 อีกครั้ง
กับประเด็นที่ คตง. และ สตง. ยังคงมีความเห็นว่า ปตท.มิได้รอความเห็นของ สตง.ก่อนยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อปี 2551 นั้น ปตท.ยืนยันว่า ได้นำส่งข้อมูลบัญชีทรัพย์สินทั้งหมดให้ สตง.พิจารณาแล้ว ตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค.2551 ซึ่ง สตง.เองก็ไม่ได้มีความเห็นใดกลับมายัง ปตท. “ที่มีการกล่าวอ้างว่า สตง.ได้ส่งรายงานแจ้งแก่ ปตท.ว่า ยังส่งคืนท่อก๊าซฯไม่ครบนั้น เป็นเพียงเอกสารแนบท้ายหนังสือของ สตง. ลงวันที่ 26 ธ.ค.2551 ที่ สตง.นำส่งให้แก่ศาลปกครองสูงสุด ปตท.และหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่ศาลได้มีคำสั่งไปแล้ว”
ส่วนหนังสือที่ ปตท.ได้รับจาก สตง.นั้น เป็นหนังสือฉบับลงวันที่ 20 ก.พ.2552 ที่แจ้งว่า ปตท.ยังส่งคืนทรัพย์สินให้กระทรวงการคลังไม่ครบถ้วน แต่ก็ได้ลงท้ายหนังสือไว้ด้วยว่า ทั้งนี้ การดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินจะครบถ้วนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของศาลเป็นสำคัญ “ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่ออกมาย่อมถือเป็นยุติ และประเด็นดังกล่าวสำนักงานศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีหนังสือลงวันที่ 10 มี.ค.2552 ตอบกลับไปยัง สตง.และ ปตท.แล้วว่า ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาข้อมูลของ สตง.แล้ว และเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”
ยังสำทับด้วยคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ที่มีต่อประเด็นนี้ โดยศาลได้ระบุชัดเจนว่า ข้อกล่าวอ้างที่ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2550 (เรื่องที่ให้ สตง.รับรอง) ไม่ใช่เหตุที่จะกล่าวอ้างว่า การดำเนินการตามคำพิพากษายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์
“ทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้ว่าการแบ่งแยกทรัพย์สินเป็นไปตามคำพิพากษาและหลักเกณฑ์ที่ ครม.กำหนดและคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด ย่อมถือเป็นยุติ ไม่อาจมีบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดจะมีอำนาจกลับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดได้”
เช่นเดียวกับ นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ที่ออกมาโต้แย้งมติ คตง.-สตง.ต่อกรณีการแบ่งแยกทรัพย์สินและส่งคืนท่อก๊าซ ปตท.ที่ว่านี้ว่า ประเด็นที่ คตง.-สตง.และเครือข่ายยังคงติดใจในเรื่องของทรัพย์สินท่อก๊าซ “ในทะเล” ที่ไม่ได้นำมารวมด้วยนั้น ประเด็นนี้ คตง.และ สตง.ได้ส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค.2557 จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการตีความลงมา
“แต่ไม่ว่าจะอย่างไรหากยึดตามหลักการก็ต้องยึด “คำพิพากษาของศาลปกครอง” เป็นหลัก และถือเป็นที่สุดอยู่แล้ว ไม่ใช่ยึดตามผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา”
ที่สำคัญในการตรวจสอบและรับรองงบการเงินประจำปีของบริษัท ปตท.โดย สตง.ก็รับรองแบบไม่มีเงื่อนไขมาโดยตลอด หากสิ่งที่ สตง.ลุกขึ้นมาโต้แย้งว่า ปตท.ยังคงส่งมอบทรัพย์สินท่อก๊าซไม่ครบถ้วน ถ้าเป็นเช่นนั้นเท่ากับว่า สตง.ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และผู้ถือหุ้นของบริษัท ปตท.มาโดยตลอดอย่างนั้นหรือ?!!!
“การที่ คตง. และ สตง.หารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาและจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เป็นที่ยุติ แต่กลับมาสรุปเองว่า การแบ่งแยกทรัพย์สินไม่ครบถ้วนและกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้น พฤติกรรมของ คตง. และ สตง.จึงเป็นการบั่นทอนขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานโดยสุจริต”
บทสรุป :
สำหรับ “ทีมเศรษฐกิจ” แล้ว ข้ออ้างของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ว่าการแบ่งแยกทรัพย์สินเพื่อส่งคืนท่อก๊าซ ปตท.ที่กระทรวงการคลังและ ปตท.ดำเนินการไปก่อนหน้า มีการรวบรัดขั้นตอนโดยไม่มีการส่งเรื่องให้ สตง.ตรวจรับรองความถูกต้องก่อนรายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) และศาลปกครองสูงสุด รวมไปถึงไม่ได้ส่งร่างบันทึกการแบ่งแยกทรัพย์สินให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนนั้น
ท้ายที่สุดก็อย่างที่ศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาลงมา ประเด็นดังกล่าวหาใช่เหตุที่จะทำให้การดำเนินการแบ่ง แยกทรัพย์สิน–ท่อก๊าซ ปตท.ขาดความสมบูรณ์จนเป็นเหตุให้ศาลต้องมาพิพากษาในเรื่องที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษา “ถึงที่สุด” ไปแล้ว
ที่สำคัญคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ที่สั่งไม่รับอุทธรณ์คดีนี้และสั่งให้จำหน่ายคดีออกไปจากสารบบนั้น ได้ระบุชัดเจนว่า การจะให้ศาลมีคำพิพากษาในสิ่งที่ศาลปกครองสูงสุดได้ชี้ขาดเป็นที่ยุติไปแล้วนั้นถือเป็นการ “ต้องห้าม”
และหากในที่สุดแล้ว เกิดมีองค์กรอิสระใดหรือศาลอื่นใดมีคำพิพากษาในคดีนี้ที่ผิดแผกแตกต่างไปจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ก็คงจะกลายเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่อาจทำให้หน่วยงานรัฐปั่นป่วนขึ้นไปอีก เพราะไม่รู้ว่าต่อไปจะยึดถือเอาคำพิพากษาศาลใดเป็นเกณฑ์ปฏิบัติกันได้อีก...
เหนือสิ่งอื่นใด หากคำพิพากษาของ “ศาลปกครองสูงสุด” ยังไม่เป็นที่สุดหรือที่ยุติแล้ว เรายังจะเชื่อถือองค์กรใดในประเทศไทยนี้ได้อีก?!!!
ทีมเศรษฐกิจ
ที่มา ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/content/623908
หลังประธานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เปิดแถลงมติ คตง.ที่ให้ชี้มูลความผิดอดีต รมว.คลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) พร้อมข้าราชการและอดีตผู้บริหารบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) รวม 6 คน
โดยระบุว่า กระทำการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2550 กรณีแบ่งแยกทรัพย์สินและคืนท่อก๊าซบริษัท ปตท.ที่ไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2550 ยังผลให้รัฐเกิดความเสียหายกว่า 32,613.45 ล้านบาท ก่อนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.และรัฐบาลดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดผู้เกี่ยวข้องต่อไป
ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก! ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 4 เม.ย.2559 ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินก็ออกโรงแถลงมติคณะกรรมการตรวจการแผ่นดินที่ให้ยื่นเรื่องฟ้องกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ต่อศาลปกครอง โดยระบุว่าส่งมอบท่อก๊าซที่ว่านี้ไม่ครบตามคำพิพากษาของศาลมาแล้ว จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันชดใช้คืนเงินแผ่นดินวงเงินกว่า 52,393 ล้านบาท
ยังมีเครือข่ายปฏิรูปพลังงาน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายเอ็นจีโอที่ออกโรงยื่นฟ้องศาลปกครองและศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้บริษัท ปตท.ส่งคืนท่อก๊าซในส่วนที่อ้างว่ายังแบ่งแยกและส่งคืนให้แก่รัฐไม่ครบถ้วน ไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
จนก่อให้เกิดคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับ “ท่อก๊าซ ปตท.” ทำไมกรณีการแบ่งแยกทรัพย์สินส่งคืนท่อก๊าซ ปตท.ที่ดำเนินการไปนับ 10 ปี ถึงยังคาราคาซังไม่สะเด็ดน้ำเสียที!
“ทีมเศรษฐกิจ” ขอย้อนรอยมหากาพย์ท่อก๊าซ ปตท.ที่ว่านี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันวิเคราะห์ แน่นอนว่า หาก ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงมีรายการ “หมกเม็ด” ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ครม.และคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดจนยังผลให้รัฐเสียหาย ก็สมควรที่ทุกฝ่ายจะไล่เบี้ยทวงคืนผลประโยชน์ของแผ่นดินคืนมา
แต่หากรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ได้ดำเนินการไปอย่างครบถ้วนแล้ว ก็สมควรที่ประชาชนคนไทยจะได้ร่วมปกป้องและส่งกำลังใจให้รัฐกับองค์กร ปตท.ได้ลุกขึ้นมาฟ้องไล่เบี้ยเอากับเครือข่ายเหล่านี้อย่าง “สาสม” จะได้ไม่เที่ยวไปขุดเอาเผือกร้อนนี้ไป “แบล็กเมล์” ใครต่อใครกันได้อีก!
********
ย้อนรอยมหากาพย์ท่อก๊าซ ปตท.
วิกฤตการณ์น้ำมันโลกครั้งที่ 1 เมื่อปี 2516 ทำให้รัฐบาลต้องมองหาแหล่งพลังงานภายในประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศจนกระทั่งประเทศไทยสำรวจพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย จึงมีการลงทุนวาง “ท่อส่งก๊าซปิโตรเลียม” จากแหล่งผลิตมายังชายฝั่งทะเลตะวันออก และกรุงเทพฯ
รัฐบาลได้จัดตั้ง “การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย” ขึ้นเมื่อวันที่ 29 ธ.ค.2521 เพื่อรับผิดชอบการบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพราคาเชื้อเพลิง การจัดหาและนำเข้าพลังงานตลอดจนเป็นเครื่องมือของรัฐในการดูแลเสถียรภาพด้านพลังงานประเทศ
ก่อนที่รัฐจะดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็น “บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)” และนำกิจการเข้าจดทะเบียนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2544 และถือเป็นรัฐวิสาหกิจลำดับต้นๆของประเทศที่มีการแปรรูปนำกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นอย่างจริงจัง!
อย่างไรก็ตาม ช่วงที่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปตท.นั้น เครือข่ายภาคประชาชนและโดยเฉพาะ “มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค” ได้ออกโรงคัดค้านกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนี้อย่างถึงพริกถึงขิง ด้วยนัยว่าเป็นการ “ขายชาติ” เปิดให้ทุนการเมือง หรือนอมินีต่างชาติเข้ามา “ชุบมือเปิบ” ทั้งยังได้ยื่นฟ้องรัฐบาลต่อศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนการแปรรูป และนำทรัพย์สินท่อก๊าซที่ว่ากลับมาเป็นสมบัติของแผ่นดิน
กระทั่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาที่ ฟ 35/2550 (คดีแปรรูป ปตท.) ลงวันที่ 14 ธ.ค.2550 ให้ยกคำฟ้องกรณีเพิกถอนการแปรรูป ปตท.จำกัด (มหาชน) แต่ให้คณะรัฐมนตรี นายกฯ กระทรวงพลังงานคลัง และ ปตท.ดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินกลับมาเป็นของรัฐ
หลังคำพิพากษา คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลังดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินดังกล่าว โดยให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง และหากมีข้อโต้แย้งด้านกฎหมายก็ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณา
แม้กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงานและบริษัท ปตท.จะดำเนินการแบ่งแยกและโอนทรัพย์สินท่อก๊าซ ปตท.กลับมาเป็นของรัฐตามคำพิพากษาของศาล จนกระทั่งศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งลงวันที่ 26 ธ.ค.2551 ยืนยันว่า “ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว”
อย่างไรก็ตาม หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งรับรองการส่งมอบท่อก๊าซปตท.ข้างต้นไปเพียงขวบเดือน กลับปรากฏว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้มีหนังสือไปถึงสำนักงานศาลปกครอง กระทรวงการคลัง พลังงานและบริษัท ปตท.เพื่อแจ้งว่า ปตท.ยังส่งมอบทรัพย์สินให้กระทรวงการคลังไม่ครบถ้วน
เป็นจุดกำเนิดของ “มหากาพย์ท่อก๊าซ ปตท.” ที่ยังคงมีการตามล้างตามเช็ดมาจนกระทั่งปัจจุบัน!!!
จุดพลุคืนท่อก๊าซ ปตท.ย้อนแย้งศาล?
ในทันทีที่ สตง.“จุดพลุ” ประเด็นการส่งคืนท่อก๊าซ ปตท. มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคและเครือข่ายเอ็นจีโอที่ต่อสู้กับกระบวนการแปรรูป ปตท.มาก่อนหน้า ก็ยื่นฟ้อง ปตท.ต่อศาลปกครองในทันที (3 มี.ค.2552)
และแม้ศาลปกครองจะมีคำพิพากษาให้ “ยกคำร้อง” และยืนยันว่า ปตท.ได้ดำเนินการคืนท่อครบถ้วนแล้ว แต่กระนั้นมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคและเครือข่ายก็ยังคงเดินหน้ายื่นฟ้องศาลปกครองอีกเพื่อให้ ปตท.แบ่งแยกและคืนท่อก๊าซฯตามมาอีกหลายต่อหลายครั้ง
มีการเปิดประเด็นใหม่ๆ ขึ้นร้องต่อศาลไม่หยุดหย่อน และเมื่อศาลไม่รับฟ้องทางกลุ่มก็จะยื่นอุทธรณ์ เมื่อศาลไม่รับอุทธรณ์ กลุ่มจะยื่นเรื่องให้เพิกถอนคำพิพากษาตามมาอีก วนเวียนอยู่เช่นนี้ถึง 5 รอบ จนกระทั่งวันที่ 16 ก.พ.2558 ศาลได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่ออ่านคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ในคดีที่มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคกับพวกรวม 1,455 คน ร่วมกันอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองกรณีแบ่งแยกทรัพย์และส่งคืนท่อก๊าซ ปตท. ที่ว่านี้
โดยศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนยันตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง “ไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์” ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบ เนื่องจาก ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาในคดีแปรรูป ปตท. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แม้จะมีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์และให้จำหน่ายคดี แต่เครือข่ายภาคประชาชนกลุ่มนี้ก็ยังคงเดินหน้าร้องสิบทิศ และถึงขั้นยื่นเรื่องร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลปกครอง
สูงสุด และตุลาการศาลปกครองว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มีการกระทำทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่อีก!
ก่อนที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) จะออกโรงตอกย้ำประเด็นการแบ่งแยกและส่งคืนท่อก๊าซ ปตท.ที่ว่านี้ในห้วงขวบเดือนที่ผ่านมา ที่ทำเอาใครต่อใคร “นั่งไม่ติด”
คลัง–ปตท.ยันทำตามคำพิพากษาครบถ้วน!
นายชวลิต พันธ์ทอง ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและบริหารความยั่งยืน ปตท. กล่าวกับ “ทีมเศรษฐกิจ” ว่า ขอยืนยันว่าปตท.ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และมติ ครม.ครบถ้วนแล้ว พร้อมทั้งได้นำเสนอข้อมูลทรัพย์สินของ ปตท.ทั้งก่อนและหลังการแปรรูปต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อประกอบการพิจารณามาโดยตลอด ก่อนที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา “ถึงที่สุด” ให้การรับรองเมื่อปลายปี 2551
ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 เม.ย.2559 ศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2551 อีกครั้ง
กับประเด็นที่ คตง. และ สตง. ยังคงมีความเห็นว่า ปตท.มิได้รอความเห็นของ สตง.ก่อนยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อปี 2551 นั้น ปตท.ยืนยันว่า ได้นำส่งข้อมูลบัญชีทรัพย์สินทั้งหมดให้ สตง.พิจารณาแล้ว ตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค.2551 ซึ่ง สตง.เองก็ไม่ได้มีความเห็นใดกลับมายัง ปตท. “ที่มีการกล่าวอ้างว่า สตง.ได้ส่งรายงานแจ้งแก่ ปตท.ว่า ยังส่งคืนท่อก๊าซฯไม่ครบนั้น เป็นเพียงเอกสารแนบท้ายหนังสือของ สตง. ลงวันที่ 26 ธ.ค.2551 ที่ สตง.นำส่งให้แก่ศาลปกครองสูงสุด ปตท.และหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่ศาลได้มีคำสั่งไปแล้ว”
ส่วนหนังสือที่ ปตท.ได้รับจาก สตง.นั้น เป็นหนังสือฉบับลงวันที่ 20 ก.พ.2552 ที่แจ้งว่า ปตท.ยังส่งคืนทรัพย์สินให้กระทรวงการคลังไม่ครบถ้วน แต่ก็ได้ลงท้ายหนังสือไว้ด้วยว่า ทั้งนี้ การดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินจะครบถ้วนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของศาลเป็นสำคัญ “ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่ออกมาย่อมถือเป็นยุติ และประเด็นดังกล่าวสำนักงานศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีหนังสือลงวันที่ 10 มี.ค.2552 ตอบกลับไปยัง สตง.และ ปตท.แล้วว่า ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาข้อมูลของ สตง.แล้ว และเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”
ยังสำทับด้วยคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ที่มีต่อประเด็นนี้ โดยศาลได้ระบุชัดเจนว่า ข้อกล่าวอ้างที่ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2550 (เรื่องที่ให้ สตง.รับรอง) ไม่ใช่เหตุที่จะกล่าวอ้างว่า การดำเนินการตามคำพิพากษายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์
“ทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้ว่าการแบ่งแยกทรัพย์สินเป็นไปตามคำพิพากษาและหลักเกณฑ์ที่ ครม.กำหนดและคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด ย่อมถือเป็นยุติ ไม่อาจมีบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดจะมีอำนาจกลับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดได้”
เช่นเดียวกับ นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ที่ออกมาโต้แย้งมติ คตง.-สตง.ต่อกรณีการแบ่งแยกทรัพย์สินและส่งคืนท่อก๊าซ ปตท.ที่ว่านี้ว่า ประเด็นที่ คตง.-สตง.และเครือข่ายยังคงติดใจในเรื่องของทรัพย์สินท่อก๊าซ “ในทะเล” ที่ไม่ได้นำมารวมด้วยนั้น ประเด็นนี้ คตง.และ สตง.ได้ส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค.2557 จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการตีความลงมา
“แต่ไม่ว่าจะอย่างไรหากยึดตามหลักการก็ต้องยึด “คำพิพากษาของศาลปกครอง” เป็นหลัก และถือเป็นที่สุดอยู่แล้ว ไม่ใช่ยึดตามผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา”
ที่สำคัญในการตรวจสอบและรับรองงบการเงินประจำปีของบริษัท ปตท.โดย สตง.ก็รับรองแบบไม่มีเงื่อนไขมาโดยตลอด หากสิ่งที่ สตง.ลุกขึ้นมาโต้แย้งว่า ปตท.ยังคงส่งมอบทรัพย์สินท่อก๊าซไม่ครบถ้วน ถ้าเป็นเช่นนั้นเท่ากับว่า สตง.ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และผู้ถือหุ้นของบริษัท ปตท.มาโดยตลอดอย่างนั้นหรือ?!!!
“การที่ คตง. และ สตง.หารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาและจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เป็นที่ยุติ แต่กลับมาสรุปเองว่า การแบ่งแยกทรัพย์สินไม่ครบถ้วนและกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้น พฤติกรรมของ คตง. และ สตง.จึงเป็นการบั่นทอนขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานโดยสุจริต”
บทสรุป :
สำหรับ “ทีมเศรษฐกิจ” แล้ว ข้ออ้างของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ว่าการแบ่งแยกทรัพย์สินเพื่อส่งคืนท่อก๊าซ ปตท.ที่กระทรวงการคลังและ ปตท.ดำเนินการไปก่อนหน้า มีการรวบรัดขั้นตอนโดยไม่มีการส่งเรื่องให้ สตง.ตรวจรับรองความถูกต้องก่อนรายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) และศาลปกครองสูงสุด รวมไปถึงไม่ได้ส่งร่างบันทึกการแบ่งแยกทรัพย์สินให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนนั้น
ท้ายที่สุดก็อย่างที่ศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาลงมา ประเด็นดังกล่าวหาใช่เหตุที่จะทำให้การดำเนินการแบ่ง แยกทรัพย์สิน–ท่อก๊าซ ปตท.ขาดความสมบูรณ์จนเป็นเหตุให้ศาลต้องมาพิพากษาในเรื่องที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษา “ถึงที่สุด” ไปแล้ว
ที่สำคัญคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ที่สั่งไม่รับอุทธรณ์คดีนี้และสั่งให้จำหน่ายคดีออกไปจากสารบบนั้น ได้ระบุชัดเจนว่า การจะให้ศาลมีคำพิพากษาในสิ่งที่ศาลปกครองสูงสุดได้ชี้ขาดเป็นที่ยุติไปแล้วนั้นถือเป็นการ “ต้องห้าม”
และหากในที่สุดแล้ว เกิดมีองค์กรอิสระใดหรือศาลอื่นใดมีคำพิพากษาในคดีนี้ที่ผิดแผกแตกต่างไปจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ก็คงจะกลายเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่อาจทำให้หน่วยงานรัฐปั่นป่วนขึ้นไปอีก เพราะไม่รู้ว่าต่อไปจะยึดถือเอาคำพิพากษาศาลใดเป็นเกณฑ์ปฏิบัติกันได้อีก...
เหนือสิ่งอื่นใด หากคำพิพากษาของ “ศาลปกครองสูงสุด” ยังไม่เป็นที่สุดหรือที่ยุติแล้ว เรายังจะเชื่อถือองค์กรใดในประเทศไทยนี้ได้อีก?!!!
ทีมเศรษฐกิจ
ที่มา ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/content/623908