สัญญาสัมปทานปิโตรเลียม เป็นสัญญาที่ทำขึ้น ระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กับ ผู้รับสัมปทาน ภายหลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ออกสัมปทานปิโตรเลียมนั้นได้ โดยเนื้อหาของ สัญญา จะเหมือนกันทุกสัมปทาน เพราะเป็นแบบร่างที่อยู่ในกฎกระทรวง ต่างตรงรายละเอียด เช่น เลขที่สัมปทาน จำนวนแปลง ขนาดพื้นที่ ปริมาณงาน ชื่อบริษัทผู้รับสัมปทาน เป็นต้น โดยมีเนื้อหาในหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑) บทนิยาม
๒) แปลงสำรวจ เนื้อหาว่า...สัมปทานนี้ มีกี่แปลง ขนาดพื้นที่เท่าไร
๓) ระยะเวลาสำรวจ... กี่ปี เริ่มจากวันที่เท่าไร สิ้นสุดเมื่อไร (ตามที่ระบุไว้ ใน พรบ.)
๔) ข้อผูกพันสำหรับการสำรวจ...ระบุ ช่วงเวลา และ เนื้องานในแต่ละปี (เอามาจาก ปริมาณงาน ปริมาณเงินลงทุน ที่เสนอตอนยื่นซองประมูลแปลง)
๕) ระยะเวลาผลิต... ระบุ จำนวนปี นับจากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจ (ตามที่ระบุไว้ใน พรบ.)
๖) ผลประโยชน์พิเศษ...ผลประโยชน์เพิ่มเติมที่ระบุมาจากการยื่นซอง เช่น เงินช่วยเหลือการศึกษา อบรม ดูงาน เงินศีกษาและพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้น
๗) การเก็บรักษาและขนส่งปิโตรเลียม...เป็นกติกา ที่ต้องปฏิบัติตาม
๘) การให้ความช่วยเหลือผู้รับสัมปทาน...การติดต่อหน่วยงานราชการอื่นๆ การเข้าพื้นที่ เป็นต้น
๙) ของที่ได้รับการยกเว้นภาษี...เป็นกติกา ที่ต้องปฏิบัติตาม
๑๐) ค่าสงวนพื้นที่ ค่าภาคหลวง ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(SRB) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม...เป็นอัตราการจัดเก็บตามที่ระบุไว้ใน พรบ.ปิโตรเลียม
๑๑) ข้อผูกพันและหน้าที่ของผู้รับสัมปทาน...เป็นหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติตาม
๑๒) การเคารพต่อข้อกำหนดขั้นมูลฐาน... เป็นข้อตกลง จะไม่เปลี่ยนแปลงสัญญาเพียงฝ่ายเดียว
๑๓) การระงับข้อพิพาท...เป็นขั้นตอนการฟ้องร้อง
๑๔) การเพิกถอนสัมปทาน...ทำผิดตามเงื่อนไข ถูกยึดสัมปทานคืน
๑๕) การสิ้นสุดสัมปทาน...รวมเหตุการสิ้นสุดสัมปทาน
๑๖) การสละสิทธิ
๑๗) การแจ้งให้ทราบ...การแจ้ง การส่งรายงาน
๑๘) เบ็ดเตล็ด
จากทั้ง ๑๘ ข้อดังกล่าวนี้ ไม่มีข้อไหน ที่จะหมกเม็ด ใส่ผลประโยชน์แอบแฝงอะไรลงไปได้
รายละเอียด แบบฟอร์ม กฎกระทรวง กําหนดแบบสัมปทานปิโตรเลียม
๑) บทนิยาม
๒) แปลงสำรวจ เนื้อหาว่า...สัมปทานนี้ มีกี่แปลง ขนาดพื้นที่เท่าไร
๓) ระยะเวลาสำรวจ... กี่ปี เริ่มจากวันที่เท่าไร สิ้นสุดเมื่อไร (ตามที่ระบุไว้ ใน พรบ.)
๔) ข้อผูกพันสำหรับการสำรวจ...ระบุ ช่วงเวลา และ เนื้องานในแต่ละปี (เอามาจาก ปริมาณงาน ปริมาณเงินลงทุน ที่เสนอตอนยื่นซองประมูลแปลง)
๕) ระยะเวลาผลิต... ระบุ จำนวนปี นับจากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจ (ตามที่ระบุไว้ใน พรบ.)
๖) ผลประโยชน์พิเศษ...ผลประโยชน์เพิ่มเติมที่ระบุมาจากการยื่นซอง เช่น เงินช่วยเหลือการศึกษา อบรม ดูงาน เงินศีกษาและพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้น
๗) การเก็บรักษาและขนส่งปิโตรเลียม...เป็นกติกา ที่ต้องปฏิบัติตาม
๘) การให้ความช่วยเหลือผู้รับสัมปทาน...การติดต่อหน่วยงานราชการอื่นๆ การเข้าพื้นที่ เป็นต้น
๙) ของที่ได้รับการยกเว้นภาษี...เป็นกติกา ที่ต้องปฏิบัติตาม
๑๐) ค่าสงวนพื้นที่ ค่าภาคหลวง ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(SRB) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม...เป็นอัตราการจัดเก็บตามที่ระบุไว้ใน พรบ.ปิโตรเลียม
๑๑) ข้อผูกพันและหน้าที่ของผู้รับสัมปทาน...เป็นหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติตาม
๑๒) การเคารพต่อข้อกำหนดขั้นมูลฐาน... เป็นข้อตกลง จะไม่เปลี่ยนแปลงสัญญาเพียงฝ่ายเดียว
๑๓) การระงับข้อพิพาท...เป็นขั้นตอนการฟ้องร้อง
๑๔) การเพิกถอนสัมปทาน...ทำผิดตามเงื่อนไข ถูกยึดสัมปทานคืน
๑๕) การสิ้นสุดสัมปทาน...รวมเหตุการสิ้นสุดสัมปทาน
๑๖) การสละสิทธิ
๑๗) การแจ้งให้ทราบ...การแจ้ง การส่งรายงาน
๑๘) เบ็ดเตล็ด
จากทั้ง ๑๘ ข้อดังกล่าวนี้ ไม่มีข้อไหน ที่จะหมกเม็ด ใส่ผลประโยชน์แอบแฝงอะไรลงไปได้
รายละเอียด แบบฟอร์ม กฎกระทรวง กําหนดแบบสัมปทานปิโตรเลียม