ตั้งข้อสงสัยการบิดเบือนคำสั่งศาลที่ว่า "เรื่องการไม่ปฏิบัติตามมติครม.เป็นเรื่องที่หน่วยราชการต้องไปว่ากล่าวกันเอง โดยคณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานทั้งหลาย"
ที่มา http://bit.ly/1WMIizy และ http://astv.mobi/A5rIX39
ข้อความนี้เป็นการยกคำพิพากษามาแค่ส่วนเดียว ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด ถือเป็นการบิดเบือนคำสั่งศาลหรือไม่?? โดยสาระสำคัญของคำสั่งศาลฯ ดังกล่าว มีการระบุไว้ตอนหนึ่งอย่างชัดเจนว่า
“กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหนึ่งพันสี่ร้อยสิบห้าคนกล่าวอ้างว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษา ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันภายในหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคณะรัฐมนตรี มิใช่เป็นเหตุที่จะกล่าวอ้างว่าเป็นการดำเนินการที่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายเพราะเป็นกระบวนการที่กำหนดขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น”
นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินคืนให้แก่กระทรวงการคลัง (ช่วงปี 2550-2551) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ก็ได้มีการรายงานให้ศาลปกครองสูงสุดรับทราบมาโดยตลอดเป็นจำนวนถึง 9 ครั้ง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ศาลปกครองสูงสุดจึงได้มีคำสั่งว่า “ปตท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”
ที่สำคัญ คือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ศาลชั้นต้นก็ได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่ออ่านคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ที่มาจากการอุทธรณ์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวกรวม 1,455 คน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนยันตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง คือ ไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความ เนื่องจาก ปตท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาในคดีแปรรูป ปตท. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2. การที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวกรวม 1,455 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ ปตท. ส่งคืนท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งในทะเลและบนบก จึงเป็นการขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่ต้องห้าม
3. สำหรับประเด็นข้อกล่าวอ้างที่ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 กำหนด (เรื่องที่ให้ สตง. รับรอง) ไม่ใช่เหตุที่จะกล่าวอ้างว่าการดำเนินการตามคำพิพากษายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าจากคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดครั้งนี้ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ยุติประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องการส่งคืนท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ทั้งหมด โดยศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ปตท. ได้ส่งคืนท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่กระทรวงการคลังครบถ้วนตามคำพิพากษาแล้วตั้งแต่ปี 2551 แล้ว
ที่มาบางส่วนจากบทความ : ศาลตัดสินแล้ว! ปตท. คืนท่อส่งก๊าซธรรมชาติครบถ้วนหรือไม่ http://thaipublica.org/2015/02/chakartnit-4/
ที่มา http://bit.ly/1WMIizy และ http://astv.mobi/A5rIX39
ข้อความนี้เป็นการยกคำพิพากษามาแค่ส่วนเดียว ทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด ถือเป็นการบิดเบือนคำสั่งศาลหรือไม่?? โดยสาระสำคัญของคำสั่งศาลฯ ดังกล่าว มีการระบุไว้ตอนหนึ่งอย่างชัดเจนว่า
“กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหนึ่งพันสี่ร้อยสิบห้าคนกล่าวอ้างว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษา ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันภายในหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคณะรัฐมนตรี มิใช่เป็นเหตุที่จะกล่าวอ้างว่าเป็นการดำเนินการที่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายเพราะเป็นกระบวนการที่กำหนดขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น”
นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินคืนให้แก่กระทรวงการคลัง (ช่วงปี 2550-2551) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ก็ได้มีการรายงานให้ศาลปกครองสูงสุดรับทราบมาโดยตลอดเป็นจำนวนถึง 9 ครั้ง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ศาลปกครองสูงสุดจึงได้มีคำสั่งว่า “ปตท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”
ที่สำคัญ คือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ศาลชั้นต้นก็ได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่ออ่านคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ที่มาจากการอุทธรณ์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวกรวม 1,455 คน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนยันตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง คือ ไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความ เนื่องจาก ปตท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาในคดีแปรรูป ปตท. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2. การที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวกรวม 1,455 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ ปตท. ส่งคืนท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งในทะเลและบนบก จึงเป็นการขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่ต้องห้าม
3. สำหรับประเด็นข้อกล่าวอ้างที่ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 กำหนด (เรื่องที่ให้ สตง. รับรอง) ไม่ใช่เหตุที่จะกล่าวอ้างว่าการดำเนินการตามคำพิพากษายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าจากคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดครั้งนี้ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ยุติประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องการส่งคืนท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ทั้งหมด โดยศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ปตท. ได้ส่งคืนท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่กระทรวงการคลังครบถ้วนตามคำพิพากษาแล้วตั้งแต่ปี 2551 แล้ว