เร็วๆ นี้ กพช. ได้มีบทสรุปถึงการบริหารจัดแหล่งก๊าซธรรมชาติที่จะหมดอายุของ ปตท.สผ. และ เชพรอน ไม่ได้ต่ออายุให้ผู้ผลิตรายเดิม และ เป็นไปตามข้อกฎหมายกำหนด จึงต้องเปิดให้มีการประมูล ควบคู่ไปกับการดำเนินการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งมีกระบวนการที่ต้องใช้เวลาแต่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของระบบใดจะใช้ในการบริหารจัดการนี้ โดยมีทางเลือกได้แก่ PSC (แบ่งปันผลผลิต), จ้างผลิต, รวมไปถึง การใช้ระบบสัมปทานเดิม (Thailand III) (โดยมีเงื่อนไขเพิ่มผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับเพิ่มจากเดิม) ซึ่งในทางปฎิบัติเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านนโยบายทราบดีถึง ความเสี่ยงที่ต้องแบกรับ
โดยที่ผ่านมาแหล่งที่จะหมดอายุ ผลิตมา 30 ปี เหลือก๊าซบ้าง แต่ไม่มาก แต่ละหลุมมีไม่เยอะ เพราะเป็นกระเปาะ ต้องเจาะหลุมเพิ่มทุกปี เพื่อรักษาการผลิตกระเปาะใหญ่ๆ ใกล้ๆ ตื้นๆ เจาะไปหมดแล้ว เหลือแต่กระเปาะเล็กๆ ไกลๆ ลึกๆ ราคาก๊าซ น้ำมันตกต่ำ บริษัทน้ำมันทั่วโลก ตัดงบ หยุดผลิต หยุดเจาะ ปลดพนักงาน ขายกิจการ
การเปิดประมูลทรัพยากรปิโตรเลียม เพื่อหาเอกชนรายใหม่ แตกต่างกับการประมูลคลื่นความถี่เรื่องการมีอยู่ของทรัพยากร และจะต้องรอให้เอกชนเจ้าเดิมหมดอายุสัมปทานเสียก่อน ผู้ประกอบกิจการรายเดิมต้องจ่ายค่ารื้อถอนให้รัฐ รายใหม่รับโอนทรัพย์สินไปทำต่อ เอกชนเจ้าใหม่จึงจะเริ่มก่อสร้างแท่นขุดเจาะแทน ขั้นตอนเปลี่ยนผ่านตรงนี้ จะทำให้การผลิตก๊าซธรรมชาติ 2 แหล่งสำคัญในอ่าวไทยต้องหยุดชั่วคราว ในระหว่างประมูล ไม่ชัดเจนว่าใครจะทำต่อใน 6 ปีหน้า การลงทุนจะหยุดชะงัก ไม่สร้างแท่น ไม่เจาะหลุมต่อ ธุรกิจก่อสร้าง เจาะหลุม บำรุงรักษาไม่มีงาน ปลดคน เพราะไม่คุ้มการผลิต (คิดกันในแง่ของการประกอบกิจการ ไม่ได้ปูทางด้วยทุ่งลาเวนเดอร์) การผลิตลดลง ค่าภาคหลวงและภาษีส่งรัฐลดลงตาม อย่าลืมว่า รายได้รัฐจากปิโตรเลียมก็อิงมูลค่าตามราคาตลาด เป็นสัดส่วนกันไป
โดยสิ่งที่ต้องตามมาคือ จะเกิดความเสี่ยงหลังประมูลว่าจะทำต่อยังไง จะมีทิ้งงานเหมือน 4G หรือไม่? หากก๊าซที่ใช้ผลิตไฟฟ้าขาด ต้องนำเข้า LNG มากขึ้น ค่าไฟแพงขึ้น (จะทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้า (ค่าเอฟที) แพงขึ้นอีกยูนิตละ 85 สตางค์) สร้างโรงไฟฟ้าก็ต่อต้าน หรือการจะหันไปใช้เชื้อเพลิงใดเชื้อเพลิงนึงเป็นหลักจะส่งผลอย่างไร ไฟฟ้าจะดับหรือไม่ คนตกงาน รายได้รัฐหาย ผู้ประมูลชนะ ทำไม่ได้ ซึ่งมันกระทบกันทั้งระบบ
ควรปล่อยให้รัฐตัดสินใจทางเลือกต่างๆ มิใช่ให้คนกลุ่มใดมาออกความเห็น และบิดเบือนข้อมูลเรื่องการปล้นประเทศไทย แบบกดดันภาครัฐ ยกเว้นคนไม่รู้ คิดเอาง่ายๆ สร้างกระแส เอาประเทศมาเสี่ยง เพราะสุดท้าย ประชาชนหมู่มากเดือดร้อน สุดท้ายรัฐเป็นผู้รับผิดชอบ ความมั่นคงทางพลังงานของทั้งประเทศ
โดยที่ผ่านมาแหล่งที่จะหมดอายุ ผลิตมา 30 ปี เหลือก๊าซบ้าง แต่ไม่มาก แต่ละหลุมมีไม่เยอะ เพราะเป็นกระเปาะ ต้องเจาะหลุมเพิ่มทุกปี เพื่อรักษาการผลิตกระเปาะใหญ่ๆ ใกล้ๆ ตื้นๆ เจาะไปหมดแล้ว เหลือแต่กระเปาะเล็กๆ ไกลๆ ลึกๆ ราคาก๊าซ น้ำมันตกต่ำ บริษัทน้ำมันทั่วโลก ตัดงบ หยุดผลิต หยุดเจาะ ปลดพนักงาน ขายกิจการ
การเปิดประมูลทรัพยากรปิโตรเลียม เพื่อหาเอกชนรายใหม่ แตกต่างกับการประมูลคลื่นความถี่เรื่องการมีอยู่ของทรัพยากร และจะต้องรอให้เอกชนเจ้าเดิมหมดอายุสัมปทานเสียก่อน ผู้ประกอบกิจการรายเดิมต้องจ่ายค่ารื้อถอนให้รัฐ รายใหม่รับโอนทรัพย์สินไปทำต่อ เอกชนเจ้าใหม่จึงจะเริ่มก่อสร้างแท่นขุดเจาะแทน ขั้นตอนเปลี่ยนผ่านตรงนี้ จะทำให้การผลิตก๊าซธรรมชาติ 2 แหล่งสำคัญในอ่าวไทยต้องหยุดชั่วคราว ในระหว่างประมูล ไม่ชัดเจนว่าใครจะทำต่อใน 6 ปีหน้า การลงทุนจะหยุดชะงัก ไม่สร้างแท่น ไม่เจาะหลุมต่อ ธุรกิจก่อสร้าง เจาะหลุม บำรุงรักษาไม่มีงาน ปลดคน เพราะไม่คุ้มการผลิต (คิดกันในแง่ของการประกอบกิจการ ไม่ได้ปูทางด้วยทุ่งลาเวนเดอร์) การผลิตลดลง ค่าภาคหลวงและภาษีส่งรัฐลดลงตาม อย่าลืมว่า รายได้รัฐจากปิโตรเลียมก็อิงมูลค่าตามราคาตลาด เป็นสัดส่วนกันไป
โดยสิ่งที่ต้องตามมาคือ จะเกิดความเสี่ยงหลังประมูลว่าจะทำต่อยังไง จะมีทิ้งงานเหมือน 4G หรือไม่? หากก๊าซที่ใช้ผลิตไฟฟ้าขาด ต้องนำเข้า LNG มากขึ้น ค่าไฟแพงขึ้น (จะทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้า (ค่าเอฟที) แพงขึ้นอีกยูนิตละ 85 สตางค์) สร้างโรงไฟฟ้าก็ต่อต้าน หรือการจะหันไปใช้เชื้อเพลิงใดเชื้อเพลิงนึงเป็นหลักจะส่งผลอย่างไร ไฟฟ้าจะดับหรือไม่ คนตกงาน รายได้รัฐหาย ผู้ประมูลชนะ ทำไม่ได้ ซึ่งมันกระทบกันทั้งระบบ
ควรปล่อยให้รัฐตัดสินใจทางเลือกต่างๆ มิใช่ให้คนกลุ่มใดมาออกความเห็น และบิดเบือนข้อมูลเรื่องการปล้นประเทศไทย แบบกดดันภาครัฐ ยกเว้นคนไม่รู้ คิดเอาง่ายๆ สร้างกระแส เอาประเทศมาเสี่ยง เพราะสุดท้าย ประชาชนหมู่มากเดือดร้อน สุดท้ายรัฐเป็นผู้รับผิดชอบ ความมั่นคงทางพลังงานของทั้งประเทศ