ล่าสุดมีการบอกด้วยว่า คปพ.ขู่ไม่รับ รธน.หาก สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม - นัด 24 มิ.ย.ล่าชื่อให้เกิน 1 หมื่น
ที่มา http://m.manager.co.th/Politics/detail/9590000062981
คปพ.บอกว่า ได้จัดทำร่างกฏหมายปิโตรเลียม ฉบับประชาชน (ต้องถามว่า คปพ.เป็นตัวแทนประชาชนทั้งประเทศตั้งแต่เมื่อไหร่ เรื่องนี้ สนช.ต้องไม่หลงกล วาทกรรมแอบอ้างเจตนารมณ์ประชาชน) ทั้งๆ ที่ การแก้ไขที่ผ่านมานั้น พรบ. ฉบับนี้ มีการหารือ และ แก้ไข รวมถึงเปิดรับฟังความเห็นในหลายเวทีแล้ว ได้แก่ สโมสรกองทัพบก รวมไปถึงที่ทำเนียบรัฐบาล
พรบ ปิโตรเลียม ฉบับใหม่ ไม่ฟังเสียงประชาชนจริงหรือ? (ยาว แต่อ่านเถอะ จะได้รู้ว่าเป็นยังไง) http://on.fb.me/1FYmUQj
ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2559 แก้ไขใหม่ http://on.fb.me/1QIyBcH
แต่การที่จะล่ารายชื่อประชาชนไม่น้อยกว่า10,000 คน เข้าชื่อ เพื่อเสนอร่าง ฉบับ คปพ. ให้สนช.พิจารณา (ถามว่า 10,000 คนนี่คือเสียงส่วนใหญ่ จะชี้นำคน63 ล้านคน ทั้งประเทศได้เลยหรือ) http://bit.ly/28OAAnx
ในส่วนการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ เข้าไปในร่างกฏหมายปิโตรเลียม (จะตั้งทำไมให้ซ้ำซ้อนเปลืองงบประมาณแผ่นดิน 10,000 ล้านบาท อะไรคือประสิทธิภาพ อะไรคือธรรมาภิบาล) นักวิชาการแนะนำด้วยซ้ำว่าไม่จำเป็น http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=707707
คปพ. อยากจะให้รัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียม ที่อยู่ใต้ดิน คือจ้างเขาขุดขึ้นมาให้รัฐขายเอง ขายได้แล้วค่อยมาจ่ายค่าจ้าง
(ถามว่า รัฐมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ในการค้าขายปิโตรเลียมหรือ ? จะขายราคาเท่าไหร่ จะจ่ายค่าจ้างเขาเท่าไหร่อย่างไร รัฐได้ประโยชน์มากกว่าเดิมจริงหรือ ถ้าผู้ซื้อคือ ปตท. รัฐจะขายถูกหรือขายแพง ถ้าขายถูก รัฐก็ได้ผลตอบแทนน้อย ถ้าขายแพง ประชาชนก็ได้ใช้พลังงานราคาแพง ดังนั้นที่ คปพ.บอกว่าจะให้รัฐได้ผลประโยชน์มากๆ ประชาชนได้ใช้น้ำมันก๊าซราคาถูก จึงเป็นเรื่องที่สวนทางกัน เที่ยวเอาเรื่องกรรมสิทธิ์ มาปลุกกระแสรักชาติ แล้วพามวลชนไปหลงทางกระนั้นหรือ) และที่สำคัญ ตามกฎหมายเดิม ปิโตรเลียมก็เป็นของรัฐอยู่แล้ว การจะกระทำการใดต้องได้รับอนุญาต แล้วควบคุมดูแลโดยรัฐ http://show.energy.go.th/faq_003.html
ที่มา สำนักข่าว INN, กระทรวงพลังงาน, energy guru, และ น้องปอสาม