ฮือฮา! บริษัทน้ำมันอาบู ดาบี นำโดย “CEO ทีมแมนฯซิตี” จับมือนักลงทุนสิงคโปร์ คว้าสิทธิ์พัฒนาแหล่งน้ำมัน “นงเยาว์” กลางอ่าวไทยhttp://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000005299เปิดหลักฐานขายชาติ! แม้วเอื้อ บ.เพื่อนในอาบูดาบี ฮุบแหล่งน้ำมันอ่าวไทยhttp://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000005429สัมปทานปิโตรเลียมไทย บนอาคารชินวัตร!http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?newsid=9570000006998
มีหลายประเด็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง แต่ในบทความนี้ จะขอนำข้อเท็จจริง หลักการ การให้สัมปทาน ที่มาที่ไป และภาพการลงทุน ของ แหล่งนงเยาว์ มาแสดงไว้ให้พิจารณา พอสังเขป ว่าบริษัทที่จะมาฮุบนั้น ยังมีความเสี่ยงอยู่มากน้อยแค่ไหน เข้ามาเอาประโยชน์ฝ่ายเดียว หรือ ทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ไปด้วย
ข้อเท็จจริงอีกด้าน ของแหล่งนงเยาว์
การให้สัมปทานปิโตรเลียม เพื่อเปิดโอกาสให้ บริษัทน้ำมันทั้งไทยและต่างชาติ ที่มีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนสำรวจหาปิโตรเลียมในประเทศไทย โดยแบกรับความเสี่ยงฝ่ายเดียว ตามกฎ กติกา ภายใต้ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2532 (Thailand III) บริษัทที่จะเข้ามารับสัมปทานได้ต้องมีคุณสมบัติและผ่านขั้นตอนการประมูลเนื้องาน คือ เสนอปริมาณงานสำรวจและเงินลงทุนที่จะใช้ บริษัทไหนเสนอมามากกว่าอย่างมีเหตุผล จะได้รับการคัดเลือก ออกสัมปทานให้ ไม่ได้วัดกันที่ความสวยความงาม ดังที่เป็นข่าวในบทความตามลิงค์ข้างต้น
การให้สัมปทานปิโตรเลียม เพื่อเปิดโอกาสให้ บริษัทน้ำมันทั้งไทยและต่างชาติ ที่มีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนสำรวจหาปิโตรเลียมในประเทศไทย โดยแบกรับความเสี่ยงฝ่ายเดียว ตามกฎ กติกา ภายใต้ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2532 (Thailand III) บริษัทที่จะเข้ามารับสัมปทานได้ต้องมีคุณสมบัติและผ่านขั้นตอนการประมูลเนื้องาน คือ เสนอปริมาณงานสำรวจและเงินลงทุนที่จะใช้ บริษัทไหนเสนอมามากกว่าอย่างมีเหตุผล จะได้รับการคัดเลือก ออกสัมปทานให้ ไม่ได้วัดกันที่ความสวยความงาม ดังที่เป็นข่าวในบทความตามลิงค์ข้างต้น
เมื่อได้รับสัมปทานไปแล้ว บริษัทมีหน้าที่ต้องทำตามงานที่ได้เสนอไว้ หรือ เรียกว่า ข้อผูกพัน และต้องนำเงินมาประกันตามจำนวนที่ได้เสนอไว้ กรณีไม่ทำตามข้อผูกพันเงินประกัน(ในช่วง 3 ปีแรก)ดังกล่าวจะตกเป็นของรัฐ... ในช่วงเริ่มต้นสำรวอจจะแบ่งเป็น 2 ช่วงๆละ 3 ปี และต่อได้อีก 3 ปี (3+3+3) ในทุกแปลงสำรวจที่ออกภายใต้ พรบ.ฉบับนี้ จะเหมือนกัน ดังเช่น แปลงที่ตกเป็นข่าว คือ แปลง G1/48 ,G2/48 ,G3/48 ,G6/48 ,G10/48 และ G11/48 ออกให้ผู้รับสัมปทานไปในรอบที่ 19 ส่วนแปลง L21/50 ,L52/50 และ L53/50 ออกให้ผู้รับสัมปทานไปในรอบที่ 20 แปลงดังกล่าวนี้อยู่ในช่วงของการสำรวจและได้มีการลงทุนไปหลายหมื่นล้านบาท ยังไม่พบปิโตรเลียม มีเพียง 2 แปลง คือ แปลง G1/48 และ G11/48 ที่กำลังเป็นข่าวว่ามีการสำรวจพบ และกำลังจะพัฒนาเป็นแหล่ง มโนราห์ และ นงเยาว์ ตามข่าว ส่วนแปลงอื่นๆ ถ้าหมดช่วงสำรวจยังสำรวจไม่พบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ ต้องคืนแปลงกลับมาให้รัฐ
ในช่วงระยะเวลาสำรวจนั้น การเปลี่ยนแปลงผู้ลงทุน หรือสัดส่วนผู้ร่วมลงทุน สามารถทำได้ เป็นเรื่องทางธุรกิจทั่วไป เป็นการระดมเงินทุนและกระจายความเสี่ยง หรือจะซื้อขาย ควบรวมกิจการกัน ก็ทำได้ภายใต้ข้อกฎหมาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบต่อ สิทธิและหน้าที่ของผู้รับสัมปทานตามสัญญาสัมปทาน และ จะต้องดำเนินงานสำรวจตามข้อผูกพันต่อไปตามที่ได้เสนอไว้ (การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ลงทุน ต้องผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานรัฐตามขั้นตอนของกฎหมาย) ดังนั้น การเข้ามาของบริษัทดังกล่าว ไม่ว่าจะเข้ามาในรัฐบาลไหน คงไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร เพราะเป็นเรื่องปกติถ้ามันเป็นไปตาม กฎระเบียบตามข้อกฎหมายที่สามารถทำได้ ถือว่าเข้ามาอย่างถูกต้องชอบธรรม
การนำเสนอในทำนองว่า มีการเข้ามา ฮุบสัมปทานแหล่ง นงเยาว์ อาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดได้ว่า มีการเอื้อประโยชน์ หรือ รัฐขายหรือปล่อยให้มีการเข้ามาขุดสูบน้ำมันดิบออกไป แต่ในความเป็นจริง มันเป็นเรื่องทางธุรกิจตามที่ได้กล่าวแล้ว และการได้มาของแปลงดังกล่าวมีขั้นตอนมาโดยลำดับ ผ่านมา 7 ปี แล้ว มีการลงทุนสำรวจไปแล้วมากมาย คือ สำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน แบบ 2 และ 3 มิติ ในช่วงปี 50-52 เจาะหลุมสำรวจไป 4 หลุม และเจาะหลุมประเมินผลอีก 5 หลุม ในช่วงปี 52-53 รวมใช้เวลาสำรวจไป 6 ปี กว่าจะมั่นใจ และมีข้อมูลมากพอในการขออนุมัติเป็นพื้นที่ผลิต นงเยาว์ และ ในสถานการณ์ปัจจุบัน แปลง G11/48 นี้ ยังไม่สามารถพัฒนาจนผลิตปิโตรเลียมได้สำเร็จ ยังขาดทุนจากเงินลงทุนที่ได้ทำการสำรวจไปแล้วมากกว่า 3,000 ล้านบาท(สิ้นปี 55) และยังต้องใช้เงินลงทุนอีกจำนวนมาก เพื่อการก่อสร้างติดตั้ง แท่นผลิต แท่นหลุมผลิต และ การเจาะหลุมผลิต อีกไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท กว่าจะได้ผลิตน้ำมันดิบหยดแรกขึ้นมาต้องขาดทุนไปไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท และจะผลิตได้มากน้อยแค่ไหน ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ชัดเจน แม้ข้อมูลในขณะนี้จะแสดงไว้ว่า จะสามารถผลิตได้สูงสุดวันละ 6,400 บาร์เรล ก็ตาม ดังนั้น การเข้ามาของบริษัท...ตามที่เป็นข่าว ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย และต้องแบกรับภาระการขาดทุนที่ได้ลงทุนไปแล้ว อีกทั้งยังต้องลงทุนเพิ่มเพื่อพัฒนาแหล่งดังกล่าวให้ได้ตามแผนอีกด้วย การเข้ามาดังกล่าวนี้ จะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อบริษัทก็ต้องมองกันยาวๆ อีกหลายปีครับ แต่ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับคือ มีการลงทุนสำรวจต่อเนื่องและถ้าสามารถพัฒนาแหล่งดังกล่าวได้ตามแผน จะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบ และรัฐจะมีรายได้ จากแปลงดังกล่าวตามระบบการจัดเก็บตามกฎหมายปัจจุบัน(Thailand III) อีกด้วย
ผลการดำเนินงานของแปลงที่ตกเป็นข่าว
ข้อมูลการสำรวจและการผลิตปิโตรเลียมของบริษัท มูบาดาลา ปิโตรเลียมในประเทศไทย
บริษัท Mubadala Petroleum (Thailand) เป็นบริษัทในเครือของ บ.Mubalala Petroleum ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE โดย Mubadala Petroleum เป็นบริษัทในเครือ 100% ของบริษัท Mubadala Development Company (MDC) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งโดยรัฐบาลแห่งรัฐของ Abu Dhabi มีมกุฎราชกุมาร ของ Abu Dhabi เป็นประธานบริหาร
บริษัท Mubadala Development Company(MDC) ทำธุรกิจหลายอย่าง ทั้งธุรกิจเกี่ยวกับด้านการบิน (Aerospace) ด้านการเทคโนโลยีการสื่อสาร(Communication Technology) ด้านสุขภาพ(Health Care) ด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) รวมถึงธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซ (Oil & Gas) ภายใต้บริษัท Mubadala Petroleum)
บริษัท Mubadala Petroleum มิได้มีธุรกิจด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังได้รับสัมปทานแหล่งน้ำมันแหล่งก๊าซในอีกหลายประเทศ เช่นใน การ์ตา โอมาน บาห์เรน อินโดนีเซีย และประเทศไทย นอกจากนั้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ Mubadala Petroleum เริ่มเข้ามาซื้อกิจการทั้งหมดของ บริษัท Pearl Energy ที่เป็นสัญชาติอเมริกันตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ จึงได้สิทธิสัมปทานปิโตรเลียมในไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และ มาเลเซีย ของบริษัทมาด้วย
สำหรับในไทย บริษัทลูกของบริษัท Mubadala Petroleum ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมโดยถูกต้องตามกฎหมายหลายแปลง รวมถึงแปลงที่ซื้อมาจากบริษัท Harrods Energy คือแปลง B5/27 ในอ่าวไทย ซึ่ง Pearl Energy เป็นผู้สำรวจพบจนสามารถพัฒนาแหล่งน้ำมันดิบขนาดเล็กชื่อว่าแหล่งจัสมินและบานเย็น กำลังผลิตเพียงราว 15,000 - 17,000 บาร์เรล/วัน จากแหล่งเล็กๆคือ จัสมินและบานเย็นดังกล่าว ทำให้บริษัท Mubadala มีความเชื่อมั่นมาขอสัมปทานเพิ่มเติมอีก โดยนำเงินจากรายได้ของสองแหล่งนั้นกลับมาลงทุนเพิ่มเติมในไทยอีกเป็นหลายพันหลายหมื่นล้านบาท จนกระทั่งพบแหล่งน้ำมันเล็กๆ อีก 2 แหล่งที่กำลังจะผลิตในเร็วๆนี้ คือแหล่งมโนราห์ และแหล่งนงเยาว์
เพิร์ลออยได้ขาย 2 แปลงให้แก่บริษัทคาร์นาวอน และบริษัทตัวเองได้ถูกขายให้กับบริษัทมูบาดาลา
ผลปรากฏว่าตั้งแต่ต้นปี 2557 ทั้ง 5 แปลงสัมปทานได้ถูกคืนให้รัฐบาลหมดแล้ว เพราะผู้ถือสัมปทานลงทุนสำรวจไปแล้วไม่พบปิโตรเลียมที่จะผลิตขึ้นมาขายได้ แม้จะยื้อเวลาต่อถึง 9 ปีก็ได้ แต่เขาตัดสินใจว่าไม่คุ้มที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นอีก เรียกว่าขาดทุนจนเลิกล้มโครงการไปแล้ว
มูบาดาลา อยู่บนตึกชินวัตร 3 แล้วยังไง?
ก็เป็นการเช่าพื้นที่เท่านั้น และก็มีหลายบริษัทด้วยที่อยู่ในตึก และ อยู่ใกล้หน่วยงานราชการที่ต้องติดต่อ
บริษัท Mubadala Petroleum (Thailand) เป็นบริษัทในเครือของ บ.Mubalala Petroleum ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE โดย Mubadala Petroleum เป็นบริษัทในเครือ 100% ของบริษัท Mubadala Development Company (MDC) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งโดยรัฐบาลแห่งรัฐของ Abu Dhabi มีมกุฎราชกุมาร ของ Abu Dhabi เป็นประธานบริหาร
บริษัท Mubadala Development Company(MDC) ทำธุรกิจหลายอย่าง ทั้งธุรกิจเกี่ยวกับด้านการบิน (Aerospace) ด้านการเทคโนโลยีการสื่อสาร(Communication Technology) ด้านสุขภาพ(Health Care) ด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) รวมถึงธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซ (Oil & Gas) ภายใต้บริษัท Mubadala Petroleum)
บริษัท Mubadala Petroleum มิได้มีธุรกิจด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังได้รับสัมปทานแหล่งน้ำมันแหล่งก๊าซในอีกหลายประเทศ เช่นใน การ์ตา โอมาน บาห์เรน อินโดนีเซีย และประเทศไทย นอกจากนั้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ Mubadala Petroleum เริ่มเข้ามาซื้อกิจการทั้งหมดของ บริษัท Pearl Energy ที่เป็นสัญชาติอเมริกันตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ จึงได้สิทธิสัมปทานปิโตรเลียมในไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และ มาเลเซีย ของบริษัทมาด้วย
สำหรับในไทย บริษัทลูกของบริษัท Mubadala Petroleum ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมโดยถูกต้องตามกฎหมายหลายแปลง รวมถึงแปลงที่ซื้อมาจากบริษัท Harrods Energy คือแปลง B5/27 ในอ่าวไทย ซึ่ง Pearl Energy เป็นผู้สำรวจพบจนสามารถพัฒนาแหล่งน้ำมันดิบขนาดเล็กชื่อว่าแหล่งจัสมินและบานเย็น กำลังผลิตเพียงราว 15,000 - 17,000 บาร์เรล/วัน จากแหล่งเล็กๆคือ จัสมินและบานเย็นดังกล่าว ทำให้บริษัท Mubadala มีความเชื่อมั่นมาขอสัมปทานเพิ่มเติมอีก โดยนำเงินจากรายได้ของสองแหล่งนั้นกลับมาลงทุนเพิ่มเติมในไทยอีกเป็นหลายพันหลายหมื่นล้านบาท จนกระทั่งพบแหล่งน้ำมันเล็กๆ อีก 2 แหล่งที่กำลังจะผลิตในเร็วๆนี้ คือแหล่งมโนราห์ และแหล่งนงเยาว์
เพิร์ลออยได้ขาย 2 แปลงให้แก่บริษัทคาร์นาวอน และบริษัทตัวเองได้ถูกขายให้กับบริษัทมูบาดาลา
ผลปรากฏว่าตั้งแต่ต้นปี 2557 ทั้ง 5 แปลงสัมปทานได้ถูกคืนให้รัฐบาลหมดแล้ว เพราะผู้ถือสัมปทานลงทุนสำรวจไปแล้วไม่พบปิโตรเลียมที่จะผลิตขึ้นมาขายได้ แม้จะยื้อเวลาต่อถึง 9 ปีก็ได้ แต่เขาตัดสินใจว่าไม่คุ้มที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นอีก เรียกว่าขาดทุนจนเลิกล้มโครงการไปแล้ว
มูบาดาลา อยู่บนตึกชินวัตร 3 แล้วยังไง?
ก็เป็นการเช่าพื้นที่เท่านั้น และก็มีหลายบริษัทด้วยที่อยู่ในตึก และ อยู่ใกล้หน่วยงานราชการที่ต้องติดต่อ