อาทิตย์ที่ผ่านมาประเด็นพลังงาน ที่ร้อนแรงสุดคงหนีไม่พ้น มติ กพช. ที่ให้มีการประมูลแปลงที่สิ้นอายุลงของแหล่งก๊าซธรรมชาติของไทย มีหลายประเด็นที่น่าจะสับสน และ ยังไม่ได้รับการนำเสนอ
เมื่อหมดอายุสัมปทานตามกฎหมาย อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึง แท่นขุดเจาะและเครื่องจักร ตลอดจนปิโตรเลียมที่เหลืออยู่จะต้องตกเป็นของรัฐ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยที่รัฐไม่ต้องลงทุนทรัพย์สินเหล่านี้อีก ประเด็นนี้ถ้ามองในมุมของการเอาไปใช้ต่อต้องดูว่า ทรัพย์สินเหล่านี้ใช้ต่อคุ้มค่าหรือไม่ อย่าลืมว่า ทรัพย์สินเหล่านี้มีอายุการใช้งานและต้องมีการบำรุงรักษา หากส่งมอบให้รัฐ หรือหากบริษัทที่รับต่อไปแล้วไม่คุ้มค่า ผลสุดท้ายก็ต้องรื้อถอนออก ซึ่งต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจนในการจะเก็บหรือว่าจะรื้อถอน เพราะจะเป็นทั้งต้นทุนและสะท้อนถึงความต่อเนื่องของก๊าซที่จะผลิตออกมา
ประการถัดมา มีการเรียกร้องให้ใช้ระบบจ้างผลิต (อันนี้ทาง กพช ยังไม่ได้ข้อสรุป และระบบนี้หน้าตาเป็นอย่างไรก็ยังไม่มีใครทราบ ดีแต่เรียกร้องว่าอยากได้ระบบนี้) ระบบรับจ้างผลิต มักใช้กับประเทศในตะวันออกกลาง ที่มีแหล่งผลิตขนาดใหญ่ ความเสี่ยงต่ำ จูงใจให้เกิดการแข่งขัน แต่แหล่งเอราวัณและบงกช ที่เป็นแหล่งกระเปาะเล็กๆ ความเสี่ยงสูงกว่า หากใช้ระบบรับจ้างผลิต ก็จะมีเฉพาะรายเดิมที่เสนอตัวเข้ามา แต่รัฐต้องสร้างแรงจูงใจ ด้วยค่าจ้างที่สูงขึ้น (ต้องแลกด้วยปริมาณก๊าซจำนวนมาก และราคาสูง และให้เอกชนสามารถนำปริมาณสำรองมาบันทึกเป็นมูลค่าทางบัญชีหรือ book value ของบริษัทได้ด้วย) โดยจะขอยกกรณีของประเทศ โบลิเวีย
- โบลิเวียมีการเรียกร้องให้จัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐในอัตราที่สูงมากกว่าเดิมมากจาก 50% มาเป็น 82% ของมูลค่าปิโตรเลียมนั้น ทำให้ส่งผลต่อความสามารถในการกำไรจากการพัฒนาและผลิตก๊าซธรรมชาติของบางแหล่งที่ถูกค้นพบแล้วลดลง กล่าวคือทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น บริษัทเอกชนได้ส่วนแบ่งน้อยลง ทำให้ปริมาณทรัพยากรบางส่วนไม่สามารถผลิตขึ้นมาให้คุ้มทุนได้แบบแต่ก่อน จึงถูกตัดออกไปไม่นับเป็นปริมาณสำรอง แต่ก๊าซส่วนนั้นก็ยังคงอยู่ใต้ดินไม่หายไปไหนแค่ผลิตขึ้นมาให้คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ไม่ได้เท่านั้น
- ประเทศโบลีเวียมีการพึ่งพาการส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังประเทศบราซิล และ ประเทศอาร์เจนติน่า เพราะยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อบริษัท Petrobas ของบราซิล และ Repsol-YPF ของสเปนและอาร์เจนติน่า ทำให้ยังคงมีการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติอยู่ตลอดมา ปริมาณสำรองส่วนที่ถูกผลิตออกไปก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
- การที่รัฐบาลโมราเลสไปยึดสัมปทานเมื่อปี 2006 นั้น ทำให้บริษัทต่างชาติหมดความเชื่อมั่นและหมดความสนใจที่จะมาลงทุนในประเทศโบลีเวียอีกต่อไป โดยเฉพาะธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ทำให้ที่ผ่านมาโดยช่วงปี 2011 มีการสำรวจและขุดเจาะหลุมสำรวจปิโตรเลียมเพียงแค่ 1 หลุมเท่านั้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง โคลอมเบียขุดเจาะหลุมสำรวจไป 61 หลุม บราซิล 300 หลุม อาร์เจนติน่า 600 หลุม จึงไม่ได้มีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งใหม่ๆ เพื่อทดแทนปริมาณสำรองที่ถูกผลิตออกไป
เรื่องราคา ก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ที่ไปหยิบเอาราคาของ Henry Hub มาใช้ ซึ่งคิดว่าเป็นการเข้าใจผิด ถ้าจะหยิบราคาก๊าซที่ Henry Hub มาใช้ ต้องหาท่อต่อมาลงที่ประเทศไทยด้วย ไม่ใช่ไปหยิบราคาเอาแหล่งก๊าซที่ถูกที่สุดมานำเสนอ และไม่บอกด้วยว่า ประชาชนที่ใช้ราคา Herry Hub นั้น เค้าไม่ได้ใช้ราคาก๊าซถูกๆ ที่ปากหลุม เค้าใช้แพงกว่าราคาปากหลุมอยู่ 3-4 เท่า ส่วนประเทศไทยเรา ที่นำเข้ามาเพื่อผลิตไฟฟ้านั้น มีราคาต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติในประเทศที่ได้จากระบบสัมปทานที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งไม่ทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ก็เป็นความจริงเฉพาะบางส่วน เท่านั้น เพราะการอ้างอิงราคาLNG ที่คปพ.อ้างถึง4-5เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู นั้น เป็นราคาตลาดจร (Spot Market) ที่มีปริมาณจำกัดและเป็นราคาที่เกิดขึ้นเพียงบางช่วงบางตอนเท่านั้น ถ้าย้อนไปดูเมื่อ3-5ปีที่ผ่านมา LNG เคยขึ้นไปถึง 15 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ซึ่งแพงกว่าก๊าซจากอ่าวไทยมาก ถามคปพ.ว่า ถ้าต้องนำเข้าLNG ประมาณปีละ7ล้านตัน เพื่อทดแทนก๊าซที่จะหายไปจากระบบ เราจะไปซื้อ LNG ราคาต่ำได้ที่ไหน ใครจะขายให้เรา และขายให้นานแค่ไหน และอย่างลืมว่า เราซื้อก๊าซธรรมชาติต้องใช้เงินสกุลดอลล่าห์ ยามที่ค่าเงินบาทอ่อนลง ก็ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติแพงขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ก๊าซอ่าวไทย ยังเป็นก๊าซที่มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ และทำให้รัฐมีรายได้จากค่าภาคหลวง และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ในขณะที่ LNG ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับรัฐในส่วนนี้
ส่วนถัดมาเรื่อง บอกว่า คุณเข้าใจถูกแล้ว คนไทยมีความรู้ความสามารถ อย่าง ปตท.สผ. เป็นบริษัทของคนไทยที่มีความรู้ความสามารถในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ทั้งในและต่างประเทศ ก็เป็นความจริงเพียงบางส่วนแต่ก็ต้องมองถึงเรื่องศักยภาพทางธรณีที่อยู่ใต้ดินมันต้องการทั้งความชำนาญในพื้นที่และความสามารถ มิเช่นนั้น ประเทศต่างๆ จะให้บริษัทต่างชาติมาร่วมทุนทำไม และการที่จะให้ ปตท.สผ. ต้องมาแบกรับความเสี่ยงจากการขุดเจาะสำรวจบริษัทเดียวมันออกจะเห็นแก่ตัวไปหน่อย (และถ้าทำได้จริง จะโดนหาว่าผูกขาดพลังงานเพิ่มเติมหรือไม่?)เพราะในข้อเท็จจริง ในอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนั้น ปตท.สผ. ก็ไม่สามารถที่จะรับความเสี่ยงโดยถือหุ้น 100% โดยบทบาทของ ปตท.สผ. นั้นเป็นบทบาทของ Investor และ Operator โดยคุณเสนอมาอีกให้ตั้ง บรรษัทพลังงานแห่งชาติ (เสนอมาหลายรอบแล้ว ทั้งที่มีหน่วยงานอื่นที่ทำหน้าที่นี้ และปัญหาที่ต่อมาคือ ใคร ดูแล ดูแล อย่างไร ในเมื่อถ้ามี กฎหมาย ชัดเจน มีรูปแบบแล้ว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ดูแลอยู่ ไม่ทราบว่าจัดตั้งองค์กรใหม่ให้เปลืองงบประมาณทำไม หรืออยากมานั่งบริหาร?)
ประการสุดท้าย กรณีที่นายก กล่าวว่าประเทศเพื่อนบ้านมีราคาพลังงานถูกกว่าประเทศไทยนั้น เพราะมีเงินอุดหนุนในการตรึงราคาให้ต่ำกว่าความเป็นจริง ก็เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องส่วนนึง และการที่บอกว่า มาเลเซียน้ำมันถูกเพราะมีรัฐวิสาหกิจอย่างปิโตรนาสอยู่ทำให้น้ำมันถูกก็ไม่ได้เป็นความจริง เพราะถ้าอยากให้น้ำมันถูกแบบประเทศเพื่อนบ้าน ก็ให้รัฐเอาเงินมาอุดหนุน รวมถึงการไม่จัดเก็บภาษีในสินค้าประเภทเชื้อเพลิง รวมไปถึงลดมาตรฐานน้ำมันลงให้เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน (คราวนี้ไม่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมกันแล้ว?) รวมถึงมาเลเซียสินค้าส่งออกคือประเภทสินค้าประเภทน้ำมัน ในปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันตกต่ำลง รัฐบาลมาเลเซียได้ลดงบการศึกษาลงแล้วด้วยซ้ำ
ดังนั้นแล้ว ยิ่งเวลานานล่าช้าออกไปเท่าใด อำนาจต่อรองของรัฐในการกำหนดท่าทีและเงื่อนไขของรัฐจะลดน้อยลง ต้องรอให้อัตราการผลิต/ลงทุนหายไปก่อนหรือไงจึงจะเชื่อว่าเราเข้าสู่วิกฤติ ด้านพลังงานก๊าซธรรมชาติแล้ว ส่วนกลุ่มคนบางส่วนจะพูดอะไรก็ได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไรกับคำพูดของตน ใช้วาทะโวหาร สร้างภาพชาตินิยมสุดโต่ง หากหลงตามพวกนี้ อนาคตประเทศก็คงจะขัดสนแร้นแค้น ถอยหลังลงคลองเหมือนเวเนซูเอล่า หรือโบลิเวีย เราต้องการให้เป็นแบบนั้นจริงๆ หรือ?
เมื่อหมดอายุสัมปทานตามกฎหมาย อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึง แท่นขุดเจาะและเครื่องจักร ตลอดจนปิโตรเลียมที่เหลืออยู่จะต้องตกเป็นของรัฐ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยที่รัฐไม่ต้องลงทุนทรัพย์สินเหล่านี้อีก ประเด็นนี้ถ้ามองในมุมของการเอาไปใช้ต่อต้องดูว่า ทรัพย์สินเหล่านี้ใช้ต่อคุ้มค่าหรือไม่ อย่าลืมว่า ทรัพย์สินเหล่านี้มีอายุการใช้งานและต้องมีการบำรุงรักษา หากส่งมอบให้รัฐ หรือหากบริษัทที่รับต่อไปแล้วไม่คุ้มค่า ผลสุดท้ายก็ต้องรื้อถอนออก ซึ่งต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจนในการจะเก็บหรือว่าจะรื้อถอน เพราะจะเป็นทั้งต้นทุนและสะท้อนถึงความต่อเนื่องของก๊าซที่จะผลิตออกมา
ประการถัดมา มีการเรียกร้องให้ใช้ระบบจ้างผลิต (อันนี้ทาง กพช ยังไม่ได้ข้อสรุป และระบบนี้หน้าตาเป็นอย่างไรก็ยังไม่มีใครทราบ ดีแต่เรียกร้องว่าอยากได้ระบบนี้) ระบบรับจ้างผลิต มักใช้กับประเทศในตะวันออกกลาง ที่มีแหล่งผลิตขนาดใหญ่ ความเสี่ยงต่ำ จูงใจให้เกิดการแข่งขัน แต่แหล่งเอราวัณและบงกช ที่เป็นแหล่งกระเปาะเล็กๆ ความเสี่ยงสูงกว่า หากใช้ระบบรับจ้างผลิต ก็จะมีเฉพาะรายเดิมที่เสนอตัวเข้ามา แต่รัฐต้องสร้างแรงจูงใจ ด้วยค่าจ้างที่สูงขึ้น (ต้องแลกด้วยปริมาณก๊าซจำนวนมาก และราคาสูง และให้เอกชนสามารถนำปริมาณสำรองมาบันทึกเป็นมูลค่าทางบัญชีหรือ book value ของบริษัทได้ด้วย) โดยจะขอยกกรณีของประเทศ โบลิเวีย
- โบลิเวียมีการเรียกร้องให้จัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐในอัตราที่สูงมากกว่าเดิมมากจาก 50% มาเป็น 82% ของมูลค่าปิโตรเลียมนั้น ทำให้ส่งผลต่อความสามารถในการกำไรจากการพัฒนาและผลิตก๊าซธรรมชาติของบางแหล่งที่ถูกค้นพบแล้วลดลง กล่าวคือทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น บริษัทเอกชนได้ส่วนแบ่งน้อยลง ทำให้ปริมาณทรัพยากรบางส่วนไม่สามารถผลิตขึ้นมาให้คุ้มทุนได้แบบแต่ก่อน จึงถูกตัดออกไปไม่นับเป็นปริมาณสำรอง แต่ก๊าซส่วนนั้นก็ยังคงอยู่ใต้ดินไม่หายไปไหนแค่ผลิตขึ้นมาให้คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ไม่ได้เท่านั้น
- ประเทศโบลีเวียมีการพึ่งพาการส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังประเทศบราซิล และ ประเทศอาร์เจนติน่า เพราะยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อบริษัท Petrobas ของบราซิล และ Repsol-YPF ของสเปนและอาร์เจนติน่า ทำให้ยังคงมีการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติอยู่ตลอดมา ปริมาณสำรองส่วนที่ถูกผลิตออกไปก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
- การที่รัฐบาลโมราเลสไปยึดสัมปทานเมื่อปี 2006 นั้น ทำให้บริษัทต่างชาติหมดความเชื่อมั่นและหมดความสนใจที่จะมาลงทุนในประเทศโบลีเวียอีกต่อไป โดยเฉพาะธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ทำให้ที่ผ่านมาโดยช่วงปี 2011 มีการสำรวจและขุดเจาะหลุมสำรวจปิโตรเลียมเพียงแค่ 1 หลุมเท่านั้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง โคลอมเบียขุดเจาะหลุมสำรวจไป 61 หลุม บราซิล 300 หลุม อาร์เจนติน่า 600 หลุม จึงไม่ได้มีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งใหม่ๆ เพื่อทดแทนปริมาณสำรองที่ถูกผลิตออกไป
เรื่องราคา ก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ที่ไปหยิบเอาราคาของ Henry Hub มาใช้ ซึ่งคิดว่าเป็นการเข้าใจผิด ถ้าจะหยิบราคาก๊าซที่ Henry Hub มาใช้ ต้องหาท่อต่อมาลงที่ประเทศไทยด้วย ไม่ใช่ไปหยิบราคาเอาแหล่งก๊าซที่ถูกที่สุดมานำเสนอ และไม่บอกด้วยว่า ประชาชนที่ใช้ราคา Herry Hub นั้น เค้าไม่ได้ใช้ราคาก๊าซถูกๆ ที่ปากหลุม เค้าใช้แพงกว่าราคาปากหลุมอยู่ 3-4 เท่า ส่วนประเทศไทยเรา ที่นำเข้ามาเพื่อผลิตไฟฟ้านั้น มีราคาต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติในประเทศที่ได้จากระบบสัมปทานที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งไม่ทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ก็เป็นความจริงเฉพาะบางส่วน เท่านั้น เพราะการอ้างอิงราคาLNG ที่คปพ.อ้างถึง4-5เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู นั้น เป็นราคาตลาดจร (Spot Market) ที่มีปริมาณจำกัดและเป็นราคาที่เกิดขึ้นเพียงบางช่วงบางตอนเท่านั้น ถ้าย้อนไปดูเมื่อ3-5ปีที่ผ่านมา LNG เคยขึ้นไปถึง 15 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ซึ่งแพงกว่าก๊าซจากอ่าวไทยมาก ถามคปพ.ว่า ถ้าต้องนำเข้าLNG ประมาณปีละ7ล้านตัน เพื่อทดแทนก๊าซที่จะหายไปจากระบบ เราจะไปซื้อ LNG ราคาต่ำได้ที่ไหน ใครจะขายให้เรา และขายให้นานแค่ไหน และอย่างลืมว่า เราซื้อก๊าซธรรมชาติต้องใช้เงินสกุลดอลล่าห์ ยามที่ค่าเงินบาทอ่อนลง ก็ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติแพงขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ก๊าซอ่าวไทย ยังเป็นก๊าซที่มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ และทำให้รัฐมีรายได้จากค่าภาคหลวง และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ในขณะที่ LNG ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับรัฐในส่วนนี้
ส่วนถัดมาเรื่อง บอกว่า คุณเข้าใจถูกแล้ว คนไทยมีความรู้ความสามารถ อย่าง ปตท.สผ. เป็นบริษัทของคนไทยที่มีความรู้ความสามารถในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ทั้งในและต่างประเทศ ก็เป็นความจริงเพียงบางส่วนแต่ก็ต้องมองถึงเรื่องศักยภาพทางธรณีที่อยู่ใต้ดินมันต้องการทั้งความชำนาญในพื้นที่และความสามารถ มิเช่นนั้น ประเทศต่างๆ จะให้บริษัทต่างชาติมาร่วมทุนทำไม และการที่จะให้ ปตท.สผ. ต้องมาแบกรับความเสี่ยงจากการขุดเจาะสำรวจบริษัทเดียวมันออกจะเห็นแก่ตัวไปหน่อย (และถ้าทำได้จริง จะโดนหาว่าผูกขาดพลังงานเพิ่มเติมหรือไม่?)เพราะในข้อเท็จจริง ในอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนั้น ปตท.สผ. ก็ไม่สามารถที่จะรับความเสี่ยงโดยถือหุ้น 100% โดยบทบาทของ ปตท.สผ. นั้นเป็นบทบาทของ Investor และ Operator โดยคุณเสนอมาอีกให้ตั้ง บรรษัทพลังงานแห่งชาติ (เสนอมาหลายรอบแล้ว ทั้งที่มีหน่วยงานอื่นที่ทำหน้าที่นี้ และปัญหาที่ต่อมาคือ ใคร ดูแล ดูแล อย่างไร ในเมื่อถ้ามี กฎหมาย ชัดเจน มีรูปแบบแล้ว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ดูแลอยู่ ไม่ทราบว่าจัดตั้งองค์กรใหม่ให้เปลืองงบประมาณทำไม หรืออยากมานั่งบริหาร?)
ประการสุดท้าย กรณีที่นายก กล่าวว่าประเทศเพื่อนบ้านมีราคาพลังงานถูกกว่าประเทศไทยนั้น เพราะมีเงินอุดหนุนในการตรึงราคาให้ต่ำกว่าความเป็นจริง ก็เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องส่วนนึง และการที่บอกว่า มาเลเซียน้ำมันถูกเพราะมีรัฐวิสาหกิจอย่างปิโตรนาสอยู่ทำให้น้ำมันถูกก็ไม่ได้เป็นความจริง เพราะถ้าอยากให้น้ำมันถูกแบบประเทศเพื่อนบ้าน ก็ให้รัฐเอาเงินมาอุดหนุน รวมถึงการไม่จัดเก็บภาษีในสินค้าประเภทเชื้อเพลิง รวมไปถึงลดมาตรฐานน้ำมันลงให้เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน (คราวนี้ไม่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมกันแล้ว?) รวมถึงมาเลเซียสินค้าส่งออกคือประเภทสินค้าประเภทน้ำมัน ในปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันตกต่ำลง รัฐบาลมาเลเซียได้ลดงบการศึกษาลงแล้วด้วยซ้ำ
ดังนั้นแล้ว ยิ่งเวลานานล่าช้าออกไปเท่าใด อำนาจต่อรองของรัฐในการกำหนดท่าทีและเงื่อนไขของรัฐจะลดน้อยลง ต้องรอให้อัตราการผลิต/ลงทุนหายไปก่อนหรือไงจึงจะเชื่อว่าเราเข้าสู่วิกฤติ ด้านพลังงานก๊าซธรรมชาติแล้ว ส่วนกลุ่มคนบางส่วนจะพูดอะไรก็ได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไรกับคำพูดของตน ใช้วาทะโวหาร สร้างภาพชาตินิยมสุดโต่ง หากหลงตามพวกนี้ อนาคตประเทศก็คงจะขัดสนแร้นแค้น ถอยหลังลงคลองเหมือนเวเนซูเอล่า หรือโบลิเวีย เราต้องการให้เป็นแบบนั้นจริงๆ หรือ?